การทํางานของ heat detector

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนเป็นอุปกรณ์ เริ่มต้นในระบบการเตือนอัคคีภัยโดยทั่วไปแล้ว มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดคือ

1. อุปกรณ์ ตรวจจับความร้อนแบบคงที่ (Fixed Temperature)จะทำงานตรวจจับอัคคี ภัย เมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่ที่ติดตั้งสูงขึ้นถึงจุดที่ ตั้งไว้ล่วงหน้าโดยที่ตัวอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งที่ สัมผัสความร้อนนั้นโดยตรง

2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่เพิ่มขึ้น จนถึงจึดที่ ตั้งไว้ (Rate Compensate) จะทำงาน ตรวจจับอัคคีภัยเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่ที่ติด ตั้งสูงขึ้นถึงจุดที่ตั้งไว้ล่วงหน้าซึ่งอุปกรณ์ สามารถ ตรวจจับความร้อนบริเวณรอบๆ จุดที่ติดตั้งห่าง ออกไปได้ในระยะที่กำหนดไว้ได้

3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่เพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนที่ตั้งไว้ (Rate of Rise) จะทำงาน ตรวจจับอัคคีภัยเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่ที่ติด ตั้งสูงขึ้นแต่ไม่ มีการตั้งไว้ล่วงหน้าว่าจะตรวจจับณ ที่อุณหภูมิใดอุณหภูมิ หนึ่ง เป็นการตรวจจับ เมื่อมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นขยับ สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามสัดส่วน (องศาต่อนาที ) 

ปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายได้เอาอุปกรณ์ สองชนิดมารวมกันเป็นชุดเดียวเรียกว่าอุปกรณ์ ตรวจจับความร้อนแบบรวม (Combination Heat Detector) ซึ่งมีการตรวจจับความร้อนแบบคงที่และแบบการเพิ่มของอุณหภูมิรวมอยู่ภายใน อุปกรณ์เดียวกันมีชิ้นส่วนภายในดังแสดงไว้ใน รูปทั้งนี้

การทํางานของ heat detector

การทํางานของ heat detector

ในการทางานของอุปกรณ์ แบบความ ร้อนคงที่นั้นอุปกรณ์ จะทำงานเมื่อความร้อนถึงจุดที่กำหนดไว้โลหะที่จับยึดที่จุด F จะเกิดการ หลอมละลายซึ่งสปริ่งที่ จุด G จะทางานแล้วแก้น จะเลื่อนตัวไปกระแทกกับจุด D ทำให้หน้าส้มผัส ของจุด D และจดุ E เชื่อมต่อถึงกันส่งผลให้ ระบบ เกิดการทำงาน สาหรับการทำงานแบบการเพิ่ม อุณหภูมิความร้อนนั้น อุปกรณ์จะทํางานเมื่อ อุณหภูมิ ภายในพื้นที่เพิ่มขึ้น 8 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 1นาทีซึ่งอากาศที่อยู่ภายในห้องA จะเกิดการขยายตัวมีผลทําให้แผ่นไดอะแฟรม ที่จุด C มีการเคลื่อนตัวขึ้นแล้วหน้าส้มผัสของจุด D กับจุด E จะสมผัสกันและจะสั่งสัญญาณกลับไปที่ระบบควบคุมต่อไป

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ควรเลือกติดให้ถูกพื้นที่เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Heat Detector เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ทำหน้าที่ตรวจจับไฟข้อแตกต่างของ Heat Detector จะจับอุณภูมิความร้อนจากเปลวไฟไม่ใช่ควันซึ่งไม่เหมือนอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ smoke detector โดยส่วนใหญ่นิยมติดภายในบริเวณห้องเก็บสารเคมี เป็นต้น

1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Electronic Heat Detector Rate-of-Rise) อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานเมื่อมีอัตราการเพิ่ม ของ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียสใน 1 นาที ส่วนลักษณะการทํางาน คือ เมื่ออากาศในส่วนด้านบนของส่วนรับความร้อนเกิดถูกความร้อน จะขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จนอากาศที่ขยายไม่สามารถเล็ดลอดออกมาในช่องระบายได้ ทําให้เกิดความดันสูงมากขึ้น และไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ไปดันขาคอนแทคแตะกัน ทําให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้ส่งสัญญาณไปแจ้งเหตุยังตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่(Electronic Heat Detector FixedTemperature) อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของ Sensors สูงถึงจุดที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งมีตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 150 องศาเซลเซียสในการทํางานจะอาศัยหลักการของโลหะ 2 ชนิดเมื่อถูกความร้อน แล้วเกิดมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวแตกต่างกัน โลหะทั้งสองจะมาแนบติดกัน (Bimetal) ทําให้โลหะเกิดการบิดตัว และ โค้งงอไปอีกด้านหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดมีการขยายตัวที่แตกต่างกัน เมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม

3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะรวมเอาทั้งคุณสมบัติในการตรวจจับ แบบ Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน เพื่อการตรวจจับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ทั้งสองลักษณะ และเพิ่มความไวในการตรวจจับให้ดีขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ Electronic Heat Detector ทั้ง 3 แบบที่กล่าวไปนั้น ในการนำไปใช้งานสามารถที่จะเทสทดสอบ การทำงานจริงของอุปกณณ์ก่อนได้ แล้วหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนเมื่อทำการตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ไปได้แล้ว ตัวอุปกรณ์ตรวจจับชนิดนี้ ก็จะยังคงใช้งานได้ตามปกติ

4. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิด Mechanical Heat Detectors จะเป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบที่รวมทั้ง Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาทำงานร่วมกันในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน แต่การตรวจจับ แบบ Fixed Temp แผ่นโลหะที่นำมาใช้ในการควบคุมความร้อนเวลาตรวจจับ จะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อเวลาที่เหตุเพลิงไหม้ดับเป็นปกติแล้ว และอุปกรณ์ชนิด Mechanical นี้ ก็ไม่สามารถนำไปเทสทดสอบ การทำงานจริงของตัวอุปกรณ์ได้เพราะถ้ายังนำไปทดสอบ แผ่นโลหะในการตรวจจับความร้อนก็จะบิดตัวและโค้งงอไปเลย ไม่สามารถใช้งานตรวจจับความร้อนได้อีกต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองทำให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิด Mechanical Heat Detectors จึงมีราคาขายที่ถูกมากๆ

     อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ควรใช้กับสถานที่ที่จะเกิดความเสียหายมากเมื่อมีเพลิงไหม้เพียงเล็กน้อยเช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องควบคุมระบบสื่อสาร เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้งานอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนควรพิจารณาจากวัตถุต้นเพลิงและสถานที่ติดตั้ง

 หลายท่านที่กำลังมองหาเครื่องวัดความแข็งสำหรับวัสดุพวก พลาสติก ยาง โพลีเอสเตอร์ พีวีซี ยังมีความสงสัยว่าจะเลือกใช้งานเครื่องวัดความแข็งในหน่วยใดจึงจะเหมาะกับการใช้งาน วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

การทํางานของ heat detector

 เครื่องวัดความแข็งแบบชอร์ (Shore Hardness Tester หรือ Durometer Hardness) จะวัดความแข็งของวัสดุในเชิงของความยืดหยุ่น ความสามารถในการต้านทานของแรงกดที่กดลงไปในวัสดุ เครื่องวัดความแข็งประเภทนี้จะประกอบไปด้วย หัวกด แผ่นกด และสปริง ระยะของหัวกดและแผ่นกดจะสัมพันธ์กับสปริงและแบ่งสเกลเป็น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ระยะของหัวกดและแผ่นกด 2.5 มม. ดังนั้นทุกๆ 0.025 มม. จะมีค่าเท่ากับ 1 Shore การทดสอบจะทำได้โดยการกดหัวทดสอบลงไปที่วัสดุ แล้ววัดระยะดังกล่าวแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลข 0 -100

 อ้างอิงจากมาตรฐาน ISO 868 ค่าความแข็งของยางและพลาสติกจะถูกวัดค่าเป็นหน่วย Shore A หรือ Shore D มีค่าเป็น 0 -100 สเกล A หรือ D พลาสติกที่อ่อนและมีความยืดหยุ่นสูงให้วัดด้วยสเกล A (Shore A) เช่น ยาง อิลาสโตเมอร์ ไวนิล ส่วนยางหรือพลาสติกที่แข็งกว่าจะวัดค่าด้วยสเกล D ตามมาตรฐาน ISO ถ้าวัดยางในสเกล A ได้มากกว่า 90 ให้เปลี่ยนไปใช้สเกล D (เนื่องจากยางอาจจะแข็งไปเมื่อวัดด้วย สเกล A) และในทางกลับกันถ้าวัดด้วยสเกล D ได้น้อยกว่า 20 ให้เปลี่ยนไปใช้สเกล A แทน

การเลือกเครื่องมือให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานถือเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยเพราะจะทำให้การทำงานของท่านเป็นไปอย่างถูกต้องและมีคุณภาพ

Smoke Detector มีหน้าที่อะไร

ความสำคัญของ Smoke Detector คือการตรวจจับอนุภาคควันไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในขณะที่เปลวไฟเริ่มลุกไหม้บนเชื้อเพลิง ควันไฟจะเป็นสิ่งแรกที่จะลอยขึ้นสู่ที่สูงก่อน ซึ่งจะไปกระทบกับเครื่องตรวจจับควันไฟที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดาน

Smoke Detector กับ Heat Detector ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างกันก็คือ Smoke Detector ดักจับเหตุเพลิงไหม้โดยใช้ปริมาณควัน แต่ Heat Detector ใช้ความร้อน โดยทั่วไป Heat Detector จะมีความไวในการตรวจจับน้อยกว่า Smoke Detector ตัว Heat Detector จึงมีราคาถูกกว่าเกือบ 2 เท่า

Heat Detector มีกี่ประเภท

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยทุกๆแบรนด์ จะแบ่ง ออกได้เป็น 2 แบบ หลักๆ คือ 1. แบบ Mechanical Heat Detectors. 2. แบบ Electronic Heat Detectors.

Flame Detector หมายถึงอะไร

6. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อุปกรณ์นี้จะเป็นเหมือนดวงตา ซึ่งหลักการทำงานคือ การตรวจจับรังสีอินฟราเรดและรังสีอุลตราไวโอเลตที่เกิดจากเปลวไฟ ซึ่งจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า หรือการลุกไหม้ของไฟที่รวดเร็วและไม่มีควันไฟ