ระบบการทํางานของตู้เย็น ระบบย่อย

เคยสังเกตไหมครับ? เวลาที่คุณชงกาแฟมาร้อนๆ แล้วตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน ผ่านไปสักครู่หนึ่งคุณจะพบว่ากาแฟในแก้วนั้นค่อยๆ เปลี่ยนจากร้อนกลายเป็นอุ่น จนเวลาผ่านไปสักพักใหญ่กาแฟในแก้วนั้นก็หายร้อนไป แล้วคุณสงสัยไหมครับ ว่าความร้อนจากกาแฟในแก้วหายไปไหน?

ผมมีคำตอบให้คุณครับ เพราะความร้อนจากกาแฟในแก้วนั้นถูกแทนที่ด้วยอุณหภูมิจากบริเวณรอบๆ รวมถึงแก้วกาแฟและโต๊ะทำงานเองก็มีส่วนทำให้ความร้อนของกาแฟนั้นหายไป

หลักการนี้เองเป็นหลักการเดียวกับระบบทำความเย็นที่ระบายความร้อนออกจากวัตถุหรืออุณหภูมิภายในห้องและแทนที่ด้วยความเย็นจากระบบทำความเย็น ซึ่งนอกจากนั้นแล้วระบบทำความเย็นยังช่วยรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ดีอีกด้วย

ถ้าคุณกำลังสนใจการทำระบบทำความเย็น บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น และช่วยให้คุณได้ทราบถึงหลักการและอุปกรณ์ทำความเย็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น

อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความเย็น

ระบบการทํางานของตู้เย็น ระบบย่อย

อุปกรณ์ทำความเย็นที่อยู่ใน Condensing unit นั้นมีหลักการที่ทำให้เกิดความเย็นได้ด้วยการดูดเอาความร้อนจากในบริเวณที่ต้องการมาเปลี่ยนเป็นความเย็นไปทดแทนในบริเวณที่ต้องการทำความเย็น มีอุปกรณ์พื้นฐานอยู่ 5 ชนิด ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในระบบทำความเย็น

1. Evaporator หรือคอยล์เย็น

คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ โดยทำให้สารทำความเย็นเดือดจนมีสถานะกลายเป็นไอและสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นได้

สังเกตได้ว่าคอยล์เย็นส่วนใหญ่จะมีระบบท่อลมหรือพัดลมอยู่ ซึ่งมีหน้าที่เป่าลมหรือดูดลมเพื่อช่วยในการระบายความเย็นของคอยล์เย็น และอากาศที่ไหลผ่านคอยล์เย็นนี้จะถูกดูดเอาความร้อนออกเพื่อเปลี่ยนเป็นความเย็น

2. Compressor หรือเครื่องอัดไอ

เมื่อสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอไหลออกมาจากคอยล์เย็น จะมีความดันต่ำและมีสถานะเป็นไอของสารทำความเย็นจากการอุณหภูมิที่สูงมากเพราะสถานะเป็นไอของสารทำความเย็นดูดซับความร้อนจากอากาศโดยรอบที่ไหลผ่าน และจะไหลต่อไปยังเครื่องอัดไอได้ดี หน้าที่ของเครื่องอัดไอคือการดูดเอาสารทำความเย็นในรูปแบบที่เป็นไอ มาอัดให้มีความดันที่สูงขึ้นก่อนที่จะส่งไปควบแน่นต่อที่คอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน

3. Condenser หรือคอยล์ร้อน

สารทำความเย็นเมื่อเดินทางออกจากเครื่องอัดไอแล้วจะมีอุณหภูมิสูงและความดันสูง คอยล์ร้อน (Condenser) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อช่วยควบแน่นสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง

4. Expansion Valve วาล์วลดความดัน

วาล์วลดความร้อน (Expansion Valve) คือ ส่วนสุดท้ายของการทำความเย็นมีหน้าที่เพื่อช่วยทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลงของสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอยล์ร้อน หรือ Condenser จะไหลผ่านวาล์วลดความดัน ซึ่งจะปรับลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง ส่งผลให้สารทำความเย้นพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ถัดไปซึ่งก็คือคอยล์เย็น

5. Refrigerant สารทำความเย็น

สารทำความเย็น (Refrigerant) เป็นสารที่สามารถเปลี่ยนสถานะไปมาจากของเหลวไปเป็นไอและจากไอกลายเป็นของเหลวได้ง่าย เมื่อสารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นไอจะดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียงเข้ามา ณ คอยล์เย็น และคายความร้อนเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอีกครั้ง ณ คอยล์ร้อน

คุณสมบัติของสารทำความเย็นจะต้องมีเสถียรภาพที่ดีและใช้ได้นาน โดยประสิทธิภาพของสารทำความเย็นนั้นไม่ลดลง มีราคาถูก พาความร้อนได้มาก ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันหล่อลื่น ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ มีปริมาตรของแก๊สต่อหน่วยน้ำหนักน้อยและใช้แรงอัดให้เป็นของเหลวต่ำ

หลักการทำความเย็น

ระบบการทํางานของตู้เย็น ระบบย่อย

เครื่องทำความเย็นในปัจจุบัน มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน ทั้งตู้เย็น ตู้แช่ ห้องเย็น โรงน้ำแข็ง เครื่องปรับอากาศ การทำความเย็นในโรงงานอุตสาหกกรมทั่วไป ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ลดอุณหภูมิและรักษาระดับอุณหภูมิให้เป็นไปตามที่กำหนด

โดยหลักการทำให้เกิดความเย็นเบื้องต้นนั้นมีลักษณะเหมือนกันคือ ทำให้สารซึ่งเป็นตัวกลางในการทำความเย็น (Refrigerant) เปลี่ยนสถานะด้วยการใช้ความร้อนแฝง เพื่อให้สารที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ส่งผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งหมายความว่าบริเวณนั้นจะมีความเย็นเกิดขึ้น

เริ่มต้นกระบวนการทำความเย็นจากการดูดความร้อนด้วย Evaporator หรือคอยล์เย็น เข้ามาซึ่งความร้อนที่สารทำความเย็นดูดเข้ามานี้จะทำให้น้ำยาสารทำความเย็นเกิดความร้อนและเปลี่ยนสภาพจากของเหลวกลายเป็นไอ กระบวนการนี้สารทำความเย็นจะดูดซับเอาความร้อนจากบริเวณโดยรอบ ซึ่งความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของสารทำความเย็นได้รับความร้อนมาจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้คอยล์เย็น โดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสีความร้อน ทำให้สารทำความเย็นนี้มีอุณหภูมิสูงและความดันต่ำ

สารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงสถานะไอนี้จะถูกส่งต่อไปยัง Compressor หรือเครื่องอัด โดยจะอัดให้มีความดันสูงขึ้นก่อนส่งต่อไปที่ Condenser หรือคอยล์ร้อน เพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและควบแน่นให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง ก่อนส่งต่อไปที่ Expansion Valve วาล์วลดความดัน เพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง เพื่อให้สารทำความเย็นดดังกล่าวพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ ถัดไป ซึ่งก็คือคอยล์เย็นและจะวนการทำงานไปแบบนี้เรื่อยๆ ตามวัฏจักรทำความเย็น

อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบทำความเย็น

ระบบทำความเย็นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการรักษาวัตถุดิบ หรือสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อช่วยยืดระยะเวลาของสินค้าเหล่านั้นให้เก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้นรวมถึงเป็นการรักษาต้นทุนของการผลิต เพราะความเย็นจากเครื่องทำความเย็นมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเน่าเสียของสินค้าและยังช่วยยืดอายุการเก็บสินค้าหรืออาหารให้อยู่ได้นานขึ้น

การผลิตอาหาร (Food processing)

กระบวนการทำพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurisation) เช่น การผลิตนม หรือไอศกรีม ด้วยการให้ความร้อนแก่นมด้วยอุณหภูมิ 70-80 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นนำมาทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-3 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพของนมก่อนนำออกจำหน่าย ไปจนถึงกระบวนการหมัก (Fermentation) กระบวนการบ่ม (Mellowing) ที่ต้องทำภายใต้อุณหภูมิ 5-15 องศาเซลเซียส

การเก็บรักษาอาหาร (Food Storage)

การนำอาหารสดมาแช่แข็งเพื่อรักษาความสดไว้ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เพื่อยืดอายุการรักษาอาหารให้นานขึ้น โดยการแช่ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งเป็นการลดการแพร่ขยายของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย

การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial process)

มีการใช้ระบบทำความเย็นสำหรับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหรรมเคมี ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ

การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง (Transportation refrigeration)

ระบบห้องทำความเย็นแบบเคลื่อนที่เพื่อรักษาคุณภาพสินค้าในระหว่างการส่งให้คงความสดใหม่ไว้ เช่น ห้องเย็นบนเรือขนส่งสินค้า หรือรถห้องเย็นที่ใช้ขนส่งสินค้าไปตามต่างจังหวัด

การปรับอากาศ (Air condition)

ระบบปรับอากาศมีใช้อย่างแพร่หลายมาในปัจจุบัน ตั้งแต่รถยนต์ บ้าน อาคาร ไปจนถึงโรงานอุตสาหกรรม โดยนอกจากการให้ความเย็นยังทำงานร่วมกับระบบควบคุมความชื้น กรองอากาศ การหมุนเวียนอากาศ การระบายอากาศ เพื่อให้ได้อากาศที่เย็นสดชื่น

สรุป

กระบวนการทำความเย็นมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ซึ่งอาจจะติดตั้งอยู่ใน ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ตู้ดูดความชื้น เครื่องดูดอากาศ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การให้ความเย็นกับพื้นที่ที่ต้องการ ส่วน หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น นั้นมีหลักการพื้นฐานตามที่กล่าวมาข้างต้นโดยสามารถเพิ่มเติมรูปแบบการติดตั้งได้อีกตามขนาดการใช้งานและที่ตั้งของอุปกรณ์ทำความเย็น

ถ้าเกิดว่าคุณมีข้อสงสัยหรือกำลังสนใจในการติดตั้งระบบทำความเย็น คุณสามารถติดต่อเรามาได้ที่นี่ หรือคอมเมนต์ไว้ด้านล่างได้เลยครับ ทางเราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่

ระบบย่อยของตู้เย็น มีอะไรบ้าง

ตู้เย็นมีส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ.
คอมเพรสเซอร์ (Compressor).
ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ส่วนที่เป็นคอยส์ร้อน มีลักษณะขดไปมาอยู่นอกตู้.
วาวล์ขยาย (Expansion vavle).
ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ส่วนที่เป็นคอยส์เย็น มีลักษณะขดไปมาอยู่ภายในตู้เย็น.
สารทำความเย็น เป็นของเหลวบรรจุอยู่และไหลเวียนอยู่ภายในตู้.

ระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศมีอะไรบ้าง

ระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศแต่ละส่วนจะมี การทำงานที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ ระบบคอยล์เย็น (evaporator system) ซึ่งมีสารทำความเย็นอยู่ภายใน จะดูดความร้อนจากอากาศภายในห้องส่งผ่านไปยัง ระบบอัดความดัน หรือที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์

การทำงานของระบบทางเทคโนโลยีประกอบด้วยกี่ส่วน

ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)

ข้อใดคือระบบทางเทคโนโลยี (Technology System)

ระบบทางเทคโนโลยี(technological system) คือ มนุษย์ประดิษฐ์หรือสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อใช้ ในกระบวนการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีนั้น จะต้องทางานอย่าง เป็นระบบ