อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

วันนี้เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” วันระลึกถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทานให้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากยกเลิก “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475” หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่รัฐธรรมนูญ 2475 ก็ไม่สามารถอยู่ถาวรได้ ตลอดระยะเวลา 89 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปฏิวัติรัฐประหารถึง 13 ครั้ง มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ถึง 20 ฉบับ

การปฏิวัติครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ครองอำนาจตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้เป็นเวลา 7 ปี 6 เดือน 18 วันแล้ว และได้ยกร่าง “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560” ขึ้นมาต่อท่ออำนาจ เป็นรัฐธรรมนูญที่ขึ้นชื่อว่าแก้ไขยากที่สุดในโลก ฉบับหนึ่ง

หลังจากพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2478 โดยมีพระราชหัตถเลขาว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิม ให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด แต่โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...”

เป็นพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ทรงสละพระราชอำนาจของพระองค์ “ให้แก่ราษฎรทั่วไป” แต่ไม่ยินยอมยกอำนาจของพระองค์ให้กับ “ผู้ใด คณะใด” ที่จะ “ใช้อำนาจโดยสิทธิขาด” และ “ไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่คณะปฏิวัติ คสช.ยกร่างขึ้นมา ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และได้บัญญัติไว้ในวรรคสองอีกว่า “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม”

ตลอดเวลาที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครองอำนาจมากว่า 7 ปี 6 เดือน ทั้งในฐานะ หัวหน้า คสช. และ นายกรัฐมนตรี อยากให้คนไทยทุกคนตั้งแต่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ หน่วยงานของรัฐ ลองถามตัวเองด้วยความซื่อสัตย์ดูว่า “อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย” ตามมาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญ “ยังเป็นอำนาจของปวงชนชาวไทยอยู่จริงหรือ” แล้ว “อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยที่แท้จริงไปตกอยู่ในมือใคร” หรือเปล่า

มีเกจิการเมืองบางท่านบอกว่า อำนาจอธิปไตยยังไม่ใช่ของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง แต่ อำนาจอธิปไตยในปัจจุบันตกเป็นของชนชั้นนำที่แชร์อำนาจกับฝ่ายตุลาการ

ผมไม่รู้ว่าชนชั้นนำมีใครบ้าง แต่ที่เห็นเป็นข่าวในทุกวันนี้ก็คือ อำนาจการตัดสินใจทุกอย่างในประเทศไทย ดูเหมือนจะอยู่ในอำนาจของ 3 ป.ผู้ร่วมปฏิวัติกันมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รมว.กลาโหม นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แกนนำรัฐบาล และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ถ้าสามคนนี้โอเคทุกอย่างก็โอเค

แม้แต่ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สองปีแล้วยังไม่รู้จะได้เลือกตั้งเมื่อไหร่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า ต้องรอให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยก่อน วันนี้บ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อยหรือ

วันที่ระลึก “วันรัฐธรรมนูญ” วันนี้ ก็อยากให้คนไทยทุกคนระลึกถึง “อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย” ที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ควรให้ “ผู้ใด คณะใด” ละเมิดหรือขโมยอำนาจไปเป็นของตัวเองตามอำเภอใจ เพราะเป็นอำนาจของคนไทยทุกคน.

“ลม เปลี่ยนทิศ”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง”

สากล พรหมสถิตย์. (2560) กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.คลิกเอกสาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดฉบับที่ 20 ตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (รัฐสภา) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475

      รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันทางการเมืองในการจัดองค์กรบริหารของรัฐ รวมถึงการคุ้มครองและรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่น ๆ จึงกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง เพราะเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญทุกประเทศต่างบัญญัติเรื่องของอำนาจการบริหารประเทศไว้ทั้งสิ้น ไม่ว่าประเทศนั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ระบอบคอมมิวนิสต์ หรือระบอบการปกครองอื่น ต่างก็บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องอำนาจการบริหารประเทศ

© รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งสามารถแสดงออกถึงคุณค่า 3 ประการ อันประกอบด้วยคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ คุณค่าทางปรัชญา และคุณค่าทางกฎหมาย

    • รัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์แห่งการสถาปนารัฐและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
    • รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสะท้อนปรัชญาการเมือง
    • รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการสถาปนาระบบกฎหมาย

© ประเทศไทยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2564 เป็นเวลา 89 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยได้ประกาศยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการกำหนดรูปแบบ สถาบัน และวิธีการในการปกครองประเทศ มาแล้วถึง 20 ฉบับ

ในบทความนี้จะกล่าวถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับ บททั่วไปของรัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

© รัฐธรรมนูญ เป็นคำที่แปลมาจากคำว่า Constitution เริ่มนำมาใช้เมื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) ฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุด เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยตามศัพท์ รัฐธรรมนูญแปลว่าระเบียบอำนาจหน้าที่ในการปกครองแผ่นดิน

© กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นรากฐานที่มาแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งได้กำหนดถึงที่มาแห่งอำนาจอธิปไตย การใช้อำนาจอธิปไตย และรวมถึงองค์กรและสถาบันทางการเมือง ความสัมพันธ์ขององค์กรหรือสถาบันทางการเมือง รวมถึงการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

→ สำหรับคำปรารภเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ระบุเหตุผลในการประกาศใช้ เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (ราชกิจจานุเบกษา, 2557) ที่บัญญัติให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น โดยได้กำหนดกลไกเพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่ ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่และอำนาจขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรม และสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต เที่ยงธรรม และมีส่วนร่วมในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤตของประเทศตามความจำเป็นและความเหมาะสม

→ รวมถึงการรับรอง ปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจนและครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยถือว่าการมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก การจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม

→ การกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ การวางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ และการกำหนดมาตรการป้องกันและบริหารจัดการวิกฤติการณ์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนได้กำหนดกลไกอื่น ๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ระบุไว้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ราชกิจจานุเบกษา, 2560) มีบทบัญญัติ จำนวน 279 มาตรา ในที่นี้ จะได้อธิบายเพื่อประโยชน์ในการศึกษา โดยยึดตามหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบของรัฐ รูปแบบการปกครอง ที่มาและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย หลักการใช้อำนาจอธิปไตย หลักความเสมอภาคของประชาชนชาวไทย และหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ พอสังเขป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

บททั่วไป : หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ

→ รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติในสาระสำคัญ หลักการทั่วไป ไม่ระบุรายละเอียด เพราะเป็นเอกสารแม่บทที่ใช้ได้อีกในระยะเวลานาน ถ้าระบุเนื้อหาไว้ยาวเกินไปอาจก่อให้เกิดความล้าสมัยได้ เนื้อหาสาระที่สำคัญของรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วย

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” คือบทบัญญัติเรื่องรูปแบบของรัฐ นามประเทศ กำหนดนามประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้มีชื่อว่าประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรคือมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และเป็นรัฐเดี่ยวที่จะแบ่งแยกมิได้

มุ่งหมายกำหนดรูปแบบของรัฐว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 2 “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” คือบทบัญญัติเรื่องรูปแบบการปกครอง กำหนดให้ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มุ่งหมายกำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” คือบทบัญญัติเรื่องที่มาและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาอันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม อันเป็นหลักการใช้อำนาจอธิปไตย

มุ่งหมายกำหนดหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยยังคงเป็นของประชาชน มีพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางองค์กรทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญกำหนด

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ส่วนความในวรรคสอง “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม”

มุ่งหมายกำหนดกรอบและเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรต่างๆ

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” คือบทบัญญัติเรื่องหลักความเสมอภาคของประชาชนชาวไทย คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค กำหนดให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ปวงชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย และตามพันธกรณีระหว่างประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันทุกคน

มุ่งหมายกำหนดหลักประกันเพื่อคุ้มครองความเท่าเทียมกันของบุคคล สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลและปวงชนชาวไทย

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 5 “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้” คือบทบัญญัติเรื่องหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และรวมถึงเรื่องหลักการอุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ มุ่งหมายกำหนดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด และบทบัญญัติที่เป็นทางออกในกรณีที่ไม่มีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญลำดับที่ 20 ที่ได้ประกาศใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย สาระสำคัญอยู่ในหมวดทั่วไป คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้”

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติกำหนดองค์กรที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่ประกอบด้วย รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล โดยรัฐสภาให้ใช้ระบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 150 คน วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม ในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

→ คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

→ หมวดว่าด้วยศาลมี 3 ศาล คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร โดยแยกศาลรัฐธรรมนูญไปบัญญัติแยกไว้อีกหมวดหนึ่งต่างหาก โดยวางหลักประกันความเป็นอิสระให้ผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง ให้แต่ละศาลยกเว้นศาลทหาร มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น และให้ศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะ ตามความเหมาะสมที่กฎหมายบัญญัติ

รัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไปอาจทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรืออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงเป็นปกติธรรมดาที่รัฐธรรมนูญย่อมสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์และความต้องการของประชาชน

มีองค์กรอิสระมี 5 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสำคัญ :

รัฐธรรมนูญ, กฎหมายสูงสุด, สถาบันการเมือง

เอกสารอ้างอิง
  1. จุมพล หนิมพานิช. (2551). “รัฐสภา” ในเอกสารการสอนชุดวิชา สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย หน่วยที่ 9-15 (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  2. ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2562). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
  3. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
  5. มานิตย์ จุมปา. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. (22 กรกฎาคม2557 เล่ม 131 ตอนที่ 55ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.
  7.           . (2560 6 เมษายน 2560 เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
  8. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
  9. วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.
  10. หยุด แสงอุทัย. (2538). หลักรัฐธรรมนูญทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
  11. บุญร่วม เทียมจันทร์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ THE LAW GROUP.
อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด
 
เพิ่มเติม 6 เมษายน 2565

นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก (ฉบับชั่วคราว) คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ต่อมามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (ฉบับถาวร) ขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญมาจนถึงทุกวันนี้ นับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ฉบับแรก พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2560 เป็นเวลา 85 ปีเศษแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถึง 20 ครั้ง 20 ฉบับ เฉลี่ยแล้วประเทศไทยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถึง 4  ปี ต่อครั้ง (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 9)

รัฐธรรมนูญที่มีจำนวนมาตราน้อยที่สุดรวม 20 มาตรา คือ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2502 ที่มีจำนวนมาตรามากที่สุดรวม 336 มาตรา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 5 เดือน คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ที่มีอายุยาวที่สุดรวม  13 ปีเศษ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475

เหตุสิ้นสุดอายุรัฐธรรมนูญไทยเพราะใช้รัฐธรรมนูญใหม่รวม 9 ครั้ง เพราะปฏิวัติรัฐประหารรวม 9 ครั้ง (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 14)

จากการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง คณะ “คสช.” ได้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ขึ้นใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

หลังจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ได้ส่งไปให้ประชาชนลงประชามติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ผลปรากฏว่าประชาชนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จากนั้นนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงได้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

บัดนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 เป็นต้นไป (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 15)

บุญร่วม เทียมจันทร์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ THE LAW GROUP.

อำนาจอธิปไตยมาตรา 3 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นของผู้ใด
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
    • รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมา 19 ฉบับ
    • สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
    • รายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
    • เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
    • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560
    • กลับหน้าหลัก

เชิงอรรถ

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 1

      • ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา 2

      • ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 3

      • อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
      • รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาตและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

มาตรา 4

      • ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
      • ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน

มาตรา 5

      • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
      • เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

อํานาจอธิปไตยเป็นของใคร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 *

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 ที่คณะปฏิวัติ คสช.ยกร่างขึ้นมา ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และได้บัญญัติไว้ในวรรคสองอีกว่า “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย ไว้อย่างไร

สำหรับราชอาณาจักรไทย ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชน อำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล นิติบัญญัติหรือรัฐสภา และตุลาการหรือศาล

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มีอย่างไรบ้าง

(๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็น ...