พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

  1. คู่รักต้องรู้! คู่มือเตรียมตัวก่อนไปจดทะเบียนสมรส

คู่รักต้องรู้! คู่มือเตรียมตัวก่อนไปจดทะเบียนสมรส

ว่าที่สามี-ภรรยาฟังทางนี้เลยจ้าาา ปีนี้ใครมีแพลนไปจดทะเบียนสมรส ขอบอกเลยว่าไม่ใช่แค่เดินไปอำเภอก็จดได้ มาดูกันค่ะว่าต้องเตรียมอะไรกันบ้างงงง

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

13 พ.ค. 2021 · โดย

คู่รักหลายคู่ที่แต่งงานแล้ว หรือยังไม่แต่งงาน แต่มีแพลนว่าอยากจดทะเบียนสมรสเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตคู่ต่อไป อยากบอกให้รีบมาทางนี้เลยค่ะ การจดทะเบียนสมรสนั้นอาจดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วก่อนว่าที่สามี-ภรรยาจะไปจดทะเบียนสมรสกันนั้น ก็ควรจะมีการเตรียมตัวไปก่อนล่วงหน้า วันนี้ Wongnai Beauty เลยพาทุกคนมาเปิดคู่มือการจดทะเบียนสมรสกันนนน

ทะเบียนสมรสคืออะไร

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

ก่อนอื่นมารู้ความหมายจริง ๆ ของทะเบียนสมรสกันก่อนเลยค่ะ ทะเบียนสมรส คือ เอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันความสัมพันธ์ของคู่แต่งงาน ที่ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างสามี-ภรรยา เช่น การรับรองบุตร การแบ่งสินสมรส รวมไปถึงการฟ้องหย่า ให้สามารถได้สิทธิ์อย่างถูกกฎหมายและเป็นไปตามที่ควรได้รับค่ะ

ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

แน่นอนว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ คู่รักหลายคู่จึงนิยมไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ โดยประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรส ได้แก่

  • สามี-ภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งหาเลี้ยงอีกฝ่าย หรือช่วยกันหาเลี้ยงกันและกันก็ได้ค่ะ
  • ทำให้ทั้งคู่ต้องอุปการะเลี้ยงดูกันและกัน
  • ฝ่ายหญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ในการใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้ค่ะ
  • ถ้าฝ่ายหญิงเป็นต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ถ้าต้องการ
  • มีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส หรือที่เราเรียกว่าสินสมรสร่วมกัน
  • มีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
  • มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
  • มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
  • สามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้ตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสและชู้ค่ะ
  • บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (ทั้งนี้ บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมตามกฎหมายของแม่อยู่แล้วค่ะ)
  • ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีค่ะ
  • สามี-ภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  • การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น หากภรรยาถูกโจรปล้น สามีสามารถฟ้องร้องดำเนินดคีแทนได้ค่ะ
  • การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ค่ะ

คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

ในการจดทะเบียนสมรสนั้น ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะต้องมีคุณสมบัติเข้าตามเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ค่ะ ว่าที่สามี-ภรรยาเช็กตัวเองกันได้เลย!

  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว สามารถทำการจดทะเบียนสมรสได้ด้วยตัวเอง
  • อายุมากกว่า 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
  • อายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนค่ะ
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา (มีพ่อหรือแม่คนเดียวกัน)
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น (จดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้แน่นอนค่ะ)
  • ไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม

เพิ่มเติม : สำหรับผู้หญิงที่เคยจดทะเบียนมาก่อนหน้านี้ ถ้าจะจดทะเบียนกับสามีคนเดิมสามารถจดได้เลยค่ะ แต่ถ้าจะจดกับสามีคนใหม่จะต้อง เว้นระยะเวลาจากการหย่าครั้งล่าสุดอย่างน้อย 310 วัน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์นะคะ เว้นแต่ว่าถ้ามีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ไม่จำเป็นต้องรอ 310 วันค่ะ

  • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
  • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

เอกสารจดทะเบียนสมรส

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

เมื่อเช็กคุณสมบัติผู้จดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยแล้ว ว่าที่สามี-ภรรยาก็รีบหาฤกษ์ยามและเตรียมเอกสารไปจดทะเบียนสมรสกันได้เลยค่ะ โดยหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส มีดังนี้ค่ะ

  • บัตรประชาชนตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง
  • พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • ถ้าเคยหย่ามาก่อน ต้องพกหลักฐานการหย่าไปด้วยนะคะ
  • กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการตาย เช่น ใบมรณบัตร ประกอบด้วยค่ะ
  • สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร กรณีที่มีลูกก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสค่ะ
  • แบบฟอร์ม คร.1 ตัวนี้สามารถขอได้จากที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนที่ไปจดทะเบียนสมรสเลยค่ะ
  • กรณีชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริง และแบบฟอร์มรับรองที่ได้จากสถานทูตหรือกงสุลที่แปลแล้วประกอบด้วยค่ะ

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสอาจเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักทะเบียนนั้น ๆ ค่ะ โดยมีขั้นตอนที่ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก รวมทุกขั้นตอนเฉลี่ยแล้ว 1-2 ชั่วโมง หรืออาจเร็วกว่านั้นค่ะ

  • ตรวจสอบเอกสาร
  • สอบถามข้อมูลทั่วไป
  • สอบถามการยินยอมเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนคำนำหน้า
  • เซ็นเอกสารพร้อมด้วยพยาน 2 คน
  • รับหลักฐานหรือใบสำคัญการสมรส

จดทะเบียนสมรสตอนไหนได้บ้าง?

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

ในการจดทะเบียนสมรสนั้นจะต้องอยู่ในวันและเวลาทำการของสำนักทะเบียนคือ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 08.30-16.30 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และมีพักเที่ยง) โดยยึดเป็นเวลามาตรฐานทั้งการจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานทะเบียนเขตพื้นที่ รวมไปถึงการจดทะเบียนสมรสนอกสำนักงานทะเบียนด้วยค่ะ

การแก้ไขเอกสารหลังสมรส

พยานการจดทะเบียนสมรสต้องเป็นใคร

หลังจดทะเบียนสมรสแล้ว ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงมีการยินยอมที่จะเปลี่ยนคำนำหน้า เปลี่ยนนามสกุล อย่าลืมว่าต้องไปดำเนินการแก้ไขเอกสารสำคัญกันด้วยนะคะ เช่น

  • บัตรประชาชน
  • ใบขับขี่
  • หนังสือเดินทาง (Passport)
  • วีซ่า
  • บัญชีธนาคาร
  • บัตรเครดิต
  • ประกันสังคม
  • ประกันสุขภาพ

จดทะเบียนสมรสต้องมีพยานไปด้วยไหม

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมไปจดทะเบียนสมรส พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ใครที่เคยหย่ามาก่อนต้องเอาหลักฐานการหย่ามาด้วย กรณีคู่สมรสเสียชีวิตคนก่อน ให้ใช้หลักฐานการตาย เช่น ใบมรณะบัตร สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร (หากมีบุตรที่เกิดก่อนจะมาจดทะเบียนสมรส)

จดทะเบียนสมรสต้องมีพยานกี่คน

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม - พยานบุคคลจำนวน 2 คน

พยานในการหย่าต้องเป็นใคร

4. ลงนามในหนังสือสำคัญการหย่า หลังจากตกลงกันได้แล้วก็ถึงเวลาจรดปากกากันเสียทีค่ะ นอกจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้ว ยังต้องให้พยานทั้ง 2 คน รวมถึงนายทะเบียนลงนามด้วยจึงจะถือว่าการหย่าเสร็จสมบูรณ์ค่ะ

จดทะเบียนสมรส ฝ่ายไหน

เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวอันก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะสามีภรรยา หรือบิดามารดากับบุตร เช่น การจดทะเบียนสมรส หย่า รับรองบุตร รับบุตรบุญธรรม เลิกรับบุตรบุญธรรมและการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ทะเบียนครอบครัว การจดทะเบียนสมรส ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้