การประย กต ใช เทอร โมม เตอร ในการว ดอ ณหภ ม

เทอร์โมมิเตอร์โพรบแบบปลายแหลม อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกอื่นๆ มากมายตามท้องตลาดในปัจจุบัน เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิที่สะดวกในการใช้งาน และการอ่านค่าที่แม่นยำ

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared thermometer meter) มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบระดับความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาจากภายใน เพราะภายนอกของอุปกรณ์ร้อนกว่าความร้อนที่กำหนด ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งผิดปกติภายในของอุปกรณ์ การวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดใช้เพื่อต้องการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุ เนื่องจากลำแสงอินฟราเรดพุ่งเล่งไปที่พื้นผิวเท่านั้น จึงไม่เหมาะวัดอุณหภูมิภายในของวัตถุ

เรามาดูกันว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดรุ่นต่างๆในปัจจุบัน มีความแตกต่างและแม่นยำเพียงใด เพราะอะไรทำไมถึงนิยมใช้วัดอุณหภูมิในอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมเป็นเครื่องมือที่วิศวกร ช่างเทคนิค เลือกใช้...

หลักการง่ายๆ

ในขณะที่เทคโนโลยีของ Thermometer ทำงานอย่างซับซ้อน แต่แนวคิดของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดค่อนข้างง่าย ก็คือทุกอย่างที่มีมวลจะปล่อยพลังงานจำนวนหนึ่ง และพลังงานนั้นจะถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของความร้อน เนื่องจากมีการปล่อยความร้อนจากวัตถุ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสามารถใช้ความแตกต่างระหว่างรังสีอินฟราเรดที่ออกจากวัตถุและสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุนั้น

เทอร์โมมิเตอร์แบบ IR (Infared) ทำงานโดยการโฟกัสแสงที่มาจากวัตถุในรูปแบบของรังสีอินฟราเรด และจับแสงนั้นเข้าไปในเครื่องตรวจจับหรือ thermopile โดย thermopile จะจับรังสีอินฟราเรดซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนและเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่รังสีของวัตถุที่ทำการวัด จะแสดงบนเทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที นั่นหมายความว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดมีวิธีที่รวดเร็วในการวัดอุณหภูมิต่างๆ

ทำไมต้อง INFRARED

มีหลายเหตุผลว่าทำไมควรเลือกเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับวัดอุณหภูมิที่คุณต้องการ

1. ความแม่นยำ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดมีความแม่นยำ เทียบเท่ากับเทอร์โมมิเตอร์ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ต้องการจะวัด

2. ความปลอดภัย สิ่งที่สำคัญที่สุดของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด คือสามารถวัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกับผิววัตถุ หากต้องการวัดอุณหภูมิบนพื้นผิววัตถุที่ร้อนมาก โดยไม่สามารถเข้าใกล้ได้เพื่อไปสัมผัสที่หน้าวัตถุได้ เราสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดเพียงแค่เล็งไปที่พื้นผิววัตถุที่เราต้องการจะวัด ก็จะสามารถวัดอุณหภูมิได้โดยที่ตัวผู้วัดหรือผู้ใช้งานไม่ได้รับอันตราย หรือเสี่ยงกับความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 100 องศาเซลเซียส

3. การป้องกันการปนเปื้อน ประโยชน์อีกข้อของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด สามารถหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร หรือใช้ในงานอื่นๆได้เช่นกัน การทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดไม่จำเป็นต้องสัมผัสวัตถุที่ต้องการวัด จึงหมดกังวลสารปนเปื้อนว่าโพรบที่ Thermometer นั้นทำความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วหรือยัง

แน่นอนว่ามีข้อดีมากมายในการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด นอกจากสามข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือ อายุการใช้งาน และราคาประหยัด และคุ้มค่าต่อการใช้งานแน่นอน

ย่านการวัด

สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด คือเลือกย่านการวัดภายในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ และขนาดของวัถตุ D:S ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ IR ทุกตัวในตลาดทุกวันนี้ มีย่านการวัดสำหรับช่วงอุณหภูมิที่เฉพาะเจาะจง และไม่มีประสิทธิภาพหากใช้วัดเกินย่านที่ตัวเครื่องกำหนดไว้ ดังนั้นก่อนที่จะเลือกเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดจะต้องคิดให้รอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และย่านอุณหภูมิที่ต้องการวัด

ตัวอย่างเช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดเครื่องหนึ่งมีย่านการวัดที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่ำถึง -40°C จนถึง 220°C ในขณะที่อีกเครื่องหนึ่งมีย่านการวัดตั้งแต่ -20°C จนถึง 330°C จะเห็นได้ว่า เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดแต่ละเครื่องมีย่านการวัดที่แตกต่างกัน โดยย่านการวัดส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิปานกลาง แต่หากต้องการวัดอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัดควรตรวจสอบเครื่องวัดให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่ต้องการวัด

อัตราส่วนระยะต่อวัตถุ (D:S)

องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการของเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดคืออัตราส่วนของระยะต่อวัตถุ อัตราส่วนระยะต่อวัตถุ (D:S) ได้แก่ 4:1, 8:1, 30:1 และ 50:1

อัตราส่วนที่เยอะทำให้สามารถอยู่ห่างจากวัตถุเป้าหมายในขณะที่การอ่านค่ายังคงถูกต้อง และสามารถวัดวัตถุที่มีขนาดเล็กได้ ตัวอย่างเช่น อัตราส่วน 30:1 คือสามารถยืนห่างจากเป้าหมายได้ 30 นิ้ว และยังคงวัดชิ้นงานขนาด 1 ตารางนิ้วได้อย่างแม่นยำ ในการวัดพื้นที่เดียวกันโดยใช้ 8:1 จะต้องยืนห่างออกไป 8 นิ้ว โดยอัตราส่วนระยะต่อจุดที่วัดที