ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

ศิลปกรรมของทุกๆ ชาติ ย่อมมีระยะเวลาที่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่การทำนุบำรุงศิลปย่อมเจริญถึงขีดสูงสุด ศิลปะของไทยก็เช่นเดียวกัน เรามีศิลปสมัยต่างๆ โดยการเรียกนามราชธานีที่เกิดพร้อมกับศิลปนั้นๆ เช่น ศิลปแบบเชียงแสน ศิลปะแบบสุโขทัย ฯลฯ ศิลปไทยที่ล่วงมาแล้วหลายสมัยเราต่างก็จัดกันว่าศิลปในสมัยสุโขทัยเป็นศิลปที่มีความเจริญงอกงามทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ การตกแต่งต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ จัดเป็นยุคทองของศิลปไทยในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้เราจะมีศิลปสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุดแล้ว เรายังมีศิลปอีกสมัยหนึ่งที่สืบต่อกันมาคือ ศิลปอยุธยาซึ่งเริ่มต้นแต่ปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในระยะเวลาประมาณ ๔๑๗ ปีนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานี มีราชวงศ์ต่างๆ และพระมหากษัตริย์ที่สืบสันตติวงศ์ตามลำดับ โดยต่างได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับศิลป ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่าศิลปที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้นเป็นการรับใช้สังคมและศาสนา ศิลปสมัยอยุธยาเป็นศิลปที่รวมรับเอาแบบอย่างของศิลปที่ใกล้เคียงมาเป็นศิลปที่เกิดใหม่ คือศิลปสมัยอยุธยา ประติมากรรม ประณีตศิลป์ รวมทั้งวัฒนธรรมต่างๆ

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

วัดส้ม มีพระปรางค์เป็นประธานของวัด

ท่านผู้รู้ท่านได้แบ่งระยะเวลาของศิลปสมัยอยุธยาไว้เป็น ๔ ระยะ โดยแบ่งระยะเวลารัชกาลต่างๆ เป็นหลักดังนี้ คือ

ยุคที่ ๑ ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ถึงรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ

ยุคที่ ๒ ตั้งแต่รัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ ถึงรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม

ยุคที่ ๓ ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ

ยุคที่ ๔ ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ. ๒๓๑๐

เราจึงนำเอาหลักเกณฑ์นี้มากล่าวถึงศิลปกรรมสมัยอยุธยา โดยการแบ่งดังนี้

ศิลปอยุธยายุคที่ ๑
การก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่างๆ เริ่มมีมาแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓ เป็นระยะเวลาที่ไทยใกล้ชิดกับเขมรกัมพูชามาก และในรัชกาลต่อ มา กัมพูชายอมอยู่ภายใต้อำนาจไทย การก่อสร้างโดยเฉพาะวัดวาอารามต่างๆ จึงมีลักษณะอิทธิพลเขมรมากกว่าอิทธิพลแบบศิลปสมัยสุโขทัย นิยมสร้างพระปรางค์เป็นหลักประธานของวัด ถึงแม้ว่าบางวัดจะสร้างเป็นเจดีย์ทรงกลม แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย การสร้างพระปรางค์เป็นหลักประ ธานของวัดแล้ว ลวดลายที่ประดับก็เลียนแบบลายของศิลปแบบสมัยลพบุรี แต่มีการย่อมุมที่ปรางค์มากกว่าแบบปรางค์ของขอม และเปลี่ยนเป็ นการใช้อิฐแทนการใช้หิน เช่น ปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งพระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง ปรางค์ที่วัดพระราม พระราเมศวรทรงสร้างปรางค์วัดราชบูร ณะ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง และมีปรางค์ที่หัวเมืองที่สำคัญ คือ ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงสร้างปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้าง ปรางค์เหล่านี้แต่เดิมมีลวดลายตามกลีบขนุนและซุ้มต่างๆ แต่เป็นปั้นปูนและได้หลุดร่วงไปตามกาลเวลา

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

วัดพระราม มีพระปรางค์เป็น
หลักประธานของวัด

การก่อสร้างที่เป็นรูปทรงอาคาร นิยมสร้างแบบทึบๆ ไม่มีหน้าต่าง แต่จะเจาะช่องแสงเป็นแบบซี่กรง ที่ทำเช่น นี้อาจจะเป็นเพราะการก่อผนังไม่มีการแบ่งเป็นระยะ ใช้วิธีก่ออิฐรวดเดียวจากพื้นถึงสุดชายคาไม่มีการวางคาน เหนือช่องหน้าต่างจึงพังได้ง่าย ฉะนั้นช่องหน้าต่างจึงต้องทำแบบลูกกรง

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

วัดพุทไธสวรรค์ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
ทรงสถาปนาขึ้นที่ตำบลเวียงเหล็ก
ประติมากรรมในศิลปสมัยอยุธยายุคที่ ๑ เราจะเห็นได้ว่า มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นศิลปที่คาบเกี่ยวหรือมีมาก่อนสร้างกรุง ศรีอยุธยา เช่น พระเจ้าพนัญเชิง ที่วัดพนัญเชิง พระป่าเลไลย์ที่เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งพระพุทธรูปสององค์นี้เป็นพระก่ออิฐ แต่ก็สร้างในสมัยที่เรา จัดเป็นศิลปแบบอู่ทองต่อกับสมัยอยุธยาตอนต้น และศิลปอยุธยายุคต้นก็เป็นการสืบต่อจากศิลปยุคอู่ทอง และการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะปร ะติมากรรมของอยุธยาก็มีทำตามแบบอย่างของอู่ทอง จนถึงรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถ้าดูรูปลักษณะแล้วจะเห็นว่า งานประติมากรรมมี ลักษณะแข็ง ความอ่อนหวานไม่มี เช่น ถ้าปั้นรูปลักษณะพระพุทธรูปจะเห็นว่า พระพักตร์เป็นแบบสี่เหลี่ยม พระกรที่จะวางมีลักษณะแข็ง แบบมีพลังหนักแน่น จนทำให้นักศิลปบางท่านชื่นชอบศิลปอยุธยายุคต้นที่สืบต่อจากยุคอู่ทอง ว่ามีความแข็งแรงมีน้ำหนักไม่เบาแบบลอยๆ และเป็นการผลักดันทำให้เกิดศิลปอยุธยาอย่างแท้จริงในสมัยต่อมา

จิตรกรรม จิตรกรรมอยุธยาตอนต้นเราจัดว่าเป็นอิทธิพลของศิลปสมัยลพบุรี เพราะการจัดภาพองค์ประกอบพระเรียงแถวอยู่ในซุ้มเรือนแก้วแ บบซ้ำๆ องค์พระเขียนเส้นแบบที่เป็นรูปประติมากรรมมากกว่าที่จะเป็นเส้นแบบสีที่ใช้ระบายโครงภาพเป็นลักษณะสีที่ดูแล้วจะเห็นว่า เกือบจ ะเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน คืออาจจะเป็นสีแดง น้ำตาล และน้ำตาลอ่อน สีเหล่านี้ในบางครั้งก็ระบายแบบมีระยะอ่อนแก่ ซึ่งภาพเหล่านี้เป็น ภาพที่เขียนซ้ำ เมื่อดูแล้วจะรู้สึกว่ามีความซ้ำซ้อนทำให้น่าเบื่อ เพราะเส้นที่เขียนก็ไม่มีอิสระในท่าที แต่อยู่ในกรอบบังคับที่จัดเป็นระเบียบอย่างไม่มีความคล่องตัว

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เครื่องทองในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
ประณีตศิลป ประณีตศิลปของศิลปอยุธยายุคที่ ๑ โดยเฉพาะการประดับตกแต่งเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม และสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการทำตู้ โต๊ะ เตียง ต่างๆ นั้นมีตัวอย่างเหลือมาถึงสมัยนี้ได้น้อยมาก เพราะเกี่ยวกับกาลเวลาอายุขัย และสูญหายไปแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เราจึงมีตัวอย่างที่จะกล่าวถึงได้น้อยมาก แต่เรามีประณีตศิลปที่เกี่ยวกับเครื่องเงินเครื่องทอง ที่ขุดพบจากกรุใต้ฐานปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งวัดราชบูรณะนี้สร้างแต่ปี พ.ศ. ๑๙๘๖ สิ่งของที่พบนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย มีการจำลองปรางค์ด้วยทองคำ เจดีย์ทอ งคำ ช้างทรงเครื่อง และเครื่องราชูปโภคต่างๆ มากมาย ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีการสร้างอย่างประณีตบรรจง มีการสลักลายดุนลาย ลายต่างๆ ที่ปรา กฏบนสิ่งของเหล่านั้น แสดงให้เห็นถึงการใส่ลายต่างๆ ลงบนภาชนะอย่างมีระเบียบ และการสลักลายยังเป็นอิสระ ตัวลายเป็นลายกลมม้วนสาม ตัว ซึ่งเป็นลายแบบแรกๆ ของศิลปสมัยอยุธยาที่ยังไม่เป็นลายกนก แบบประดิษฐ์ คือ กนกแบบกนกสามตัว เครื่องทองที่ฝังอัญมณีต่างๆ เป็นก ารขึ้นกระเปาะ แทนที่จะขุดแล้วฝังอัญมณีลงไปแบบที่เราเรียกว่า แบบฝังชาด ซึ่งเป็นวิธีใหม่กว่าการขึ้นกระเปาะ

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

วัดพระศรีสรรเพชญ

ศิลปอยุธยายุคที่ ๒
ศิลปอยุธยายุคที่สอง เราถือกันว่าเริ่มแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนถึงรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม รวมระยะเวลา ๑๘๐ ปี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เคยประทับที่พิษณุโลกเมื่อยังเป็นพระยุพราช ต่อมาได้ย้ายราชธานีไปอยู่พิษณุโลก ทรงใกล้ชิดกับประเพณีต่างๆ ทางสุโขทัย อิทธิพลของสุโขทัยจึงเริ่มแพร่หลายมายังกรุงศรีอยุธยา เช่น คติการสร้างวัดไว้ในเขตพระราชวัง การก่อสร้างสถาปัตยกรรมก็เริ่มนิ ยมแบบสุโขทัย คือการสร้างเจดีย์ทรงกลมที่เราเรียกกันว่า เจดีย์แบบทรงลังกา ถึงแม้ว่าในระยะต้นๆ ยังนิยมสร้างเจดีย์ประธานของวัดเป็นแบบปรางค์ เช่น ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก โดยการเปลี่ยนแบบของ

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์ในวัดมหาธาตุ

เจดีย์ทรงดอกบัวแบบสุโขทัย แต่ก็มีเพียงองค์เดียวเท่านั้น ในสมัยนี้การสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบทรงลังกาถ้า ดูเผินๆ แล้วจะเห็นว่า มีลักษณะเหมือนกับเจดีย์ทรงกลมสมัยสุโขทัย แต่ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่า มีความแตกต่างกันจนเราสามารถแยกสมัยได้ เช่น ตอนยุคที่ต่อจากบัลลังก์ เจดีย์สมัยสุโขทัยไม่นิยมมีฐานรองรับเสาที่เราเรียกว่า เสาหาร แต่เจดีย์สมัยอยุธยานิยมมีเสาหารและตอนฐานที่ต่อกับองค์พระระฆังกลมจะมีชั้นรับซึ่ งเราเรียกกันว่าชั้นมาลัย ซึ่งชั้นมาลัยเถาของเจดีย์สมัยสุโขทัยสร้างคล้ายๆ ฝาหม้อดิน ซ้อนกันสามชั้น จึงเรียกว่า บัวฝาละมี ส่วนเจดีย์ทรงกลมของอยุธยายุคที่สอง นิยมสร้างเป็นวงกลมแบบเส้นลวดคล้ายกับการสวมกำไลสามอัน จึงเรียกว่า มาลัยเถา

การสร้างอาคารยังมีลักษณะทึบแบบสมัยแรก การใส่หน้าต่างยังไม่มี ด้านข้างของอาคารยังมีปีกของหลังคาชั้นสุดท้ายคลุม มีเสารองรับ ที่เรียกกันว่าพะไล เสาที่เกี่ยวกับอาคารสถาปัตยกรรมเป็นเสาแบบเสากลม บัวหัวเสาเป็นแบบบัวกลุ่ม เช่นวิหารหลวงที่วัดพระศรีสรรเพชญ และมีการสร้างเจดีย์รายโดยรอบ วัดพระศรีส รรเพชญมีวิหารเล็กๆ อยู่ทางด้านหน้าเจดีย์ และวิหารเหล่านี้คงสร้างเป็นระยะสืบต่อมา เจดีย์ที่เราจัดเป็นสถาปัตยกรรมยุคหรือระยะที่สอง ได้แก่ เจดีย์วัดวังชัย เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล และเจดีย์วัดวรเชษฐาราม เจดีย์เห ล่านี้ ฐานตอนรับองค์ระฆังเป็นแบบแปดเหลี่ยม นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมยุคที่สองอย่างแท้จริง

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์วัดสมณโกษฐาราม
ประติมากรรมสมัยอยุธยาระยะที่สอง เราจัดว่าเป็นงานศิลปะสมัยอยุธยาอย่างแท้จริง โดยได้นำอิทธิพลจากศิลปสมัยสุโขทัยเขามาใช้อย่างมาก มาย เช่น การหล่อพระพุทธรูป มีพระศรีสรรเพชญ และพระโลกนาถที่วิหารพระโลกนาถ ที่วัดพระศรีสรรเพชญ ปัจจุบันพระศรีสรรเพชญถูกก่ อเจดีย์หุ้มอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ส่วนพระโลกนาถประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศตะวันออกของวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ และพระมงคลบพิตรที่อยุธ ยาเองเราจัดว่าเป็นประติมากรรมแบบอยุธยาอย่างแท้จริง คือมีฐานเป็นบัวกลม หรือกลีบบัวแบบเกลี้ยง ชายผ้าสังฆาฏิเป็นแบบแผ่นแบนกว้าง ที่ปลายผ้าไม่นิยมทำเป็นเขี้ยวตะขาบแบบสมัยสุโขทัย ส่วนพระพุทธรูปแบบทรงเครื่อง นิยมสร้างแบบทรงเครื่องอย่างน้อยมงกุฎทรงสร้างแบ บชนิดที่เรียกว่าทรงเทริดแบบก้นหอยแหลม เครื่องประดับมีน้อยไม่รกรุงรังเช่นเครื่องประดับที่พระศอ เรียกกันว่ากรองศอ กับเครื่องประดับที่ พระอุระเรียกว่า ทับทรวงหรือบางครั้งก็ไม่มีเครื่องประดับ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน ส่วนพระพุทธรูปแบบอื่นที่ไม่ทรงเครื่อง ไ ด้แก่ พระพุทธรูปชนิดเล็ก ส่วนมากเป็นปางประทับนั่งชนิดปางมารวิชัย และปางสมาธิ ที่ฐานทำเป็นแบบขาโต๊ะแอ่น ขาโต๊ะทำเป็นแบบสามขา มีลวดลายเป็นลายกนกม้วนเพียงเล็กน้อย

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
วัดไชยวัฒนาราม

งานประณีตศิลปที่เกี่ยวกับตู้โต๊ะ เราไม่พบตัวอย่าง แต่พบพระราชยานชนิดพระราชยานกงอยู่ในพิพิธภัณฑส ถานแห่งชาติพระนคร แต่เราไม่สามารถกำหนดอายุได้แน่นอน ถึงแม้ว่าลายกนกต่างๆ จะมีส่วนคล้ายกับลายที่ฐานพระพุทธรูปชนิดขาโต๊ะของอยุธยายุคที่สองก็ตาม บานประตูจำไม้หลัก จากเจดีย์สามองค์ จากวัดพระศรีส รรเพชญ เป็นรูปเทวดายืนแท่นถือพระขรรค์ ผ้าทรงเป็นชนิดจีบหน้าแบบสุโขทัย ไม่มีสนับเพลาแบบอยุธยาตอนยุคที่สาม มงกุฎที่ทรงเป็นแบบทรงเทริด ยอดมงกุฎเป็นแบบก้นหอยสามยอดแหลม ลายที่ประกอบสินเธาว์ คือเส้นขอบรัศมีรอบเศียรเป็นลายดอกแบบธรรมชาติ แบบวัดนางพญาที่เมืองศรีสัชนาลัย

ประณีตศิลป ที่เป็นเครื่องเงินเครื่องทอง เราไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าจะมีลักษณะเช่นไร แต่ในสมัยอยุธยา ยุคที่สอง ไทยอยุธยาได้ติดต่อสัมพันธภาพกับจีน ความนิยมศิลปแบบจีนก็เริ่มหลั่งไหลเข้าไทย เช่น พวกถ้วยชามต่างๆแต่เดิมเราใช้พวกสังคโลกที่ผลิตในไทย แต่คงเป็นเพราะความหนาความไม่ประณีตเท่ากับเครื่องถ้วย จีนที่บางเบากว่าของไทย ดังนั้นเครื่องถ้วยชามของจีนจึงหลั่งไหลเข้าไทยเป็นเครื่องถ้วยแบบลายครามและลายสีแต่ลายสีมีน้อยมา ซึ่งในขณะนั้นประเทศจีนปกครองโดยราชวงศ์เหม็ง (พ.ศ. ๑๙๑๑-๒๑๘๗) เป็นการเริ่มต้น สั่งสินค้าจากประเทศจีนเข้าประเทศไทยจึงทำให้พบถ้วยชามสมัยราชวงศ์เหม็งในประเทศไทยอย่างมากมายจนทุกวันนี้

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองในวัดมหาธาตุ

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

เจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
ในระยะเวลาศิลปสมัยอยุธยาระยะที่สองนี้ เรามีสถาปัตยกรรมรูปเจดีย์แบบเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง แบบห้ายอด ตั้งอยู่บนเรือนธาตุสูง เรือน ธาตุคือส่วนของฐานเจดีย์ที่รับองค์ระฆัง สร้างเป็นรูปอาคารแบบสี่เหลี่ยมมีประตูทางเข้า หรือไม่มีทางเข้าแต่สร้างเป็นซุ้มทั้งสี่ด้าน เช่น เจดีย์รา ยบางองค์ที่วัดพุทธไธสวรรย์ เจดีย์ประธานที่วัดญาณเสน เจดีย์เหลี่ยมที่วัดมหาธาตุ และเจดีย์แบบเจดีย์ศรีสุริโยทัย เป็นต้น แต่เจดีย์ศรีสุริโ ยทัยนี้เราเชื่อกันว่า เป็นเจดีย์สร้างสมัยพระมหาจักรพรรดิ อันไปขัดกับเจดีย์ที่วัดวังชัย ซึ่งสร้างสมัยพระมหาจักรพรรดิตรงกับพระนิวาสสถานเ ดิม แต่เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานแปดเหลี่ยม จะอย่างไรก็ตาม ในศิลปอยุธยาระยะที่สองนี้ รูปแบบของเจดีย์ก็มีสองแบบคือ แบบทรงกลมและแบบทรงเหลี่ยม

ศิลปกรรมอยุธยายุคที่ ๓
เริ่มตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๓ ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ระยะเวลาประมาณ ๗๓ ปี เราจัดว่าเป็นยุคที่อยุธยาเจริญรุ่งเรืองที่สุด โดยเริ่มแต่พระเจ้าปราสาททองแผ่พระบรมเดชานุภาพไปถึงกรุงกัมพูชา ทรงโปรดปรานศิลปะแบบเขมร เช่น โปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม ตรงพระนิวาสสถานเดิม โดยโปรดให้ถ่ายแบบปราสาทจากกัมพูชา มีการสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด มีปรางค์ใหญ่อยู่กลาง ปรางค์เล็กเป็นบริวารสี่องค์ตั้งอยู่บนฐานทักษิณ มีระเบียงคดล้อมรอบ ตอนมุมและตอนกลางของระเบียงคดสร้างเป็นแบบปราสาททิศทรงเมรุ แบบอยุธยาอยู่แปดทิศ ทางด้านหน้ามีพระวิหารหลวงตั้งอยู่ไม่มีระเบียงคด แต่ทำเป็นกำแพงแก้วต่อจากผนังพระอุโบสถชักออกเป็นสองด้านแบบย่อมุมไม้สิบสอง และที่อำเภอพระนครหลวงปัจจุบัน ได้โปรดให้สร้างพระตำหนักประทับร้อนเป็นแบบปราสาทสามชั้น ปัจจุบันปราสาทชั้นแรกยังอยู่ในสภาพเรียบร้อย และที่วัดพระนครหลวงได้โปรดให้สร้างเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นแบบเดียวกับเจดีย์ย่อเหลี่ยมที่วัดชุมพลนิกายาราม อำเภอบางปะอิน เจดีย์ทิศรอบเจดีย์ใหญ่เป็นเจดีย์ทรงกลม แต่บัลลังก์ที่รับยอดเป็นบัลลังก์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง เจดีย์เหลี่ยมสมัยพระเจ้าปราสาททองนี้ ได้เป็นแม่แบบแก่เจดีย์ย่อเหลี่ยมในสมัยต่อๆ มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นระยะเวลาที่ไทยได้ติดต่อกับยุโรป วิทยาการต่างๆ จึงหลั่งไหลเข้าสู่อยุธยา ทั้งศิลป วัฒนธรรม ศาสนา การ ก่อสร้างต่างๆ เช่น การสร้างตึก โบสถ์ วิหาร มีการเจาะหน้าต่าง   มีการนำเอาแท่งหินทำคานเหนือหน้าต่าง แบ่งเบาการรับน้ำหนักของผนัง การเจาะหน้ าต่างมีทั้งแบบสี่เหลี่ยมและแบบโค้งแหลม แบบโกธิคหรือแบบที่เรียกในภาษายุโรปว่า Pointed Arch คือการทำให้โค้งอยู่ได้โดยการกดน้ำหนักด้วย อิฐรูปลิ่มห้าก้อนตอนกลางของโค้งแหลม การสร้างกำแพงเมืองป้อมปราการประตูต่างๆ เป็นแบบซุ้มโค้งแหลม เช่น ประตูเมือง และประตูพระราชวังน ารายณ์มหาราชนิเวศน์ที่ลพบุรี มีการก่อสร้างผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและยุโรป เป็นต้นว่า พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งสุธาส วรรค์อันเป็นที่ประทับแบบตึกสองชั้น เริ่มมีในประเทศไทย การสร้างอาคารแบบมีชั้นลด  เช่น ตึกตำหนักเย็น หรือพระที่นั่งไกรสรสีหราชกลางทุ่งทะเ ลชุบศรที่ลพบุรี โดยทางด้านมีท้องพระโรง มุขเด็จแบบสีหบุญชร ส่วนในเป็นห้องแบบพระวิมานที่บรรทมแบบไทย การตกแต่งแบบมีฐานสิงห์สมมุติ แบบแข้งสิงห์ น่องสิงห์ นมสิงห์ ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ เช่น ฐานตู้พระธรรมต่างๆ แบบตู้ฐานสิงห์ แบบที่พบที่วัดเซิงหวาย หรือตู้ที่เขียนลายเป็นรูปคนเปอ ร์เซีย หรือคนทางยุโรป ซึ่งเราเชื่อกันว่า เป็นรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และกษัตริย์โอรังเซ็ปแห่งเปอร์เซีย ฐานตู้ก็ทำเป็นแบบสิงห์สมมุติและยังมีฐานสิง ห์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า สิงห์หย่ง ทำไมเรียก สิงห์หย่ง เพราะมีแต่แข้งสิงห์ ท้องสิงห์ นมสิงห์ แต่ไม่มีฐานหน้ากระดานรองรับ เช่น ฐานสีหบัญชร และบานพระบัญชรที่พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทที่ลพบุรี เป็นต้น

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

งานประติมากรรม ศิลปอยุธยายุคที่สาม  ยังเป็นข้อถกเถียงยังไม่เป็นที่ยุติเพราะแต่เดิมเชื่อกันว่า พระหินทรายเป็นของสมัยอยุธยาชั้นหลัง แต่ต่อมา ได้มีผู้ค้านว่าพระหินทรายเก่ากว่าสมัยอยุธยา แต่พระประธานที่วัดไชยวัฒนารามเป็นพระหินทรายแดง มีลักษณะแตกต่างกับพระที่กล่าวกันว่าเก่ากว่า สมัยอยุธยา ส่วนพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะคงมีลักษณะตามแบบศิลปอยุธยายุคที่สอง  แต่เปลี่ยนเครื่องทรงแบบทรงมงกุฎ ไม่นิยมมีจอนหู คือกนก ข้างหู แต่นิยมทำแบบหูมนุษย์มีความยาว ใส่ตุ้มหู เป็นตุ้มปลายแหลมจรดพระพาหาทั้งสองข้าง เครื่องทรงมีมากขึ้น ห้อยกนกทางด้านหน้า สวมฉลอง พระบาทเชิงงอน  และเป็นต้นแบบที่ให้แก่ศิลปสมัยที่สี่ของอยุธยา อันเป็นการตกแต่งอย่างรกรุงรัง จนบางครั้งดูแล้วเกิดความเบื่อหน่ายเป็นอย่างยิ่ง

งานประณีตศิลป ของศิลปอยุธยายุคนี้  โดยเฉพาะงานแกะไม้ที่วัดใหญ่สุวรรณราม เพชรบุรี คือ บานประตู  ลายที่แกะ แกะเป็นลายก้านขดช่อหางโต หรือลายแกะไม้ที่บานประตูพระวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา ฐานตอนล่างแกะลายเป็นลายฐานสิงห์สมมุติลายเป็นก้านขดเคล้าภาพ ส่วนบนเป็นวิ มาน ส่วนบนสุดเป็นลายเปลว ลายที่แกะเป็นระเบียบเช่นเดียวกับลายบานประตูศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี  เรากำหนดอายุว่าอยู่ระ ยะนี้ ตามประวัติว่าศาลาการเปรียญน้ำพระเจ้าเสือถวายแด่สมเด็จสังฆราชแตงโม ซึ่งชาติภูมิของท่านเป็นชาวเพชรบุรี และที่ศาลาการเปรียญนี้ยังมีธรร มาสน์เทศน์ทรงเก่าชั้นหลังคาซ้อนสี่ชั้นรวมทั้งองค์ระฆัง ฐานโปร่ง แบบที่เรียกว่าฐานล่องถุน และธรรมาสน์สวดรับเทศน์ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ก็ได้นำไปจากวัดนี้ ซึ่งเป็นงานแสดงถึงประณีตศิลปในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี

งานจิตรกรรมงานจิตรกรรมของศิลปอยุธยายุคที่สามนี้นับได้ว่าเป็นการริเริ่มเขียนภาพหลายๆ สีพื้นของ ภาพเริ่มระบายเป็นโครงสีน้ำตาลอ่อน เริ่มนำเอาสีเขียว สีม่วง และสีฟ้าเข้ามาใช้ในงานจิตรกรรม เช่น ภาพเขียนที่ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ การจัดแบ่งภาพออกเป็นสัดส่วนนั้น ศิลปิน สามารถจัดได้เป็นอย่างดี โดยการใช้ภาพภูเขา ต้นไม้ เราจะเห็นได้ว่า การเขียนภาพเทวดาในสมัยนี้ ภาพเทวดาจะเริ่มนุ่งกางเกงแบบสนับเพลา ผ้านุ่งยกสูงขึ้น เริ่มมีภาพลายแฉกต่างๆ แบบสินเธาว์ เช่น ภาพเ ทวดาที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี และวัดช่องนนทรี พระนคร เป็นต้น

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม
ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

ศิลปะยุคที่ ๔
เริ่มแต่รัชกาลพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๑๐ เราจัดเป็นระยะของการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์มากกว่า จะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ เช่น การปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทให้งดงาม ใส่บราลีที่สันหลังคาปิดทองประดับกระจก  การใส่บราลี คือ ตุ้มเม็ดแหลมที่ยอดในสถาปัตยกรรมไทยนั้น เรามีมาแล้วแต่ก่อน อยุธยา สมัยลพบุรีมีเป็นแบบหิน แต่สมัยสุโขทัยพบเป็นชนิดที่ทำด้วยสังคโลกเคลือบสีเขียวและขาว ได้ซ่อมหลังคาพระวิหารพระมงคลบพิตรเป็นแบบมุขโถงด้านหน้า แบบมุขลดใต้ขื่อ มีพะไลด้านข้างวิหารพ ระแท่นศิลาอาสน์ วิหารหลวงวัดบรมธาตุ อุตรดิตถ์ โบสถ์วัดหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยาอันเป็นโบสถ์ขนาดเล็กทรงงดงามมาก เป็นโบสถ์ชนิดมีพะไลข้าง มีมุขลดทางด้านหน้า ซึ่งลักษณะสถาปัตยกรรมเช่น นี้ เป็นแบบที่งดงามลงตัวในด้านการตกแต่ง  และได้เป็นแบบที่ต่อเนื่องมาถึงกรุงเทพฯ ตอนต้น คือ พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น

งานประณีตศิลปในยุคนี้มีอย่างมากมาย แต่ได้ถูกทำลายย่อยยับไ ปพร้อมกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ งาน แกะไม้ที่สำคัญๆ เช่น ครุฑโขนเรือที่ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นระยะเวลาสมัยพระ เจ้าบรมโกศทรงปรับปรุงระเบีย บประเพณีต่างๆ หรือหน้าบันโบสถ์วัดหน้าพระเมรุ เป็นภาพนารายณ์ทรงครุฑ ภาพครุฑ ภาพเทวดา  แบบลวดลายไม่เก่าถึงบานประตูที่ได้จากวัดพระศรีสรรเพชญ จากความแตกต่างอาจจะเป็นของ ที่สร้างขึ้นใหม่คราวปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ส่วนธรรมาสน์ และธรรมมาสน์สวดรับเทศน์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เป็นของที่สร้างในสมัยนี้ ธรรมาสน์เทศน์สร้างแบบฐานสูง ยอดแหลมส่วนฐานเป็นแบบ ฐานชนิดมีครุฑ และสิงห์แบกรับ แตกต่างกับธรรมาสน์ที่วัดใหญ่สุวรรณารามเพชรบุรี ซึ่งเป็นแบบที่เก่ากว่าธรรมาสน์ที่พิษณุโลกนี้ ได้เริ่มลงตัวในรูปร่าง   และมาหยุดอยู่กับที่ในเรื่องการวางลักษณะการตกแต่งในสมัยรัตนโก สินทร์ตอนต้นเป็นที่สุด ส่วนธรรมาสน์สวดรับเทศน์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมีมุขและยอดแบบปราสาท ส่วนที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรีไม่มียอด มีความแตกต่างกันอย่างเห็นชัด แต่ความประสงค์และประโยชน์ใช้สอยมาจากความคิดเช่นเดียวกันแสดงถึงสกุล ช่าง และการพัฒนาการวางลายตลอดจนรูปแบบได้อย่างดี  รูปสลักเสี้ยวกางคือ รูปเทวดาเฝ้าประตูของไทยแต่สร้างเป็นรูปแบบจีนตามคติจีน โดยท่วง ท่าทีต่างๆ เชื่อว่ามีมาแต่ยุคก่อนๆ แต่เท่าที่พบบานประตูที่นำมาจากวัดหันตรา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา หรือภาพเสี้ยวกางที่ฐาน ธรรมาสน์ที่นำมาจากวัดค้างคาว นนทบุรี เป็นภาพเสี้ยวกางถือกั้นหยั่นแบบจีน กั้นหยั่นคือมีดสั้นมีสองคมคดไปคดมา ก็เป็นศิลปะที่เกิดในสมัยนี้ โดย เปรียบเทียบจากรูปทรงมงกุฎการแต่งกายเป็นแบบสุดท้ายที่สุดของเครื่องแต่งกาย การเขียนภาพตู้ลายรดน้ำเป็นภาพเสี้ยวกาง ลายที่ประกอบภาพเสี้ย วกางประกอบด้วยลายกนกก็เป็นของเกิดขึ้นในสมัยนี้ จะเห็นจากตู้บางใบที่ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี พระนคร  ฐานตอนแรก ทำเป็นฐานสิงห์ เหนือฐานสิงห์ทำเป็นฐานโปร่ง ได้เปลี่ยนนำลูกแก้วคือเส้นคั่นมา ใส่แทน ซึ่งเป็นความนิยมในสมัยนี้ที่เรียกว่า ฐานสิงห์แบบบัวลูกแก้ว  เช่น การซ่อมแปลงฐานซุ้มหน้าต่างวัดกุฏีดาว ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (วัดกุฏีดาวตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา มีทางแยกเข้าวัดจากถนนที่ เข้าสู่อยุธยาด้านขวามือ)

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

งานจิตรกรรม คงมีมากแต่สูญหายไปพร้อมกับการเสียกรุง    เราพบตัวอย่างงานจิตรกรรมตามหนังสือสวดพระ มาลัย แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย งานเขียนที่ผนังโบสถ์ พบที่วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี วัดปราสาท นนทบุรี เฉพาะที่วัดเกาะแก้วมีเขียนบอกไว้ว่า   เขียนปี พ.ศ. ๒๒๗๗ การเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ แบ่งจังหวะภาพเท่ากัน เป็นการแบ่งแบบซ้ำๆ

งานศิลป ที่ขึ้นชื่อของอยุธยาอีกแบบหนึ่งคือ งานประดับมุก เช่น ประตูหน้าต่างภาชนะใช้สอย เช่น เตียบ ตะลุ่ม พานแว่นฟ้า ฯลฯ ถ้าประดับมุกกับกระจก เรียกว่า มุกแกมเบื้อ (เบื้อเป็นกระจกสีขาว) ส่วนการประดับกระจกสีลายละเอียด เรียกว่า ตะลุ่มประดับกระจก ถ้าเขียนสีเรียกว่า ลายกำมะลอ ซึ่งมีความหมายว่าไม่ถาวร  เป็นการชั่ว คราว   แต่ความจริงแล้วลายกำมะลอก็เป็นการเขียนที่ทนทาน    แต่เป็นการเขียนผสมรักตามกรรมวิธีแบบญี่ปุ่น  ซึ่งเราถือว่าเป็นงานชั้นรองจากงานประดับมุก ลายมุกที่มีชื่อเสียงของไทยปัจจุบันเป็นสมบัติที่เหลือจากอยุธยาทั้งสิ้น เช่น บานประตูที่พระพุทธชินราช พิษณุโลก ลายมุกประตูพระพุทธบาท สระบุรี บางบาน ลายมุกยอดและห อมณเฑียรธรรม ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพฯ จะเห็นได้ว่า การผูกลายมีสองแบบ คือ แบบวงกลมมีกนกข้างภายในวงกลมเป็นลายก้านขด ภายในวงขดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และอีก แบบเป็นลายก้านวางลายเป็นอิสระมากกว่าแบบวงกลมที่เป็นจังหวะตายตัว

งานศิลปเครื่องถม สมัยอยุธยาจัดเป็นเลิศในขบวนลาย ถึงแม้ว่าขึ้นรูปหุ่นจะไม่ดีงามเท่ากับของสมัยกรุงเทพฯ ตอนต้นก็ตาม งานเครื่องถมสมัยอยุธ ยาตอนปลายเราหาแหล่งผลิตไม่ได้แน่นอนว่าอยู่ ณ แห่งใด แต่การขึ้นรูปของขันต่างๆ ที่ใช้ล้างหน้า หรือใส่บาตร เป็นแบบพื้นๆ ที่ช่างสามารถทำได้ทุ กคนถ้าเป็นช่างเงิน ลายที่สลักและดุนเป็นลายที่ประกอบด้วยก้านขดช่อหางโต มีภาพเทวดา ครุฑ และสัตว์ประกอบ มีทั้งถมดำ  ถมทาทองที่ลายเรียก ว่า ถมทอง ถมที่ทาทองบางแห่งที่ลาย เรียกว่า ถมตะทอง นับเป็นศิลปยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งของศิลปสมัยอยุธยา

ภูมิปัญญาสมัยอยุธยาด้านศิลปกรรม

งานศิลปอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้วยชามสีที่เรียกว่า เบญจรงค์ คือ ประกอบด้วยสีดำ แดง เหลือง เขียว ขาว งานถ้วยชามเหล่านี้เป็นของจีน ทำจากประเทศจีน ไทยสั่งให้ตัวอย่างแบบของลาย  รูปทรงต่างๆ เพื่อมาสนองประโยชน์ตลาดไทยที่อยุธยา หรือบางแบบจีนก็ผลิตขึ้นเองไทยไม่ต้องสั่ง แต่ก็นำมาขายใน ตลาดอยุธยา ชามเบญจรงค์สมัยอยุธยา คือ เป็นของที่สั่งในยุคที่สี่นี้ที่รู้จักกันดี คือ ชามเทพพนมนรสิงห์ พื้นดำ ภายในชามเคลือบสีเขียว  ตัดลายขอ บชามภายในด้วยลายเชิง ลายประกอบด้านนอกเป็นลายเปลว ลายก้นขด ลายช่องกระจกคือลายคล้ายดอกสี่กลีบ ภายในเป็นลายหน้าสิงห์กินนรรำ ครุฑ ยักษ์ กินรี ลิง ลายหน้าสิงห์ก้านแย่ง ลายพื้นระบายสีขาว ถ้วยชามเบญจรงค์เหล่านี้ใช่จะมีแต่ถ้วยชามมีไปสารพัด แม้แต่จานชาม จานเชิง โถต่างๆ ตลอ ดจนโถเครื่องแป้ง ที่เราเรียกว่า  ชุดเครื่องสำอาง ลายก็มีมากจนรวบรวมไม่หมด เพราะเป็นระยะเวลายาวนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็สั่งจากจีน บา งแบบก็เขียนแต่พอเป็นลาย แต่ที่เชื่อว่าเป็นของหลวงสั่ง ก็ได้แก่ชามที่มีพื้นเขียวอยู่ภายในเพื่อให้ดูแตกต่างกับของชาวบ้านก็เป็นได้  หรือลายดอกไม้  นก ฯลฯ มีพื้นเป็นสีทอง  หรือตัดเส้นสีทอง จนแม้ในปัจจุบันเราก็ยังไม่สามารถจะแยกออกเป็นสมัยใด เพราะลายเหมือนกัน เช่น โถ และชามบางแบบ ซึ่งมีมากจนเราจำแนกไม่ได้ว่าเป็นของสมัยอยุธยาหรือรัตน โกสินทร์

ศิลปะอยุธยาไม่ได้เสื่อมไปไหน แต่สูญสิ้นไปมากต่อมากกับการถูกทำลายตอนกรุงแตก  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ที่เหลือให้เราได้ชื่นชมเป็นเพียงน้อยนิดแล ะกำลังจะหมดไปตามกาลเวลา หรือจากความรู้และความไม่รู้ หรือจากความจงใจหรือไม่ตั้งใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องแวดล้อม ก็เป็นไปตามวัฏจักร สิ่งที่เหลืออยู่ก็เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของเราผู้ที่รักศิลปและชื่นชอบศิลปสมัยอยุธยา

ภูมิปัญญาไทยในสมัยอยุธยามีความสําคัญอย่างไร

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสมัยอยุธยา เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงทักษะ ในการแก้ไขปัญหาการดารงชีวิตของชาวอยุธยาโดยภูมิปัญญามีคุณค่า และความสาคัญต่อสังคมสมัยอยุธยาและสมัยปัจจุบันหลายด้าน เช่น ภูมิปัญญาช่วยสร้างชาติให้มีความมั่นคง เป็นบ่อเกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชาติสร้างความภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิให้แก่ คนไทย

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับข้อใด

งานศิลปกรรมส่วนใหญ่ในสมัยอยุธยาเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ความงามของธรรมชาติ ความเป็นอยู่ของประชาชน ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ความเป็นอยู่ของเจ้านายและขุนนาง

ภูมิปัญญาสมัยกรุงศรีอยุธยามีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา (ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม (ปราสาทหินเมืองต่ำ,….
ภูมิปัญญาการต่อเรือ ติดต่อกับชุมชนอื่นๆโดยใช้พาหนะขนส่ง เรือแจว ... .
ภูมิปัญญาการขุดคลอง คลองที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา คลองที่ขุดสมัยรัตนโกสินทร์ ... .
ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ปราสาทหินเมืองต่ำ วัดพระแก้ว ... .
ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรม มหาชาติคำหลวง.

ข้อใดเป็นภูมิปัญญาทางด้านการค้าในสมัยอยุธยา

การค้าในสมัยอยุธยาค่อนข้างเสรี คือ ติดต่อกันในอยุธยาโดยตรงไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐหรือเอกชนไทยที่มีทุนก็จะสามารถค้าสำเภาได้ มีการเก็บภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักษณะผูกขาด และพระคลังสินค้ามีอำนาจผูกขาดโดยสมบูรณ์