ก นยาค ม แล วม เล อดออกกะปร ดกะปรอย แก ไข

สาวๆหลายคน มีความวิตกกังวลว่า ประจำเดือนไม่มาทั้ง ๆ ที่ก็กินยาเม็ดคุมกำเนิดไม่เคยขาด ตรงเวลาเป๊ะๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่ประจำเดือนไมามานั้นมีหลายสาเหตุ

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด บางยี่ห้อแล้วก็อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ทำให้ประจำเดือนขาด โดยเฉพาะคนที่มีประวัติประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นหากในช่วงหยุดกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มาพร้อมกับทดสอบการตั้งครรภ์แล้วปรากฏว่าไม่ท้อง แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับสภาพร่างกายของเราที่สุด

ก นยาค ม แล วม เล อดออกกะปร ดกะปรอย แก ไข

กินยาที่ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยากันชัก หรือยารักษาวัณโรค มีฤทธิ์ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนปรวนแปร ประจำเดือนจึงไม่มาได้ แนะนำให้รอประจำเดือนมาสักระยะ ถ้าประจำเดือนยังไม่มา ควรทดสอบการตั้งครรภ์ หรือปรึกษาการวางแผนครอบครัวเพื่อความมั่นใจ

ระดับฮอร์โมนของยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วมีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาน้อยมาก จนแทบจะเข้าข่ายกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา อาจเป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในตัวยาคุมกำเนิดก็ได้ และหากมั่นใจว่าเรากินยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่มีบกพร่อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดตัวใหม่ที่เหมาะกับร่างกาย

การปรับฮอร์โมนของร่างกาย

กินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา มักเกิดกับคนที่เพิ่งเริ่มกินยาคุมใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงบางคนอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับฮอร์โมน ซึ่งอาจกินเวลายาวนานไปจนถึงการรับประทานยาคุมแผงที่ 2-3 ดังนั้นหากมั่นใจว่ากินยาคุมถูกต้องแน่ ๆ แนะนำให้รอร่างกายปรับฮอร์โมนสัก 2-3 เดือน หากพ้นจากนี้แล้วประจำเดือนยังไม่มาทั้ง ๆ ที่กินยาคุมอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

กินยาคุมฉุกเฉิน

สาว ๆ บางคนอาจเลือกกินยาคุมฉุกเฉินในวันที่ลืมกินยาคุมกำเนิดแบบปกติ ซึ่งก็สามารถทำได้ ไม่เกิดอันตรายใด ๆ ทว่าก็อาจมีผลข้างเคียงอย่างประจำเดือนที่น่าจะมาตามรอบของยาคุมกำเนิด อาจเลื่อนออกไปทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือบางคนที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายแกว่งอยู่แล้ว ประจำเดือนอาจขาดไปเลยก็มี แต่หากกินยาคุมกำเนิดต่อไปอีก 1 แผงแล้วประจำเดือนก็ยังไม่มา แนะนำให้ตรวจสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์จะดีกว่า

หยุดกินยาคุมระหว่างแผง

หากคุณหยุดกินยาคุมกลางคัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็อาจเจอกับอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะกินยาคุมกำเนิดมาหลายแผงแล้ว ประจำเดือนก็มาตรงกำหนดไม่คลาดเคลื่อนมาก่อนเลย และหากกังวลใจว่าหยุดกินยาคุมแล้วจะท้องไหม ให้ลองทดสอบการตั้งครรภ์และปรึกษาแพทย์

  • ก นยาค ม แล วม เล อดออกกะปร ดกะปรอย แก ไข

เปลี่ยนชนิดของยาคุม

สาว ๆ บางคนอาจเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด เช่น จากที่กินยาคุมกำเนิด ก็อาจเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่น ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ที่เริ่มใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่หากเปลี่ยนมาใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใหม่ได้เกิน 2 เดือนแล้ว แต่ประจำเดือนยังคงไม่มา อาจต้องทดสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์

อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือก่อนหมดประจำเดือน

สำหรับสาวในช่วงวัยหมดประจำเดือนที่ยังกินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ แต่ระยะหลัง ๆ ประจำเดือนเริ่มขาดหายไป นี่อาจเป็นเพราะกำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ลองปรึกษาแพทย์

ความเครียด

ความเครียดเป็นตัวการร้ายที่ทำให้ประจำเดือนเราไม่มาตามนัดได้ และความเครียดก็ไม่สนใจว่าเราจะกินยาคุมอยู่หรือไม่ด้วย เพราะความเครียดจะส่งผลกับอารมณ์และการหลั่งฮอร์โมนของเราโดยตรง ซึ่งอาจทำให้การตกไข่ และรอบเดือนของเราผิดปกติไปได้นั่นเอง

ผลข้างเคียงจากโรคบางอย่าง

แม้จะกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ แต่หากว่าคุณมีอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ ถุงน้ำรังไข่ โรคเครียด โรคไตหรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) อาการของโรคดังกล่าวอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาก็ได้ ดังนั้นหากประจำเดือนขาดไป 6 เดือนหรือมากกว่านั้นก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้ไปตรวจเช็กร่างกายให้ละเอียดถี่ถ้วนจะดีกว่า

ตั้งครรภ์

แน่นอนว่าไม่มีวิธีคุมกำเนิดชนิดไหนที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% โดยเฉพาะหากคุณคุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เช่น ลืมกินยาคุมบ้าง กินยาคุมไม่ตรงเวลาบ้าง เป็นต้น การใช้ยาคุมไม่ถูกวิธีเช่นนี้ก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่มา หรืออาจเกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน และถ้าหากกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา พร้อมทั้งมีอาการคนท้องอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็แปลว่าการคุมกำเนิดของเราไม่ประสบผลสำเร็จ

ภาวะกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มายังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน รวมถึงยี่ห้อและชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิดที่กิน หรือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ หากประจำเดือนไม่มานานเกินกว่า 6 เดือนแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วนต่อไป

ปริมาณเอสโตรเจนที่ร่างกายผลิตจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและช่วงเวลาของการมีประจำเดือน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิด negative feedback ซึ่งมีผลยับยั้งการหลั่ง GnRH จาก hypothalamus และยับยั้งการหลั่ง FSH และ LH จากต่อม pituitary ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการตกไข่ในที่สุด ปริมาณฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดนี้จะมีมากเพียงพอในการทำให้เกิด negative feedback อย่างต่อเนื่อง ยาคุมกำเนิดที่ผลิตออกมาในช่วงแรกจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ค่อนข้างสูงซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้มาก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เลือดประจำเดือนมามาก เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงสูตรโดยพยายามลดปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนลงเพื่อลดผลข้างเคียงข้างต้น ซึ่งก็พบว่าได้ผลดี แต่ในขณะเดียวกันกลับพบการเกิดภาวะเลือดออกกะปริบกะปรอยซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเกินไปได้ในผู้หญิงบางราย ภาวะเลือดออกกะปริบกะปรอย (spotting) สามารถเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptives; COCs) ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาระบุว่า การเกิดเลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ใน 30% ของผู้หญิงที่เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (และเหลือน้อยกว่า 10% หลังจากรับประทานไปแล้ว 3 เดือน) หรือหลังจากรับประทานไปแล้วหลายเดือน การแก้ปัญหาจะต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกก่อน และแก้ที่สาเหตุนั้นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกกะปริบกะปรอย เช่น - การรับประทานฮอร์โมนไม่ถูกวิธี เช่น ลืมรับประทาน หรือรับประทานฮอร์โมนในเวลาที่ต่างกันในแต่ละวัน เป็นผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติส่งผลให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ ดังนั้นการแก้ไข คือ พยายามรับประทานฮอร์โมนในเวลาเดียวกันของทุกวันและไม่ลืมที่จะรับประทานฮอร์โมน - ปริมาณและชนิดของฮอร์โมน จากการศึกษาพบว่าปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อการเกิดเลือดออกได้ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ (ethinyl estradiol 20 microgram ต่อเม็ด) ซึ่งพบการเกิดเลือดออกได้บ่อยกว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณ ethinyl estradiol สูงกว่า (30-35 microgram ต่อเม็ด) - ความผิดปกติของเยื่อบุมดลูกหรือมดลูก ในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมจากแพทย์ การจัดการปัญหาเรื่องการเกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยนั้น หากเกิดตั้งแต่การใช้ยาแผงแรก และอาการไม่รุนแรง ควรเฝ้าระวังอาการไปก่อน เนื่องจากปัญหาอาจดีขึ้นได้เองเมื่อรับประทานไปประมาณ 3 เดือนดังข้อมูลที่ระบุไว้ข้างต้น และในระหว่างที่รอดูผล จำเป็นที่จะต้องสำรวจและปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานยาคุมกำเนิดให้ถูกต้อง หลังจากนั้นหากยังมีอาการอยู่ อาจเปลี่ยนมารับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณของเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ยกเว้นในกรณีที่อาการเลือดออกมีความรุนแรงมากขึ้นหรือผิดปกติไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ควรเข้ารับการตรวจหาความผิดปกติของมดลูก-ผนังมดลูก ต่อไป ในกรณีที่เปลี่ยนมารับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณของเอสโตรเจนสูงขึ้นแล้วอาการเลือดออกยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไปครับ อย่างไรก็ดีก่อนการรับประทานฮอร์โมนชนิดใหม่ ควรตรวจสอบการตั้งครรภ์เพื่อให้แน่ใจก่อน ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นควรหยุดรับประทานยาคุมกำเนิดทันที

Reference: 1. Edelman A, Kaneshiro B. Management of unscheduled bleeding in women using contraception. [Online]. 2009 Nov 15. Available from: UpToDate Online 17.3;2010.[cited 2010 Jan 12]. 2. Odell WD, Molitch ME. The pharmacology of contraceptive agents. Annu Rev Pharmacol 1974;14:413-34.

Keywords: -