ค าเง นเพ ม 1.5 ภงด.50 น บเด อนย งไง

Q 4 : การลงลายมือชื่อในช่องคำรับรองของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หากกรรมการเดินทางไปต่างประเทศยังไม่กลับ จะให้ผู้จัดการฝ่ายบัญชีลงชื่อแทนได้หรือไม่ A 4 : บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 7 บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่นซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ

Q 5 : บริษัทเปลี่ยนกรรมการใหม่ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ใครเป็นผู้ลงนามในงบดุล A 5 : ผู้ลงนามในงบดุล คือ ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

Q 6 : ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาบริษัทไม่มีรายได้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่ A 6 : บริษัทยังมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แม้ไม่มีรายได้ในการประกอบกิจการ

Q 7 : บริษัทมีรอบระยะเวลาสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่เท่าใด A 7 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นแบบฯ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 วันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม 2561

Q 8 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ช่องทางอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบได้ถึงเมื่อใด A 8 : สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน 2561

Q 9 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จำเป็นต้องยื่นงบการเงินพร้อมกันหรือไม่ A 9 : ไม่จำเป็นต้องยื่นพร้อมกัน

Q 10 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้วมีภาษีที่ชำระไว้เกิน (ขอคืนภาษี) แต่ไม่ได้ลงชื่อประสงค์ขอคืนภาษีต้องทำอย่างไร A 10 : หากมีความประสงค์ขอคืน ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรด้วย แบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

Q 11 : งบการเงินของบริษัทจำกัด สามารถให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบและรับรองได้หรือไม่ A 11 : ไม่ได้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบและรับรองได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

Q 12 : ปี 2559 หจก. มีรายได้เกิน 30 ล้านบาท รายงานผู้สอบเป็น CPA ในปี 2560 หจก. มีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาท ต้องใช้ CPA ตลอดไป หรือ ใช้ TA ได้ ในปีที่รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท A 12 : ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีได้

Q 13 : สำเนางบการเงิน กรรมการต้องลงลายมือชื่อทุกแผ่นหรือไม่ A 13 : ต้องลงลายมือชื่อทุกแผ่น

Q 14 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่มีสำนักงานบัญชี (ผู้ตรวจสอบอิสระ) ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (13 หลัก) ของสำนักงานสอบบัญชีอย่างไร A 14 : กรณีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่มีสำนักงานบัญชี ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

Q 15 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากผู้ทำบัญชีไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของสำนักงานทำบัญชีต้องระบุเลขใด A 15 : ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทที่ยื่นแบบ

Q 16 : กิจการจัดตั้งมาโดยมีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถึง 12 เดือน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่ A 16 : ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ถึงแม้จะมีรอบระยะเวลาไม่ถึง 12 เดือนก็ตาม

Q 17 : ต้นทุนทางการเงินของแบบ ภ.ง.ด.50 รายการที่ 7 กับรายการที่ 8 แตกต่างอย่างไร A 17 : รายการที่ 7 หมายถึง ค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบการกิจการ เช่น ค้ำประกันให้บริษัทอื่น รายการที่ 8 หมายถึง ค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง เช่น บริษัทกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ

Q 18 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 แต่ไม่ได้นำผลขาดทุน 5 รอบระยะเวลาบัญชีมาใช้สิทธิ จะต้องทำอย่างไร A 18 : หากมิได้ใช้สิทธินำผลขาดทุนสะสมไปกรอกแบบในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ต้องทำการยื่นแบบปรับปรุง โดยนำผลขาดทุนมากรอกให้ครบถ้วนและถูกต้อง

Q 19 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม สามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ A 19 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากมีภาษีต้องชำระเพิ่ม ไม่สามารถผ่อนชำระได้

Q 20 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ต้องแนบงบการเงินด้วยหรือไม่ A 20 : กรณีมีการปรับปรุงรายการในงบการเงิน ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ต้องแนบงบการเงิน และมีผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ให้กรอกรายการต่างๆ ด้วยตัวเลขที่ถูกต้อง และครบถ้วนทุกรายการ

Q 21 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบต่างท้องที่ได้หรือไม่ A 21 : ไม่ได้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่

Q 22 : มิได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกกิจการจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 อีกหรือไม่ A 22 : จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกิจการ และเสร็จสิ้นการชำระบัญชี

Q 23 : ในโปรแกรม ภ.ง.ด.50 การระบุวันที่แบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้มีหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องระบุวันที่ใด A 23 : การระบุวันที่ในแบบแจ้งข้อความ ให้ระบุตามวันที่ที่ได้ทำรายการหรือน้อยกว่าวันที่บันทึกใน โปรแกรม ภ.ง.ด.50

Q 24 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือ ภ.ง.ด.51 สามารถชำระได้วิธีใดบ้าง A 24 : สามารถชำระภาษีได้ 4 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. ชำระเป็นเงินสด 2. ชำระเป็นบัตรภาษี ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ - ต้องเป็นบัตรที่ระบุชื่อผู้เสียภาษี - ห้ามใช้บัตรที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ เว้นแต่ ผู้เสียภาษี (มีชื่อในบัตรภาษี) ยอมสละสิทธิในจำนวนเงินส่วนที่เกินนั้น โดยผู้เสียภาษีได้บันทึก และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในแบบแสดงรายการภาษี 3. ชำระเป็นเช็ค หรือดราฟต์ 4. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ TAX SMART CARD บัตรเครดิต และบัตรเดบิตโดยผู้เสียภาษีเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม

Q 25 : การสั่งจ่ายเช็คหรือดร๊าฟต์ ชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 หรือ ภ.ง.ด.51 ขีดคร่อม และสั่งจ่ายใคร A 25 : การสั่งจ่ายเช็คหรือดร๊าฟต์ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่าย ดังต่อไปนี้ 1. กรณีหน่วยจัดเก็บเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารชื่อ “บัญชีกรมสรรพากรเพื่อนำส่งคลังของ ...... (ชื่อหน่วยจัดเก็บ) ......” ไม่ว่าเป็นเช็คประเภทใด ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” 2. กรณีหน่วยจัดเก็บที่ไม่ได้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อนำส่งคลัง - ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข. ค. ให้สั่งจ่ายแก่ “กระทรวงการคลังผ่านสำนักงานคลังจังหวัด........” - ถ้าเป็นเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” 3. กรณีชำระภาษีที่ธนาคาร เช็คหรือดร๊าฟต์ให้สั่งจ่าย “สรรพากรพื้นที่สาขา....... (ระบุชื่ออำเภอ)” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และ หรือ “ตามคำสั่ง” ออก

Q 26 : ต้องการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติมย้อนหลังหลายปีจะต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนเดียวกัน ตรวจสอบ และรับรองบัญชีหรือไม่ A 26 : สามารถให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนปัจจุบันตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ เนื่องจากบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดไว้ ให้ถ่ายงบการเงินจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์มาแนบแบบ ภ.ง.ด.50 ในแต่ละปีด้วย​

Q 27 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทั่วไปเป็นอัตราเท่าไร A 27 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทั่วไป คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ทั้งจำนวน

Q 28 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกิจการเป็น SMEs เสียภาษีในอัตราเท่าใด A 28 : กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30,000,000 บาท รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป (1) ยกเว้น กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท (2) ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท (3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป

Q 29 : กิจการร่วมค้ามีรายได้จากการขายสินค้า และให้บริการไม่เกิน 30 ล้าน มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 หรือไม่ A 29 : ไม่ได้รับสิทธิยกเว้น 300,000 บาท และต้องคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ทั้งจำนวน เนื่องจาก กิจการร่วมค้า ไม่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ถือเป็นนิติบุคคลทั่วไป

Q 30 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเป็นกิจการ SMEs และได้มี การจดแจ้งขอเป็นผู้ประกอบการบัญชีชุดเดียว เสียภาษีในอัตราเท่าไร A 30 : กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใด ไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและ สนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร กำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2560 - เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก ได้รับยกเว้น - ส่วนที่เกิน 300,000 บาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10

Q 31 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดชำระภาษี และค่าปรับอย่างไรบ้าง A 31 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินกำหนดเวลาต้องรับผิด ดังนี้ 1. ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด 2. กรณีมีภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ จนถึงวันที่ยื่นแบบฯ และหากยื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ถือเป็นความผิดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท อีกกระทงหนึ่ง

Q 32 : หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เกินกำหนดเวลาโดยได้ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 มีภาษีต้องชำระเพิ่ม จะต้องรับผิดอะไรบ้าง A 32 : ต้องรับผิดโทษปรับ ดังนี้ 1. ต้องรับผิดค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท 2. ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ (คำนวณเงินเพิ่ม 1 เดือน) การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษี แต่ในการนับระยะเวลาจำนวนเดือนเพื่อคำนวณเงินเพิ่ม ไม่มีกำหนดไว้ใน ประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 มาใช้บังคับ กรณีตามข้อเท็จจริง มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม กับวันที่ 1 มิถุนายน การคำนวณเงินเพิ่ม จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม (วันที่ 30 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบ) และสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน เป็น 1 เดือน การยื่นแบบฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม กับวันที่ 1 มิถุนายน จึงต้องเสียเงินเพิ่มเพียง 1 เดือน เนื่องจากเศษของเดือนให้ถือเป็น 1 เดือน

Q 33 : หากได้ยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว จะต้องยื่นงบการเงินกับกรมสรรพากรอีกหรือไม่ A 33 : หากยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ต้องยื่นกับกรมสรรพากรอีก ซึ่งกรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน สำหรับผู้ประกอบการที่นำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินทั้ง 2 หน่วยงาน

Q 34 : แบบ บ.ช.1 คืออะไร นิติบุคคลต้องยื่น แบบ บ.ช.1 ทุกรายหรือไม่ A 34 : แบบ บ.ช.1 กำหนดให้บุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยสัญญามีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย และยื่นต่อกรมสรรพากร ดังนั้น หากไม่ได้เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ บ.ช.1

Q 35 : แบบ บ.ช.1 จะต้องยื่นพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 ในวันเดียวกันหรือไม่ A 35 : ไม่จำเป็น แต่จะต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

Q 36 : แบบ บ.ช.1 จะนำไปยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาได้หรือไม่ A 36 : แบบ บ.ช.1 จะต้องยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

Q 37 : หากไม่ยื่นแบบ บ.ช.1 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องชำระค่าปรับอย่างไร A 37 : ไม่ต้องชำระค่าปรับ แต่ถือว่าขาดคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

Q 38 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ทำรายการยื่นแบบไว้แล้วและมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม ปรากฏว่า ยังไม่ได้ชำระเงินภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ต้องทำอย่างไร A 38 : หากไม่ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะเป็นผลให้รายการยื่นแบบของท่านไม่สมบูรณ์ และไม่ถือว่าเป็นการยื่นแบบที่มีผลสำเร็จ ทำให้ท่านต้องไปยื่นแบบที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และต้องชำระค่าปรับพร้อมทั้งภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มเติมตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

Q 39 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 ใช้อัตราใดบ้าง A 39 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 มีดังนี้

ยื่น ภ ง ด 50 ออนไลน์ ได้ถึงวันไหน

Deadline ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี ภงด50 กรณีที่มีรอบบัญชีปกติ 1 มค – 31 ธค. ยื่นภาษีแบบกระดาษ ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม ของปีถัดไป และยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน ของปีถัดไป

ยื่นภงด.50 ออนไลน์ย้อนหลังได้กี่ปี

ขอคืนภาษีย้อนหลังได้กี่ปี นับย้อนหลังยังไง ขอคืนยังไงได้บ้าง และถ้าไม่เคยยื่นภาษีมาก่อน ยื่นตอนนี้จะถูกตรวจสอบย้อนหลังไหม ตอบคำถามสุดฮิตเรื่องภาษีในคลิปนี้ครับ อันดับแรก คือ ขอคืนภาษี ถ้าให้ตอบสั้นๆ คือ ย้อนหลังได้ 3 ปี เพราะกฎหมายบอกไว้ว่า เราสามารถยื่นขอคืนภาษีย้อนหลังได้สูงสุดถึง 3 ปี นับจากวันสุดท้ายของกำหนดเวลา ...

ภ.ง.ด.51 คำนวณยังไง

การยื่น ภ.ง.ด.51 เป็นการยื่นประมาณการกำไรสุทธิของบริษัททั้งปี โดยดูจากผลประกอบการจริงเดือน มกราคม – กรกฎาคม บวกด้วย ประมาณการกำไรสุทธิ เดือนสิงหาคม – ธันวาคม ก็จะได้ประมาณการของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี จากนั้นหารด้วย 2 เพื่อให้ได้ตัวเลขมาคำนวณภาษีครึ่งปี

ภ.ง.ด.50 ใช้เกณฑ์อะไร

1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท 2.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน