ทำไมต้องมีเลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่?

ทำไมต้องมีเลือดล้างหน้าเด็ก

สำหรับคุณแม่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่าเลือดล้างหน้าเด็กกันมาบ้าง แต่เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่อีกหลาย ๆ คนอาจไม่รู้จักเลือดล้างหน้าเด็กคืออะไร เมื่อเห็นเลือดไหลก่อนช่วงจะมีประจำเดือน แถมเลือดยังสีแปลก ๆ ไม่เหมือนประจำเดือนปกติอาจทำให้ตกใจได้ 

แต่จริง ๆ แล้วนั่นเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ ในบทความนี้จะพาคุณแม่มือใหม่ได้ทำความรู้จักกับ เลือดล้างหน้าเด็กคืออะไร เลือดล้างหน้า อาการเป็นอย่างไร เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ รวมถึงคำถามยอดฮิตที่เกี่ยวข้องกับเลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleed)

Implantation bleeding หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก คือเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก เมื่อเซลล์ไข่และอสุจิปฏิสนธิจนได้ตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนนี้จะไปฝังอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก การฝังตัวของตัวอ่อนนี้เองที่อาจไปทำให้หลอดเลือดบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกฉีกขาด จนทำให้เลือดออกผ่านทางช่องคลอด เป็นเลือดล้างหน้าเด็กนั่นเอง 

แต่อย่างไรก็ตามเลือดล้างหน้าเด็กนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดกับคุณแม่ทุกคน จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จะมีอาการเลือดล้างหน้าเด็ก และมักจะเกิดกับคุณแม่ครรภ์แรกบ่อยกว่าคุณแม่ครรภ์หลัง ๆ

เลือดล้างหน้าเด็กมาตอนไหน

ทำไมต้องมีเลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดล้างหน้าเด็กจะพบได้ในช่วงหลังช่วงไข่ตกประมาณ 6-12 วัน หรือประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนถึงรอบประจำเดือนปกติ โดยเลือดล้างหน้าเด็กนี้จะมีสีออกชมพู หรือสีน้ำตาลคล้ำซึ่งแตกต่างจากเลือดประจำเดือนปกติ และจะไหลแบบกะปริบกะปรอย ปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ระยะเวลาของอาการเลือดล้างหน้าเด็กจะเป็นประมาณ 1-2 วันเท่านั้น และหลังจากเลือดล้างหน้าเด็กหลุดไหลก็จะเกิดอาการขาดประจำเดือน

อาการของเลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดล้างหน้า อาการเป็นอย่างไร เลือดล้างหน้า ปวดท้องไหม เลือดล้างหน้าสีอะไร มาดูคำตอบได้ในหัวข้อนี้เลย เลือดล้างหน้าเด็ก เป็นสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ได้เป็นทุกคน แต่สำหรับคนที่เป็น จะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย 

- ปวดท้องเล็กน้อย

- เหนื่อยง่าย อาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย

- คลื่นไส้ อาเจียน 

- อารมณ์แปรปรวนง่าย

- เต้านม หัวนมคัดตึง

ในบางครั้งการที่เลือดออกกะปริบกะปรอยเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอาการของเลือดล้างหน้าเด็ก เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เลือดออกทางช่องคลอด แต่หากมีอาการอื่น ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นร่วมด้วยก็มีโอกาสที่เลือดนั้นจะเป็นเลือดล้างหน้าเด็กมากขึ้น

ปัจจัยอื่นที่อาจทำให้เลือดออกทางช่องคลอด

ทำไมต้องมีเลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดออกทางช่องคลอดไม่ได้หมายความว่าจะเป็นประจำเดือนหรือเลือดล้างหน้าเด็กเท่านั้น ยังมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดที่มาจากสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วยดังนี้

1. การมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ หรือหากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก แต่มีเพศสัมพันธ์ลักษณะรุนแรงหรืออาจมีการสอดใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าผ่านช่องคลอด อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาดก็สามารถเกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน นอกจากนี้หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้มีเลือดออกได้

2.การคุมกำเนิดบางประเภท

การรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน เนื่องจากมีการปรับฮอร์โมน โดยเฉพาะช่วงแรกที่รับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาผิดปกติได้ หรือหากรับประทานยาคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน นอกจากนี้การคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยอาจทำให้เกิดเลือดออกได้

3. ผลข้างเคียงจากโรคอื่น

เลือดออกทางช่องคลอดก็อาจเกิดได้จากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่ตรงรอบเดือน ในบางคนอาจมีช่วงที่เลือดออกเล็กน้อยและหลังจากนั้นขาดประจำเดือนไปอีกหลายเดือนก่อนกลับมามีประจำเดือนใหม่ที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดจากภาวะรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ ก็ทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน

4. การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน

การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานมักจะเกิดจากโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เป็นต้น โดยจะมีอาการที่แตกต่างกันขึ้นกับโรค แต่มักจะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด

5. การตั้งครรภ์นอกมดลูก

ลักษณะของเลือดที่ออกจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีความรุนแรงกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก โดยคุณแม่จะรู้สึกปวดท้องรุนแรงและมีเลือดไหลมาก เป็นอันตรายต่อชีวิตคุณแม่และเด็ก หากเกิดอาการนี้ต้องพบแพทย์โดยด่วน

6. การแท้งลูก

หากระหว่างตั้งครรภ์มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของการแท้งลูก หากมมีอาการต้องรีบพบแพทย์ทันที

เปรียบเทียบเลือดล้างหน้าเด็ก Vs ประจำเดือน

เลือดล้างหน้าเด็กจะค่อนข้างคล้ายกับประจำเดือน และสังเกตได้ยาก แต่ถึงอย่างนั้นทั้งสองอย่างนี้ก็มีข้อแตกต่างกัน หากเป็นผู้ที่สุขภาพร่างกายปกติก็สามารถเห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างเลือดล้างหน้าเด็กกับประจำเดือนได้

สีของเลือด

- เลือดล้างหน้าเด็ก - สีออกชมพูอ่อน ๆ หรือสีน้ำตาล หรือสีแดงอ่อน ๆ 

- เลือดประจำเดือน - สีแดงสด หรือสีแดงคล้ำ

ลักษณะของเลือด

- เลือดล้างหน้าเด็ก - เลือดไหลกะปริบกะปรอย เลือดไหลปริมาณน้อย จนในบางครั้งอาจไม่ทันได้สังเกต

- เลือดประจำเดือน - เลือดไหลปริมาณมาก

ระยะเวลาที่เลือดออก

- เลือดล้างหน้าเด็ก - เพียงประมาณ 1-2 วันก่อนรอบเดือนครั้งถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์

- เลือดประจำเดือน - ประมาณ 3-7 วัน

เลือดล้างหน้าเด็ก ตรวจครรภ์เจอไหม

ทำไมต้องมีเลือดล้างหน้าเด็ก

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเลือดล้างหน้าเด็กคือการที่ตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกและเส้นเลือดบริเวณโพรงมดลูกนั้นเกิดการฉีกขาดเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก ในช่วงที่ตัวอ่อนไปฝังตัวนั้นจะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนอยู่ในระยะ Blastocyst 

ซึ่งหากต้องการตรวจครรภ์เลยสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน HCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ หากใช้ที่ตรวจครรภ์ในปัสสาวะควรรอในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์หลังขาดประจำเดือน หรือช่วง 2-3 อาทิตย์หลังมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะเป็นช่วงที่ปริมาณฮอร์โมน HCG ที่พบในปัสสาวะมีปริมาณมากพอที่เครื่องตรวจตั้งครรภ์จะแสดงผล

เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม

เลือดล้างหน้าเด็กเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ปกติ ไม่ใช่อาการที่เป็นอันตราย หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้แท้งลูกแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามหากอาการเลือดออกทางช่องคลอดนี้ยาวนานกว่า 2 วันขึ้นไป หรือมีปริมาณมาก สีไม่เป็นสีแดงอ่อนชมพูอ่อนหรือน้ำตาล เป็นลิ่มเลือด นั่นอาจไม่ใช่อาการของเลือดล้างหน้าเด็ก ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะเลือดที่ออกทางช่องคลอดนั้นอาจเป้นสัญญาณอันตรายต่อตัวคุณแม่และเด็กในครรภ์ได้

คำถามที่พบบ่อย

เลือดล้างหน้าเด็ก มาตอนท้องกี่เดือน

ตอบ เลือดล้างหน้าเด็กจะมาในช่วงหลังที่เซลล์ไข่และอสุจิปฏิสนธิกันจนได้เป็นตัวอ่อน ในช่วงที่ตัวอ่อนจะไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกจนทำให้เกิดเลือดล้างหน้าเด็กนั้นจะเป็นช่วงหลังจากไข่ตกประมาณ 6-12 วัน ซึ่งจะเป็นช่วงก่อนถึงรอบประจำเดือนปกติ 1 สัปดาห์

เลือดล้างหน้าเด็ก มาเยอะสุดกี่วัน

ตอบ เลือดล้างหน้าเด็กจะมีระยะเวลาเลือดออกเพียงประมาณ 1-2 วันเท่านั้น

ข้อสรุป

เลือดล้างหน้าเด็กเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีความใกล้เคียงกับประจำเดือน มีความแตกต่างด้านปริมาณและระยะเวลาเล็กน้อย ทำให้คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนอาจแยกถึงความแตกต่างของเลือดล้างหน้าเด็กกับประจำเดือนได้ยาก หากสงสัยถึงการตั้งครรภ์ สามารถซื้อชุดตรวจครรภ์หลังเกิดอาการเลือดล้างหน้าเด็กไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับลูกน้อยในครรภ์ได้ค่ะ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : ต้อกระจก ภัยคุกคามการมองเห็นที่ไม่ควรมองข้าม!
  • ตอนที่ 2 : ทำความรู้จัก PRK ทางเลือกของการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ
  • ตอนที่ 3 : รักษาสายตาสั้น เปิดโลกคมชัดด้วยหลากหลายวิธี
  • ตอนที่ 4 : อยากตรวจหัวใจ ต้องทำอย่างไรบ้าง?
  • ตอนที่ 5 : โรคข้ออักเสบ ปล่อยเอาไว้อันตรายกว่าที่คิด!
  • ตอนที่ 6 : ยากระตุ้นไข่ตก ซื้อกินเองได้ไหม? มีผลข้างเคียงอะไรหรือเปล่า?
  • ตอนที่ 7 : ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เพื่อการเคลื่อนไหวอย่างไร้อุปสรรค
  • ตอนที่ 8 : ต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร อันตรายไหม และรักษาอย่างไร?
  • ตอนที่ 9 : ค่าสายตา คืออะไร พร้อมวิธีอ่านค่าสายตาฉบับเข้าใจง่าย
  • ตอนที่ 10 : ผู้หญิงอายุ 40 มีลูกได้ไหม เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง?
  • ตอนที่ 11 : เลสิค ต้องสายตาสั้นเท่าไหร่ถึงทำได้?
  • ตอนที่ 12 : สายตาสั้นเท่าไหร่ควรใส่แว่น แนะนำวิธีรักษาสายตาสั้น 50 75 150 200 300
  • ตอนที่ 13 : อาการก่อนเป็นประจำเดือน เป็นอย่างไร? ใช่ เหวี่ยงวีนไหม?
  • ตอนที่ 14 : มาตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานเพื่อชีวิตคู่ที่ราบรื่นกันเถอะ
  • ตอนที่ 15 : อาการตาล้า ตาเบลอ ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยไว้
  • ตอนที่ 16 : โรคตาบอดสีที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดไป!
  • ตอนที่ 17 : อาการเจ็บข้อเข่า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
  • ตอนที่ 18 : ตรวจโครโมโซม NIPT จำเป็นไหม? ตรวจเมื่ออายุครรภ์เท่าไหร่?
  • ตอนที่ 19 : สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
  • ตอนที่ 20 : การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • ตอนที่ 21 : ทำไมต้องผ่าตัดต้อหิน อันตรายหรือไม่ การดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน
  • ตอนที่ 22 : ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) สำคัญต่อคนท้องอย่างไร
  • ตอนที่ 23 : ฮอร์โมน FSH ว่าที่แม่ตั้งครรภ์ควรรู้
  • ตอนที่ 24 : เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่?
  • ตอนที่ 25 : ตรวจความเข้มของเลือด มีความสำคัญอย่างไร บ่งบอกปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง ?
  • ตอนที่ 26 : ไทรอยด์ ภัยเงียบอันตรายที่สังเกตได้ยาก มีวิธีตรวจไทรอยด์อย่างไรบ้าง ?
  • ตอนที่ 27 : ฮอร์โมนคนท้อง คืออะไร? ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์?
  • ตอนที่ 28 : ไมเกรนขึ้นตา อาการที่ไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยโรคไมเกรนทุกคน
  • ตอนที่ 29 : วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
  • ตอนที่ 30 : อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง รู้โรคเร็ว รักษาทัน
  • ตอนที่ 31 : รู้จัก 5 สมุนไพรรักษาไมเกรน บรรเทาอาการปวดหัวแบบไม่พึ่งยา
  • ตอนที่ 32 : ติดโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านด้วย Home Isolation
  • ตอนที่ 33 : ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการลองโควิดในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจับตามอง
  • ตอนที่ 34 : ข้อเข่าเสื่อม โรคที่ห้ามไม่ได้ มีวิธีรักษาอย่างไร?
  • ตอนที่ 35 : 8 อาหารโฟลิกสูง ป้องกันลูกพิการแต่กำเนิด
  • ตอนที่ 36 : อารมณ์คนท้องแปรปรวน เพราะอะไร? พร้อมวิธีรับมือ
  • ตอนที่ 37 : วิตามินแก้ไมเกรน การรักษาไมเกรนแบบธรรมชาติ
  • ตอนที่ 38 : ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ทางออกของปัญหาไมเกรน
  • ตอนที่ 39 : ตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) รู้ตัวเร็ว ดูแลตนเองได้ง่ายกว่า!
  • ตอนที่ 40 : ปวดหัวข้างขวา ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ดูแลรักษาอย่างไรให้หาย
  • ตอนที่ 41 : แสงสีฟ้า ภัยร้ายดวงตาที่หลายคนมองข้าม
  • ตอนที่ 42 : ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด กินอย่างไรให้ปลอดภัย ข้อควรรู้ก่อนใช้จริง
  • ตอนที่ 43 : แนะนำ 10 สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ ให้ความชุ่มชื้นในลำคอ
  • ตอนที่ 44 : ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณเตือนโรคที่ควรใส่ใจ
  • ตอนที่ 45 : ทำไมต้องตรวจหลังคลอด การตรวจหลังคลอดสำคัญอย่างไร
  • ตอนที่ 46 : คนท้อง ท้องอืด ปัญหาที่ว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักประสบพบเจอ
  • ตอนที่ 47 : ยาแก้ปวดเข่า ตัวช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าเบื้องต้นที่แพทย์มักนิยมใช้
  • ตอนที่ 48 : นิ้วล็อค ไม่ต้องผ่า รักษาง่ายนิดเดียว
  • ตอนที่ 49 : ตรวจไมเกรน ต้องทำอะไรบ้าง รู้ก่อน รักษาก่อน
  • ตอนที่ 50 : ฉีดโบท็อกไมเกรนเพื่อรักษาสุขภาพจากอาการปวดหัวเรื้อรัง