ป.ป.ช เร ยกผ ร องให ข อ ลเพ ม 29

วันนี้ (29 ก.ย.2565) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยกระดับการให้บริการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ Online Declaration System หรือ ODS ซึ่งมีฟังก์ชันการใช้งานที่ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

เพียงเตรียมข้อมูลเป็นไฟล์ภาพหรือไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (jpeg หรือ PDF) โดยระบบใหม่พร้อมเปิดบริการแก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 103 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นไป ที่ www.nacc.go.th และ https://asset.nacc.go.th./ods-app

ป.ป.ช เร ยกผ ร องให ข อ ลเพ ม 29

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2565

จากประกาศดังกล่าว เป็นการเพิ่มช่องทางในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินผ่านทางระบบออนไลน์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเดิมจะต้องดำเนินการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบ ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค

ทั้งนี้เมื่อระบบการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (Online Declaration System หรือ ODS) เปิดใช้งานในวันที่ 1 ต.ค.2565 แล้วนั้น ผู้ยื่นบัญชีฯ จะสามารถยื่นบัญชีฯ ในรูปแบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.nacc.go.th และ https://asset.nacc.go.th./ods-app

สำหรับกำหนดการเปิดรับยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ODS ได้แบ่งเป็น 3 ระยะ ตามประเภทตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ดังนี้

ป.ป.ช เร ยกผ ร องให ข อ ลเพ ม 29

ระยะที่ 1

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 103 ได้แก่ เจ้าพนักงานของรัฐตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

ระยะที่ 2

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2566 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (1-8) ได้แก่ (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (4) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป

(5) ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป (6) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป (7) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และ (8) ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ

ระยะที่ 3

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (9) ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิก สภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดใช้งานระบบการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (Online Declaration System หรือ ODS) โดยได้จัดให้มีการอบรม แก่ผู้ใช้งานและผู้ที่เกี่ยวข้อง

ตลอดจนจัดทำคู่มือการใช้งานและวีดิทัศน์แนะนำการใช้งาน ซึ่งการเปิด ใช้งานระบบยื่นบัญชีฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชี เช่น ประหยัดเวลา ลดภาระในการเดินทาง และสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น

หากท่านต้องการสอบถามหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน สามารถติดต่อได้ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ทุกแห่งทั่วประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 02-528-4800 หรือสายด่วน ป.ป.ช.1205 ในวันและเวลาราชการ

20 ปี ป.ป.ช. เรื่องค้างพิจารณากว่า 1.4 หมื่น เผยปี 2559 มีเรื่องร้องมากที่สุด ให้สัญญาปีหน้าฟัน15 คดีดัง

ป.ป.ช เร ยกผ ร องให ข อ ลเพ ม 29
นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

20 ปี ป.ป.ช. เรื่องค้างพิจารณากว่า 1.4 หมื่น เผยปี 2559 มีเรื่องร้องมากที่สุด ให้สัญญาปีหน้าฟัน15 คดีดัง

นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. แถลงผลงาน 20 ปีสำนักงานป.ป.ช. ว่า สถิติเรื่องร้องเรียนตลอด 20 ปีของสำนักงานป.ป.ช.ที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2559 มีจำนวนเรื่องร้องเรียนมากที่สุด 5382 เรื่อง ปัจจุบันป.ป.ช.มีเรื่องค้างพิจารณาหรือ 14,717 เรื่อง พิจารณาแล้วเสร็จ 4,782 เรื่อง โดยในปี 2563 ป.ป.ช.ให้สัญญาว่าจะดำเนินการไต่สวนคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชนที่ค้างอยู่ในการพิจารณาให้แล้วเสร็จ 15 คดีดังนี้

1.คดีการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย ปี 2556 2.คดีการปราศรัยของกลุ่มนปช.ปี 2557 3.คดีทุจริตในการสร้างฝายแม้ว 4.คดีการอนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการเมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ 5.คดีทุจริตการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ภาคสอง 6.คดีทุจริตการซื้อขายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ 7.คดีทุจริตเงินทอนวัดอีก 36 คดีที่เหลืออยู่ 8.คดีทุจริตในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 และอัลฟ่าหก 9.คดีทุจริตสร้างสนามกีฬาฟุตซอล 10.คดีทุจริตเรียกรับเงินจากผู้นำเข้ารถยนต์อิสระทำให้ผู้นำเข้าเสียภาษีน้อยลง(รถหรู) 11.คดีทุจริตในการจัดหาที่ดินเพื่อปลูกปาล์มและผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศอินโดนีเซีย 12.คดีทุจริตในการซื้อขายเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินโบว์อิ้ง ของบริษัทการบินไทย(คดีสินบนโรลส์-รอยช์) 13.คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก-ป่าเขาเมือง ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ 14.คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดิน ตำบลเขากะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด 15. คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนเขาเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเตียน และป่าเขื่อนลั่น อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

นายวรวิทย์ ระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนของป.ป.ช.พร้อมเดินหน้าปฎิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งภายใต้ค่านิยมซื่อสัตย์เป็นธรรมมืออาชีพ จึงขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของป.ป.ช.ว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายการพิจารณาวินิจฉัยคดีทุกอย่างต้องมีพยานหลักฐานและจะดำเนินการอย่างรวดเร็วเป็นมืออาชีพมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหวังของประชาชน

นายวรวิทย์ ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงความคืบหน้าคดีเหมืองทองว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้ โดยคดีดังกล่าวมีหลายประเด็น แต่ประเด็นที่คืบหน้า เช่น หลุมกำจัดที่มีปัญหาเรื่องมลพิษ

ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าในประเด็นสินบนข้ามชาติ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าป.ป.ช.ชุดที่แล้วได้รับเอกสารหลักฐานมาจากออสเตรีย นายวรวิทย์กล่าวว่า เอกสารที่ป.ป.ช.จะนำมารวมในสำนวนได้นั้น จะต้องเป็นเอกสารที่เป็นทางการ โดยเอกสารที่เป็นทางการนั้นขณะนี้ยังไม่เรียบร้อย อยู่ระหว่างการขอเอกสารอย่างเป็นทางการจากต่างประเทศ โดยกรรมการที่รับผิดชอบสำนวนกำลังพิจารณาอยู่ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพราะบางเรื่องที่จำเป็นก็จะต้องรอ ประเด็นไหนที่สามารถสรุปได้ก็สรุป พร้อมระบุด้วยว่าความยากของคดีดังกล่าว คือการรวบรวมพยานหลักฐาน

เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ป.ป.ช.จะลงพื้นที่จ.ราชบุรี ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ เพื่อตรวจสอบรายการทรัพย์สินของน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่แจ้งรายการถือครองที่ดินภบท.5 สปก.และที่ดินรายการต่างๆที่แจ้งต่อป.ป.ช.ว่า ในวันที่ 29พ.ย. เจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบทรัพย์สินของป.ป.ช.จะลงพื้นที่จ.ราชบุรี ไปตรวจสอบทรัพย์สินและทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์ ฟาร์มวัว ฟาร์มไก่ รวมถึงที่ดินภบท.5 จะดูทั้งเอกสารและพื้นที่จริง เพื่อดูว่าสอดคล้องกับเอกสารที่ยื่นต่อป.ป.ช.หรือไม่ ตลอดจนดูถึงการได้มาของทรัพย์สินด้วย ส่วนการได้มาของที่ดินต่างๆนั้นจะได้โดยชอบหรือไม่นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของป.ป.ช. แต่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธินั้นๆ หน้าที่ป.ป.ช.มีเพียงแค่ตรวจสอบข้อมูลในการยื่นเข้ารับตำแหน่งเพื่อดูว่ามีการยื่นเท็จ ปกปิดอย่างไรหรือไม่ โดยเฉพาะการจงใจยื่นเท็จปกปิดหรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายของป.ป.ช.ในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน เพื่อนำไปเป็นฐานในการเปรียบเทียบอีกครั้งตอนพ้นจากตำแหน่งว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือร่ำรวยผิดปกติหรือไม่

นายวรวิทย์ กล่าวว่า ส่วนนักการเมืองคนอื่นๆที่ข่าวครอบครองที่ดินภบท.5 หรือสปก.นั้น เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการครอบครองจำนวนมากๆแล้วถูกพบเป็นประเด็นทางสังคม ป.ป.ช.ก็ต้องตรวจสอบ เป็นเรื่องปกติที่ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล เพราะบางรายมีทรัพย์สินจำนวนมากๆ และมีเหตุอันสมควรที่ป.ป.ช.ต้องลงไปตรวจสอบ วัตถุประสงค์หลักของป.ป.ช.ที่ไปตรวจสอบคือ 1.ไว้เป็นฐาน ซึ่งคนที่ทุจริตส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าป.ป.ช.จะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐาน จะยื่นแสดงทรัพย์สินในจำนวนที่สูงมากๆ เพื่อตอนพ้นตำแหน่งจะได้ระบุว่า ยังมีทรัพย์สินอยู่ตามจำนวนที่ยื่น ดังนั้นป.ป.ช.จึงต้องตรวจที่มาของแต่ละสิ่งนั้น เผื่อมีเหตุอันสมควรที่นำไปสู่การตรวจสอบเชิงลึก ดังนั้นหากเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจก็เป็นเหตุผลที่ป.ป.ช.ต้องลงไปตรวจสอบอยู่แล้ว

นายวรวิทย์ กล่าวว่า ขณะที่การตรวจสอบการครอบครองเหล็กไหลมูลค่า 1,000 ล้านบาท ของนายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังไทยรักไทยนั้น เจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ไปตรวจสอบมาแล้วรอบหนึ่ง เรื่องความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน แต่จะลงไปตรวจสอบอีกครั้ง เนื่องจากมีข้อสงสัยเรื่องการได้มา จึงต้องไปสอบถามพยานบุคคลเพิ่มเติม ส่วนการตรวจสอบพระเครื่องของนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ที่แจ้งมูลค่าพระเครื่องหลายรายการ ในมูลค่าสูงมากนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังสรุปประเด็นเป็นข้อๆเพื่อรายงานมาให้ตน ก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมป.ป.ช.พิจารณา มีระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน180 วัน ถือเป็นการตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล แต่ถ้ามีประเด็นที่จะต้องติดตามต่อ หรือมีพยานหลักฐานที่ต้องซักถามเพิ่มเติมก็ต้องทำต่อเนื่อง ส่วนป.ป.ช.จะต้องเรียกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น เซียนพระมาร่วมให้ข้อมูลด้วยหรือไม่ เพื่อความน่าเชื่อถือนั้น ในบางกรณีต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นประเด็นขึ้นมา ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้ แต่บางกรณีถ้าเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็น ก็ให้เจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ตรวจสอบไปก่อน แต่กรณีนี้เบื้องต้นยังไม่มีการเรียกผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูล แต่จะต้องเรียกเซียนพระมาหรือไม่ ขอให้เจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อมูลก่อน

นายวรวิทย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเรื่องการตรวจสอบราคาพระเครื่อง เหล็กไหลนั้น ทำได้ยาก เพราะไม่มีราคากลางเหมือนอัญมณี ทำให้การตรวจสอบเป็นไปยากลำบาก แต่ในกฎหมายระบุว่า หากมีเจตนาจงใจหรือยื่นเท็จ หรือปกปิกโดยมีเจตนาไม่แสดงที่มาของรายการทรัพย์สิน ไม่ให้รู้ที่มาทรัพย์สิน ถ้ารายการเหล่านั้นเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวของป.ป.ช. ก็ต้องถูกดำเนินการ แต่จะเข้าเงื่อนไขหรือไม่ ขอเวลาตรวจสอบก่อน โดยจะต้องดูว่าการแจ้งมูลค่าสูงกว่าความจริงนั้น มีเจตนาอย่างไร

ส่วนความคืบหน้าในการไต่สวนคดีสินบนโรลส์-รอบช์ ว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหารวม 10 คน จากจำนวน 26 คน โดยทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงต่อป.ป.ช. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 นี้ ขณะที่นักการเมืองที่เป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหานั้น เป็นเพราะพยานหลักฐานยังสาวไปไม่ถึง แต่หากในอนาคตมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมสามารถที่จะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มได้