เฉลย ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รัฐโบราณและรัฐไทยใน ดิน แดน ไทย

  • Worksheets
  • Thai
  • ประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์ไทย
  • ใบงานที่ 2 รัฐโบราณในดินแดนไทย ม..1

Share on social networks

Language: Thai

Subject: ประวัติศาสตร์ > ประวัติศาสตร์ไทย

School grade: Thailand > มัธยมศึกษาตอนต้น > มัธยมศึกษาปีที่ 1

Age: 12 - 13

แสงระวี พรีม

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

Report worksheet

Other worksheets of ประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทย

เฉลย ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รัฐโบราณและรัฐไทยใน ดิน แดน ไทย

ใบงาน เรื่อง พระสงฆ์

เฉลย ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รัฐโบราณและรัฐไทยใน ดิน แดน ไทย

ใบงาน เรื่อง พระธรรม

เฉลย ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รัฐโบราณและรัฐไทยใน ดิน แดน ไทย

ใบงาน เรื่อง ชาดก

เฉลย ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รัฐโบราณและรัฐไทยใน ดิน แดน ไทย

ใบงาน เรื่อง พุทธประวัติ

Finish worksheet

The time to complete this worksheet is over. Complete the data to send the answers to your teacher

Check answers

Send answers to teacher

Share on social networks


Twitter


Facebook


Google Classroom


Pinterest


Whatsapp

Record your answer

Record your answer

Play your answer

          ประเทศไทยมีพัฒนาการที่สำคัญเริ่มจากมีการตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีความสำคัญได้สร้างความเจริญมีการสั่งสมตลอดจนถ่ายทอดอารยธรรมจากต่างชาตินำมาประยุกต์ใช้และมีการติดต่อค้าขาย มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐหรือแคว้นต่าง ๆข้างเคียงจนสามารถก่อตั้งเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันได้ ดังนั้นในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เรามาศึกษาพัฒนาการของอาณาจักรโบราณในภาคต่าง ๆ  ของประเทศไทยดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

           1.  อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ   มีอาณาจักรที่สำคัญดังนี้

                1.1.  อาณาจักรโยนกเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่  12 - 19 )มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสนได้มีการศึกษาอาณาจักรโยนกเชียงแสนจากหลักฐานที่พบในตำนานสิงหนวัติกุมารและตำนานลวจังกราช กล่าวไว้ว่าผู้สืบเชื้อสายจากเจ้านายไท มณฑลยูนนานของจีนมีเจ้าชายสิงหนวัตุกุมารอพยพนำมาผู้คนลงมาและก่อตั้งเมืองที่นี่แล้วสถาปนาว่าเป็น "อาณาจักรโยนกเชียงแสน"

                     1.)  มีพัฒนาการที่เจริญรุ่งเรืองมาและได้ขยายอาณาเขตให้มีความกว้างขวางแต่ต่อมาผู้ที่ปกครองเมืองเดิมถูกขอมเข้ายึดครองและขับไล่ออกไป

                     2.) จนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้าพรหมกุมารสามารถกอบกู้เอกราชและได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองเวียงไชยปราการ

                     3.)  พวกมอญที่มาจากเมืองสะเทิมในพม่าได้ยกทัพมารุกรานหลังสมัยพระเจ้าพรหม  พระราชโอรสของพระเจ้าพรหมคือ"พระเจ้าไชยสิริ" จึงได้มีการอพยพคนของอาณาจักรหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่เมืองกำแพงเพชร

                      4.) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการบูรณะเมืองเชียงแสนได้มีพระมหากษัตริย์ปกครองถึงพุทธศตวรรษที่  19 จึงได้ถูกรวบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา

                   2. อาณาจักรหริภุญชัย  (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-19)  ศูนย์กลางของเมืองหริภุญชัย(จังหวัดลำพูน) การศึกษาจากหลักฐานในตำนานพระนางจามเทวีวงศ์หรือตำนานเมืองหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองโดยกล่าวว่าฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองโดยขอให้กษัตริย์เมืองละโว้ส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครอง กษัตริย์เมืองละโว้ได้ส่งพระนางจามเทวีพระธิดามาปกครองและในการศึกษาจากตำนานมูลศาสนาได้กล่าวถึงคือการที่พระนางได้นำสิ่งมงคลที่ทรงขอจากพระราชบิดาคือพระสงค์จำนวน  500 รูป พร้อมทั้งแก้วแหวน ช่างและหมู่โหร เป็นต้นเพื่อไปก่อร่างสร้างเมืองหริภุญชัยจนสำเร็จทำให้มีความเจริญได้มีการสู้รบกับละโว้หลายครั้งจนส่งผลให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของละโว้และในปลายพุทธศตวรรษที่  16-17 แม้ว่าจะมีการสู้รบกับกองทัพละโว้แต่ไม่สามารถจะเอาชนะได้แต่ก็ทำให้หริภุญชัยอ่อนแอลงได้ ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อนต้องหลบหนีไปอยู่ที่อื่น

               ประมาณพุทธศตวรรษที่  17  สมัยของพระเจ้าอาทิตยราชขึ้นปกครองอาณาจักรหริภุญชัยสามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองในหลาย ๆ  ด้านโดยเฉพาะด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการสร้างพระธาตุหริภุญชัย สร้างวัดต่าง ๆ  การปกครองบ้านเมืองทำให้ประชาชนมีความสงบร่มเย็น จนถึง พุทธศักราชที่  1835 พระยามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาได้ยกทัพมาโจมตีและอาณาจักรหริภุญชัยถูกรวบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาได้สำเร็จ

              3. อาณาจักรล้านนา  (ประมาณพุทธศตวรรษที่  19-25) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ มีการขยายอาณาเขตที่กว้างขวางไปทางภาคเหนือพระยามังราชมหาราช เดิมที่ปกครองเมืองเชียงแสนได้สามารถปราบปรามอาณาจักรหริภุญชัย เมืองเขลางค์นคร แคว้นโยนกเชียงแสนได้สำเร็จและรวบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาแล้วนั้น ยังมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ  ดังนี้คือด้านการเมืองการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมาย "มังรายศาสตร์"  มีการนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากสุโขทัยและพม่า ตลอดจนมีการสังคยานาพระไตรปิฏกหลายครั้ง มีการสร้างวัดพร้อมทั้งการอุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วย

                 ด้านภาษา มีการใช้ตัวอักษรของตนเองใช้ 3 แบบ คือ 1. อักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมือง  2.อักษรฝักขามที่ดัดแปลงจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหง และ3.อักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ ซึ่งมีการดัดแปลงมาจากอักษรสองแบบแรก

                  สมัยพระเจ้าติโลกราช ในพ.ศ 1984 - 2030 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด มีความเข้มแข็งได้มีการต่อสู้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถติดต่อกันเกือบ 24 ปี  ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรล้านนามีความอ่อนแอเพราะไม่มีความสามัคคี มีความแตกแยกกันอย่างรุนแรงในผู้ปกครองและขุนนางมีการปกครองโดยพระไชยเชษฐาธิราชแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้และต่อมาได้ตกเป็นประเทศราชของพม่าในพ.ศ.2101และต่อมาได้ถูกพม่าและอยุธยาผลัดเปลี่ยนกันเข้ายึดครองอาณาจักรล้านนามีบางครั้งได้แยกตนเป็นอิสระได้

                 จนถึงสมัยอาณาจักรธนบุรี  อาณาจักรล้านนาได้ตกเป็นประเทศราชของไทยและต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2411 -2453 ได้ทรงรวมอาณาจักรล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ