2024 ทำไม wifi repeater ใช เช อมเน ตได เคร องเด ยว

- แต่ถ้ามีอุปกรณ์ทั้ง 2 เวอร์ชั่นอยู่ ถ้าจะใช้โดยที่ไม่ต้องการสลับ Server ไปมา มือถือแอนดรอยให้โคลนแอพ Mi Home ขึ้นมาอีก 1 อัน แล้วล็อคอินแอคเค้าใหม่ และเลือก Region แยก (ทั้ง 2 Region ไม่สามารถสร้างเงื่อนไขการทำงานร่วมกันได้นะครับ) ส่วน iOS ถ้าจะโคลนแอพ ต้องเจลเครื่องนะครับ หรือต้องใช้มือถืออีกเครื่องครับ

2. เปิด Permission เพื่อให้แอพเข้าถึง Location (เวลาลงแอพครั้งแรกบางท่านอาจจะปิดเพื่อไม่ให้แอพเข้าถึง Location ซึ่งจะทำให้แอพค้นหาอุปกรณ์ไม่เจอ)

3.

รีเซ็ทอุปกรณ์ก่อนเชื่อมต่อกับไวไฟใหม่ทุกครั้ง (อุปกรณ์แต่ละตัว จะทำการรีเซ็ทไม่เหมือนกัน ให้ดูที่แอพหรือดูที่คู่มืออีกที)

4. เราเตอร์ที่ใช้งาน ความปลอดภัยของเครือข่ายต้องเป็น WPA/WPA2 (ไวไฟที่ใช้งาน จะต้องมีการใส่ Password หรือรหัสไวไฟในการเข้าใช้งาน ถ้าไม่มีจะเชื่อมต่อไม่ได้)

5. ขณะเชื่อมต่อให้ทำการปิด

Mobile Data หรือเน็ตมือถือก่อน (อย่าเปิดทัั้ง Mobile Data และ WiFi ให้เปิดแค่ WiFi เท่านั้น)

6. ขณะกำลังต่ออุปกรณ์กับแอพ ให้มือถือใช้เน็ต หรือ ไวไฟ (ชื่อไวไฟ) ตัวเดียวกับที่อุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ (มือถือจะต้องต่อกับไวไฟนั้นอยู่)

7. ถ้าเราเตอร์ปล่อยไวไฟ 2.4g หรือ 5g ให้ใช้เครือข่าย 2.4g ในการเชื่อมต่อเท่านั้น (ยกเว้นบางอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ 5g) และถ้าเราเตอร์ปล่อยสัญญาณไวไฟแบบรวม 2.4g กับ 5g เป็นชื่อเดียวกัน สามารถทำการเชื่อมต่อได้ทันที อุปกรณ์จะจับเครือข่าย 2.4g เอง)

8. เชื่อมต่อครั้งแรกอาจจะต้องนำอุปกรณ์มาใกล้เราเตอร์ที่เชื่อมต่อ

9. เปลี่ยนค่า DNS Server ของเราเตอร์

ให้ใช้งานผ่าน Google Public DNS (วิธีเปลี่ยนค่า หาอ่านใน Google ดูอีกทีครับ)

10. บางครั้งแอพอัพเดทตาม OS ของแต่ละมือถือไม่ทัน ทำให้บาง

อุปกรณ์เชื่อมต่อกับแอพไม่ได้ (เช่น iPhone X ที่เคยมีปัญหา) วิธีแก้ให้หามือถือแอนดรอยมาเชื่อมต่ออุปกรณ์กับแอพ เมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว ให้ไอโฟนล็อคอินแอคเค้าเดียวกับมือถือแอนดรอยที่เชื่อมต่อ อุปกรณ์ก็จะขึ้นมา

11. ถ้ามีโทรศัพท์หรือแท็ปเล็ป 2 เครื่อง ให้ลองเอาอีกเครื่องนึงแชร์ไวไฟ (HotSpot) และอีกเครื่องกับอุปกรณ์ก็เชื่อมต่อไวไฟที่แชร์อีกที (เป็นการเช็คเบื้องต้นอีกวิธีนึง ว่าอุปกรณ์หรือไวไฟบ้านมีปัญหา)

หมายเหตุ : - ทั้ง 11 ข้อ เป็นการแก้ไขเบื้องต้นนะครับ บางครั้งอาจจะเกิดปัญหาจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต, เราเตอร์, แอพ และอื่นๆ

-

เนื่องจากแอพมีการอัพเดทตลอดเวลา ทำให้บางครั้งบางขั้นตอนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้

- กล้องวงจรปิด บางครั้งอาจจะเกิดปัญหาจากตัว Firmware ของกล้อง ทำให้เชื่อมต่อไม่ได้ อาจจะต้องทำการแฟลส Firmware เพื่อคืนค่าโรงงานก่อน

- ณ ปัจจุบัน (25/5/2019) อุปกรณ์ที่ออกมาวางจำหน่ายได้สักพักใหญ่บางตัว เช่น หลอดไฟฟิลิปส์ E27, กล่องรีโมทควบคุม IR รุ่นเก่า (เท่าที่ทางร้านเจอ) เนื่องจาก FW ของอุปกรณ์ปัจจุบันไม่รองรับ User ID ที่มากกว่า 4294967295 (32 bits limit) และตอนนี้ยังไม่มี FW ที่ออกมาให้อัพเดทเพิ่มแก้ปัญหานี้ (ในอนาคตน่าจะมีออกมาให้อัพเดท) จึงทำให้ที่ผู้ที่สมัครแอคเค้าใหม่ไม่สามารถเชื่อมต่อแอพได้

- Access point หรือ AP นั้นสามารถรับสัญญาณจากตัวหลักโดยต่อผ่าน LAN และนำไปกระจายสัญญาณ WiFi ตามจุดต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ แต่ชื่อ WiFi หรือ ( SSID ) จะถูกตั้งไว้ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนจุดใช้งานอุปกรณ์จะต้องทำการสลับชื่อ WiFi เพื่อเปลี่ยนจุดเชื่อมต่ออาจทำให้การใช้งานไม่ต่อเนื่อง

- Repeater หรือ Range Extender สามารถรับสัญญาณจากตัวหลักโดยเชื่อมต่อผ่าน WiFi และนำไปกระจายสัญญาณต่อตามจุดที่ติดตั้งไว้ แต่เช่นเดียวกันกับ AP คือชื่อ WiFi จะเป็นคนละชื่อกันกับตัวหลักทำให้เมื่อเปลี่ยนจุดใช้งานจะมีจังหวะที่เดินเปลี่ยนจุดแล้วชื่อถูกสลับไป Repeater ตัวถัดไปทำให้อาจเกิดการใช้งานที่ไม่ต่อเนื่อง

- Mesh WiFi เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาให้มาแก้ข้อจำกัดของ 2 อุปกรณ์ก่อนหน้า กระจายสัญญาณจะส่งต่อกันเป็นลักษณะที่เรียกว่า Node ส่งสัญญาณหากันแบบไร้สาย และใช้ชื่อ Wifi หรือ SSID เดียวกันเมื่อผู้ใช้งานเคลื่อนที่ไปเล่น Internet ส่วนอื่นในที่พักอาศัยการเชื่อมต่อจะต่อเนื่องไม่ถูกสลับหรือขัดจังหวะทำให้การใช้งานลื่นไหลและยังคงรับสัญญาณกระจายได้ทั่วที่พักอาศัยเช่นเดียวกันกับ 2 อุปกรณ์ที่กล่าวถึงถ้าคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ที่จะตอบสนองการใช้งาน ได้ต่อเนื่องและกระจายสัญญาณให้ทั่วที่พักอาศัยแล้วเราแนะนำให้คุณมอง Mesh WiFi เป็นอันดับแรกที่จะตอบสนองการใช้งานของคุณได้คุ้มค่ามากที่สุด