กายกรรม 3 วจ กรรม 4 มโนกรรม 3 ม อะไรบ าง

กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ เป็นธรรมส่วนสุจริต 10 ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10

คำว่า กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก่

  • ที่เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์๑ ไม่ลักทรัพย์ ๑ไม่ประพฤติผิดในกาม๑
  • ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ๑ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ๑ไม่พูดเพ้อเจ้อ๑
  • ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา๑ ไม่พยาบาทปองร้าย๑ เห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)๑

กุศลกรรมบถ ก็คือสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจนั่นเอง

กุศลกรรมบถหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม - righteous conduct), โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว—cleansing), อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ - virtues of a noble or civilized man), อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ - the noble path), สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ - good law; true law), สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ - qualities of a good man)

ประวัติ[แก้]

กุศลกรรมบถมาจากพุทธสุภาษิต สุจริตธรรมดังนี้

ธมฺมญจเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จาติฯ

สุภาษิตนี้มีเนื้อความว่า ธมฺมญจเร สุจริตํ บุคคลพึงประพฤติธรรมส่วนสุจริตอยู่ทุกเมื่อเถิด น ตํ ทุจฺจริตํ จเร ไม่พึงประพฤติธรรมส่วนทุจริตเลย ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมส่วนสุจริต ย่อมนอนเป็นสุข หรือเป็นสุขทุกอิริยาบถ อสฺมึ โลเก ปรมฺ หิ จ ทั้งในโลกนี้ด้วย โลกเบื้องหน้าด้วย ดังนี้ฯ

กุศลกรรมบถ 10[แก้]

ประพฤติดีด้วยกาย 3 ประเภท[แก้]

ประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี 3 ประการ

กายกรรม 3 มีอะไรบ้าง

ที่เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)

ความประพฤติดีทางกายมี 3 อย่างอะไรบ้าง

กายสุจริต (กายยะสุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑. โดยสุจริต

มโนกรรม 3 (ทางใจ) ได้แก่อะไรบ้าง

ค. มโนกรรม 3 ไดแกการกระทําทางใจ มี3 ประการ คือ 1. อภิชฌา หมายถึง การเพงเล็งอยากไดของเขา 2. พยาบาท หมายถึง การคิดรายตอผูอื่น 3. มิจฉาทิฐิหมายถึง การเห็นผิดจากคลองธรรม

กายกรรม มีอะไรบ้าง

๑. กายกรรม ได้แก่การกระทำทางกาย ดังเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ๒. วจีกรรม ได้แก่การกระทำทางวาจา ดังเช่น การพูด การสื่อสาร การเขียนหนังสือ ๓. มโนกรรม ได้แก่ การกระทำทางใจ ดังเช่น ความคิด ความเชื่อ ความเห็น การยึดถือ