อาจารย์คนแรกของหลวงปู่มั่นคือใคร

ตามรอย “พระอาจารย์ใหญ่” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) บุคคลสำคัญของโลก และนับเป็นพระอริยสงฆ์รูปที่ 3 ของไทย

 
อาจารย์คนแรกของหลวงปู่มั่นคือใคร
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตคือหนึ่งในพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรม  เป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และตั้งมั่นอยู่บนความเพียรตั้งแต่วันแรกของการบรรพชา – อุปสมบท จวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ข้อวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่น ก็คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
การออกธุดงค์แสวงหาวิเวก
หลังจากได้เรียนรู้พระธรรมวินัย และฝึกภาวนาเบื้องต้นพอสมควรแล้ว หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาหลวงปู่มั่นพรัอมด้วยสามเณรอีกองค์หนึ่ง ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรที่ห่างไกลจากผู้คน ได้ข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว เมื่อพบสถานที่เหมาะ ก็พักปักกลดบำเพ็ญภาวนา และย้ายที่ไปเรื่อยๆ ขึ้นเหนือไปตามลำแม่น้ำโขง พบว่าป่าทึบแถวเมืองท่าแขก เป็นที่สงบ มีสัตว์ป่าชุกชุม จึงได้พักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่นั่น ๓ พรรษา
ณ ที่นั้น อาจารย์และศิษย์ทั้ง ๓ องค์ ถูกไข้ป่าเล่นงานจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ไม่มีท่าทีจะรักษา มีแต่กำลังแห่งอานุภาพภาวนาเท่านั้น ทั้ง ๓ องค์ เร่งภาวนาแบบยอมตายถวายชีวิต ใช้การบริกรรมพุทโธ กำหนดจิตสงบนิ่งไม่ให้แส่ส่ายไปทางใด
อาจารย์คนแรกของหลวงปู่มั่นคือใคร
ในส่วนของหลวงปู่มั่นนั้น พอท่านกำหนดจิตลงสู่ความเป็นหนึ่งแล้ว “ปรากฏว่าศีรษะลั่นเปรี้ยะไปหมด เหงื่อไหลออกมาเหมือนราดน้ำ เมื่อออกจากสมาธิ ปรากฏว่าไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง” เป็นการใช้ธรรมโอสถระงับการอาพาธของท่านเป็นครั้งแรก
ธุดงวัตรที่ท่านถือเป็นอานิฌ 4 ประการ ดังนี้
1. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือ นุ่งห่มผ้าบังสกุล
2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือ ภิกขาจารเที่ยวบิฌฑบาตฉันเป็นนิตย์
3. เอกะปัตติกังคธุดงค์ ถือ ฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
4. เอกาสะนิกังคธุดงค์ ถือ ฉันหนเดียวเป็นนิตย์
อาจารย์คนแรกของหลวงปู่มั่นคือใคร
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้ของหลวงปู่มั่นกว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ 4 อย่าง คือ
  1. อัตถปฏิสัมภิทา – แตกฉานในอรรถ
  2. ธรรมปฏิสัมภิทา – แตกฉานในธรรม
  3. นิรุตติปฏิสัมภิทา – แตกฉานในภาษา
  4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา – แตกฉานในปฏิภาณ
โดยปฏิปทาที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ
  1. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ – ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
  2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ – ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
  3. เอกปัตติกังคธุดงค์ – ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
  4. เอกาสนิกังคธุดงค์ – ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
  5. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ – ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม
  6. เตจีวริตังคธุดงค์ – ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน
  7. อารัญญิกังคะ – ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน

21.ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทน ในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้ และในดวงใจนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพ ทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้น

22.ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ

23.ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริงทั้ง ๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

24.อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใด ๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณ ให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ

25.การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจ ของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่ปิดซ่อนให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง

26.ความทุกข์ ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

27.ศาสนาทางมิจฉาทิฏฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย ฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแล

28.ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

29.จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้วปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยยานิกธรรมทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ได้รับการอบรมจิตที่ไม่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้

30.กิเลสแท้ ธรรมแท้อยู่ที่ใจ ส่วนเครื่องส่งเสริมและกดถ่วงกิเลสและธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไปทั้งภายในภายนอก ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้หลบหลีกปลีกตัวจากสิ่งยั่วยวนกวนใจ อันจะทำให้กิเลสที่มีอยู่ภายในกำเริบลำพอง มีรูป เสียง เป็นต้น และสอนให้เที่ยวอยู่ในที่วิเวกสงัด เพื่อกำจัดกิเลสชนิดต่าง ๆ ด้วยความเพียรได้ง่ายขึ้น อันเป็นการย่นวัฏฏะภายในใจให้สั้นลง

ใครเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น

เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกระวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย ญาณสโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนาดนามเป็นภาษามคธว่า ภูริท ...

พระอาจารย์มั่นเป็นลูกศิษย์ของใคร

พระอรหันต์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต : ศิษย์เอกหลวงปู่เสาร์ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ข้อใดคือชื่อเดิมก่อนผนวชของหลวงปู่มั่น

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ เด็กชาย มั่น แก่นแก้ว บิดามารดาชื่อ นายคำด้วง-นางจันทร์ แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในตระกูลชาวนา บิดามารดานับถือศาสนาพุทธ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน ได้เข้าบวชเณรตอน ...

หลวงปู่มั่นเกิดเมื่อใด

20 มกราคม 2413หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต / วันเกิดnull