การ เขียน คำนำ ที่ ดี

นักเรียนหลายคนคงประสบกับปัญหาเวลาเขียนคำนำรายงานหรือโครงงานส่งคุณครูผู้สอนใช่ไหมครับ  ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร  ต้องบอกกล่าวอะไรในคำนำรายงาน  และจบอย่างไรดี   ดังนั้น  เรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์  จึงนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ  น้อย  ๆ  เรื่องการเขียนคำนำรายงานหรือรายงานโครงงานมาฝากนักเรียน  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องหรือดียิ่งขึ้นต่อไปนะครับ

สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ  ได้แก่


๑.   ไม่เอาประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเป็นคำนำ
๒.   ไม่เขียนอธิบายโดยหาจุดหมายของเรื่องไม่พบ
๓.   ไม่เขียนคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร

คำนำที่ดีควรมีลักษณะ  ดังนี้

๑.   เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
๒.   เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
๓.   เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
๔.   เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
๕.   เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
๖.   เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
๗.   เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
๘.   เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
ดังนั้น  คำนำที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุก ต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้ คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่าน เรื่อง และดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด

ที่มา :  ราชบัณฑิตยสถาน

เทคนิควิธีการเขียนคำนำรายงานจากครูปิยะฤกษ์

ในการเขียนคำนำรายงานหรือโครงการของนักเรียนในขณะที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้  ครูขอแนะนำว่า  “การเขียนคำนำส่วนใหญ่จะต้องขึ้นต้นด้วยที่มาของการศึกษาวิชานั้น  ๆ  หรือนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนหรือการศึกษา  จากนั้นต้องกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียนมากกว่าส่วนอื่น ๆ   ตามด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน  วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าพอคร่าว ๆ  และลงท้ายด้วยการกล่าวแสดงความรู้สึกส่วนตัวก่อนจบคำนำ”  นะครับ

ทีนี้  มาว่าถึงคำนำของงานเขียนชิ้นสำคัญ ๆ  สมมติว่าถ้าเราเขียนหนังสือขึ้นมาเองสักเล่มหนึ่ง   ต้องระลึกเสมอว่าหนังสือหรือผลงานของเราจะขาดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้นั้นก็คือ  “คำนำ”  ครับ   การเขียนคำนำนั้นถือว่าเป็นอุบายหรือวิธีแห่งการจูงใจให้ผู้อ่านหรือผู้หยิบหนังสือเล่มนั้น  ๆ  เมื่อเขาได้อ่านคำนำแล้วจะต้องมีความรู้สึกอยากจะอ่านหนังสือเล่มหรือเรื่องนั้น ๆ  ที่เราเขียนจนจบ  การเขียนคำนำที่ดีคนอ่านจะติดตามเรื่องของเรา   ถ้าคำนำไม่ดีเขาอาจไม่อ่านเนื้อหาจากงานเขียนด้านในของเราเลยก็สามารถเป็นไปได้ นะครับ

อีกอย่างหนึ่ง  เราต้องรักษาคุณภาพของงานเขียนของเรา  เนื้อหาของงานเขียนเราต้องดีด้วย  ไม่ใช่คำนำดี  แต่คุณภาพงานเขียนสุดแย่

การเขียนคำนำรายงาน

หลักการเขียนคำนำรายงาน

ตัวอย่างการเขียนคำนำรายงาน 

 

คำนำ

 

รายงานเรื่อง  “วรรณกรรมไทย”  ฉบับนี้  เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย   รหัสวิชา ท๓๒๑๐๑  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕     มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมไทย   ซึ่งรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของวรรณกรรม  ความสำคัญของวรรณกรรม  ประเภทของวรรณกรรม  วรรณกรรมไทยสมัยต่าง ๆ   อิทธิพลของวรรณกรรมไทยสมัยต่าง  ๆ  ที่สะท้อนความคิด  ความเชื่อ  และค่านิยมของคนไทย  และข้อคิดที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมไทย

การศึกษาค้นคว้าเรื่อง  “วรรณกรรมไทย”  เล่มนี้  ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าเป็นระยะเวลา  ๒  เดือน  ศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  อาทิ  ตำรา  หนังสือ  หนังสือพิมพ์  วารสาร  นิตยสาร  และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ในห้องสมุดโรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์และห้องสมุดประจำจังหวัดยโสธร

การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี  ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณคุณครูปิยะฤกษ์  บุญโกศล  ที่ท่านได้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติศึกษาการทำรายงาน  การเรียบเรียงเนื้อหา  การเขียนบรรณานุกรมได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ขอขอบพระคุณห้องสมุดโรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์และห้องสมุดประจำจังหวัดยโสธรเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสแก่ข้าพเจ้าเข้าไปศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้   ข้าพเจ้าหวังว่า  เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี   หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้องปรับปรุง   ข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำไปแก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป

พิศมัย  บุญอุ้ม

๒๒  กันยายน  ๒๕๕๔

สไลด์เรื่องการเขียนคำนำรายงาน  ที่นี่ครับ

Filed under: การเขียนคำนำรายงาน, เรียนภาษาไทยน่ารู้กับครูปิยะฤกษ์ (ครูแบงก์) | Tagged: การเขียนคำนำรายงาน, ตัวอย่างการเขียนคำนำรายงาน, ลักษณะการเขียนคำนำที่ดี, สไลด์เรื่องการเขียนคำนำรายงาน, หลักการเขียนคำนำรายงาน, เทคนิควิธีการเขียนคำนำรายงานจากครูปิยะฤกษ์ |

สำหรับหลักการเขียนคำนำรายงานนั้น หลักง่าย ๆ เลยก็คือต้องเขียนให้ผู้อ่านสนใจอยากจะอ่านรายงานของเรา โดยเริ่มต้นอาจจะเขียนถึงที่มาที่ไปของรายงานฉบับนี้ จุดประสงค์และเหตุผลของการทำรายงานประเด็นนี้ หรือเรียกร้องถึงความสำคัญของประเด็นที่จะนำเสนอ บอกความเป็นมาคร่าว ๆ โดยอาจตั้งเป็นคำถามชวนให้ผู้อ่านคิด แล้วโยงเข้าสู่เรื่องที่เราอยากจะบอกก็ได้ ไม่ควรกว้าง หรือย้อนไปไกลมากจนเกินไป หรือวกวนจนจับประเด็นไม่ได้



ในส่วนของภาษาที่ใช้เขียนรายงานนั้น หากเป็นรายงานที่มีเนื้อหาทางวิชาการ ก็คงต้องภาษาทางการหน่อย แต่หากเป็นรายงานทั่ว ๆ ไป ไม่วิชาการมากนัก ก็ควรใช้ภาษาที่เป็นกันเองกับผู้อ่านจะดีกว่า

จากนั้น ในย่อหน้าถัดมา เราอาจจะกล่าวถึงรายงานของเราประกอบด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง ดึงมาเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อชักชวนให้ผู้อ่านติดตาม บอกขอบเขตคร่าว ๆ ที่ผู้อ่านจะได้รับจากรายงานฉบับนี้ หรือการทำวิจัยชิ้นนี้ หากเป็นรายงานส่งอาจารย์ ก็อาจปิดท้ายด้วยการกล่าวขอขอบคุณอาจารย์ ผู้ที่ร่วมทำรายงานฉบับนี้ให้เป็นรูปเล่มเสร็จสิ้น และพูดถึงว่า รายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ หรือใครก็ตามที่น่าจะได้รับประโยชน์จากรายงานของเรานั่นเอง

อ่อ...หลายคนอาจจะเคยเห็น หรือแม้กระทั่งเคยเขียนในรายงานด้วยซ้ำไปว่า "หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย" ซึ่งจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเขียนประโยคนี้ก็ได้นะจ๊ะ (เพราะอาจารย์หลายท่านมักเสนอแนะมาว่า รายงานของเราไม่ควรมีข้อบกพร่อง) แต่อาจจะเขียนว่า "หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง" ก็น่าจะดีกว่าค่ะ เมื่อเขียนจบแล้วก็ลงชื่อผู้จัดทำปิดท้ายเท่านี้ก็ได้ "คำนำ" แปะหน้าแรกของรายงานแล้วล่ะจ้า

ราชบัณฑิตยสถาน ระบุไว้ว่า "คำนำที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้"

1. เขียนคำนำด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง

2. เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง

3. เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ

4. เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง

5. เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ

6. เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง

7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน

8. เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน

คำนำที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุก ต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้ คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่านเรื่อง และดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด

สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ ได้แก่

1. ไม่ควรเอาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องพื้น ๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเขียนเป็นคำนำ

2. ไม่ควรอธิบายคำนำอย่างฟุ้งซ่าน จนไม่มีจุดหมายของเรื่อง

3. ไม่ควรขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร

4. ไม่ควรเขียนคำนำด้วยการออกตัว เช่น ออกตัวว่าไม่พร้อมหรือไม่เชี่ยวชาญเรื่องที่เขียน อาจทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านรายงานก็ได้

5. ไม่ควรเขียนซ้ำกับส่วนสรุป หรือความลงท้าย

6. ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง


การ เขียน คำนำ ที่ ดี
ตัวอย่างคำนำรายงาน 1

รายงาน/เอกสารคำสอน/สื่อ ฯลฯ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา...ชั้นมัธยมศึกษาปีที่...โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง... ทั้งนี้ ในรายงานนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับ... ตลอดจนการประยุกต์ใช้...

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึง... ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณอาจารย์...ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

ลงชื่อ....
ผู้จัดทำ


การ เขียน คำนำ ที่ ดี
ตัวอย่างคำนำรายงาน 2

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชา... โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้า และนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและครูต่อไป

ทั้งนี้ เนื้อหาได้รวบรวมมาจากหนังสือแบบเรียน...และจากหนังสือคู่มือการเรียนอีกหลายเล่ม ขอขอบพระคุณอาจารย์...อย่างสูงที่กรุณาตรวจ ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไข ให้ข้อเสนอแนะตลอดการทำงาน ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหวัง

คำนำที่ดีควรมีอะไรบ้าง

คำนำที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุก ต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้ คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่านเรื่อง และดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด

เขียนคำนำยังไงให้น่าสนใจ

หลักการเขียนคำนำ.
เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง.
เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง.
เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ.
เขียนด้วยการเล่าเรื่อง.
เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ.
เขียนด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง.
เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน.
เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน.

คำนำที่ดีควรมีกี่บรรทัด

คำนำ (ไม่ควรเกิน 3-5 บรรทัด) คือ การเกริ่นนำ ต้องเขียนให้กระชับ กระตุ้นความสนใจของคนอ่าน วิธีการเขียนคำนำทำได้หลายวิธี เช่น พูดถึงสถานการณ์บางอย่างเพื่อโยงมาเข้าเนื้อเรื่องของเรา

คำนำรายงาน ควรจะมีกี่ย่อขึ้นไป

คำนำ (Preface) คือส่วนที่น้องๆ สามารถเล่าที่มา วัตถุประสงค์ ความสำคัญ และขอบเขตของเนื้อหา รวมถึงใส่คำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้รายงานของน้องๆ สำเร็จ เขียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป 2-3 ย่อหน้าก็ได้ค่ะ เพื่ออธิบายคร่าวๆว่า รายงงานของน้องๆ ทำขึ้นเพื่ออะไร ทำไมถึงทำรายงงานนี้ รายงานเล่มนี้มีความสำคัญ ...