ขณะอยู่ในยานอวกาศ

นักบินอวกาศ


ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะที่ไร้แรงโน้มถ่วงของโลกและไร้น้ำหนักบนอวกาศของนักบินอวกาศนั้นมีความเสี่ยงแค่ไหน การที่นักบินอวกาศซึ่งจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในสถานีอวกาศเป็นเวลานาน ภายใต้สภาพสภาวะอากาศที่ไม่ปกติเหล่านั้น นักบินอวกาศนั้นอาจต้องเชิญกับปัญหาสุขภาพหลายอย่างหลายอาการด้วยกัมมาดูกันว่าปัญหาสุขภาพของนักบินอวกาศมีอะไรบ้าง

ขณะอยู่ในยานอวกาศ

ภาพ นักบินอวกาศ
ที่มา https://pixabay.com/ , skeeze

ไข้อากาศ (space fever)  

          จากรายงานการเก็บข้อมูลสุขภาพของนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศเป็นระยะเวลานาน ประมาณ 6 เดือน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่พวกเขาเรียกมันว่า ไข้อากาศ ซึ่งมีการคาดเดาว่าไข้อากาศอาจเกิดจากการที่เหงื่อนั้นออกยากขึ้น ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงและร่างกายตีความสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง และการได้รับรังสีในอวกาศนี้เป็นการติดเชื้อ ก็เลยมีกลไกทางร่างกายปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่ากว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์ที่ควรจะเป็นอยู่ประมาณ 1 องศาเซลเซียส

          ทั้งนี้การที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นก็อาจทำให้เกิดอาการ heat stroke  และหากอุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไปจะทำให้เกิดอาการ hypothermia  ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้เป็นอย่างมาก

มวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว และมีความอ่อนแรงอย่างรวดเร็ว

          ในสภาวะบนโลกที่แรงโน้มถ่วงกล้ามเนื้อจะมีความแข็งแรง เพื่อต้านทานแรงโน้มถ่วง แต่เมื่ออยู่ในอวกาศ มวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกจะลดลง เพราะไม่ต้องใช้แรงต้านทานกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อเนื้ออ่อนแรงลงเนื่องจากไม่ได้ใช้แรง และมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกก็จะลดลงตามไปด้วย จึงเป็นเหตุผลจำเป็นที่นักบิวอวกาศจะต้องออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและกระดูกให้ได้มีการใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ใบหน้าบวม

          น้ำเป็นของเหลว เมื่ออยู่ในร่างกายในสภาวะปกติ น้ำจะถูกดึงไปอยู่ช่วงล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก แต่ในขณะที่อยู่บนอวกาศน้ำจะลอยตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่บริเวณใบหน้ามากว่าปกติ ในขณะเดียวกันช่วงล่างของร่างกายก็จะดูเรียวเล็กลง

ปัญหาสายตา

          มีรายงานวิจัยพบว่า นักบินอวกาศส่วนใหญ่มีปัญหาสายตาที่เกี่ยวกับเส้นประสาทการมองเห็นที่บวมกว่าปกติ ซึ่งก็ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัด

ภูมิต้านทานลดลง

          ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น รังสี ความเครียด อาหาร และการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้นักบิวอวกาศเจ็บป่วยได้ง่ายจากสภาพร่างกายที่มีภูมิต้านทานลดลง

มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

          ในสภาะวะที่ไร้น้ำหนักนักบิวอวกาศจะมีการนอนที่ทำให้ร่างกายของพวกเขาพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากจำนวนชั่วโมงการนอนที่น้อยลง การควบคุมร่างกายขณะนอนหลับ ล้วนมีปัญหาทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่

เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย

          เนื่องด้วยการใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศต้องได้รับรังสีต่าง ๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผิวหนังและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง และโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ทั้งนี้ยังขาดวิตามินชนิดต่าง ๆ เนื่องจากไม่ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือขาดสารอาหารจากอาหารการกินที่มีข้อจำกัด

ปัญหาสุขภาพจิต

          จากปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนสร้างปัญหาและผลเสียโดยตรงกับนักบินอวกาศ อีกทั้งยังต้องอาศัยชีวิตในสภาพสภาวะที่ไม่ปกติ ขาดความสะดวกสบายในหลาย ๆ อย่าง จึงเป็นผลทำให้เกิดภาวะเครียดและมีสุขภาพจิตแย่ลงได้

          เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ง่ายเลยใช่ไหมสำหรับการใช้ชีวิตบนอวกาศ ทั้งนี้ก็ต้องปรบมือให้กับนักบินอวกาศทุกท่านที่เสียสละความสุข ความสะดวกสบายหลาย ๆ อย่าง เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมายที่ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ให้กับคนที่อยู่บนโลกอย่างพวกเรา

แหล่งที่มา

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2560, 22 ธันวาคม). ไข้อวกาศ : อาการที่เกิดขึ้นจากการอยู่ในอวกาศนาน ๆ . สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/3454-space-fever

ร่างกายมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรหากใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศ . สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก https://www.workpointtv.com/news-and-events/44035/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

นักบินอวกาศ, ไข้อากาศ (space fever)

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันพฤหัสบดี, 02 สิงหาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม