ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้

หากคุณพยายามซื้อสินค้าใน Google Play แต่การชำระเงินถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการประมวลผล ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

หากคุณซื้อสินค้าไปแล้วแต่มีปัญหาหรือข้อสงสัย ให้ดูปัญหาเกี่ยวกับการซื้อในแอปหรือการคืนสินค้าและการคืนเงินสำหรับการซื้อใน Google Play

ยืนยันข้อมูลการชำระเงิน

โปรไฟล์การชำระเงินอาจถูกปิดใช้งาน หากต้องการเปิดใช้งานโปรไฟล์อีกครั้ง ให้ส่งข้อมูลการชำระเงิน

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Google Pay
  2. เลือก "การแจ้งเตือน"
    ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้
    ที่ด้านบน
  3. หากมีการแจ้งเตือนสีแดง ให้ป้อนข้อมูลการชําระเงินและรอให้ทีมตอบกลับ

    ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้
  4. ตรวจสอบผลการตรวจสอบทางอีเมล

ลองชำระเงินด้วยวิธีการชำระเงินแบบอื่น

หากมีปัญหากับวิธีการชำระเงินแบบใดแบบหนึ่ง ให้ลองชำระเงินด้วยวิธีอื่น ดังนี้

  1. เปิดแอป Google Play Store ในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต Android
  2. กลับไปที่รายการที่คุณต้องการซื้อและแตะราคา
  3. แตะวิธีการชำระเงินในปัจจุบัน
  4. เลือกวิธีการชำระเงินวิธีอื่นหรือเพิ่มวิธีใหม่
  5. ทำตามวิธีการในหน้าจอเพื่อซื้อให้เสร็จสมบูรณ์

แก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับบัตรเครดิตและบัตรเดบิต

บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของคุณอาจมีปัญหา หากคุณเห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาดใดต่อไปนี้

  • "ดำเนินการชำระเงินไม่ได้: ยอดคงเหลือในบัตรต่ำ"
  • "ทำธุรกรรมไม่ได้ โปรดใช้รูปแบบการชำระเงินอื่น"
  • "ดำเนินการกับธุรกรรมของคุณไม่ได้"
  • "ดำเนินการกับธุรกรรมไม่ได้: บัตรหมดอายุ"
  • "แก้ไขข้อมูลของบัตรนี้หรือลองใช้บัตรอื่น"

ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด

ตรวจสอบว่าข้อมูลบัตรและที่อยู่เป็นข้อมูลล่าสุดแล้ว

บ่อยครั้งที่การชำระเงินเกิดปัญหาเนื่องจากบัตรเครดิตหมดอายุหรือที่อยู่สำหรับการเรียกเก็บเงินไม่อัปเดต หากต้องการอัปเดตข้อมูลดังกล่าว ให้ดำเนินการใน Google Payments ดังนี้

นำบัตรที่หมดอายุออกหรืออัปเดตข้อมูลบัตร

บัตรที่หมดอายุจะเป็นเหตุให้การชำระเงินถูกปฏิเสธ วิธีอัปเดตบัตรที่หมดอายุ

  1. ลงชื่อเข้าใช้ https://pay.google.com ด้วยบัญชี Google
  2. หาวิธีการชำระเงินที่คุณพยายามใช้ซื้อสินค้า
  3. ตรวจสอบวันหมดอายุของวิธีการชำระเงินที่แสดงอยู่
  4. อัปเดตหรือนำวิธีการชำระเงินที่หมดอายุออก

ตรวจสอบว่าที่อยู่ในบัตรตรงกับที่อยู่ใน Google Payments

การที่บัตรเครดิตของคุณลงทะเบียนด้วยที่อยู่อื่นอาจทำให้การชำระเงินถูกปฏิเสธได้ ดังนั้นโปรดตรวจสอบว่ารหัสไปรษณีย์ตรงกับที่อยู่ปัจจุบันของคุณ

  1. ลงชื่อเข้าใช้ https://pay.google.com ด้วยบัญชี Google
  2. หาวิธีการชำระเงินที่คุณพยายามใช้ซื้อสินค้า
  3. คลิกแก้ไข
  4. ตรวจสอบว่าที่อยู่ที่แสดงตรงกับที่อยู่สำหรับการเรียกเก็บเงินของบัตร
  5. อัปเดตที่อยู่หากจำเป็น

จากนั้นลองสั่งซื้ออีกครั้ง

ส่งข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม

หากข้อความแสดงข้อผิดพลาดมีวิธีส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กับ Google ต่อท้ายมาด้วย โปรดส่งข้อมูลตามคำแนะนำดังกล่าว เพราะเราจะดำเนินการกับธุรกรรมในบัญชีไม่ได้หากไม่มีข้อมูลนี้

ตรวจสอบว่าคุณมีเงินเพียงพอสำหรับการซื้อนั้น

บางครั้งระบบปฏิเสธการทำธุรกรรมเพราะบัตรมีเงินไม่เพียงพอ โปรดตรวจสอบว่าบัญชีของคุณมีเงินเพียงพอที่จะทำการซื้อ

ติดต่อธนาคารหรือผู้ออกบัตร

บัตรอาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ระบบปฏิเสธธุรกรรม ให้ติดต่อสถาบันที่ออกบัตรเพื่อสอบถามเกี่ยวกับธุรกรรมและดูว่าสถาบันทราบสาเหตุที่ธุรกรรมถูกปฏิเสธหรือไม่

Shopee ประกาศ ปิดชำระเงิน ผ่านบัญชีธนาคารถาวร เริ่...

Shopee ประกาศ ปิดชำระเงิน ผ่านบัญชีธนาคารถาวร เริ่ม 6 ธ.ค.นี้

เด่นออนไลน์

ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้

5 ธ.ค. 2565 - 15:13 น.

Shopee ประกาศ ปิดชำระเงิน ผ่านบัญชีธนาคารถาวร เริ่ม 6 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยสามารถชำระเงินผ่านช่องทางอื่นๆ ได้เป็นปกติ

หลังจากมีกระแสเตือนภัยในโลกออนไลน์ถึงปัญหาการผูกบัญชีธนาคารไว้กับแอพฯ ซื้อของออนไลน์จนเป็นเหตุให้มิจฉาชีพแฮ็กข้อมูล ตัดจ่ายอัตโนมัติไปยัง sips shopeepay(thailand) co.ltd ซึ่งโอนเงินออกจากบัญชีเองโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้เป็นผู้ทำธุรกรรมดังกล่าวและไม่มีการแจ้งยืนยัน OTP

ผู้เสียหายกล่าวว่า ตนเองสูญเงินเกือบ 5 หมื่นบาท ทำให้กลายเป็นเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เนื่องจากมีชาวเน็ตจำนวนมากอ้างว่าโดนในลักษณะเช่นเดียวกับผู้โพสต์จนเกิดการร้องเรียนอย่างล้นหลามให้ทางแอพฯออกมาชี้แจ้ง

หลังจากที่ Shopee ประกาศผ่านแอปพลิเคชันว่า จะเริ่มทำการปิดช่องทาง “การชำระผ่านบัญชีธนาคาร” เป็นการถาวร ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 65 เป็นต้นไป ทำเอาหลายคนสงสัยว่า ตกลง Shopee จะไม่รับเงินผ่านธนาคารเลยหรือไม่ และจะยังสามารถตัดเงินอัตโนมัติผ่านบัญชีธนาคารได้หรือเปล่า ทีมข่าว Spotlight สรุปมาให้ฟังแล้วที่นี่

 

ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้

 

ปิด ‘ชำระผ่านธนาคาร’ ไม่ใช่ ‘ยกเลิกผูกบัญชีธนาคาร’

 

ก่อนหน้านี้ ช่องทางการชำระเงินหลังสั่งสินค้าผ่าน Shopee ด้วยบัญชีธนาคาร จะมี 3 ทางเลือกด้วยกัน คือ

 

  1. จ่ายผ่านวอลเล็ทของ Shopee Pay และเลือกผูกบัญชีธนาคารกับ Shopee Pay ให้สามารถตัดเงินจากบัญชีธนาคารของเราได้โดยตรง
  2. เลือกจ่ายผ่านแอป Mobile Banking ของธนาคารต่างๆ โดยเมื่อเลือกตัวนี้แล้ว แอป Shopee จะพาเราสลับไปยังแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคาร เพื่อกดโอนเงินไปยังบัญชีของ Shopee
  3. เลือกจ่ายผ่านบัญชีธนาคาร คือการที่ Shopee สร้างธุรกรรม แล้วส่งรหัสอ้างอิงให้กับผู้ใช้ สามารถเลือกเดินทางไปจ่ายที่หน้าตู้เอทีเอ็ม หรือจ่ายในแอป Mobile Banking ลักษณะคล้ายกับการจ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟนั่นเอง


ซึ่งตัวเลือกที่ Shopee ประกาศยกเลิกไปก็คือช่องทางที่ 3 โดยผู้ใช้ จะสามารถชำระเงินผ่านทางช่องทางที่ 1 และ 2 ได้ตามปกติ



ปัจจุบัน ช่องทางการชำระเงินใน Shopee มีด้วยกัน 6 วิธี ได้แก่

  1. Shopee Pay - วอลเล็ทของ Shopee
  2. เก็บเงินปลายทาง - เก็บเงินสด/เงินโอน จากผู้รับสินค้าปลายทาง
  3. บัตรเครดิต/บัตรเดบิต - ชำระด้วยบัตรเครดิต / บัตรเดบิต จากผู้ให้บริการรายต่างๆ
  4. Mobile Banking - โอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคารต่างๆ
  5. SPayLater - บริการผ่อนจ่ายรายเดือนของ Shopee
  6. QR พร้อมเพย์ - บริการใหม่ที่ให้ผู้ซื้อโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ทันที

 

ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้

 

ตัดตัวเลือกเพื่อ ‘คุมต้นทุน’ ไม่ใช่เพื่อ ‘ตัดปัญหา’

 

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เกิดเหตุผู้ใช้งาน Shopee ถูกมิจฉาชีพแฮกบัญชี และทยอยซื้อของผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ที่ผูกไว้ โดยเจ้าของบัญชีไม่ได้รับการแจ้งเตือน หรือรหัส OTP ใดๆ นั้น ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจในแง่ของความปลอดภัยในการผูกบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 เดือนก่อนที่ Shopee จะประกาศปิดการให้บริการชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร

แหล่งข่าวจาก Shopee ได้ให้สัมภาษณ์กับกรุงเทพธุรกิจว่าเหตุการณ์ทั้งสอง ‘ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน’ เนื่องจาก Shopee มีแผนที่จะปิดบริการดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้แล้วเนื่องจากความไม่เหมาะสมด้านต้นทุน มิได้มีสาเหตุมาจากการถูกแฮกบัญชีผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารแต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ดี ทาง Shopee ก็ได้ระบุว่า กำลัง “ตรวจสอบอย่างเข้มข้น” ถึงสาเหตุของปัญหา เพื่อจะได้ช่วยเหลือลูกค้าต่อไป

สำหรับเหตุการณ์การถูกมิจฉาชีพแฮกบัญชีนั้น เมื่อผู้เสียหายตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบัญชีก็พบว่า มิจฉาชีพได้เข้าถึงบัญชีและเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับบัญชีไว้ ทำให้ข้อความแจ้งเตือนต่างๆ ไปปรากฏในโทรศัพท์มือถือของตัวมิจฉาชีพเอง และทำให้สามารถทำธุรกรรมได้โดยที่ผู้เสียหายไม่ทันได้เอะใจใดๆ เลย

 

เตือนมือดีหวังแฮกบัญชีช้อปออนไลน์ ‘ปรับ 1 แสน - จำคุก 5 ปี’

 
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ ได้เตือนประชาชนว่า ถึงเรื่องการการผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ชำระค่าสินค้ากับแอป รวมถึงระมัดระวังการกรอกข้อมูลทางการเงินผ่านเว็บไซต์ปลอม หรือแอปปลอม ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/5

‘ผู้ใดใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบในประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน’ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และหากมีการ ‘นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน’ จะมีความผิดตามพรบ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังมีความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

สำหรับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหาย ตำรวจไซเบอร์แนะนำให้ตรวจสอบรายการเดินบัญชี และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งความกับพนักงานสอบสวนตามขั้นตอนกฎหมาย หรือพบเบาะแสการกระทำผิด สามารถติดต่อได้ที่ 1441 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com

 

ทําไมชําระเงิน shopee pay ไม่ได้

  แบงก์แนะวิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัยจากการถูกแฮก

 

แม้เหตุการณ์ในครั้งล่าสุดนี้ ทางธนาคารเจ้าต่างๆ จะยังไม่ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีที่ลูกค้า Shopee โดนดูดเงินจากบัญชีในช่วงต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา แต่ในเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2564 ที่ผู้ใช้งานถูกโอนเงินออกจากบัญชีที่ผูกกับแอปช้อปปิ้งออนไลน์ครั้งละไม่กี่สิบบาท แต่รวมแล้วเสียหายหลักหมื่นบาท หลายธนาคารได้ออกมาแนะนำวิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย ดังนี้

 

  •  หมั่นตรวจสอบยอดเงินในบัญชี และธุรกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติ ต้องรีบแจ้งธนาคารทันที
  • เลือกใช้บัญชีที่มียอดเงินไม่สูง หรือไม่มีความเคลื่อนไหวบ่อย หากต้องผูกกับแอปช้อปปิ้งออนไลน์ หรือแอปอื่นๆ
  • บางธนาคารมีตัวเลือกเปิด-ปิดการทำธุรกรรมจากต่างประเทศได้ หากไม่มีความจำเป็นก็ควรเลือกปิดเอาไว้ เพื่อป้องกันการดูดเงินจากต่างประเทศ

 

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ก็คือ การตั้งพาสเวิร์ดบัญชีผู้ใช้ให้รัดกุม ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่คาดเดาได้ง่าย อย่างวันเดือนปีเกิด รหัสบัตรประชาชน ชื่อจริง นามสกุล

 

รวมถึงควรประกอบไปด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ - พิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ รวมถึงตั้งพาสเวิร์ดให้แตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อให้บัญชีของเรา ไม่ตกเป็นเป้าของมิจฉาชีพ