ผู้ว่า กทม. คนปัจจุบันคือใคร

วันที่ 22 พ.ค. 2565 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดอิสระ แถลงความคืบหน้าหลังจากทราบผลการนับคะแนนเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ว่า ขอแสดงความยินดีกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ได้เป็นผู้ว่า กทม. คนที่ 17 ของประเทศ และมั่นใจว่าจะทำงานดูแลกรุงเทพมหานครให้สมกับความคาดหวังของประชาชนได้ ในส่วนตัวนั้นขอขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่ไว้ใจและลงคะแนนให้ แม้ตนเองจะลงในนามอิสระแต่ก็ได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯ เมื่อถามว่าคะแนนบางเขตที่เป็นพื้นที่ทหารมีคะแนนนำนั้น นายสกลธี กล่าวว่า ครอบครัวตนเป็นครอบครัวทหาร พ่อมีตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมองว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ได้คะแนน ทั้งนี้ คะแนนของตนเองติดหนึ่งในสามหลายเขต ซึ่งต้องรอดูตอนจบว่าคะแนนรวมจะเป็นเท่าไหร่

เมื่อถามถึงเส้นทางทางการเมือง นายสกลธี กล่าวว่า ตนอยู่ในวงการการเมืองมา 16 ปีแล้ว และยืนยันว่าจะทำงานการเมืองต่อ แต่ขอตัดสินใจก่อนว่าจะไปเล่นการเมืองระดับชาติหรือไม่ ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจนั้น หลังจากนี้ต้องนำคะแนนในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร มาวิเคราะห์ดูว่าเป็นอย่างไร ผลตอบรับสุดท้ายได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงต้องตัดสินใจว่าหากกลับไปเล่นการเมืองระดับชาติ จะไปร่วมงานกับใคร สังกัดพรรคไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของตน

เมื่อถามถึงนโยบายที่อยากฝากถึงนายชัชชาตินั้น นายสกลธี บอกว่า คือการที่ผู้ว่าฯ ทำนโยบายหาเงินเข้า กทม. ไม่ใช่รองบประมาณจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว และหลังจากนี้จะเดินทางเข้าหาผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุน เคลียร์ค่าใช้จ่ายกับทาง กกต. และย้ำว่าขอใช้เวลาในการตัดสินใจเส้นทางทางการเมืองต่อ และคิดว่าจะไม่นานเพราะหากดูตามปฏิทินการเลือกตั้งการเมืองระดับชาติเริ่มนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่แล้ว และพร้อมกับระบุว่าการที่นายชัชชาติชนะในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องเหนือการคาดหมาย และมั่นใจว่าจะทำงานได้ดีกับรัฐบาล รวมทั้งบริหารให้สมกับที่ประชาชนไว้วางใจ

ในการเข้ารับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างเป็นทางการที่ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้าในวันนี้ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ได้เปิดตัว รองผู้ว่าฯ กทม. 4 คน ทีมที่ปรึกษา 9 คน พร้อมด้วย เลขานุการ รองเลขานุการ 4 คนและโฆษกกทม.

ชัชชาติ บอกถึงการเลือกทีมว่า ดูในแต่ละมิติ อย่างรองผู้ว่าฯ เราก็รู้ว่า มีสำนักอะไรดูแลบ้าง ขอให้มีความหลากหลาย ทั้งประสบการณ์ มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายกันไป สำคัญที่สุดคือซื่อสัตย์ โปร่งใส สุจริตที่เราไว้วางใจได้ นอกจากนี้ยังมีทีมที่ปรึกษาทางเทคนิคอีกกว่า 30-40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการที่เราปรึกษามา 2 ปีกว่า ตอนที่เราปรึกษาเราเป็นการเมืองการเลือกตั้ง หลายๆ ท่าน เราเปิดตัวไม่ได้ พอเราเป็นข้าราชการ กทม. แล้ว เราสามารถเปิดตัวท่านได้

ผู้ว่า กทม. คนปัจจุบันคือใคร

เริ่มต้นที่ รองผู้ว่าฯ กทม. 4 คน

จักกพันธุ์ ผิวงาม ลูกหม้อ กทม. ตัวจริง หลังเกษียณอายุราชการ เพียง 19 วัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม. ได้ทาบทามให้มาเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. คุมงานสำคัญๆ อาทิ สำนักงบประมาณ สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ ถูกขนานนามว่ามีความ “ตงฉิน” คุ้นตาด้วยภาพทำงานทุกวันไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดย จักกพันธุ์ ลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม. เมื่อปี 2562 ก่อนมาปรากฏตัวร่วมเดินหาเสียงกับ ‘ชัชชาติ’ สำรวจแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง ได้ที่รับมอบหมายงาน ดูแลด้านการเงิน

ต่อมา รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล อดีตรองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธาฯ ร่วมงานกับชัชชาติมาเป็น 10 ปี ในวันเปิดตัวแนะนำทีมชัชชาติ ได้มอบหมายงานแรกให้กับ รองผู้ว่าฯ วิศณุ ทันทีต้องการรับมือปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพที่กำลังอยู่ในฤดูฝน ได้ที่รับมอบหมายงาน ดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจราจร

รองผู้ว่าฯ กทม. ผศ.ทวิดา กมลเวชช อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ การวิเคราะห์และออกแบบนโยบายสาธารณะ การจัดการความเสี่ยงต่างๆ มีผลงานวิจัยด้านการจัดการนโยบายสาธารณะไม่น้อย โดยในปี 2565 มีผลงาน “การออกแบบและจัดทำยุทธศาสตร์การต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร สำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร” ได้ที่รับมอบหมายงาน ดูแลด้านภัยพิบัติและสาธารณสุข

และที่ฮือฮากับ รองผู้ว่าฯ อายุน้อยที่สุด ศานนท์ หวังสร้างบุญ วัย 33 ปีอดีตนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ผู้ร่วมก่อตั้ง SATARANA (สาธารณะ) ผู้ต่อสู้เพื่อชุมชน คนจนเมือง โดดเด่นจากการ ชูโมเดลป้อมมหากาฬ พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กับแนวคิด mutual benefits ธุรกิจ-ชุมชนที่ต้องเกื้อกูลกัน ได้ที่รับมอบหมายงาน ดูแลด้านพัฒนาสังคมและการศึกษา

สำหรับ ที่ปรึกษา 9 คน ประกอบด้วย

ประธานที่ปรึกษา ต่อศักดิ์ โชติมงคล หรือที่ทีมชัชชาติเรียกกันว่า ‘อากง’ อดีตผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น 18 ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของ ‘ชัชชาติ’ เป็นผู้มอบที่ดินของจากโรงงานยาสูบให้กรุงเทพมหานคร นำมาสร้างเป็น สวนเบญจกิติ 

ผู้ที่หลายๆ คน คุ้นหน้าคุ้นตาตลอดการหาเสียงของชัชชาติ ‘ดร.ยุ้ย’ ผศ.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  รับมาเป็นที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ จะมาผลักดันนโยบายกว่า 200 ข้อที่ชัชชาติหาเสียงกับคนกรุงเทพให้เป็นจริง และดูแลงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ในฐานะ Chief Strategist

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ 24 พ.ค. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคลช. ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งที่ 9/2556 ให้ย้าย พล.อ.นิพัทธ์ จากปลัดกระทรวงกลาโหม ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยคนหนึ่ง ที่รับมาเป็นที่ปรึกษาให้ชัชชาติ คือ พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ผู้ที่เคยออกมาเป็นปากเป็นเสียงให้กับ บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ที่ต้องต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19

พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ประธานกรรมการ บริษัท ไดเมท (สยาม) จํากัด (มหาชน) DIMET

ผู้กว้างขวางที่จะเข้ามาดูแลด้านประสานงานทางการเมืองคือ วิลาวัลย์ ธรรมชาติ อดีต ส.ก.เขตจตุจักร พรรคเพื่อไทย

นอกจากนี้ ยังมีอดีตที่ปรึกษา ผู้ว่าฯ กทม. สมัย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ที่จะเข้ามาช่วยดูการระบายน้ำ อีกคนที่เข้ามาร่วมทีมคือ อรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.

ภาณุมาศ สุขอัมพร อดีตพระเอกชื่อดังยุค 80 ที่ปรึกษามูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ผู้ใช้ชีวิตบนวีลแชร์ทำงานด้านเครือข่ายสื่อสารสังคม

และ พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ลูกชาย พนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พรพรหม เป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร New Dem พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้มาเดินร่วมทีมกับชัชชาติมาระยะหนึ่งแล้ว จะเข้ามาดูแลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สตาร์ทอัพต่างๆ

เลขานุการผู้ว่าฯ กทม. ภิมุข สิมะโรจน์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคไทยรักไทย ประธานกรรมการบริษัท ซัลโก้ จำกัด (มหาชน) มี ผู้ช่วยเลขานุการ 4 คน คือ

ใครเป็นผู้ว่ากทม 2565

พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2559–2565)

ผู้ว่ากรุงเทพคนแรกคือใคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ธรรมนูญ เทียนเงิน ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี 2518.