ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี

เอกสารของชาวต่างชาติที่บันทึกเกี่ยวกับประเทศไทยที่มีการเผยแพร่ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องสภาพบ้านเมือง, วิถีชีวิตและจิตใจของประชาชน, สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากร, ราชสำนักและการบริหารประเทศ แต่ที่เรากำลังจะกล่าวถึงเป็นเรื่องคือ มุมมองต่อ “ดนตรีไทย” กลับที่ไม่ค่อยมีเผยแพร่มากนัก

อาจารย์สงัด ภูเขาทอง ผู้เขียนบทความ “ชาวต่างชาติในอดีต เขามองดนตรีไทยอย่างไร” เป็นทั้งนักดนตรี และอาจารย์สอนวิชาดนตรีไทยอยู่ที่วิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) จึงสนใจและอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้อย่างดี

อาจารย์สงัดท่านบอกว่า หลักฐานเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงบทไหว้ครูสำหรับการแสดงหนังใหญ่ที่ว่า “ชัยศรีโขลนทวารเบิกบานประตู ฆ้องกลองตะโพนครู ดูเล่นให้สุขสำราญ” หรือในบทปี่พาทย์ที่ว่า “พลโห่ ขานโห่ทั้งผอง พิณพาทย์ตะโพน กลอง ดูเล่นให้สุขสำราญ”

ส่วนเอกสารต่างชาตินั้น หนึ่งคือ บันทึกของลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตตฝรั่งเศส ส่วนอีกหนึ่งคือ บันทึกของชาวเปอร์เซีย ที่เรียกว่า “สำเภาสุลัยมาน” ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยพระนารายณ์มหาราช

เริ่มจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่บันทึกไว้ว่า “ชาวสยามเรียกว่า ?  ?นั้นล้วนผูกไว้ต่อ ๆ กัน ทุกอันกับไม้สั้น ๆ และตั้งเป็นวงมีขอบไม้ รูปร่างเหมือน ง่ามเหล็ก ยึดล้อเก้าอี้ คนตีเครื่องดนตีอันนี้นั่งขัดสมาธิอยู่ตรงกลาง ตี ? ด้วยไม้ 2 อัน อันหนึ่งถือมือขวา อีกอันถือมือซ้าย” [เครื่องหมาย “?” เป็นการแทนที่โดยผู้เขียน]

ท่านผู้อ่านว่า “?” ที่เราตั้งใจลบชื่อนั้น คือเครื่องดนตรีชนิดใด

อาจารย์สงัดบอกว่านั้นคือ “ฆ้องพาทย์” และอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “ฆ้องที่กล่าวถึง จะต้องเป็นฆ้องที่ตีเป็นทำนอง คือมีหลายเสียง มิใช่ฆ้องเพื่อตียืนเสียงเป็นจังหวะ อาจจะเป็รฆ้องวงวอย่างปัจจุบันก็ได้ แต่เราไม่ทราบว่าเดิมที่เดียวจะมีกี่ลูก อาจจะมี 11 ลูก..”

เครื่องดนตรีชนิดต่อไปลาลูแบร์บันทึกว่า “? นั้นรูปร่างเหมือนถัง คนตีเอาเชือกโยงแขวนคอไว้ข้างหน้า  และตีทั้ง 2 ข้างด้วยกำมือ” [เครื่องหมาย “?” เป็นการแทนที่โดยผู้เขียน]

เครื่องดนตรีที่รูปร่างเหมือนถังนี้ อาจารย์สงัดบอกว่ามันคือ “ตะโพน”

ลาลูแบร์ ยังกล่าวถึง เครื่องดนตรีหลายชนิดในขบวนแห่ของเจ้านายดังนี้ “เห็นมีคนตั้งร้อยหมอบอยู่เป็นแถว ๆ บางถือแตรเล็ก ๆ อันน่าเกลียดไว้สำหรับอวด แต่ไม่ใช้สำหรับเป่า ข้าพเจ้าออกติดใจว่า จะทำด้วยไม้ด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นอีกเป็นอันมากมีกลองใบย่อม ๆ วางไว้ตรงหน้าแต่ไม่เห็นได้ตี”  [เน้นโดยผู้เขียน]

อาจารย์สงัดอธิบายว่า เครื่องดนตรีมากมายนั้นน่าจะเป็นวงกลองชนะ ในพระราชพิธีใดพระราชพิธีหนึ่ง  ส่วนแต่เล็ก ๆ อันน่าเกลียด คือ ปี่ไฉน ส่วนกลองใบย่อม-กล่องชนะ นั่นเอง

ส่วนบันทึกของชาวเปอร์เชียหรือ “สำเภาสุลัยมาน” นั้นกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในพิธีต้อนรับแขกเมืองว่า

“มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งรูปร่างเหมือนหม้อ แต่ทำจากเหล็กและแก้วเสียง คนพื้นเมืองเล่นโดยตีด้วยแท่งเหล้กยาว ๆ แต่เป็นคราวเคราะห์ของพวกเราที่เครื่องดนตรีนี้เสียงสูงจนฟังแล้วจะเป็นบ้าตาย เสียงดนตรีที่ออกมาจากเครื่องนี้ฟังดูแปร่ง จนเราเรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า นกเข้าเจ้าทะเลาะ เครื่องดนตรีอีกอันหนึ่งซึ่งใช้กันในพิธีต้อนรับคือ ขลุ่ย เป็นที่น่าเศร้าใจที่รูซึ่งเจาะไว้ในขลุ่นนั้น มีแต่ทำให้เกิดเสียงสูงจนฟังแล้วหูแทบหนวก..”

โดยรวมคนเปอร์เชียเห็นว่าเครื่องดนตรีไทย หรือเพลงไทยนั้นเสียงสูงมาก ฟังแล้วหนวกหูและเครียดมากกว่าไพเราะ จะว่าคนเล่นฝีมือไม่ถึงก็คงไม่ใช่ เพราะเป็นคณะที่มารับแขกเมืองก็คงต้องคัดสรรแล้ว อย่างน้อยก็ต้องมีฝีมือระดับมาตรฐาน เรื่องนี้เราคงต้องไปฟังคำอธิบายอาจารย์สงัดที่ว่า

“ที่เขาได้พรรณนาออกมาเช่นนั้น แสดงว่าเขารู้สึกหนวกหูอย่างทารุณ วงดนตรีที่บรรเลง จะเป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นธรรมดาจะต้องมีเสียงดังครึกโครม เขาได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีหลายอย่าง เช่น เขากล่าวถึงเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างเหมือนหม้อ ดู ๆ น่าจะเป็นมโหรทึก แต่เมื่อกล่าวว่าทําด้วยเหล็กและแก้ว ตีด้วยแท่งเหล็กยาว ๆ ก็น่าจะเป็นระนาดเอกมากกว่า

คือรางระนาดอาจจะคล้ายกับหม้ออะไรสักอย่างของเขา เช่น หม้อตะเกียงอาละดิน ส่วนไม้ที่เห็นเป็นแท่งเหล็กยาว ๆ คงเป็นไม้ตีชนิดไม้แข็ง มองไกล ๆ ประสมกับได้ยินเสียงคิดว่าคงทําด้วยเหล็กกระมัง เพราะมีเสียงสูง จนฟังแล้วแทบจะเป็นบ้าตาย ถ้าเป็นเสียงมโหรทึกก็ไม่น่าจะมีเสียงสูงอย่างนั้น…

ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรู้สึกของกลุ่มชนที่แตกต่างกัน ย่อมมีความรู้สึกต่อศิลปะไม่เหมือนกันด้วย อย่างเช่น เครื่องดนตรี ถ้าเป็นชาวแถบเอเซียตะวันตกหรือแถบอินเดีย เขานิยมประเภทเครื่องสายที่มีเสียงเบา เมื่อเขามาฟังอย่างเครื่องดนตรีของชาวตะวันออกที่เป็นเครื่องที่มีเสียงดัง เขาจึงฟังหนวกหูดุจเพลงตะวันตกบางเพลง ผู้ฟังที่เป็นเด็กวัยรุ่นเมืองกรุงฟังแล้วสนุก แต่ถ้าไปบรรเลงให้ชาวไร่ชาวนาฟัง เขาอาจจะบอกว่าเหมาะกับจะเอาไปไล่ควายเสียมากกว่า”


ข้อมูลจาก

สงัด ภูเขาทอง. “ชาวต่างชาติในอดีตเขามองดนตรีไทยอย่างไร” ใน ประชุมบทความทางวิชาการดนตรี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2534


 
การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง  มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ดังต่อไปนี้
          1. สมัยสุโขทัย
           สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์  แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก  และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  ภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ  และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี  เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก  เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ" แสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัยมีการนำดนตรีมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในราชสำนักและประเพณีของราษฎร
           เครื่องดนตรีที่ปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้กันในสมัยสุโขทัย เช่น บัณเฑาะห์  สังข์  แตรงอน (กาหล)  แตรเขาควาย (พิสเนญชัย) พิณเพียะ หรือเบี๊ยะะพวง  กรับคู่  มโหระทึก ฆ้อง  กลอง  กังสดาล ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น  เพลงไทยที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้ได้แก่  เพลงเทพทอง หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เพลงสุโขทัย"
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
พิณน้ำเต้า

ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
แตรเขาควาย
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
แตรสังข์

ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
แตรงอน
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
มโหระทึก


ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
กังสกาล
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
                     บัณเฑาะห์



          2. สมัยอยุธยา
           สมัยอยุธยาดนตรีมีการพัฒนาในหลายๆด้าน ทั้งนี้ เพราะอยุธยาเป็นราชธานียาวนนานถึง 417 ปีจึงมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติต่างๆ หลายชาติ ดดยผ่านทางการเมือง  การค้า และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม  เชื่อกันว่าในสมัยอยุธยาดนตรีไทยน่าจะมีความเจริญมาก  ทำให้ประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมากมาย  แม้แต่ในเขตพระราชฐาน  จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนถ (พ.ศ.1991-2031) ต้องมีกฏมณเฑียรบาลกำหนดว่า "ห้ามร้องเพลงเรือ  เป่าขลุ่ย เป่าปี่  สีซอ ดีดกระจับปี่  ดีดจะเข้  ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน"
            เครื่องดนตรีในสมัยอยุธยาบางชนิดรับช่วงมาจากสมัยสุโขทัย  แต่ได้มีการพัฒนาในการคิดสร้างเครื่องดนตรีขึ้นมาอีกหลายชิ้นจำทำให้ดครื่องดนตรีในสมัยนี้มีครบเกือบทุกประเภท  เช่น กระจับปี่  จะเข้ (พัฒนามาจากเครื่องดนตรีของมอญ) พิณน้ำเต้า  ซอสามสาย ซออู้  ซอด้วง ขลุย กรับคู่  กรับเสภา  ระนาดเอก  ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องชัย  ฆ้องโหม่ง ฉิง  ฉาบ ตะโพน  โทน  รำมะนา  กลองทัด กลองตุ๊ก ปี่ใน ปี่กลาง แตรงอน  แตรสังข์  เป็นต้น

ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี



ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
ซออู้
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
ซอด้วง
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
จะเข้
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
ตะโพน
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
กลองตุ๊ก (กลองชาตรี)
ทำไมสมัยธนบุรีถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของดนตรี
ปี่ใน
             เพลงที่ปรากฏในสมัยนี้ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. เพลงมโหรี ใช้วงมโหรีบรรเลง มีไว้สำหรับบรรเลงขับกล่อม  เพลงที่บรรเลงมี 2 ชนิด คือ เพลงตับและเพลงเกร็ด ซึ่งมีตำราเพลงมโหรีปราฏกรายชื่อตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ถึงจำนวน 197 เพลง
           2. เพลงปี่พาทย์  ใช้วงปี่พาทย์ มีไว้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงโขน  ละคร และใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพลงที่บรรเลง เช่น เพลงหน้าพาทย์ เพลงประกอบละคร เพลงเรื่อง เป็นต้น
           3. เพลงภาษา เป็นเพลงไทยที่มีสำเนียงของชาติต่างๆ มักใช้เพลงประกอบตัวละครตามเชื้อชาติ นั้นๆ เช่น เพลงสำเนียงภาษาจีน เพลงาสำเนียงมอญ  เป็นต้น

                                                                ตัวอย่างเพลงภาษา
















ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE