ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • บทความที่น่าสนใจ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

< ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย

มาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีที่คนอย่างเรา ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้สำหรับการทำหน้าที่ตามกฎหมาย "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" คือ จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยจะจัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท และจะเรียกเก็บจากผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา

โดยมีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้1.บุคคลธรรมดา จะเสียภาษีจากการได้รับเงินดังนี้ 

  • เงินได้จากการจ้างงาน เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • เงินได้จากค่าสิทธิ หรือเรียกว่าค่าตอบแทนจากการใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
  • เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน คือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้
  • เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ 
  • เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ และ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนาย นักแสดง ฯลฯ 
  • เงินได้จากการธุรกิจ หรือเงินได้อื่นๆ

       

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำหรับ "ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล" จะหมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ทำกิจการร่วมกัน โดยจะใช้การแบ่งปันกำไรจากกิจการนั้นๆ ส่วน "คณะบุคคล" หมายถึง บุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

       3. สำหรับผู้ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี ในกรณีนี้จะให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทผู้ที่ได้รับมรดก เป็นผู้ทำหน้าที่ยื่นรายการและเสียเงินภาษีได้แทน โดยการยื่นรายการเงินได้ของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้ทั้งหมดของผู้ตายตลอดในปีภาษี

       4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ซึ่งจะเป็นการเสียภาษีในปีถัดไป หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ชีวิต โดยให้ผู้จัดการกองมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์ แล้วแต่กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียเงินได้ในนามของกองมรดกนั้น

       นอกเหนือจากนี้ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรืออย่างน้อย 180 วัน (6เดือน) ไม่ว่าจะมีสัญชาติใด หรือจะมีรายได้ที่ได้รับจากในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องชำระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และจะมีการจัดเก็บเป็นรายปี ผู้ที่มีรายได้จะต้องแสดงรายการภาษีที่กรมสรรพากร ในเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีรายได้ในบางกรณี ก็สามารถยื่นแบบฯเสียภาษีครึ่งปีได้ สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการทยอยการชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นได้อีกด้วย

บทความโดย : money.sanook.com

ใครเสียภาษียกมือขึ้น

ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย

ใครคนนั้นที่ฉันฝันถึงเขา...แฮ่ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี และรายได้มากน้อยเพียงใดที่ต้องนำมาเสียภาษี แบบให้เห็นเป็นภาพ แสง สี เสียง แฮ่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว อย่างอื่น ๆ คงต้องรอไปก่อน

ครั้งก่อนนั้นรักเราคู่เคียงชิดใกล้ ครั้งก่อนนั้นดวงใจเคยพะนอ ครั้งก่อนนั้น...พอ ๆ ชักจะนอกเรื่องไปใหญ่เป็นเสียของ บอ.กอ. คนสวย ทำให้ต้องกลับมาคุยเรื่องที่เป็นราว เอ๊ยคุยให้เป็นเรื่องเป็นราวว่า ครั้งก่อนอธิบายเรื่องการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ คงพอจะทำให้ความเข้าใจที่ผิด ๆ กันได้บ้างกับความเชื่อที่ว่า ไม่เสียภาษีไม่ต้องยื่นแบบ เพราะมันคนละส่วนกัน ทางการเค้าสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ด และสุกร...แฮ่ เค้าบอกว่ามีเงินได้ก็ต้องนำไปเสียภาษี โดยการเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบฯ แต่เมื่อคำนวณแล้วไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ทำเพียงยื่นแบบฯ แต่ไม่ต้องชำระภาษี...งงมะ

คราวนี้มาคุยกันต่อในเรื่องที่หลายต่อหลายคนมักเข้าใจว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ซึ่งนั่นก็ไม่ผิด แต่หลายคนจะเข้าใจว่าภาษีเก็บจากผู้ใหญ่ เด็กไม่กลัว ซึ่งต้องบอกว่าภาษีนะ ไม่ใช่เข้าโรงหนัง หรือร้านอาหาร ประเภทเด็กไม่ถึง 180 ซ.ม. ยกเว้นไม่เก็บ...เพราะชื่อก็บอกจัดเจนว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ย่อมต้องแปลว่า บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะหน้าไหนล้วนแล้วแต่ต้องเสียภาษีเงินได้ทั้งนั้นไม่ยกเว้น

สรุปความว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่...เด็ก, สตรี, คนชรา, คนตั้งครรภ์ และคนพิการ...แฮ่ คุ้น ๆ นะเหมือนกับข้อความที่จะเขียนเตือนให้สุภาพบุรุษที่นั่งหลับรู้สึกตัว และเสียสละยังงัยไม่รู้ เอาใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่....

ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย

- บุคคลธรรมดา

- คณะบุคคล

- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล

- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

                                                                                  - กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

คงเข้าใจตรงกันแล้วนะว่าภาษีเก็บกันตั้งแต่เกิดยันตายจริง ๆ แต่ยังสงสัยอยู่ว่าตอนตายหากไม่ได้ยื่นแบบฯ จะมีใครตามไปประเมินไหมหนอ อิ อิ ตอนนี้มาดูกันทีละเรื่องกันก่อนว่าใครเป็นใคร

บุคคลธรรมดา อันนี้คงไม่น่าจะมีประเด็น เพราะบุคคลธรรมดาจะเริ่มนับตั้งแต่คลอด และอยู่รอดออกมาจนเติบโต และชรา ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมาย และเมื่อภาษีกำหนดว่าบุคคลธรรมดาหากมีเงินได้ต้องเสียภาษีนั่นแปลว่าทุกผู้คนตั้งแต่เด็กอายุ 1 เดือน ยันผู้ใหญ่วัน 100 Up หากมีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดล้วนแล้วแต่ต้องเสียภาษีไม่มียกเว้น

คณะบุคคล อันนี้ล่ะงง มันคือใครมาจากไหน และมาอยู่ในบ้านเราตั้งแต่เมื่อไหร่...ต้องบอกว่าอย่าเพิ่งตกอกตกใจ เพราะคณะบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติ หรือทางภาษีเค้าเรียกว่าเป็น หน่วยภาษี ที่แยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา แต่เมื่อมีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา...งงมะ อิ อิ เพื่อให้กระจ่างแจ้งขออธิบาย ให้ชัดเจนว่าคณะบุคคลคือ

1. บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาทำกิจกรรมร่วมกันและก่อให้เกิดรายได้

2. วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ได้มุ่งในทางการค้าหากำไร

3. เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ต้องนำไปยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนาม คณะบุคคล

ห้างหุ้นส่วนสามัญ กรณีนี้จะคล้ายกับคณะบุคคล แต่จะแตกต่างกันตรงวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาทำกิจกรรมร่วมกันและก่อให้เกิดรายได้

2. วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมร่วมกัน มุ่งในทางการค้าหากำไร

3. เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ต้องนำไปยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนาม ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล

เรื่องบุคคลธรรมดาคงพอเข้าใจได้ แต่เรื่องคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ขอยกเมฆให้เห็นดังนี้

สมมตินะครับ สมมติ สมมติว่าผมเป็นเด็ก แฮ่เผลอทีไรนอกเรื่องทุกที สมมติว่า ก. และ ข. พี่น้องท้องเดียวกันลงทุนซื้อที่ดิน 1 แปลง โดยตั้งจะปลูกสร้างบ้านคนละหลังเพื่ออยู่อาศัยในบริเวณเดียวกัน แต่ยังไม่ทันได้สร้างมีอันต้องขายที่ดิน กรณีนี้จะถือได้ว่า ก. และ ข. ร่วมกันซื้อที่ดินและขายโดยไม่ได้มีเจตนาค้าหากำไร กรณีนี้การยื่นแบบฯ เสียภาษี จะต้องยื่นในนามคณะบุคคล ก. และ ข.

แต่หากเรื่องราวเปลี่ยนเป็น ก. และ ข. ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร ต่อมาเมื่อมีการขาย เรื่องราวจะเปลี่ยนเป็นว่า ก. และ ข. ร่วมกันซื้อที่ดินและขายโดยมีเจตนาค้าหากำไร กรณีนี้การยื่นแบบฯ เสียภาษี จะต้องยื่นในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ ก. และ ข.

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี มาว่ากันต่อเกี่ยวกับเรื่องคนตายไม่ได้เกิด เอ๊ยคนตายก็ต้องเสียภาษี กรณีนี้หมายความว่าหากผู้เสียชีวิตมีรายได้ในระหว่างปี จะต้องนำเงินได้ที่ได้รับในช่วงที่มีชีวิตอยู่มาเสียภาษีด้วย สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว คงเป็นเรื่องของทายาทที่ได้รับมรดกจะต้องนำไปเสียภาษีเอง

กองมรดกที่ยังไม่แบ่งหลังจากตายใช่ว่าจะหมดเรื่อง เพราะหากมีรายได้ก่อนตาย ตายไปแล้วต้องนำเสียภาษี พอหลังตายไปแล้วก็ใช่ว่าจะจบเรื่อง เพราะทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ หากทรัพย์นั้นตกเป็นของทายาทก็เป็นเรื่องของทายาทที่จะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นไปเสียภาษี แต่หากทรัพย์สินของผู้ตายยังไม่แบ่ง มันจะกลายเป็นกองมรดกที่อยู่ระหว่างจัดสรร คราวนี้หากทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดรายได้ มันจะกลายเป็นรายได้ของกองมรดกไป ซึ่งก็ต้องนำไปเสียภาษีในนามกองมรดก

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ขอหยิบเอาภาพมาอธิบายดังนี้

ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย

จากภาพแม้นาย ก. จะเสียชีวิตในเดือน ก.ย. แต่เมื่อวันปีใหม่เวียนมาบรรจบ ภายในเดือนมี.ค. ปีถัดไป นาย ก. มีหน้าที่ต้องมายื่นแบบฯ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนำเงินได้ที่ได้รับระหว่างมีชีวิตอยู่คือเดือน ม.ค. ก.ย. รวม 450,000 ไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ใครจะมารับแบบฯ จากนาย ก. ที่สำคัญหากนาย ก. ไม่มายื่นแบบฯ ใครล่ะจะตามไปประเมิน...อิ อิ

                หลายคนคงอมยิ้มแบบสะใจเพราะเชื่อว่าคุณสรรพ์คงจะไม่กล้าตามไปประเมินแน่น แต่ฟันธงตรงนี้เลยว่าคุณสรรพ์กล้าประเมินแน่ แต่คนที่ถูกประเมินหาใช่นาย ก. ไม่ แต่จะกลายเป็นทายาทผู้รับมรดก จะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบฯ และเสียภาษีแทน เรียกว่ารับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ บรรดาทายาททั้งหลายอย่าลืมล่ะกัน

                สำหรับเงินค่าเช่าที่ได้รับช่วงเดือนตุลาคม ธันวาคม เมื่อนาย ก. เสียชีวิตไปแล้ว จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนนี้ ลองขืนให้เสียทั้งที่ไม่ได้รับสิ...จะหลอกให้หลอนเลย อ้าวเมื่อนาย ก. ไม่ต้องเสีย แล้วใครจะเสีย ก็ต้องตอบว่า

- หากทรัพย์สินยังไม่มีการแบ่งให้กับทายาท กรณีนี้ก็ต้องนำไปยื่นเสียภาษีในนามกองมรดก โดยผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ยื่น

- หากทรัพย์สินแบ่งให้กับทายาทแล้ว ทายาทก็มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีในนามของทายาทที่ได้รับมรดกที่ก่อให้เกิดเงินได้

เค้าบอกว่าเหนือฟ้า...มีฟ้า แต่เหนือความตาย มีภาษีรออยู่....ถามว่าตายแล้วไปไหน คงพอจะตอบได้แล้วว่า ตายแล้วไป...ยื่นแบบฯ เสียภาษี อิ อิ จะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน

ด้วยรัก

บุญทิ้ง

ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย