ใช่นางเกิดในปทุมา

Do you know the meaning of this word?

You can Suggest your own translation to Longdo

Discussions

ใช่นางเกิดในปทุมา

เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-ใช้-

   
ใช่นางเกิดในปทุมา

ภาษา

ภาษาที่แสดง

ญี่ปุ่น (JP) จีน (CN)
เยอรมัน (DE) ฝรั่งเศส (FR)
ไทย (TH) อังกฤษ (EN)

พินอิน (拼音;pinyin)
จู้อิน (注音;zhuyin)

ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ใช้, *ใช้*

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ใช่ ว. คำรับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่
ใช่ บางทีก็ใช้เป็นคำปฏิเสธหมายความว่า ไม่ใช่ เช่น รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม, ใช่นางเกิดในปทุมา สุริวงศ์พงศาก็หาไม่ (อิเหนา).
ใช้ ก. บังคับให้ทำ เช่น ใช้งาน
ใช้ จับจ่าย เช่น ใช้เงิน
ใช้ เอามาทำให้เกิดผลหรือประโยชน์ เช่น ใช้เวลา ใช้เรือ ใช้รถ
ใช้ ชำระ ในคำว่า ใช้หนี้
ใช้ ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เราไปทำแก้วเขาแตก ต้องซื้อใช้เขา.
Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ใช้ [chai] (v) EN: use ; employ ; take ; consume ; apply   FR: utiliser ; employer ; dépenser ; recourir à ; avoir recours à
ใช้ [chai] (v) EN: spend ; pay ; redeem ; cost  FR: dépenser ; payer ; rembourser
English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
apply (vt) ใช้, See also: นำมาใช้, ประยุกต์ใช้, ใช้ประโยชน์, ปรับใช้, ดัดแปลง, Syn. use, utilize
call on (phrv) ใช้, See also: เรียกใช้
call upon (phrv) ใช้, See also: เรียกใช้
employ (vt) ใช้, Syn. manipulate, operate, use
manage with (phrv) ใช้
ply (vt) ใช้, See also: ใช้สอย, ปฏิบัติงาน, ยุ่งกับงาน, Syn. utilize, employ
take (vt) ใช้, See also: ใช้เวลา
use (vt) ใช้, See also: ใช้ประโยชน์, ทำให้เป็นประโยชน์, Syn. utilize
Japanese-Thai: Longdo Dictionary

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ



Are you satisfied with the result?


Discussions

ใช่นางเกิดในปทุมา

เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ใช่นางเกิดในปทุมา

การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดี

 ภาพพจน์  หมายถึง  คำ  หรือ  กลุ่มคำ  ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ  เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจ
ทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม  การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์  โดยผู้แต่งใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ  ภาพพจน์มีหลายประเภท  แต่ที่สำคัญๆ  คือ


 ๑.  อุปมา


การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง 
เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น"


 ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม  เพริศพริ้มเพรารับกับขนง

(อิเหนา)

ใช่นางเกิดในปทุมา       สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้        อันจะได้นางไปอย่าสงกา

(อิเหนา)


ครั้นวางพระโอษฐ์น้ำ  เวียนวน  อยู่นา
เห็นแก่ตาแดงกล            ชาดย้อม
หฤทัยระทดทน              ทุกข์ใหญ่  หลวงนา
ถนัดดั้งไม้ร้อยอ้อม           ท่าวท้าวทับทรวง 
                                                            (ลิลิตพระลอ)


 ๒.  อุปลักษณ์

การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น ครูคือเรือจ้าง ทหารเป็นรั้วของชาติ


          ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล   คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น        บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม
(นิราศเมืองแกลง)


 บางครั้งภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ไม่มีคำกริยา "คือ" และ "เป็น" ให้สังเกต เราจะต้องตีความเอาเอง เช่น

             ก้มเกล้าเคารพอภิวาท           พระปิ่นภพภูวนาถนาถา
ยับยั้งคอยฟังพระวาจา                     จะบัญชาให้ยกโยธี
(อิเหนา)


 ในที่นี้ เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นปิ่นของแผ่นดิน


        ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง     บาทา อยู่เฮยด
จึงบอาจลีลา                คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา              แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้                 ส่งข้าอัญขยม
(ขัตติยพันธกรณ๊)


 ในที่นี้ เปรียบภาระหน้าที่เป็นตะปูที่ตรึงเท้าไว้


         อัจกลับแก้วในทิพยสถานไกลลิบลิ่ว    ฉายแสงสาดหาดทรายทอสีเงินยวง ต้องกรวหินสินแร่บางชนิดแวววาว  งามรังสีแจ่มจันทร์เจ้าวาวระยับ ย้อยลงในแควแม่น้ำไหล ไหวๆ แพรวพราวราวเกล็ดแก้วเงินทอง
(บันทึกของจิตรกร, อังคาร  กัลยาณพงศ์)


 ในที่นี้ เปรียบพระจันทร์เป็นอัจกลับแก้ว  หรือโคมไฟที่ส่องสว่างกระจ่างตา


                     เดือนตกไปแล้ว  ดาวแข่งแสงขาว  ยิบ ๆ ยับ ๆ เหมือนเกล็ดแก้วอัน สอดสอยร้อยปักอยู่เต็มผ้าดำผืนใหญ่  วูบวาบวิบวับส่องแสง  ใหญ่แลน้อย ใกล้แลไกล...
(เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาติอินทร์แขวน, มาลา คำจันทร์)


  ในที่นี้ เปรียบ ท้องฟ้าอันมืดมิดเป็นผ้าดำผืนใหญ่

               ภาษาอุปลักษณ์ นอกจากจะปรากฎในงานประพันธ์แล้ว ยังปรากฎใช้ในภาษาชีวิตประจำวัน   เช่น ศึกฟุตบอลโลก ไฟสงคราม ตะเข็บชายแดน ในที่นี้ กวีเปรียบน้ำค้างมีประกายวาวเหมือนประกายของเพชรน้ำงาม และเปรียบหญ้าเป็นผืนพรม เพื่อทำ
ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจนว่า น้ำค้างนั้นมีประกายวาวงามและต้นหญ้านั้นก็เขียวขจีปูลาดเป็นพรม   แต่ถ้ากล่าวว่า "น้ำตาหลั่งเป็นสายเลือด" ข้อความนี้มิได้มุ่งหมายจะเปรียบลักษณะของน้ำตาว่าเหมือนสายเลือด  แต่เน้นย้ำเชิงปริมาณว่าร้องไห้ใจจะขาด ดังนั้น "น้ำตาหลั่งเป็นสายเลือด" ประโยคนี้เป็นอติพนจ์


 ๓) บุคคลวัต


 การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น ดวงตะวัน แย้มยิ้ม, สายลมโลมไล้เอาอกเอาใจ
พฤกษาลดามาลย์
ต้นไม้แต่งตัว   อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม
บ้างลอกเปลือกอยู่ปลามปลาม  บ้างแปรกิ่งประกบกัน
บ้างปลิวใบสยายลม   บ้างชื่นชมช่อชูชัน
บ้างแตกกิ่งอวดตาวัน   บ้างว่อนไหวจะร่ายรำ
บ้างเตรียมหาผ้าแพรคลุม  บ้างประชุมอยู่พึมพำ
ท่านผู้เฒ่าก็เตรียมทำ  พิธีสู่ขวัญผู้เยาว์
ม่านหมอกค่อยคล้อยคลี่  เผยเวทีอันพริ้งเพราด
หมู่ไม้ร่าเริงเร้า   จะต้อนรับฤดูกาล
(เพลงขลุ่ยผิว, เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์)


 ๔) อติพจน์


การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง มักเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณว่ามีมากเหลือเกิน มีเจตนา
เน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น เช่น ร้อนตับแตก, คอแห้งเป็นผง, รักคุณเท่าฟ้า, มารอตั้งโกฎิปีแล้ว, ใจดีเป็นบ้า,
อกไหม้ไส้ขม, เหนื่อยสายตัวแทบขาด
นี่ฤาบุตรีพระดาบส   งามหมดหาใครจะเปรียบได้
อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้  มารดต้นไม้พรวนดิน
ดูผิวสินวลละอองอ่อน  มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
สองเนตรงามกว่ามฤคิน  นางนี้เป็นปิ่นโลกา
(ศกุนตลา)
ตราบขุนคิริขัน   ขาดสลาย  ลงแม่
รักบ่หายตราบหาย   หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย   จากโลก  ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า   ห่อนล้างอาลัย
(นิราศนรินทร์)
เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้  ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน   จักขว้ำ
บเห็นตะวันเดือน   ดาวมือ มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ   ย่อมน้ำตาคน
(ลิลิตพระลอ)


 ๕) นามนัย


การใช้คำหรือวลีที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงความหมายแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น
ใช้ เวที แทน การแสดง มงกุฎ, พระบาท แทน กษัตริย์ เก้าอี้ แทนตำแหน่งหน้าที่ของผู้บริหาร ข้าวปลา แทน อาหาร
...ว่านครรามินทร์  ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร
(ลิลิตตะเลงพ่าย)
ฉัตรเป็นชื่อเครื่องสูงอย่างหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ แสดงความเป็นกษัตริย์ ในที่นี้ กวีใช้ ฉัตร 
ให้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ หรือความเป็นกษัตริย์
(๑)  ยิงร่านมันกินมาหลายวัน  อุตส่าห์ให้น้องนั้นได้ขี่มา
(๒)  ถ้าแพ้ลงคงปรับทับทวี  เลือดเนื้อเท่านี้เป็นเงินทอง
(๓)  ขุดเผือกมันสู่กันมาตามจน  พักร้อนผ่อนปรนมาในป่า
(เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)
ข้อ (1) ยุงร่าน เป็นนามนัยแทนสัตว์ที่กินเลือดเป็นอาหาร ข้อ (2) ใช้ เลือดเนื้อแทนชีวิต และข้อ (๓) เผือกมัน
เป็นนามนัยแทนอาหารที่หาได้ตามป่าตามเขา 


 ๖)  สัญลักษณ์


การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกันเป็นการสร้างจินตภาพซึ่งใชั
รูปธรรมชักนำไปสู่ความหมายอีกชั้นหนึ่ง  ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่เข้าใจในสังคม เช่น ใช้ ดอกไม้ แทน ผู้หญิง เพราะมีคุณสมบัติ
ร่วมกัน คือความสวยงามและความบอบบาง ใช้ ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ เพราะราชสีห์และผู้มีอำนาจต่างมีคุณสมบัติร่วมกัน
คือความน่าเกรงขาม
ตัวอย่าง สัญลักษณ์ที่มักพบเห็นกันเสมอๆ เช่น
จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กำลังใจ
หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
นกพิราบ แทน  สันติภาพ
ดอกมะลิ แทน ความบริสุทธิ์ ความชื่นใจ
สวัสดิกะ แทน เยอรมันยุคนาซี 


 7) สัทพจน์ (Onomatopoeia) คือ การเปรียบเทียบโดยใช้คำเลียนแบบให้เห็นท่าทาง แสง สี ได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือ หลายอย่างรวมกันก็ได้ มักจะพบในความเป็นธรรมชาติ หรือเครื่องดนตรี หรือเครื่องใช้ตามวิถีชาวบ้าน เช่น
เสียงโหม่ง หม่อง ฆ้องตีเคล้าปี่พาทย์ เสียงเตรง เตร่ง ระนาดชัดจังหวะ
เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ  เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
( มโหรีชีวิต : แก้วตา  ชัยกิตติภรณ์ )


 8) วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนำมาจับเข้าคู่กัน เช่น กากับหงส์ ดินกับฟ้า
มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น
ความมือแผ่รอบกว้างสว่างหลบ รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
ชวนกำสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์  วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย
(มือกับสว่าง : อรฉัตร   ซองทอง)


 9) อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คำที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมายลึกซึ้งโดย
แท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้  หรือนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน
เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
(แสงเทียนแสงธรรม : เสมอ  กลิ่นประทุม)
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน


 10) อธินามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึง
กันมากล่าวนำ และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง
เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ  เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
(เลือดสุพรรณ : ประสิทธิ์  โรหิตเสถียร)
คำว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติ
แต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย ่คำหลังหมายถึงประเทศไทย


 11) ปฏิพากย์


การนำเอาคำและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันและดูเหมือนจะขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลการสื่อสาร
เป็นพิเศษ เช่น น้ำผึ้งขม, คาวน้ำค้าง, ศัตรูคือยากำลัง, ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ, น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย,
แดดหนาว, มีความเคลื่อนไหวในความหยุดนิ่ง
แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึง  เสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง
จักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียง  โลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น
(วารีดุริยางค์, เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์)
เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น  เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
เธอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน  แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน
(กระทุ่มแบน, เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์)
ในบทประพันธ์นี้  กล่าวถึงหญิงสาวผู้ใช้แรงงานในโรงงานแห่งหนึ่งที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  ถูกทำร้าย
ถึงแก่ชีวิต  ในครั้งที่ประท้วงต่อสู้กับนายทุนในยุคก่อนปีพุทธศักราช 2514 ซึ่งเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบานของเมืองไทย  กวีได้
กล่าวว่าการตายของชนผู้ใช้แรงงานนี้เป็นการตายที่มีคุณค่า  อาจปลุกจิตสำนึกของผู้คนในสังคมได้และกล่าวเปรียบหญิงผู้ใช้แรงงาน
นั้นเป็นดินที่แม้จะเป็นเพียงดินก้อนเดียว แต่ดินก้อนนี้ "หนักและแน่นเต็มแผ่นดิน" การกล่าวว่า เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น และ 
ดินก้อนเดียวที่หนักแน่นเต็มแผ่นดิน เป็นปฏิพากย์


 12) อุปมานิทัศน์


การใช้เรื่องราวนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน
แจ่มแจ้งในแนวความคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่านผู้ฟัง เช่น
ปีนี้มีความเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วหลายอย่าง  ด้วยประชานกชาวสวนจิตรลดาฯ นี้มีเพิ่มเติมขึ้น แต่ก่อนนี้ มีอีกา
มีนกพิราบ แต่เดี๋ยวนี้ถ้าจะดูไป ก็จะเห็นว่ามีหงส์ทั้งขาวทั้งดำเพิ่มขึ้นมา และมีนกกาบบัว มีนกยูงเพิ่มเติมขึ้นมา ที่พูดถึงประชานกนี้ก็
เพราะว่าเมื่อดุลย์ของธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป ก็จะต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่บ้าง... อีกาเป็นใหญ่อีกาจะตีนกพิราบ แล้วนกพิราบก็จะตีนกเอี้ยง ที่มีจำนวนมากเหมือนกัน นกเอี้ยงก็จะตีนกกระจอก ส่วนนกกระจอกก็ไม่ทราบว่าเขาไปตีใคร เห็นได้ว่าเขาตีกันเป็นลำดับชั้นไป จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ รู้สึกว่านกกระจอกจะสูญพันธุ์ แต่ว่าอีกาก็ยังมีอยู่ อีกาก็ได้ไปเยี่ยมบ้านใกล้เคียงมาหลายครั้ง ทำให้เกิดความตื่นเต้นในหมู่ผู้ที่อยู่ ที่ทำงานในบ้านเหล่านั้น แต่ว่าอีกานั้น ที่อยู่ได้ก็เพราะว่าเกรงใจนกกาบบัว ถ้าไม่เกรงใจนกกาบบัว อีกาก็จะสูญพันธุ์เพราะว่านกกาบบัว ซึ่งเป็นคล้าย ๆ นกกระสา แม้มีอยู่เพียงสิบกว่าตัว แต่เป็นนกที่ใหญ่ และเมื่อมาใหม่ ๆ ยังเป็นเด็ก ๆ ก็ยังไม่สามารถที่จะประพฤติตนให้ดีเมื่อถูกอีกาเข้าโจมตี แต่ด้วยความเป็นนกใหญ่ นกกาบบัวจึงเตะอีกาเป็นอันว่าอีกาก็เข็ดหลาบ ไม่สามารถที่จะจู่โจมตีนกกาบบัวได้ จึงอยู่ร่วมกันโดยสันติ ไม่ทะเลาะกันต่อไป และนกกาบบัวนี้ก็ได้รับอาหารประจำวัน อีกาก็มาปันส่วนด้วย ทุกวันนี้ก็จะเห็นได้ว่าอยู่ร่วมกันโดยสันติ ดุลย์ของธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ ชักนิยายเรื่องนกมา ก็เพื่อให้เห็นว่าตอนแรก ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการทะเลาะกัน แต่เมื่อเข็ดหลาบอย่างหนึ่ง หรือมีความคิดที่ถูกต้อง ที่จะช่วยกันดำเนินชีวิตร่วมกันก็อยู่ได้โดยสันติ ไม่ทะเลาะกัน ไม่ทำอันตรายกันดุลย์ของธรรมชาติจึงเกิดขึ้น

ใช่นางเกิดในปทุมา

ใช่นางเกิดในปทุมา


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/