Www.rubber.co.th

ทั่วไป

เช็คสิทธิ์เกษตรกรชาวสวนยาง ตรวจสอบเงินประกันรายได้ ก่อนโอนเข้าบัญชี

24 พ.ย. 2563 เวลา 16:05 น.88.1k

ตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง www.rubber.co.th/gir เช็คสิทธิ์เกษตรกรชาวสวนยาง ตรวจสอบเงินประกันรายได้ ก่อนโอนเข้าบัญชี

กระแสความสนใจประชาชนชาวสวนยาง (24 พ.ย.) ตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ที่เว็บไซต์ www.rubber.co.th/gir  เพื่อเช็คสิทธิ์เกษตรกรชาวสวนยาง ตรวจสอบเงินประกันรายได้ ก่อนโอนเข้าบัญชีในอีก 2 วัน

ตามที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกร ชาวสวนยาง ระยะ 2 เพื่อช่วยเหลือเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ลดผลกระทบที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกร เช่น ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) การขาดแรงงานกรีดยาง และผลจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามเป้า

โดยประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,834,087 ราย คิดเป็นพื้นที่จำนวน 18,286,186.03 ไร่

สวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) แบ่งจ่ายเป็น 6 งวด เริ่มจ่ายเงินเข้าบัญชีชาวสวนยางงวดแรกในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563

การกำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้แบ่งออกเป็น ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กก./ไร่ และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กก./ไร่ แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีดยาง ร้อยละ 40 (60:40) ราคายางที่ประกันรายได้แบ่งตามประเภท ดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กก. น้ำยางสด (DRC100%) 57 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กก. ใช้วงเงินงบประมาณรวม 10,042 ล้านบาท

ทั้งนี้ เกษตรสามารถตรวจสอบสถานะของตัวเองได้ที่เว็บไซต์ของการยางแห่งประเทศไทย www.rubber.co.th/gir 

Www.rubber.co.th

Www.rubber.co.th

New medium-term management plan:
Yokohama Transformation 2023 (YX2023)

The Yokohama Rubber Group has launched its new medium-term management plan, Yokohama Transformation 2023 (YX2023), which will guide the group during the three years from fiscal 2021 through fiscal 2023.

What's YX2023

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

Office of the Rubber Replanting Aid Fund
Www.rubber.co.th
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 ธันวาคม พ.ศ. 2503
ยุบเลิก15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หน่วยงานสืบทอด

  • การยางแห่งประเทศไทย

สำนักงานใหญ่67/25 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
งบประมาณประจำปี279.7958 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
ต้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์http://www.rubber.co.th

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (Office of the Rubber Replanting Aid Fund) หรือ สกย. (ORRAF) เป็นอดีตรัฐวิสาหกิจ ประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ปรับปรุง พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530)[2] เพื่อดำเนินกิจการให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรรงบประมาณสร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นอกจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จัดตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม

วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 หน่วยงานนี้ได้ยุบรวมกับ องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง เป็น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558[3]

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง[แก้]

  1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นทดแทนยางเก่า และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้งคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
  2. พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
  3. พัฒนาระบบ และกลไกตลาด ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา
  4. จัดตั้ง และ พัฒนาองค์เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนา และอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น

แหล่งรายได้[แก้]

เงินทุนที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของ สกย. ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่

  1. เงินสงเคราะห์ (CESS) เก็บจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร ในอัตราที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 5 บาท เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้แต่ละปีไม่เกินร้อยละ 5 ให้กรมวิชาการเกษตร นำไปค้นคว้าวิจัยงานยาง ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของ สกย. และ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ส่งคืนกลับสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ในรูป ของ การช่วยเหลือ ทางด้านวิชาการ และปัจจัยการผลิต เงินสงเคราะห์นี้จะจ่ายเพื่อการอื่นไม่ได้
  2. เงินงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
    1. เงินสมทบ เพื่อการสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายปี ภายใต้แผนวิสาหกิจ สกย.
    2. เงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์

การแบ่งส่วนบริหารองค์กร[แก้]

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แบ่งการบริหารงานออกเป็น 12 ฝ่าย และมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด 46 แห่ง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ 56 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด 12 แห่ง และศูนย์เรียนรู้ยางพารา 4 แห่ง[4] ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เล่ม 131 ตอนที่ 69ก วันที่ 30 กันยายน 2557
  2. พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503[ลิงก์เสีย]
  3. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 63ก วันที่ 14 กรกฎาคม 2558
  4. โครงสร้างหน่วยงาน[ลิงก์เสีย]