ทํางานกะกลางคืน

ทํางานกะกลางคืน

Shift Work หรือการทำงานเป็นกะ ส่งผลเสียต่อสุขภาพในเรื่องของการกินไม่เป็นเวลา นอนไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะคนที่ทำงานกะดึก ย่อมมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ทำให้ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาวอีกด้วย

ทำความเข้าใจกับการทำงานเป็นกะ (Shift Work)

สถานที่ที่มักพบการทำงานแบบ Shift Work เป็นสถานที่ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น โรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ สนามบิน เป็นต้น คนทำงานส่วนหนึ่งตามสถานที่ดังกล่าวมีการทำงานแบบ Shift Work หรือการทำงานเป็นกะ เป็นการทำงานที่ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิตของร่างกายที่เป็นธรรมชาติ โดยปกติช่วงเวลากลางวันจะต้องตื่นเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน

คนทำงานเป็นกะ (Shift Work) ควรปฏิบัติตนอย่างไร?

การนอนหลับพักผ่อน

ช่วงที่ไม่ได้อยู่กะควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมง หากพักผ่อนไม่เพียงพอสมรรถภาพการทำงานของสมองจะลดลง ที่สำคัญควรจัดที่นอนให้เหมาะสม เพราะการนอนตอนกลางวัน จะมีสิ่งรบกวนค่อนข้างมาก อาจปิดผ้าม่านและหน้าต่างเพื่อส่งผลให้การนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่

การรับประทานอาหาร

หากต้องอยู่กะดึก ไม่ควรรับประทานอาหารที่หนักเกินไป หรือรับประทานอาหารควรกินแค่ไม่ให้รู้สึกหิวเท่านั้น แล้วไปกินมื้อเช้าหนัก ๆ เพื่อการนอนหลับให้เต็มอิ่ม จากนั้นเมื่อนอนครบ 8 ชั่วโมงแล้วตื่นมาในช่วงบ่าย ก็ให้กินมื้อกลางวัน และมื้อเย็นตามปกติก่อนเข้างาน ที่สำคัญคือควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การออกกำลังกาย

สำหรับคนที่ทำงานกะดึก ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าในช่วงเวลางาน ส่วนคนที่ทำงานกะเช้าและกะบ่าย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การเปลี่ยนกะ

ควรเปลี่ยนไปข้างหน้าเสมอ อย่าเปลี่ยนย้อนหลังหรือกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า รู้สึกอดนอนมากขึ้น เช่น เปลี่ยนจากกะเช้าไปเป็นกะบ่าย เปลี่ยนจากกะบ่ายไปเป็นกะดึก อย่าเปลี่ยนจากกะดึกไปเป็นกะบ่าย เป็นต้น  และไม่ควรเปลี่ยนกะทุกสัปดาห์ เพราะปกติแล้วเมื่อปรับเวลานอนต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มชินกับเวลานอนนั้น หากต้องเปลี่ยนควรเปลี่ยนทุก 2-3 สัปดาห์ หรือไม่ก็ให้เปลี่ยนทุก 2-3 วัน

การแบ่งเวลา คนทำงานเป็นกะมักมีช่วงเวลาชีวิตที่ไม่ตรงกับผู้อื่น ทำให้ไม่มีเวลาในการพบปะเพื่อนฝูง หรือไม่มีเวลาให้ครอบครัว ดังนั้นควรแบ่งเวลาหรือวางแผนในเรื่องของเวลาให้ดีทั้งนี้เพื่อรักษาสุขภาพจิตใจของตนเอง

ผลกระทบของการทำงานเป็นกะ (Shift Work)

การทำงานเป็นกะส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

  • ระยะสั้น ได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่วงในเวลางาน ส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงานที่ลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
  • ระยะยาว มีงานวิจัยเผยว่าคนที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่างมากกว่าคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมรรถภาพของสมองเสื่อมลง มีอาการกล้ามเนื้อตาล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีความเครียด อ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่กลับ โรคอ้วน

ทั้งนี้คนทำงานเป็นกะควรดูแลรักษาสุขภาพให้ดีและมีแบบแผน จากวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากนาฬิกาชีวิตของร่างกายที่เป็นธรรมชาติ ทั้งในด้านการกิน การนอน รวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตนเอง

ข้อมูลจาก
อ. พญ.ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “พยาบาลอันตรายจากการทำงานเป็นกะ | work with a healthy life” ได้ที่นี่

สิ่งที่ควรทำเมื่อ "ทำงานเป็นกะ" เพื่อสุขภาพในระยะยาว


เผยแพร่ 14 ก.ย. 2564 ,17:33น.




คนทำงานเป็นกะ ควรดูแลสุขภาพอย่างมีแบบแผน พักผ่อนเพียงพอ-ออกกำลังกาย-กินอาหารที่มีประโยชน์

ในบริษัท องค์กร ที่ต้องมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง มักจะวางรูปแบบให้ ทำงานเป็นกะ (Shift Work) เพื่อให้งานสามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง และในประเทศไทย มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานเป็นกะ และมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานเสมอ เช่น สัปดาห์นี้เข้ากะเช้า สัปดาห์หน้าเข้ากะค่ำ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทำให้นาฬิกาชีวิตรวน เพราะโดยธรรมชาติของร่างกาย เวลากลางวันจะต้องตื่นเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน ดังนั้น การทำงานเป็นกะ จนอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

เช้าวันจันทร์ "ไม่อยากทำงาน" ใครเป็นบ้าง มีวิธีแก้

อุทาหรณ์คนทำงานหนัก หนุ่มควบกะโอทีตายคาห้อง

ทํางานกะกลางคืน

ผลของ “การทำงานเป็นกะ” ที่กระทบต่อสุขภาพ

ระยะสั้น

     จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่วงในเวลางาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพลดลง และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน เช่น ทำงานในสายการผลิต ใกล้ชิดกับเครื่องจักร หรือ ต้องขับรถ

ระยะยาว

     เกิดความเสี่ยงในโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือกสมอง สมรรถภาพสมองลดลง ส่งผลต่อความจำ ปวดเมื่อยล้าตามร่างกาย ปวดตา เครียด อ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น

     นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้

ทํางานกะกลางคืน

วิธีดูแลตัวเองสำหรับคนทำงานเป็นกะ

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรครบ 8 ชั่วโมง สำหรับคนที่นอนกลางวัน จะมีสิ่งรบกวนค่อนข้างมาก ควรจัดที่นอนให้เหมาะสม

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หากอยู่กะดึก ควรรับประทานแต่พอดี เพื่อให้คลายหิว แล้วค่อยไปหนักมื้อเช้า เพื่อการนอนหลับให้เต็มอิ่ม และเมื่อตื่นนอนในช่วงบ่าย ให้กินมื้อกลางวัน และมื้อเย็นตามปกติก่อนเข้างาน

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่คนทำงานกะดึก ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป

-การเปลี่ยนกะ ไม่ควรเปลี่ยนย้อนหลังหรือกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า รู้สึกอดนอนมากขึ้น และไม่ควรเปลี่ยนกะทุกสัปดาห์ เพราะร่างกายต้องการเวลาปรับตัว

ที่มา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline