ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช

(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน): ปราสาทหินพิมาย, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ประตูชุมพล, พระประธานในปราสาทหินพนมวัน

Show

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ธง

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ตรา

คำขวัญ:

เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเน้นสีแดง

ประเทศ

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ สยาม ศิริมงคล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) พื้นที่ • ทั้งหมด20,493.964 ตร.กม. (7,912.764 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 2ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด2,634,154 คน • อันดับอันดับที่ 1 • ความหนาแน่น128.53 คน/ตร.กม. (332.9 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 37รหัส ISO 3166TH-30 ชื่อไทยอื่น ๆโคราช, ราชสีมาสัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้สาธร • ดอกไม้สาธร • สัตว์น้ำปลาบ้าศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งถนนมหาดไทย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 • โทรศัพท์0 4424 3798 • โทรสาร0 4425 5070เว็บไซต์www.nakhonratchasima.go.th

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดเชียงใหม่และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพฯ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏที่เป็นบทความเป็นครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.2199-2231

ที่มาของชื่อ[แก้]

มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-ร่าด, ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราชในที่สุด​ แต่ไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ​แต่อย่างใด เนื่องจากเมืองโคราชที่สูงเนินมีความเก่าแก่กว่าเมืองโคราฆปุระ ส่วนบันทึกของซิมง เดอ ลาลูแบร์ ทูตชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนชื่อบนแผนที่บริเวณนี้ว่า Corazema หรือ โคราชเสมา

เดิมทีนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา มีการใช้ "นครราชสีมา" และ "นครราชสีห์มา" สลับกันไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2445 (พ.ศ. 2444 เดิม) ได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า

ชื่อมณฑลแลเมืองนครราชสีห์มา ซึ่งใช้ตัว ห การันต์ด้วยนั้น เปนการผิดจากความหมายของชื่อเมือง แต่นี้ต่อไปอย่าให้ใช้ตัว ห.การันต์ ให้ใช้ว่า นครราชสีมา ในการที่จะออกชื่อเกี่ยวด้วยมณฑลแลเมืองนี้ในที่ทั้งปวง — ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ หน้า ๗๙๑

ประวัติศาสตร์[แก้]

สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งามที่วัดเขาจันทร์งามอำเภอสีคิ้วเป็นภาพเขียนสีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริดและยุคเหล็กอยู่ที่อำเภอโนนสูงประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทและแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการอาศัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนตั้งแต่ยุคหินจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ในยุคสำริดมีการค้นพบเครื่องประดับสำริดต่างๆและเครื่องปั้นดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพบการฝังศพผู้ใหญ่ไว้ในภาชนะดินเผา ที่อำเภอพิมายพบภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ (Phimai Black Ware) เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเขมรอินเดียและพระพุทธศาสนาเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ชุมชนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถูกแทนที่ด้วยชุมชนในยุคประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอก

สมัยโบราณ[แก้]

อาณาจักรศรีจนาศะ[แก้]

ในยุคทวารวดีปรากฏมีอาณาจักรศรีจนาศะ หรือ "จนาศะปุระ" ขึ้นซึ่งสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณเสมา ในตำบลเสมาอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน พบหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจนาศะจากจารึกสองชิ้นได้แก่ จารึกบ่ออีกาพบที่บ้านอีกาอำเภอสูงเนิน กำหนดอายุที่พ.ศ. 1411 ใช้อักษรหลังปัลลวะและจารึกด้วยภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร กล่าวถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะประทานสัตว์และทาสแก่พระสงฆ์และสรรเสริญอังศเทพผู้สร้างศิวลึงค์ และจารึกศรีจนาศะซึ่งพบที่อยุธยาเป็นอักษรขอมโบราณในภาษาสันกฤตและเขมรกล่าวถึงรายพระนามกษัตริย์แห่งศรีจนาศะจารึกขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1480 เมืองเสมาเป็นเมืองมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นรูปวงกลมรีพบโบราณสถานจำนวนเก้าแห่ง นอกจากนี้ยังมีพระนอนหินทรายที่วัดธรรมจักรเสมารามซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคศรีจนาศะ หลักฐานที่พบแสดงว่าถึงพระพุทธศาสนาในศรีจนาศะซึ่งได้รับอิทธิพลจากทวารวดีอยู่คู่กับศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย เมืองศรีจนาศะมีความสัมพันธ์กับเมืองศรีเทพจังหวัดเพชรบูรณ์และเมืองละโว้ซึ่งอยู่ภายใต้มัณฑละเดียวกัน

เมื่อจักรวรรดิเขมรแผ่ขยายอำนาจมาในพื้นที่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้อาณาจักรศรีจนาศะสิ้นสุดลง จารึกเมืองเสมา พ.ศ. 1514 กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เมือง "โคราฆะปุระ" ถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลโคราชริมแม่น้ำลำตะคองมีปราสาทเมืองแขกและปราสาทโนนกู่ซึ่งเป็นศิลปะแบบเกาะแกร์

ปราสาทพิมายและอาณาจักรขอมโบราณ[แก้]

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นราวราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นโบราณสถานทรงขอมแบบบาปวนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เนื่องจากรูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธานเป็นศิลปะแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นอกจากปราสาทหินพิมายยังมีปราสาทหินพนมวันที่ตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน พบจารึกที่ปราสาทพิมายทั้งหมดหกหลัก กล่าวถึงการบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 และการสร้างรูปเคารพรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 พ.ศ. 1579 กล่าวถึงพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาวัชรยาน ทับหลังของปราสาทประธานสลักเป็นรูปของพระชินพุทธะและพบสัญลักษณ์และรูปเคารพของวัชรยานอื่นๆ เมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" เป็นฐานที่มั่นของราชวงศ์มหิธรปุระซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และต่อมาได้ครองจักรวรรดิเขมร จารึกปราสาทหินพิมาย 3 พ.ศ. 1651 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 กล่าวว่า “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคตวิมายะ" ในยุคนี้มีการสร้างปราสาทพิมายเพิ่มเติมในศิลปะยุคนครวัดซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ปราสาทหินพิมายจึงเป็นการรวมกันของศิลปะยุคบาปวนและศิลปะยุคนครวัด

เมื่อราชวงศ์มหิธรปุระได้ขึ้นครองจักรวรรดิเขมรเมืองวิมายประทวีความสำคัญขึ้นในฐานะศูนย์กลางการปกครองของขอมโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บูรณะปราสาทพิมายเนื่องจากเป็นเมืองเกิดของพระมารดา จากที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์พ.ศ. 1734 ที่นครธมซึ่งกล่าวถึงเส้นทางการคมนาคมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวว่า“จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง” แสดงให้เห็นว่าเมืองวิมายเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่สำคัญ พบรูปประติมากรรมเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ปราสาทพิมาย ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเขมรเสื่อมอำนาจลงและอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาเมืองพิมายจึงลดความสำคัญลง

สมัยอยุธยา[แก้]

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก เลขทะเบียน ๒๒๒ ๒/ก ๑๐๔ กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) “อยู่ปีหนึ่ง ท่านให้ก็ตกแต่งช้างม้ารี้พล ทั้งปวงจะยกไปเมืองพิมายพนมรุ้งไซร้ พอเจ้าเมืองทั้งหลายถวายบังคมพระบาทผู้เป็นเจ้าๆก็ให้พระราชทานรางวัลแล้วคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนา” ซึ่งตรงกับศิลาจารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพ.ศ. 1974 และพบที่อำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรี กล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมจักรพรรดิธรรมิกราชโปรดฯให้ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ "เอาจตุรงค์ช้างม้ารี้พลไปโจมจับพระนครพิมายพนมรุ้ง" แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและที่ราบสูงโคราชด้านตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามพระยาฯ

ในสมัยอยุธยาเมืองนครราชสีมาคือ "เมืองโคราฆะ" ริมแม่น้ำลำตะคองในตำบลโคราชอำเภอสูงเนินในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเมืองเสมา เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นฐานการปกครองของอยุธยาในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและเป็นรอยต่ออาณาเขตของอยุธยากับอาณาจักรล้านช้างและเขมรป่าดง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจากกฎมณเฑียรบาลเมืองนครราชสีมาเป็นหนึ่งในเมืองพระยามหานครแปดเมืองซึ่งเจ้าเมืองต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองนครราชสีมาว่า ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ ศักดินา 10,000 ไร่ พงศาวดารเขมรระบุว่าในพ.ศ. 2113 เมื่อสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งอาณาจักรเขมรละแวกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จจึงยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ สมเด็จพระนเรศวรฯทรงจัดการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่โดยเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นโท นอกจากนี้พงศาวดารเขมรยังระบุอีกว่าในพ.ศ. 2173 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระศรีธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรเขมรอุดงยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตเมืองนครราชสีมา

เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่านครราชสีมามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาวล้านช้าง จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมาในปัจจุบัน วางผังเมืองโดยเดอลามาร์ (De la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส เป็นตารางรูปสีเหลี่ยมกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ตามแบบตะวันตกมีป้อมค่ายหอรบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรวมชื่อเมืองโคราฆะและเมืองเสมาแล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองนครราชสีมา" เมื่อจุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) และทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช (สังข์)เป็นเจ้าเมือง ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่หนึ่งในเจ็ดมณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมืองได้แก่ เมืองนครจันทึก (อำเภอสีคิ้ว) เมืองชัยภูมิ เมืองพิมาย เมืองบุรีรัมย์ และเมืองนางรอง

เมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงยึดอำนาจในพ.ศ. 2231 พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์ฯแข็งเมืองไม่ไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาในพ.ศ. 2232 แต่ไม่สำเร็จและถอยกลับไป พระเพทราชาจึงทรงส่งทัพมาอีกครั้งในปีถัดมาสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ในที่สุด พระยายมราช (สังข์) หลบหนีไปยังเมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นปีพ.ศ. 2241 ชาวบ้านในเมืองนครราชสีมาชื่อบุญกว้างพร้อมพรรคพวกอีกยี่สิบแปดคนสามารถยึดอำนาจในเมืองนครราชสีมาจากเจ้าเมืองคนใหม่ได้ นำไปสู่กบฏบุญกว้าง พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาอีกครั้งกินเวลายืดเยื้ออยู่นานถึงสามปี ฝ่ายอยุธยาใช้อุบายผูกหม้อดินระเบิดกับว่าวจุฬาแล้วชักให้ลอยไปตกในเมืองนครราชสีมาเพื่อให้เกิดเพลิงไหม้ จนกระทั่งเจ้าเมืองนครราชสีมาออกอุบายให้บุญกว้างและพรรคพวกยกทัพไปตั้งที่ลพบุรีทัพหลวงจึงเข้าตีทัพบุญกว้างพ่ายแพ้ไป ในขณะที่พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศกล่าวว่าหลังจากถูกล้อมบุญกว้างและพรรคพวกหลบหนีออกจากเมืองนครราชสีมาไปได้

เมื่อทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. 2309 กรมหมื่นเทพพิพิธพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จจากหัวเมืองชายทะเลตะวันออกมาเกลี้ยกล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาให้การสนับสนุนแด่พระองค์ในการกอบกู้อยุธยาจากการล้อมของพม่า แต่พระยานครราชสีมาไม่ยินยอมด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงส่งหม่อมเจ้าประยงพระโอรสและหลวงมหาพิชัยลักลอบนำกองกำลังเข้าเมืองนครราชสีมาและทำการลอบสังหารพระยานครราชสีมา กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้แต่เพียงไม่นานน้องชายของพระยานครราชสีมาที่ถูกสังหารไปนั้นคือหลวงแพ่งหลบหนีไปยังเมืองพิมายขอความช่วยเหลือจากพระพิมายผู้เป็นเจ้าเมืองพิมายในการยึดเมืองนครราชสีมาคืนจากกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายและหลวงแพ่งยกทัพจากเมืองพิมายเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จและจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายไว้พระชนม์ชีพกรมหมื่นเทพพิพิธและเชิญกรมหมื่นเทพพิพิธไปประทับที่เมืองพิมาย หลวงแพ่งได้เป็นพระยานครราชสีมา

สมัยกรุงธนบุรี[แก้]

หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เกิดชุมนุมเจ้าพิมายขึ้น เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรีขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่ด่านขุนทด ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี

ในสมัยธนบุรีปรากฏมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ"เจ้าพระยานครราชสีมา" (ปิ่น) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงยกทัพไปอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ปีพ.ศ. 2321 นั้น เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นทัพหน้า ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ท้าวสุรนารี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา เมื่อสยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองประเทศราชลาวล้านช้างทำให้เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นช่องทางและสื่อกลางระหว่างส่วนกลางที่กรุงเทพฯและประเทศราชลาว เมืองนครราชสีมาจึงถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นเมืองชั้นเอก เจ้าเมืองนครราชสีมามีอำนาจในการสอดส่องดูแลประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ รวมทั้งหัวเมืองเขมรป่าดง ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2362 เกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) นำกองทัพไปปราบ ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครราชสีมาต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง) คือเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 ขณะที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) กับพระปลัดเมืองนครราชสีมากำลังอยู่ในราชการที่เมืองขุขันธ์อยู่นั้น เจ้าอนุวงศ์ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมาได้และสั่งให้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาไปยังเวียงจันทน์ พระยาพรหมยกกระบัตรเมืองนครราชสีมาจำต้องยอมจำนนต่อเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายพระปลัดเมืองนครราชสีมาเมื่อทราบว่าฝ่ายลาวเข้ายึดเมืองนครราชสีมาแล้วจึงรีบเดินทางกลับมายังนครราชสีมาแสร้งทำทีว่าเข้าสวามิภักดิ์ต่อเจ้าอนุวงศ์ พระปลัดเมือง พระยาพรหมยกกระบัตร จึงนำชาวเมืองนครราชสีมาติดตามเจ้าอนุวงศ์ไปจนกระทั่งถึงทุ่งสัมฤทธิ์ (ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) พระปลัดเมืองและพระยาพรหมจึงนำกองกำลังชาวเมืองนครราชสีมาเข้าโจมตีฝ่ายลาว ในขณะที่คุณหญิงโมภริยาของพระปลัดเมืองฯนำทัพของผู้หญิงถืออาวุธเป็นกระบองและหลาวทำจากไม้เข้าต่อสู้กับฝ่ายลาว นำไปสู่วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์ นางสาวบุญเหลือบุตรีของหลวงเจริญกรมการเมืองผู้น้อยฯวิ่งนำคบเพลิงไปจุดชนวนเกวียนบรรทุกกระสุนดินดำทำให้เกิดระเบิดอย่างรุนแรง นางสาวบุญเหลือสละชีพเสียชีวิตไปพร้อมกับเพี้ยรามพิชัยขุนพลฝ่ายลาว เหตุการณ์วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์ทำให้เจ้าอนุวงศ์ต้องถอยทัพกลับไปโดยให้เจ้าโถงผู้เป็นหลานตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมาย ต่อมาในพ.ศ. 2370 คุณหญิงโมจึงได้รับการปูนบำเหน็จแต่งตั้งให้เป็น "ท้าวสุรนารี" กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงยกทัพมาตั้งมั่นที่นครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เข้าเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯ กรมพระราชวังบวรฯมีพระบัณฑูรให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) อยู่ฟื้นฟูเมืองนครราชสีมาให้กลับขึ้นมาดังเดิม พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถตีทัพของเจ้าโถงแตกพ่ายไปแล้วยึดเมืองพิมายคืนมาได้

เมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรม พระพรหมบริรักษ์ (เกษ) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา

เมื่อว่างเว้นจากสงคราม เมืองโคราชได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย

ในรัชกาลนี้ เจ้าพระยานครราชสีมา (เกษ) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) และ เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (แก้ว) บุตรชายคนรองของเจ้าพระยาบดินทรเดชา หลังจากนั้น พระยานครราชสีมา (แก้ว) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช (แก้ว) และ เจ้าเมืองคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรชายคนโตของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เป็นแม่ทัพบกไปปราบจีนฮ่อที่เมืองหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีพระยานครราชสีมา (กาจ สิงหเสนี) บุตรเขยของพระยานครราชสีมา (เมฆ) เป็นผู้ว่าราชการคนแรก มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ - นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ได้สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7

ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]

ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้นครราชสีมาเป็นฐานบัญชาการการรบ มีการสร้างฐานบินโคราช และต่อมาไทยได้เปลี่ยนให้เป็น กองบิน 1 ซึ่งเป็นฐานกำลังรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน โดยมีมีเครื่องบิน F-16 ประจำการอยู่สองฝูงบิน

ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา

เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นประตูสู่อิสาน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิประเทศ[แก้]

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
น้ำตกเหวสุวัตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับสมณญานามว่าเป็น “ประตูสู่ภาคอีสาน” เพราะเป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่วิ่งมาจากภาคกลางในถนนมิตรภาพ อยู่บนที่ราบสูงโคราช ห่างจากกรุงเทพ 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 150-300 เมตร มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวยาวทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ส่วนบริเวณตอนล่างค่อนไปทางเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม โดยมีลำตะคองและลำน้ำสาขาอื่น ๆ ไหลหล่อเลี้ยงบริเวณด้านเหนือของเมือง และ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิอากาศ[แก้]

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมาจัดอยู่ในประเภททุ่งหญ้าเขตร้อน มีลมมรสุมหลักพัดผ่านคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยทั่วไปสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนตุลาคม ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งพัดจากประเทศจีน และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ราบสูง มีป่าและทิวเขาสูงกั้นเขตแดนเป็นแนวยาว อากาศจึงค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และในฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็นโดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 อาศาเซลเซียส มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปี 71 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 89% ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 49 %

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2504-2533) เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.6 (87.1) 33.5 (92.3) 35.8 (96.4) 36.5 (97.7) 34.9 (94.8) 34.1 (93.4) 33.6 (92.5) 33.1 (91.6) 32.1 (89.8) 30.9 (87.6) 29.7 (85.5) 29.3 (84.7) 32.84 (91.12) อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.8 (62.2) 20.0 (68) 22.2 (72) 24.0 (75.2) 24.5 (76.1) 24.3 (75.7) 23.9 (75) 23.7 (74.7) 23.6 (74.5) 22.6 (72.7) 20.2 (68.4) 17.1 (62.8) 21.91 (71.44) หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 5.9 (0.232) 17.8 (0.701) 37.1 (1.461) 63.5 (2.5) 140.5 (5.531) 108.3 (4.264) 113.7 (4.476) 146.2 (5.756) 221.6 (8.724) 143.4 (5.646) 27.3 (1.075) 2.8 (0.11) 1,028.1 (40.476) วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 0.9 2.2 5.1 7.7 13.8 13.3 13.5 16.4 18.1 12.2 4.0 0.7 107.9 จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 284.2 245.1 253.8 248.1 237.5 208.6 194.6 187.3 169.0 233.4 257.3 282.0 2,800.9 แหล่งที่มา 1: WMO แหล่งที่มา 2: CMA

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

  • ทิศเหนือ จรดจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศตะวันออก จรดจังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศใต้ จรดจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว,
  • ทิศตะวันตก จรดจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครนายก

เขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

แบ่งปกครองแบ่งออกเป็น 32 อำเภอ 289 ตำบล 3,743 หมู่บ้าน

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา แผนที่

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา หมายเลขในแผนที่ รหัสเขตการปกครอง ชื่ออำเภอ ชั้น พื้นที่ (ตร.กม.) ห่างจาก ศาลากลาง จังหวัด (กม.) ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) จำนวน ตำบล จำนวน หมู่บ้าน ประชากร ชาย หญิง รวม 1 3001

อำเภอเมืองนครราชสีมา

พิเศษ 755.596 0 2438 25 243 214,809 224,657 439,466 8 3008

อำเภอด่านขุนทด

1 1,428.14 84 2451 16 220 62,900 63,881 126,781 12 3012

อำเภอบัวใหญ่

1 305.028 101 2440 10 121 41,776 41,984 83,760 14 3014

อำเภอปักธงชัย

1 1,374.32 34 2451 16 213 56,797 59,349 116,146 15 3015

อำเภอพิมาย

1 896.871 60 2440 12 208 64,039 65,925 129,964 20 3020

อำเภอสีคิ้ว

1 1,247.07 45 2441 12 169 60,967 61,704 122,671 21 3021

อำเภอปากช่อง

1 1,825.17 85 2501 12 217 92,953 94,097 187,050 2 3002

อำเภอครบุรี

2 1,816.85 58 2482 12 152 46,578 47,683 94,261 6 3006

อำเภอจักราช

2 501.672 40 2496 8 108 34,979 35,138 70,117 7 3007

อำเภอโชคชัย

2 503.917 30 2448 10 126 38,581 40,364 78,945 10 3010

อำเภอโนนสูง

2 676.981 37 2440 16 195 61,941 64,443 126,384 13 3013

อำเภอประทาย

2 600.648 97 2506 13 148 38,900 38,948 77,848 18 3018

อำเภอสูงเนิน

2 782.853 36 2444 11 125 39,140 41,065 80,205 16 3016

อำเภอห้วยแถลง

2 495.175 65 2506 10 120 37,826 37,254 75,080 17 3017

อำเภอชุมพวง

2 540.567 98 2502 9 130 41,132 41,179 82,311 3 3003

อำเภอเสิงสาง

3 1,200.24 88 2519 6 84 34,440 34,188 68,628 4 3004

อำเภอคง

3 454.737 79 2481 10 155 40,231 41,067 81,298 9 3009

อำเภอโนนไทย

3 541.994 28 2443 10 131 35,584 36,675 72,259 11 3011

อำเภอขามสะแกแสง

3 297.769 50 2511 7 72 21,537 21,722 43,259 23 3023

อำเภอแก้งสนามนาง

3 107.258 130 2529 5 56 18,656 18,828 37,484 25 3025

อำเภอวังน้ำเขียว

3 1,130.00 70 2535 5 83 20,992 21,078 42,070 5 3005

อำเภอบ้านเหลื่อม

4 218.875 85 2519 4 39 10,733 10,859 21,592 22 3022

อำเภอหนองบุญมาก

4 590.448 52 2526 9 104 29,847 29,882 59,729 26 3026

อำเภอเทพารักษ์

4 357.465 90 2538 4 58 12,087 11,755 23,842 28 3028

อำเภอพระทองคำ

4 359.522 45 2539 5 74 20,982 21,255 42,237 31 3031

อำเภอสีดา

4 162.825 85 2540 5 50 12,177 12,167 24,344 30 3030

อำเภอบัวลาย

4 106.893 103 2540 4 45 12,296 12,473 24,769 24 3024

อำเภอโนนแดง

4 193.407 75 2532 5 65 12,536 12,950 25,486 19 3019

อำเภอขามทะเลสอ

4 203.605 22 2509 5 46 14,404 14,418 28,822 27 3027

อำเภอเมืองยาง

4 255.522 110 2538 4 44 14,156 13,925 28,081 29 3029

อำเภอลำทะเมนชัย

4 308.457 120 2539 4 59 16,166 16,066 32,232 32 3032

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

4 254.093 18 2539 5 61 17,191 17,777 34,968

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

มีจำนวนทั้งสิ้น 334 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 85 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 243 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา[แก้]

รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และปลัดมณฑล ทำหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รายชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง 1. พระยากำแหงสงคราม (กาจ สิงห์เสนี) รศ.115 – 120 (พ.ศ. 2439 – 2444) 2. พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน ศรีเพ็ญ) รศ.120 – 123 (พ.ศ. 2444 – 2447) 3. พระยาสุริยเดช (จาบ สุวรรณทัต) รศ.123 – 124 (พ.ศ. 2447 – 2448) 4. พระยาวรชัยวุฒิกร (เลื่อง สนธิรัต) รศ.124 – 125 (พ.ศ. 2448 – 2449) 5. พระบรมราชบรรหาร (สวัสดิ์ วิเศษศิริ) รศ.125 – 129 (พ.ศ. 2449 – 2453) 6. พระไชยนฤนาท (ทองดี) รศ.129 – 131 (พ.ศ. 2453 – 2455) 7. พระเทพราชธานี (โหมด) พ.ศ. 2455 – 2456 8. พระยศสุนทร (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2456 – 2458 9. พระยาสุริยราชวราภัย (จร) พ.ศ. 2458 – 2460 10. พันตรี พระยาบรมราชบรรหาร (เย็น ภะระมรทัต) พ.ศ. 2460 – 2465 11. พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) พ.ศ. 2465 – 2471 12. พระยาพิริยะพิชัย (เทียบ สุวรรณนิน) พ.ศ. 2471 – 2474 13. พระยานายกนรชร (เจริญ ปริยานนท์) พ.ศ. 2474 – 2476 14. พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทโสฬส) 2 พ.ย. 2476 – 1 มี.ค. 2479 15. พันเอก หลวงอาจศรศิลป (ประพันธ์ ธนพุทธิ) พ.ศ. 2479 – 2484 16. นายสุรินทร์ ชิโนทัย พ.ศ. 2484 – 2484 17. พระสาครบุรานุรักษ์ (ปริก สุวรรณานนท์) 19 ธ.ค. 2484 – 30 ก.ย. 2486 18. ขุนทยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล) 1 ต.ค. 2486 – 21 ธ.ค. 2487 19. หลวงวิธสุรการ (ถวิล เจียนมานพ) 22 ธ.ค. 2487 – 31 ก.ค. 2488 20. นายอุดม บุญประกอบ 1 ส.ค. 2488 – 31 ก.ค. 2489 21. นายถนอม วิบูลมงคล 7 ส.ค. 2489 – 5 ธ.ค. 2490 22. ขุนบริบาลบรรพตเขตต์ (สังเวียน บริบาลบรรพตเขตต์) 6 ธ.ค. 2490 – 21 มี.ค. 2492 23. ขุนวรคุตต์คณารักษ์ (บุญฤทธิ์ วรคุตานนท์) 22 มี.ค. 2492 – 20 มี.ค. 2495 24. นายยุทธ จรัณยานนท์ 21 มี.ค. 2495 – 11 ต.ค. 2497 25. นายสุวรรณ รื่นยศ 12 ต.ค. 2497 – 22 พ.ค. 2500 26. พันตำรวจเอก เลื่อน กฤษณามระ 23 พ.ค. 2500 – 6 มี.ค. 2501 27. นายเจริญ ภมรบุตร 6 มี.ค. 2501 – 4 มี.ค. 2507 28. นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ 4 มี.ค. 2507 – 2 ต.ค. 2511 29. นายสมชาย กลิ่นแก้ว 2 ต.ค. 2511 – 15 เม.ย. 2513 30. ร้อยตำรวจโท ระดม มหาศรานนท์ 13 เม.ย. 2513 – 30 ก.ย. 2516 31. นายประมูล ศรัทธาทิพย์ 1 ต.ค. 2516 – 5 ธ.ค. 2516 32. นายวิชิต ศุขะวิริยะ 6 ธ.ค. 2516 – 31 ธ.ค. 2518 33. นายจำรูญ ปิยัมปุตระ 1 ม.ค. 2519 – 30 ก.ย. 2520 34. นายเลิศ หงษ์ภักดี 1 ต.ค. 2520 – 31 มี.ค. 2524 35. นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ 1 เม.ย. 2524 – 30 ก.ย. 2531 36. นายไสว พราหมณี 1 ต.ค. 2531 – 30 ก.ย. 2533 37. นายดำรง รัตนพานิช 1 ต.ค. 2533 – 30 ก.ย. 2537 38. นายสุพร สุภสร 1 ต.ค. 2537 – 30 ก.ย. 2539 39. นายประวิทย์ สีห์โสภณ 1 ต.ค. 2539 – 19 ต.ค. 2540 40. นายโยธิน เมธชนัน 20 ต.ค. 2540 – 22 เม.ย. 2544 41. นายสุนทร ริ้วเหลือง 23 เม.ย. 2544 – 30 ก.ย. 2547 42. นายพงศ์โพยม วาศภูติ 1 ต.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2548 43. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ 1 ต.ค. 2548 – 30 ก.ย. 2550 44. นายสุธี มากบุญ 1 ต.ค. 2550 – 27 พ.ย. 2551 45. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี 28 พ.ย. 2551 – 30 ก.ย. 2553 46. นายระพี ผ่องบุพกิจ 1 ต.ค. 2553 – 23 พ.ย. 2554 47. นายชวน ศิรินันท์พร 24 พ.ย. 2554 – 30 ก.ย. 2555 48. นายวินัย บัวประดิษฐ์ 8 ต.ค. 2555 – 1 มิ.ย. 2557 49. นายธงชัย ลืออดุลย์ 2 มิ.ย. 2557 – 30 ก.ย. 2558 50. นายวิเชียร จันทรโณทัย 1 ต.ค. 2558 – 25 พ.ค. 2564 51. นายกอบชัย บุญอรณะ 25 พ.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2564 50. นายวิเชียร จันทรโณทัย (ครั้งที่ 2) 1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2565 52. นายสยาม ศิริมงคล 1 ต.ค. 2565 – ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ[แก้]

ปี (พ.ศ.) ผลิตภัณฑ์ มวลรวม จังหวัด (ล้านบาท) อัตรา การเติบโต (เปอร์เซ็นต์) ผลิตภัณฑ์ มวลรวม จังหวัดต่อคน (บาท) 2538 83,283 — 30,070 2539 92,906 +11.55 36,548 2540 96,484 +3.85 37,721 2541 91,530 -5.13 35,511 2542 85,317 -6.79 32,847 2543 87,571 +2.64 33,552 2544 90,664 +3.53 34,599 2545 99,028 +9.23 37,200 2546 111,034 +12.12 41,321 2547 118,277 +6.52 43,629 2548 121,141 +2.42 44,295 2549 134,007 +10.62 48,648 2550 147,020 +9.71 53,012 2551 152,069 +3.43 54,503 2552 159,557 +4.92 56,877 2553 187,963 +17.80 66,670 2554 202,014 +7.48 71,405 2555 239,199 +18.41 95,193 2556 242,476 +1.37 96,690 2557 245,248 +1.14 97,963 2558 264,964 +8.04 106,000 2559 263,578 -0.52 105,618 2560 274,898 +4.29 110,301 2561 295,551 +7.51 117,517 2562 303,996 +2.86 121,068 2563 294,604 -3.09 117,521 2564 315,583 +7.12 126,119 อ้างอิง:จีพีพีและจีพีพีต่อหัวรายจังหวัด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีอัตราสัดส่วนโครงสร้างร้อยละ 22.46, 19.82 และ 14.91 ตามลำดับ ในภาคการเกษตร จังหวัดมีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 8,931,032 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกข้าว จำนวน 4,329,724 ไร่ พืชไร่จำพวกข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ ฝ้าย และข้าวฟ่าง จำนวน 3,793,602 ไร่ และปลูกพืชสวน 632,170 ไร่ มีครัวเรือนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 326,587 ครัวเรือน โดยมีพืชเศรษฐกิจ 3 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด การเลี้ยงไหมโดยเฉพาะที่อำเภอปักธงชัยเป็นแหล่งผ้าไหมที่ขึ้นชื่อ อาชีพการทำป่าไม้ และการประมงน้ำจืดตามลุ่มน้ำ

ในภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2560 จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานทั้งสิ้น 7,513 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 188,074 ล้านบาท มีจำนวนคนงานรวม 129,531 คน ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 18.84 อุตสาหกรรมขนส่งเฉลี่ยร้อยละ 12.27 อุตสาหกรรมอโลหะเฉลี่ยร้อยละ 11.38 และอุตสาหกรรมอาหารเฉลี่ยร้อยละ 10.02 สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีแร่ที่สำคัญคือ หินบะซอลต์ หินปูน และ เกลือหิน โดยเฉพาะเกลือหิน พบมากในตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด

ในปี พ.ศ. 2564 (year 2021) จังหวัดนครราชสีมามีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product - GPP) เท่ากับ 315,583 ล้านบาท ( 9.3 Billion US$) อยู่ในลำดับที่ 1 ของภาตตะวันออกเฉียงเหนือ ลำดับที่ 12 ของประเทศ และ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (GPP per capita) เท่ากับ 126,119 บาท ( 3,699 US$) อยู่ในลำดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำดับที่ 32 ของประเทศ

ภาคการเงินการธนาคาร จังหวัดนครราชสีมามีจำนวนสำนักงานของธนาคารทั้งสิ้น 152 สำนักงาน(มีนาคม พ.ศ. 2562) เงินรับฝากรวมทุกประเภท (มีนาคม พ.ศ. 2562) ทั้งสิ้น 153,649 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อรวมทุกประเภท (มีนาคม 2562) ทั้งสิ้น 169,203 ล้านบาท

นิคมอุตสาหกรรม[แก้]

  • นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 2 นครรราชสีมา
  • เขตอุตสาหกรรมสุรนารี
  • นิคมอุตสาหกรรมสูงเนิน (โครงการ)

ประชากรศาสตร์[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาปีประชากร±% 2550 2,552,894— 2551 2,565,117+0.5% 2552 2,571,292+0.2% 2553 2,582,089+0.4% 2554 2,585,325+0.1% 2555 2,601,167+0.6% 2556 2,610,164+0.3% 2557 2,620,517+0.4% 2558 2,628,818+0.3% 2559 2,631,435+0.1% 2560 2,639,226+0.3% 2561 2,646,401+0.3% 2562 2,648,927+0.1% 2563 2,633,203−0.6% 2564 2,634,145+0.0%อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ประชากรศาสตร์[แก้]

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช) และอีกกลุ่มคือชาวลาว และ ชาวอีสาน(ตอนบนและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตจังหวัด) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก

ไทโคราช[แก้]

ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาคล้ายคนไทยภาคกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยภาคกลางได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา

กลุ่มไทโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น กร่อนเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่หนาแน่นในอำเภอต่อไปนี้ เช่น อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอโนนไทย อำเภอด่านขุนทด อำเภอพระทองคำ อำเภอเทพารักษ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอขามทะเลสอ อำเภอขามสะแกแสง อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว อำเภอปากช่อง อำเภอสูงเนิน และ อำเภอพิมาย และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเทพสถิต และ อำเภอซับใหญ่)และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)

ชาวไทอีสาน[แก้]

ชาวไทอีสานเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทโคราช อาศัยอยู่มากในอำเภอต่อไปนี้ของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอจักราชและบางส่วนของ อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง อำเภอวังน้ำเขียว และ อำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ชาวไทยอีสานพูดภาษาอีสานท้องถิ่นคล้ายกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป

ชาวไทยเชื้อสายลาว[แก้]

อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่3 มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นในหลายครั้ง และมีการอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง คนกลุ่มที่นี้มักเรียกกันว่า "ลาวเวียง" มีการใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งต่างกับภาษาอีสานสำเนียงท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิง กระจายอาศัยกันอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา โดยส่วนมากมักพบที่อำเภอสูงเนินและอำเภอปักธงชัย ปัจจุบันสืบหาแทบไม่ได้แล้วเนื่อจากการเทครัวมีมานับ200ปีและมีการแต่งงานกับคนพื้นเมือง มีจำนวนน้อยที่สืบหาได้ว่ามีเชื้อสาวลาวเวียงจันทน์ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เช่น การเก็บรักษาผ้าซิ่นแต่เดิมไว้ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เนื่องจากชาวลาวเวียงจันทน์อพยพมาจากเมืองที่มีวัฒนธรรมสูง มักจะมีของมีค่าติดตัวมาด้วย เช่น ผ้าซิ่น ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบชาวเวียงจันทน์ที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ชาวลาวเวียงจันทน์อพยพมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่3 เนื่องจากมีการทำสงครามกับเวียงจันทน์หลายครั้ง และเป็นครั้งใหญ่ที่ทำลายนครเวียงจันทน์อย่างราบคราบ จึงทำให้ชาวลาวเวียงจันทน์ถูกเกณฑ์เป็นเชลยจำนวนมาก โดยหัวเมืองใหญ่อย่างนครราชสีมารับชาวเชลยไว้เป็นจำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆในภาคกลาง

มอญ[แก้]

จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่า มีชาวมอญอยู่จำนวน 2,249 คน จากจำนวนประชากรของนครราชสีมา 402,668 คน ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุล "คชเสนี" เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น

ส่วย[แก้]

ส่วย หรือ ข่า เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อ พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น

ญัฮกุร[แก้]

ญัฮกุร หรือ เนียะกุล เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุญมาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช

ไทยวน[แก้]

ไทยวน หรือ ไทยโยนก เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยวน ใช้พูดในหมู่ไทยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเชื้อสาย ชาวจีน, ชาวเวียดนาม, และแขก (อินเดีย, บังคลาเทศ, ปากีสถาน ฯลฯ)

ดัชนีความก้าวหน้าของคน[แก้]

ดัชนีความก้าวหน้าของคน (จังหวัดนครราชสีมา) ปี 2564 ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านชีวิตการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
0.6132 0.4621 0.7888 0.6091 ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ด้านการมีส่วนร่วม
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
0.7206 0.6688 0.6736 0.5836 จังหวัดนครราชสีมา มีค่าดัชนีความก้าวหน้าของคนที่ 0.6331

ดัชนีความก้าวหน้าของคน (หรือ เอชเอไอ) เป็นดัชนีติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ในระดับจังหวัดของไทย เริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2546 โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (หรือ ยูเอนดีพี) ต่อมาสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้ามาทำหน้าที่นี้แทนตั้งแต่ปี 2560

ดัชนีรวมที่ครอบคลุมขอบเขตสำคัญทั้งหมดแปดด้านของการพัฒนามนุษย์ คือ

  1. ด้านสุขภาพ
  2. ด้านการศึกษา
  3. ด้านชีวิตการทำงาน
  4. ด้านเศรษฐกิจ (รายได้)
  5. ด้านที่อยู่อาศัยและชุมชนสภาพแวดล้อม
  6. ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน
  7. ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร
  8. ด้านการมีส่วนร่วม ดัชนีความก้าวหน้าของคน (หรือ เอชเอไอ) ของจังหวัดนครราชสีมา เปรียบเทียบรายปี

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ[แก้]

  • โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
  • โรงเรียนสุรนารีวิทยา
  • โรงเรียนบุญวัฒนา
  • โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์
  • โรงเรียนมหิศราธิบดี
  • โรงเรียนโคราชพิทยาคม
  • โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา
  • โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์
  • โรงเรียนสุรนารีวิทยา ๒
  • โรงเรียนบุญวัฒนา ๒
  • โรงเรียนพุดซาพิทยาคม
  • โรงเรียนสุรวิวัฒน์
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา

โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชน[แก้]

  • โรงเรียนเกียรติคุณวิทยา
  • โรงเรียนมารีย์วิทยา
  • โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
  • โรงเรียนสารสาสน์วิเทศโคราช
  • โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครราชสีมา

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

หอสุรนภา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ[แก้]

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา)
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย และศูนย์การศึกษาโคราช
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า สีคิ้ว)
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา)
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน[แก้]

  • มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
  • สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา
  • วิทยาลัยพิชญบัณฑิต นครราชสีมา
  • วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หน่วยการเรียนทางไกลจังหวัดนครราชสีมา

สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]

สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐ[แก้]

  • สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบด้วยวิทยาลัยในสังกัด 9 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา,วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา,วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ, วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี,วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ,วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์,วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง,วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ มีที่ตั้งสำนักงานสถาบัน(ชั่วคราว) อยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็น 1 ในสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 สำหรับวิทยาลัยในสังกัดในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่
    • วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ-ปริญญาตรี (สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ)
    • วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี อ.โชคชัย
    • วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ อ.ด่านขุนทด
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาอื่น ๆ
    • วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช (สารพัดช่างนครราชสีมาเดิม)
    • วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา อ.สีคิ้ว
    • วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย
    • วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา (NR-CBAT) เปิดสอนระดับ ปวช.-ปวส. ในด้านบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    • วิทยาลัยเทคนิคปากช่อง (การอาชีพปากช่องเดิม)
    • วิทยาลัยเทคนิคพิมาย (การอาชีพพิมายเดิม)
    • วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง วิทยาเขตสูงเนิน
    • วิทยาลัยเทคนิคบัวใหญ่ (การอาชีพบัวใหญ่เดิม)
    • วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง
  • สถาบันอาชีวศึกษา (เอกชน)
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษานครราชสีมา
    • โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมรี่เทคโนโลยี (ยุบรวมเข้ากับมารีย์บริหารธุรกิจ เมื่อปี 2561)
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ นครราชสีมา (โรงเรียนคาทอลิกในสังกัดเขตมิสซังนครราชสีมา)
    • โรงเรียนเทคโนสุระ
    • บัวใหญ่เทคโนโลยีพณิชยการ
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการปากช่อง
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีสายมิตร นครราชสีมา
    • โรงเรียนกุสุมภ์เทคโนโลยี

วิทยาลัยเฉพาะทาง[แก้]

  • วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นต้น กลาง และสูง

สถาบันวิจัย[แก้]

  • สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  • ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ
  • สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ
  • สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย

การสาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์

  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (1,619 เตียง) เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลทั่วไป
  • โรงพยาบาลปากช่องนานา (300 เตียง)
  • โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา (200 เตียง)
  • โรงพยาบาลพิมาย (144 เตียง) โรงพยาบาลชุมชน
  • ระดับ M2
    • โรงพยาบาลบัวใหญ่ (268 เตียง)
    • โรงพยาบาลสีคิ้ว (154 เตียง)
    • โรงพยาบาลครบุรี (149 เตียง)
    • โรงพยาบาลด่านขุนทด (126 เตียง)
    • โรงพยาบาลโชคชัย (91 เตียง)
  • ระดับ F1
    • โรงพยาบาลสูงเนิน (119 เตียง)
    • โรงพยาบาลปักธงชัย (118 เตียง)
    • โรงพยาบาลจักราช (110 เตียง)
    • โรงพยาบาลโนนไทย (87 เตียง)
    • โรงพยาบาลโนนสูง (86 เตียง)
    • โรงพยาบาลชุมพวง (75 เตียง)
    • โรงพยาบาลประทาย (72 เตียง)
  • ระดับ F2
    • โรงพยาบาลขามสะแกแสง (60 เตียง)
    • โรงพยาบาลคง (60 เตียง)
    • โรงพยาบาลเสิงสาง (60 เตียง)
    • โรงพยาบาลหนองบุญมาก (60 เตียง)
    • โรงพยาบาลห้วยแถลง (60 เตียง)
    • โรงพยาบาลลำทะเมนชัย (48 เตียง)
    • โรงพยาบาลวังน้ำเขียว (40 เตียง)
    • โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ (36 เตียง)
    • โรงพยาบาลแก้งสนามนาง (35 เตียง)
    • โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม (35 เตียง)
    • โรงพยาบาลโนนแดง (33 เตียง)
    • โรงพยาบาลขามทะเลสอ (30 เตียง)
    • โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง (30 เตียง)
    • โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (30 เตียง)
  • ระดับ F3
    • โรงพยาบาลหัวทะเล (30 เตียง)
    • โรงพยาบาลเทพารักษ์ (30 เตียง)
    • โรงพยาบาลสีดา (24 เตียง)
    • โรงพยาบาลบัวลาย (10 เตียง)
    • โรงพยาบาลมกุฏคีรีวัน (5 เตียง)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (820 เตียง) โรงพยาบาลทหาร
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (420 เตียง)
  • โรงพยาบาลกองบิน 1 (50 เตียง) โรงพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา (150 เตียง)
  • โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง (31 เตียง)
  • โรงพยาบาลโคราชเมโมเรียล (35 เตียง)
  • โรงพยาบาลเฉลิมชัย
  • โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ (150 เตียง)
  • โรงพยาบาลด่านเมดิคอล
  • โรงพยาบาลเดอะโกลเด้นท์เกต (60 เตียง)
  • โรงพยาบาลบัวใหญ่รวมแพทย์ (50 เตียง)
  • โรงพยาบาล ป.แพทย์ (150 เตียง)
  • โรงพยาบาล ป.แพทย์ 2
  • โรงพยาบาลปากช่องเมมโมเรียน
  • โรงพยาบาลพิมายเมดิคอล
  • โรงพยาบาลมิตรภาพโพลี่คลีนิค
  • โรงพยาบาลมนตรี
  • โรงพยาบาลสาตรเวช
  • โรงพยาบาลหมอสิน โรงพยาบาลเฉพาะทาง
  • โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ (300 เตียง) อื่นๆ
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย (60 เตียง)

การคมนาคม[แก้]

ทางอากาศ[แก้]

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
ท่าอากาศยานนครราชสีมา

วันที่ 2 กันยายน 2554 ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา บริษัท Thai Regional Aviation จำกัด ได้ทำการเปิดเที่ยวบิน สุวรรณภูมิ-โคราช-สุวรรณภูมิ บริษัทเลือกใช้เครื่องบินรุ่น Piper Navajo Chieftain ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ได้รับความนิยมสูง และ มีความปลอดภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาในการเดินทาง 40 นาที (ปัจจุบันหยุดให้บริการในสายนี้แล้ว)

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 สายการบิน กานต์แอร์ ได้ทำการเปิดเที่ยวบิน จาก ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - ท่าอากาศยานนครราชสีมา โดยทำการบิน 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ (จันทร์, พุธ, พฤหัสบดี, เสาร์) โดยใช้เครื่องบินรุ่น ATR-72 (ปัจจุบันหยุดให้บริการในสายนี้แล้ว)

วันที่ 3 ธันวาคม 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - เชียงใหม่ และภูเก็ต (ปัจจุบันสายนี้หยุดให้บริการแล้ว)

วันที่ 21 ธันวาคม 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) (ปัจจุบันสายนี้หยุดให้บริการแล้ว)

รถยนต์[แก้]

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง คือ

  • เส้นทางผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านรังสิต วังน้อย จนถึงจังหวัดสระบุรี ข้ามทางต่างระดับมิตรภาพ ทางทิศตะวันออก ไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอแก่งคอย มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เรื่อยไปจนถึงอำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน และจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 256 กิโลเมตร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เส้นทางผ่านเขตมีนบุรี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย จนถึงจังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว ปักธงชัย เรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

จากกรุงเทพมหานคร[แก้]

มีรถโดยสารธรรมดา และ รถปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และรถตู้ปรับอากาศ สาย 21 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีบริษัทเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 21 ดังนี้

รถปรับอากาศชั้น 1

  • บริษัท เชิดชัยโคราช จำกัด (ราชสีมาทัวร์)
  • บริษัท แอร์โคราชพัฒนา จำกัด
  • บริษัท สุรนารีแอร์ จำกัด
  • บริษัท นครชัย21 จำกัด
  • บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) รถปรับอากาศชั้น 2
  • กลุ่มเดินรถ ป.2 สาย 21 รถตู้ปรับอากาศ (ไม่รับรายทาง)
  • เสรี รถตู้ลีมูซีน
  • กลุ่มเดินรถตู้จากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ

ซึ่งจะให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีขนส่งทั้งสองแห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 (ถนนบุรินทร์) และสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะเลือกเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ ปลายทางจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมาได้

ภายในจังหวัด[แก้]

การเดินทางภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มีขนส่งสาธารณะให้บริการดังนี้คือ

  • รถโดยสารประจำทางหมวด 1 และหมวด 4 (รถสองแถว) วิ่งบริการภายในเขตเทศบาล และ บริเวณใกล้เคียง รถโดยสารหมวด 1 แบ่งออกเป็น 21 สาย วิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงไปตามเส้นทางต่าง ๆ
  • รถจักรยานยนต์รับจ้าง, รถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อ วิ่งให้บริการผู้โดยสารภายในเขตตัวเมือง
  • รถแท็กซี่มิเตอร์ (Taxi Meter) เปิดให้บริการในช่วงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดจอดรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟชุมทางจิระ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เทอร์มินอล 21 โคราช และสถานบันเทิง นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้บริการโดยโทรศัพท์เลขหมายด่วนหริอเรียกผ่านแอปพลิเคชัน ปัจจุบันมีรถให้บริการทั้งสิ้นจำนวนมากกว่า 70 คัน

ถ้าต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ จะมีรถโดยสารประจำทางหมวด 4 ให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายสายด้วยกัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งประเภทรถสองแถว และ รถบัสโดยสารประจำทางให้บริการ จะมีรถโดยสารไป อำเภอปักธงชัย อำเภอประทาย อำเภอด่านขุนทด อำเภอปากช่อง อำเภอสูงเนิน สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 นั้น จะมีรถโดยสาร ไปเฉพาะ อำเภอพิมาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก และอำเภอเสิงสาง

เดินทางระหว่างจังหวัด[แก้]

มีทั้งรถโดยสารประจำทางธรรมดา และปรับอากาศ หมวด 2 และ 3 จำนวนหลายเส้นทางในจังหวัดต่าง ๆ วิ่งให้บริการผ่านจังหวัดนครราชสีมาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) ทุกวัน

เดินทางระหว่างประเทศ[แก้]

  • กรุงเทพฯ-นครราชสีมา - นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ 900 บาท, นครราชสีมา-เวียงจันทน์ 540 บาท)
    • เวลา 21.00 น. จากสถานีต้นทาง กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 23.50 น.
    • เวลา 18.00 น. จากสถานีต้นทาง นครหลวงเวียงจันทน์ ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 1 นาฬิกา หรือ 01.00 น.
    • เที่ยววิ่งนอกวันและเวลาราชการ เก็บค่าทำการล่วงเวลา ของด่านตรวจคนเข้าเมืองคนละ 5 บาท โดยจัดเก็บที่สถานีเดินรถ
    • เดินทางด้วยรถปรับอากาศ 2 ชั้น 32 ที่นั่ง มีสุขภัณฑ์ พนักงานต้อนรับ และอาหารว่าง
    • ติดต่อสถานีเดินรถนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-254964 หรือ 1490 เรียก บขส.

ในการเดินทางข้ามแดนจากจังหวัดนครราชสีมา ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถใช้หลักฐาน คือหนังสือเดินทางคือหนังสือผ่านแดน หรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราวโดยมีแนวปฏิบัติและขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ใช้บัตรผ่านแดน สำหรับเดินทางเข้าประเทศลาวไม่เกิน 3 วัน 2 คืน และไม่เดินทางไปแขวงอื่น การทำบัตรผ่านแดนทำที่ศาลากลางจังหวัดที่มีชายแดนติดกับลาวโดยใช้หลักฐาน ดังนี้
    • รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรจริง
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • ค่าธรรมเนียม
    • หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องใช้สำเนาสูติบัตรด้วย
  2. การขอวีซ่า
    • ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการของไทยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า สามารถอยู่ในประเทศลาวได้ 30 วัน
    • สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จังหวัดขอนแก่นโดยต้องใช้รูปถ่าย 1 รูป และเสียค่าธรรมเนียม 30 ดอลลาร์สหรัฐ

สถานีขนส่งผู้โดยสาร[แก้]

จังหวัดนครราชสีมา มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังอำเภอ หรือ จังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 430,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 12,000,000 คน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ สระบุรี-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา เป็นสถานีขนส่งฯที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 3,000 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 740,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 80,000 คน/วัน หรือประมาณ 19,000,000 คน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย มีเนื้อที่ 7 ไร่ บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 16 ช่องจอด พื้นที่ 3,280 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 40 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 50 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 210 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน /วัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย ตั้งอยู่บริเวณตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ 54 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่งคือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 18 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 15 คัน และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 25 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 230 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน / วัน

รถไฟ[แก้]

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
สถานีรถไฟนครราชสีมา

มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพ - อุบลราชธานีและกรุงเทพ - หนองคายทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็วและรถธรรมดาวิ่งให้บริการจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน นอกจากนี้ยังมีขบวนรถท้องถิ่นวิ่งให้บริการระหว่างสถานีรถไฟนครราชสีมาไปยังสถานีรถไฟจังหวัดอื่นๆ เช่น สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีอีกด้วย

สถานีรถไฟนครราชสีมาสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 264 กิโลเมตร

รถไฟความเร็วสูง[แก้]

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ–นครราชสีมา–หนองคาย) ช่วงที่ 1 กรุงเทพ (บางซื่อ) – นครราชสีมา (กำลังก่อสร้าง เปิดให้บริการในปี 2570)

  • สถานีที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมา
    • สถานีรถไฟปากช่อง
    • สถานีรถไฟนครราชสีมา
    • สถานีรถไฟบัวใหญ่ (ในอนาคต)

ทางหลวง[แก้]

ทางหลวงพิเศษ[แก้]

  • ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
    ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือมอเตอร์เวย์บางปะอิน–สระบุรี–นครราชสีมา (กำลังก่อสร้าง เปิดให้บริการในปี 2566)
    • ทางออกในเขตจังหวัดนครราชสีมา
      • ปากช่อง
      • สีคิ้ว
      • ขามทะเลสอ
      • นครราชสีมา

ทางหลวงแผ่นดิน[แก้]

ทางหลวงสายสำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีดังนี้

  • ทางหลวงหมายเลขหลักเดียว
    1. ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
      ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจาก กลางดง - ปากช่อง - คลองไผ่ - สีคิ้ว - สูงเนิน - โคกกรวด - นครราชสีมา - จอหอ - ตลาดแค - บ้านวัด - สีดา - สิ้นสุดจังหวัดนครราชสีมาในเขตอำเภอบัวลาย
  • ทางหลวงหมายเลขสองหลัก
    1. ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
      ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม และถนนสถลมารค) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากทางแยกต่างระดับสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอหนองบุนนากกับอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

กีฬา[แก้]

เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพหลายด้าน ทำให้จังหวัดนครราชสีมามีโอกาสจัดการแข่งขันกีฬาในระดับชาติ และระดับนานาชาติอยู่เสมอ

สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นด้านกีฬาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เนื่องจากมีการพัฒนาด้านกีฬาตลอดเวลา ในหลากหลายชนิดกีฬา เช่น[ต้องการอ้างอิง]

มวย

  • นักมวยโคราช ได้สร้างชื่อจนเป็นที่ยอมรับในวงการมวยไทย และมวยสากล มาเป็นระยะเวลายาวนาน

วอลเลย์บอล

  • ทีมวอลเลย์บอลของโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ผลิตนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าสู่ทีมชาติอย่างต่อเนื่อง
  • ทีมวอลเลย์บอลประจำจังหวัด คือ สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา (แคทเดวิล) โดยมีทั้งทีมชายและทีมหญิง ปัจจุบันเล่นอยู่ในวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก
  • วันที่ 17- 25 เมษายน 2557 ทีมสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา (หญิง) เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 2014 ที่ยิมเนเซียมเทศบาลเมืองนครปฐม ได้อันดับที่ 5 ของทวีปเอเชีย

ฟุตซอล

  • ฟุตซอลไทยลีก
    • ทีมสโมสรฟุตซอลนครราชสีมา เดอะเดอะมอลล์ วีวัน (ซุปเปอร์แคท)
  • ฟุตซอลลีก ดิวิชั่น 1
    • ทีมสโมสรฟุตซอลนครราชสีมา SAT3

ฟุตบอล

ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
โลโก้สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี
ประว ต นาย สาคร ประท ม ช างภาพโคราช
โลโก้สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เดอะมอลล์ วีซี

  • ไทยลีก (T1)
    • ทีมสโมสรฟุตบอลนครราชสีมามาสด้า เอฟซี (สวาทแคท)
  • ไทยลีก 3 (T3)
    • ทีมสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา ยูไนเต็ด
  • ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์
    • ทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อนปากช่อง
    • ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช (นักรบที่ราบสูง)
    • ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช ยูไนเต็ด (ไอ้กระทิงดุ)
    • ทีมสโมสรฟุตบอลโคราช ซิตี้
    • ทีมสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยวงชวลิตกุล
    • ทีมสโมสรฟุตบอลจิมทอมสัน ฟาร์ม

เซปัคตะกร้อ

  • ทีมสโมสรตะกร้อนครราชสีมา (แมวป่าทมิฬ) ปัจจุบันทำการแข่งขันในตะกร้อไทยแลนด์ลีก

บาสเกตบอล

  • ในจังหวัดนครราชสีมามีการจัดการแข่งขันบาสเกตบอลลีกภายในจังหวัด ในชื่อ โคราชบาสเกตบอล ลีก

สนามกีฬา[แก้]

  • สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550
    • โคราช ชาติชาย ฮอลล์
  • สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (นครราชสีมา)
  • สนามกีฬามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สนามกีฬาเทศบาลนครราชสีมา
  • สนามกีฬาสุรพลากีฬาสถาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สนามกีฬากลาง ค่ายสุรนารี
  • สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เทศกาลและงานประเพณี[แก้]

  • งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก จัดบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่จัดงานทุกอำเภอ
  • งานแห่เทียนพรรษาโคราช เสริมบุญสร้างบารมี กำหนดจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา มีการประกวดรถต้นเทียนแต่ละประเภท ณ บริเวณสวนรักษ์และลานอนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีความวิจิตรสวยงามตระการตาไม่แพ้ที่ใด และมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดในภูมิภาคกว่า 500,000 คน
  • เทศกาลขนมจีนประโดก ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและเผยแพร่วัฒนธรรมขนมจีนบ้านประโดก ณ บริเวณสวนสุขภาพชุมชนบ้านประโดก ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
  • เทศกาลเครื่องปั้นดินเผา-ด่าน-เกวียน แสดงศิลปะ และวัฒนธรรม ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • เที่ยวเพลิน เดินชม โคกกรวด ชิมอาหารโบราณ ชมการแสดงมากมาย ณ อุทยานสถานีรถไฟโคกกรวด-ตลาดเก่าไทย-จีน โคกกรวด หมู่ที่1 ต.โคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา
  • งานตรุษจีนนครราชสีมา กิจกรรมที่เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างชาวไทยและชาวจีน ซึ่งถือว่าเป็นงานที่มีความยิ่งใหญ่ภายใต้ความเชื่อที่มีมานาน และเป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนสุดยิ่งใหญ่อลังการ ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และบริเวณสวนอนุสรณ์สถาน อำเภอเมืองนครราชสีมา
  • อำเภอปากช่อง
    • ปากช่องคาวบอยซิตี ริมถนนมิตรภาพสายเก่า บริเวณสวนสาธารณะเขาแคน เทศกาลที่ชาวอำเภอปากช่องต่างแต้มสีสันในแบบอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ การเนรมิตเมืองปากช่องให้เป็นเมืองคาวบอยตะวันตก
    • เทศกาลน้อยหน่า ของดีปากช่อง และงานกาชาด
  • อำเภอพิมาย
    • การแข่งเรือพิมาย การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน เป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่งช่วงเวลา จัดหลังวันออกพรรษา แต่ไม่เกินวันเพ็ญเดือนสิบสอง
    • งานเทศกาลเที่ยวพิมาย จัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัด คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือยาวประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่พุทธราชาและพุทธประวัติ ขบวนแห่พุทธประทีปและการแสดงประกอบแสง เสียง
  • อำเภอวังน้ำเขียว
    • งานเบญจมาศบาน ในม่านหมอก จัดขึ้นในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ณ หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียวซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การประกวดและจำหน่าย “ดอกเบญจมาศ” แปลงสาธิตดอกเบญจมาศหลากสายพันธุ์ หลากการแสดงและจำหน่ายสินค้าผักเมืองหนาวและกิจกรรมการขี่จักรยานท่องเที่ยวรับสายหมอกและลมหนาว
    • วังน้ำเขียวฟลอร่าแฟนตาเซีย ณ บริเวณแยกวัดโพธิ์เฉลิมพระเกียรติ อำเภอวังน้ำเขียว
  • อำเภอเสิงสาง
    • งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา คณะสงฆ์อำเภอเสิงสางโดยความร่วมมือของเทศบาลตำบลเสิงสาง วัฒนธรรมอำเภอเสิงสาง และพุทธสมาคมอำเภอเสิงสางได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาอำเภอเสิงสางประจำปี จัดที่เทศบาลตำบลเสิงสาง
  • อำเภอคง
    • ไม้ชวนชมประจำอำเภอคง
    • เทศกาลประเพณีของดีเมืองคง
    • ประเพณีบุญบั้งไฟตำบลหนองมะนาว
    • งานเห็ดเมืองคง
  • อำเภอปักธงชัย
    • งานผ้าไหมและของดีเมืองปักธงชัย เป็นงานที่ชาวอำเภอปักธงชัย ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผ้าไหม และสินค้าต่าง ๆ ของอำเภอปักธงชัย จัดในวันที่ 9-15 ธันวาคม ของทุกปี ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอปักธงชัย
  • อำเภอโชคชัย
    • เทศกาลกินหมี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา
    • แข่งเรือพาย ตำบลท่าลาดขาว เดือนพฤศจิกายนของทุกปี
    • แข่งเรือ ตำบลละลมใหม่พัฒนา
  • อำเภอแก้งสนามนาง
    • งานเทศกาล มหัศจรรย์ทุ่งดอกจานบานสะพรั่ง
    • งานบุญข้าวจี่
    • งานทอดผ้าไหม
  • อำเภอด่านขุนทด
    • งานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ วัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด วันที่ 11 มกราคมของทุกปี
  • อำเภอขามสะแกแสง
    • งานของดีอำเภอขามสะแกแสง บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอขามสะแกแสง เพื่อประชาสัมพันธ์ผลผลิตจากเกษตรกรโดยเฉพาะพริก ถือเป็นของดีของอำเภอ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญในอาชีพเกษตรกร ได้รับความรู้เชิงวิชาการและความรู้ใหม่ในการเพิ่มผลผลิต อีกทั้งการสร้างเสริมการตลาด ส่งเสริมความสามัคคี และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของอำเภอ
  • อำเภอสูงเนิน
    • ประเพณีกินเข่าค่ำของดีเมืองสูงเนิน จัดขึ้นเป็นประจำในเสาร์ที่2ของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยมีการแสดงแสง สี เสียง ชุดนิรมิตกรรมเหนือลำตะคลอง และการแสดงโอทอปประจำตำบลของอำเภอสูงเนิน การประกวดธิดากินเข่าค่ำ จัดขึ้นที่ปราสาทเมืองแขก ตำบลโคราช
  • อำเภอหนองบุญมาก
    • เทศกาลเฟื่องฟ้างาม อำเภอหนองบุญมาก งานเทศกาลเฟื่องฟ้างามและของดีอำเภอหนองบุญมาก จัดขึ้นวันที่ 18-24 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์ของดีอำเภอหนองบุญมาก ส่งเสริมอาชีพการปลูกต้นเฟื่องฟ้าและไม้ดัด ณ ศูนย์ราชการอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ยังมีจัดงานเยือนถิ่นหนองบุญมาก การแสดงแสงสีเสียง ณ ปราสาทหินบ้านถนนหัก จัดโดย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จัดขึ้นช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี
  • อำเภอเทพารักษ์
    • งานเทศกาลชมพระอาทิตย์ตกดิน ดอยเจดีย์ อำเภอเทพารักษ์
    • พิธีสักการะรูปหล่อหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ตำบลบึงปรือ อำเภอเทพารักษ์
  • อำเภอเมืองยาง
    • ประเพณีงานข้าวใหม่ปลามัน จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นระยะเวลาที่การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้วและเชื่อกันว่าหากได้ข้าวและปลาในช่วงดังกล่าวจะมีรสชาติดีเป็นเลิศ อำเภอเมืองยาง
  • อำเภอลำทะเมนชัย
    • การแข่งขันพายเรืออีโปงในเทศกาลวันสงกรานต์ อำเภอลำทะเมนชัย
  • อำเภอสีดา
    • งานท้องถิ่นอำเภอสีดา
  • อำเภอโนนแดง
  • งานบุญบั้งไฟ ตำบลดอนยาวใหญ่ อำเภอโนนแดง

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิลปิน/นักแสดง

  • กัญญ์กุลณัช ปัญญากิตตินันท์
  • จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ
  • ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล
  • ติ๊ก ชีโร่
  • ตั๊กแตน ชลดา
  • ธงชัย ประสงค์สันติ
  • ธมลวรรณ กอบลาภธนากูล
  • นันทิตา ฆัมภิรานนท์
  • นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์
  • ปภาดา กลิ่นสุมาลย์
  • พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
  • พัชร์ลิตา จิระพิทักษ์ชัย
  • เพ็ญ พิสุทธิ์
  • รตวรรณ ออมไธสง
  • รัตติยา พลเสน
  • รวิวรรณ จินดา
  • รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตร
  • วงศกร ปรมัตถากร
  • วีรยา จาง
  • เจเน็ต เขียว
  • ศักดิ์ชาย วันชัย
  • เสกสรรค์ ศุขพิมาย
  • สุชาร์ มานะยิ่ง
  • สุนารี ราชสีมา
  • สุพิชฌาย์ ศรีสวัสดิ์
  • ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์
  • เหมือนฝัน บัณฑิตสกุล
  • อัมพร ปานกระโทก
  • แอร์ สุชาวดี
  • พาเมล่า เบาว์เด้น
  • พัชรา แวงวรรณ
  • นิศาชล สิ่วไธสง
  • ปรารถนา สัชฌุกร
  • ปาริฉัตร ไพรหิรัญ

นักกีฬา

  • วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
  • ปิยะมาศ โมนยะกุล
  • อุดมพร พลศักดิ์
  • พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์
  • อานนท์ สังข์สระน้อย
  • รัตนพล ส.วรพิน
  • รัตนชัย ส.วรพิน
  • สมจิตร จงจอหอ
  • ศิวลักษณ์ เทศสูงเนิน นักการเมือง

• ประเสริฐ จันทรรวงทอง

• วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

• เสกสกล อัตถาวงศ์

• จรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร

• วัชรพล โตมรศักดิ์

• ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ

พระภิกษุสงฆ์

  • พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)
  • พระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ)

สือมวลชน

  • อธึกกิต แสวงสุข(ใบตองแห้ง)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา
  • รายชื่อตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
  • เทศบาลนครนครราชสีมา
  • ประตูเมืองนครราชสีมา
  • นครชัยบุรินทร์
  • คูเมืองนครราชสีมา

อ้างอิง[แก้]

  • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  • [http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2564]
  • ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ น่า ๗๙๑
  • ↑ www.khundee.com/โคราชยุคก่อนประวัติศาส/
  • ธิดา สาระยา. เมืองพิมาย. กรุงเทพ; สำนักพิมพืเมืองโบราณ, พ.ศ. 2535.
  • https://e-shann.com/54486/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4/
  • https://www.posttoday.com/world/609003
  • ↑ ศานติ ภักดีคำ. เขมรรบไทย. กรุงเทพ; สำนักพิมพ์มติชน, 2554.
  • ↑ http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8613
  • http://koratth.weebly.com/3611361936323623363336053636.html
  • จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. กบฏกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ยิปซีสำนักพิมพ์, พฤศจิกายน 2551.
  • ↑ พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).
  • https://pantip.com/topic/37872872
  • ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓.
  • ที่ตั้งและอาณาเขต สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เก็บถาวร 2010-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
  • ↑ จีพีพีและจีพีพีต่อหัวรายจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] .จาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2566)
  • ↑ ภาวะเศรษฐกิจ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เก็บถาวร 2010-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
  • สรุปภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดนครราชสีมา เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา
  • เก็บถาวร 2012-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สถิติการเงินและการธนาคารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย.
  • สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556. รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ประจำปี 2562. ภาคผนวก 1 หน้า 29 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] .จาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ