พระยา เหิน พลอากาศเอก ส คือใคร

For continued access, and to utliise the full functionality available, you'll need to subscribe to a Trendsmap Pro subscription.

This account is already logged in to Trendsmap.

Your subscription allows access for one user. If you require access for more users, you can create additional subscriptions.

Please Contact us if you are interested in discussing discounts for 3+ users for your organisation, or have any other queries.

พระยา เหิน กันมั้ยล่ะพวกมึง !! พลอากาศเอก ส... ไปหาเสิร์จชื่อกันเอาเอง ไอ้ รบ คนที่ความดันขึ้นจนแอดมิด รพ คือคนที่ดูแลระบบให้ ธ ไทยพาณิชย์ และ พลเอก

♬ Let Me Down Slowly(抖音版) - 宇弟

รัชกาลที่ 10 ทรงไว้วางพระราชหฤทัย พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ (ขวาสุด) ให้รับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญ ๆ อย่างน้อย 6 ตำแหน่ง

พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล มีอายุครบ 73 ปี ในวันที่ 2 ม.ค. 2565 เขาเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารอาวุโสที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ 10 มาตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จนทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เลขาธิการพระราชวัง ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และยังเป็นผู้แทนพระองค์ในโอกาสต่าง ๆ

ทว่าชีวิตส่วนตัวของข้าราชบริพารรายนี้กลับไม่ปรากฏตามสื่อมากนัก ทราบเพียงว่าเขาเป็นพี่ชายของ พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รับตำแหน่ง 1 ต.ค. 2564) มีพื้นเพเป็นชาวเพชรบุรี โดย พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์เป็นลูกชายคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 5 คนในครอบครัว ส่วน พล.ต.ท. ต่อศักดิ์เป็นลูกชายคนสุดท้อง

"นิตยสารบรรดาเรา" ฉบับวันที่ 8 มี.ค. 2563 จัดทำโดยสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น "คนดีศรีสวนฯ ประจำปี 2563" ในฐานะศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบรุ่นที่ 82 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย อดีตรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

27 ก.พ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอด พล.ต.อ. จุมพล ออกจากยศตำรวจ หลังถูกดำเนินคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และไม่ถึง 2 สัปดาห์ต่อมา ศาลจังหวัดนครราชสีมาตัดสินลงโทษจำคุก 6 ปีแก่นายจุมพล ในความผิดฐานบุกรุกป่า สร้างบ้านในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา ร่วมกับ พล.ต.ต. พงษ์เดช พรหมมิจิตร อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ขณะที่นายจุมพล เป็นจำเลยที่ 2 แต่คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา พร้อมสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ที่บุกรุกป่า และชดใช้ค่าเสียหายให้กับทางราชการเป็นเงิน 892,000 บาท

หลายคนไม่ทราบว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในปี 2515

คณะกรรมการสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชุมมีมติคัดเลือกนักศึกษาเก่าฯ จากคณะต่าง ๆ ที่มีผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย เชิดชูยกย่องให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์เป็น 1 ใน 19 นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปี 2560 โดยเขาได้รับในสาขา "บริหารราชการ" เข้ารับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณฯ จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อาวุธ ศรีศุกรี รักษาการแทนอธิการบดี มช. ณ หอประชุม มช. เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561

ที่มาของภาพ, คณะการสื่อสารมวลชน มช.

นอกจากนี้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ศิษย์เก่าด้านสื่อสารมวลชน รหัสประจำตัว 121522 ยังได้รับการยกย่องจากคณะการสื่อสารมวลชน มอบรางวัลแก่ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2560 "ด้านความสำเร็จ ในอาชีพ/หน้าที่การงาน" ให้แก่เขาด้วย แต่เจ้าตัวไม่ได้มารับรางวัลทั้งของมหาวิทยาลัยและของคณะ

แม้ไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ได้เข้าอบรมหลักสูตรด้านการบินและกิจการของกองทัพอากาศอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ เป็นศิษย์การบินรุ่น น.54-16-3 โรงเรียนการบินกำแพงแสน และเข้าอบรมที่โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43 ตามมาด้วยโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29 และวิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27

ย้อนเส้นทางสู่การเป็นราชองครักษ์

ชื่อของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ปรากฏต่อสาธารณะบนระบบของเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาครั้งแรกเมื่อปี 2542 ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งพลอากาศตรี เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองค์รักษ์ โดยประกาศดังกล่าวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นราชองครักษ์ประจำ กรมราชองครักษ์ พร้อมเลื่อนยศเป็น พล.อ.ท. ด้วย เพื่อให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2542 โดยมีผู้รับสนองพระราชโองการคือ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

ที่มาของภาพ, ราชกิจจานุเบกษา

ต่อมาไม่ถึงสองปี ในวันที่ 24 เม.ย. 2544 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารให้แก่นายทหารสัญญาบัตร สังกัดกระทรวงกลาโหมจำนวน 7 นาย หนึ่งในรายชื่อนั้นคือ พล.อ.ท. สถิตย์พงษ์ ให้เลื่อนยศมาเป็น พล.อ.อ. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2544 โดยผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการคือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

ภายในปีเดียวกันนั้น ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 ก.ย. 2544 พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ปรากฏในตำแหน่ง "ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์" ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น "รองสมุหราชองครักษ์" ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการสนองพระเดชพระคุณจำนวน 7 นาย (แบ่งเป็นตำแหน่งรองสมุหราชองครักษ์ 6 นาย และเสนาธิการกรมราชองค์รักษ์อีก 1 นาย)

ที่มาของภาพ, สำนักพระราชวัง

ต่อมาในวันที่ 12 ม.ค. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานราชานุมัติปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและโอนข้าราชการ สังกัดกรมราชองครักษ์ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์สังกัดสำนักพระราชวัง เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายจำนวน 2 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักพระราชวังพิเศษ เทียบเท่าตำแหน่ง "รองเลขาธิการพระราชวัง" ราชการบริหารส่วนกลางและรับเงินเดือนอันดับ ท. 11 ซึ่งมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2548 เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ราชเลขานุการในพระองค์รัชทายาท

พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ เริ่มเป็นที่สนใจของสาธารณะและสื่อมวลชนมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2555 เมื่อมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสาระสำคัญคือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชาทานพระบรมราชานุมัติให้สำนักพระราชวังดำเนินการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลางที่ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ครองอยู่ เป็นตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูงราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลื่อนและแต่งตั้งให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นพิเศษเฉพาะราย

ที่มาของภาพ, เว็บไซต์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำบรรยายภาพ,

พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล

โดยตำแหน่งที่ได้รับใหม่คือ "ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร กำกับดูแล บังคับบัญชากองกิจการภายในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร กองงานพระวรชายาในพระองค์ และราชการในพระองค์ โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2554

ในขณะเดียวกันระหว่างปี 2552 - 2559 พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

ขึ้นสู่รัชกาลใหม่กับบทบาทใหม่

นับตั้งแต่ รัชกาลที่ 10 ขึ้นทรงราชย์เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 บทบาทที่ได้รับของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ต่อราชสำนักไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

เริ่มต้นในวันที่ 27 ม.ค. 2560 รัชกาลที่ 10 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ เป็นผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยอาศัยตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491

ที่มาของภาพ, กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำบรรยายภาพ,

พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะ ตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสถานพักพิงสัตว์ในพระราชานุเคราะห์ (ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์)

ในวันที่ 6 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ทั้งหมด 10 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ซึ่งได้รับตำแหน่งสำคัญที่สุดคือ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1 และเป็นประธานข้าราชบริพารในพระองค์ โดยตำแหน่งก่อนหน้านั้นที่เขาได้รับคือ รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายบริหารนโยบายและปฏิบัติการ

ที่มาของภาพ, ราชกิจจานุเบกษา

หนึ่งเดือนถัดมาเมื่อ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 16 ก.ค. 2560 เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนให้ประธานมาจากบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งได้ จากเดิมที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง และการควบรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยไม่มีการแบ่งแยกแล้ว

ในวันที่ 17 ก.ค. รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ชุดใหม่ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 8 ราย มี พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ เป็นประธาน โดยหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้คือควบคุมดูแลการดำเนินการของ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใด อันเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์

ต่อมา ในเดือน ต.ค. ปีเดียวกัน พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ พร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า โดยเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

ดูแลกิจการในพระองค์แบบครบวงจร

ย่างเข้าสู่ปี 2661 ซึ่งถือเป็นปีที่ 3 ของรัชกาลที่ 10 พลอากาศเอกรายนี้กลับได้รับบทบาทและหน้าที่สำคัญ ๆ มากยิ่งขึ้น โดยในวันที่ 11 มี.ค. 2561 เขาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง" และ "ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แทนนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา.ซึ่งพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว หลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีก่อนหน้านี้

คำบรรยายภาพ,

หลังจากพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 พ.ย. 2561 "สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" เปลี่ยนชื่อมาเป็น "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"

จากข้อมูลที่ปรากฏ รัชกาลที่ 10 ทรงไว้วางพระราชหฤทัย พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ให้รับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญ ๆ อย่างน้อย 6 ตำแหน่ง ประกอบด้วย

1.ประธานข้าราชบริพารในพระองค์

4.ผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์

5.ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

6.ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์

นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสหลังถูกออกหมายจับตามความผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ได้ตั้งข้อสังเกตต่อการได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังกล่าวของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ผ่านเฟซบุ๊ก Somsak Jeamteerasakul เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 ว่า "เป็นอะไรที่รัชกาลที่แล้ว ไม่เคยทำมาก่อน"

ที่มาของภาพ, เว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์

นอกเหนือจากตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังกล่าวแล้ว ในฐานะผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมอีกรวมกว่า 10 แห่ง โดยเริ่มดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย

1.ประธานกรรมการและกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 33.64%

2.กรรมการ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์ รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 23.38%

3.ประธานกรรมการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 96.68%

4.ประธานกรรมการ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ธุรกิจด้านการลงทุนในเครือของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

5.ประธานกรรมการ บริษัท บ้านบึงเวชกิจ จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานพยาบาล

6.ประธานกรรมการ บริษัท ศรีพัฒน์ จำกัด ดำเนินกิจการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

คำบรรยายภาพ,

บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย เป็นกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

7.ประธานกรรมการ บริษัท ศรีธรณี จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย

8.ประธานกรรมการ บริษัทสยามสินธร จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย

9.ประธานกรรมการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอื่น ๆ

10.ประธานกรรมการ บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด จัดจำหน่ายและส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ให้กับ บริษัท สยามไบโอไซแอนซ์ จำกัด

11.ประธานกรรมการ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

12.รองประธานกรรมการ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ

ที่มาของภาพ, บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

คำบรรยายภาพ,

พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ประธานกรรมการบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นตัวแทนส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก ต่อนายเจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อ 2 มิ.ย. 2564

พลอากาศเอกพระยาเหินคือใคร

พลอากาศเอก​ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2492) เป็นนายทหารอากาศไทย ราชเลขานุการในพระองค์ เลขาธิการพระราชวัง ผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ประธานกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. และเป็นประธาน รองประธาน และกรรมการในองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมที่ถือหุ้นโดยพระบาทสมเด็จพระวชิร ...

พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์คือใคร

พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล (อายุ 72 ปี) ตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ใครคือเลขาธิการราชวัง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศ แต่งตั้ง พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ท่านใดคือผู้ให้กำเนิดการบินทหาร

เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565. พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (พ.ศ. 2430-2495) เกิดที่ตำบาลบ้านไร่ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี นักบินคนแรกของประเทศ และเป็นผู้วางรากฐานให้เกิดกองทัพอากาศ จากหน่วยงานการบินเล็ก