พระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าคือใคร

อัครสาวก (๑) (๑๐ เมษายน ๒๕๕๗)

อัครสาวก (๑)

          อัครสาวก (อ่านว่า อัก-คฺระ-สา-วก) เป็นคำสมาสมาจากคำว่า “อัคร” ซึ่งมาจากคำสันสกฤตว่า อคฺร (อ่านว่า อัก-คฺระ) แปลว่า เลิศ ยอด มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำ กับคำว่า “สาวก” ซึ่งมาจากคำภาษาบาลีว่า สาวก (อ่านว่า สา-วะ- กะ) แปลว่า ผู้ฟัง หมายถึง ศิษย์ของพระศาสดา. อัครสาวก จึงหมายถึงยอดแห่งศิษย์ของพระศาสดา เรียกว่า พระอัครสาวก

          พระอัครสาวกของพระสมณโคดมหรือพระพุทธเจ้าในปัจจุบันได้แก่ พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศทางปัญญา และพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศทางอิทธิปาฏิหาริย์. ส่วนพระอัครสาวกผู้หญิง เรียกว่า พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี พระอัครสาวิกาเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศทางปัญญา และพระอุบลวัณณาเถรี พระอัครสาวิกาเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศทางอิทธิปาฏิหาริย์

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ

เมื่อบวชแล้ว พระอุปติสสะได้นามใหม่ว่า พระสารีบุตร ส่วนพระโกลิตตะได้นามใหม่ว่า พระโมคคัลลานะ และด้วยเป็นผู้มีบารมีญาณและภูมิปัญญาสูง พระอัครสาวกทั้งสองจึงมิได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมเหล่าบริวาร

หลังจากบวชแล้ว ๗ วัน พระโมคคัลลานะได้รับพุทโธวาทจึงบรรลุพระอรหันต์ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคามแห่งแคว้นมคธ ส่วนพระสารีบุตรนั้นหลังจากบวชแล้ว ๑๕ วัน ได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาจึงบรรลุพระอรหันต์ ในยามเช้าแห่งวันมาฆปุรณมีดิถีพระจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์ ณ ถ้ำสุกรขาตาข้างภูเขาคิชฌกูฏ แขวงเมืองราชคฤห์

พระสารีบุตรนั้นได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ คือ เลิศกว่าผู้อื่น ในด้านเป็นผู้มีปัญญามาก สามารถแสดงอริยสัจได้เท่าเทียมกับพระศาสดา ทั้งยังได้รับการยกย่องเป็นพระธรรมเสนาบดีพระอัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะในด้านมีปัญญามาก คือ เป็นแม่ทัพฝ่ายธรรม เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระศาสนา เมื่อภิกษุมาทูลลาพระศาสดา พระองค์จะตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน และท่านเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในด้านความกตัญญู ด้วยท่านถือว่าพระอัสสชิเถระเป็นผู้ให้ความสว่างเป็นคนแรกเมื่อทราบว่าพระอัสสชิอยู่ ณ ทิศใด ในเวลาจำวัด (นอน) ท่านต้องหันศีรษะไปทางทิศนั้นเสมอ และแม้ราธพราหมณ์ซึ่งเคยตักบาตร พระสารีบุตรเพียงทัพพีเดียวท่านก็จดจำได้และเป็นผู้สงเคราะห์ให้ราธพราหมณ์ได้บวชในพระพุทธศาสนา

ส่วนพระโมคคัลลานะนั้นได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะพระอัครสาวกเบื้องซ้าย ในด้านมีฤทธิ์ คือ มีความเป็นเลิศในหลายด้านโดยเฉพาะด้าน มโนมยิทธิ คือ มีฤทธิ์ทางใจ อีกทั้งเป็นผู้มีความรู้ในการก่อสร้างพระบรมศาสดามอบให้เป็นผู้อำนวยการควบคุมงานก่อสร้างวัดบุพพารามมหาวิหารและโลหะปราสาทที่นางวิสาขาสร้างถวาย ณ เมืองสาวัตถีอันเป็นวัดที่พระบรมศาสดาเสด็จไปประทับอยู่ ๖ พรรษา ท่านได้รับการยกย่องเป็นพระธรรมเสนาบดีและเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย คู่กับพระสารีบุตรผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีและอัครสาวกเบื้องขวา

จำนวนพระสาวกในช่วง ๙ เดือนแรกที่ทรงประกาศพระศาสนา คือ นับตั้งแต่วันวิสาขบูชา หรือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๖ จนถึง วันมาฆบูชา หรือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๓ มีพระอรหันต์สาวกจำนวน ๑,๓๔๕ รูปดังนี้

  1. ๑. พระปัญจวัคคีย์ จำนวน ๕ รูป
  2. ๒. พระยสะและสหาย จำนวน ๕๕ รูป
  3. ๓. พระภัททวัคคีย์ จำนวน ๓๐ รูป
  4. ๔. พระภิกษุที่เคยเป็นชฎิล จำนวน ๑,๐๐๓ รูป
  5. ๕. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมบริวาร จำนวน ๒๕๒ รูป

รวม ๑,๓๔๕ รูป

ขอบคุณประวัติความเป็นมา จาก www.phuttha.com

บรรยายสังเขป คำว่า “อัครสาวก”

อัครสาวก นับเนื่องเป็นคำตั้งบทนำที่มีไว้แก่ลูกคำ ในบทที่มีความต่างกันเมื่อสนธิแล้ว ได้จากคำว่า อัคร- นั้น ซึ่งหมายถึง ที่เป็นเลิศหรือเป็นยอด จึงเรียกว่า อัคระ แต่ที่มีชื่อมากและกล่าวขนานนามในอรรถะบรรยาย เกี่ยวกับตำนานสาวกและสาวิกาในศาสนามาเป็นอาทิ ตรงสำคัญที่ถูกต้องที่สุดคือ หมายถึง อัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา ในที่ ภิกษุ และภิกษุณี รวมเป็น ๔ รูป แต่ทั้งหมดทั้งนั้นโดยปริยายหมายถึง พระมหาสาวกสาวิกาในพระนราสภพุทธเจ้าอันเป็นเอตทัคคะ และพระสาวกในที่เป็นพระอสีติก็ปรากฏว่าควรเรียก ด้วยนาม อัคร- คือตลอดพระสาวกผู้ที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าในเหตุการณ์สำคัญต่างๆในสมะยพุทธกาลทั้งหมด ก็ถูกรวมเรียกในที่ๆเป็นอัครธรรม ถูกรวมเรียกโดยนัยบรรยายเป็นปริยายเดียว ว่า คือเป็นอัคระ คืออัครสาวก ดังที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก แต่ที่เรียกในทางศาสนาพุทธนั้น ส่วนใหญ่ในหลักสำคัญแล้วหมายถึง พระโมคคัลลา และพระสารีบุตร พระอัครมหาสาวก ว่าเป็นพระอัครสาวก

ส่วนคำว่า อัครสาวก ในที่อื่นๆอีก โดยมากแล้ว หมายถึง พระอัครทูต ๑๒ พระองค์ ซึ่งเป็นนักบุญผู้ประทานกิจการแห่งคริสตจักรในนามขององค์ศาสดาเยซู ในศาสนาคริสต์ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว คำวิเศษนามว่า อัคร- นั้นใช้แก่ทุกเรื่องราว เช่นในที่เสนาบดีสำคัญที่เก่ง มีสามารถ ก็เรียกว่า อัครเสนาบดี หรือมีความเป็นใหญ่ เป็นที่สุดในที่พระชายา ก็ใช้คำว่า อัคร- เรียกว่า อัครชายาเป็นต้น ความดีเลิศในคุณลักษณะที่ดีเรียกว่า อัครฐาน

ฉะนั้นเหตุการณ์ เรื่องราว ตลอดบุคคลที่ตามประกอบอยู่นั้น หากกล่าวมีศักดิ์ศรี มีเกียรติยศเป็นพิเศษแล้ว ก็อาจถูกเรียกว่าเป็นองค์เอก เป็นอัครบุคคลด้วยนามนั้นๆได้ทั้งหมด

แก้ความกำกวมนั้นกำหนด ชื่อบทความ การสรา้งบทความให้ได้ชื่อตรงกับบทความจริงๆ ก็จึงต้องยากและกำกวมไปด้วย ซึ่งต้องฝ่าฟันมากเพื่อลดข้อขัดข้องในความไม่ประจวบเหมาะนี้ จึงจะได้บทความที่มีตัวบทพอดีตรงกับชื่อ

คำว่า อัคร,อัคร- พอที่จะเก็บคำ ในที่แผนกพจนานุกรม ก็ย่อมได้ไม่มีปัญหา ประกอบลูกคำอื่นๆต่อ ย่อมบันทึกและประกอบด้วยได้อีกมาก แต่! แต่หากกำหนดคำว่า อัครสาวก ให้เป็นชื่อบทความต้องมาสร้างแล้ว ก็เหมือนดูจะทำไม่ได้ เพราะแต่ละศาสนาใช้คำว่า อัครสาวก นี้ ถึงเรื่องศาสนาของตนแต่อย่างเดียว แต่โดยมาก ชื่อบทความด้วยชื่อนี้ จึงเป็นบทความที่สร้างได้ยาก และยังคงเป็นบทความที่ขาดหาย ถึงแม้ถ้าหากใช้หน้าเปลี่ยนทางต่างๆมากแล้ว แต่ก็จะต้องตั้งบทแก้ความกำกวมไว้ด้วย

พระนาม พระอัครสาวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า [1]
ลำดับพระนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับแต่อดีตพระนาม พระอัครสาวก (คู่ ซ้าย-ขวา)
๑. พระพุทธเจ้าวิปัสสี พระติสสะ และพระขัณฑะ
๒. พระพุทธเจ้าสิขี พระสัมภวะ และพระอภิภู
๓. พระพุทธเจ้าเวสสภู พระอุตตระ และพระโสณะ
๔. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระสัญชีวะ และพระวิธูระ
๕. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระอุตตระ และภิยโยสะ
๖. พระพุทธเจ้ากัสสปะ พระภารทวาชะ และพระติสสะ
๗. พระพุทธเจ้าโคตมะ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร

หมายเหตุ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. พระพุทธเจ้ามีมากนับจำนวนไม่ถ้วน ในที่นี้ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างใน ๗ พระองค์จวบถึงพุทธกาลพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน