ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ป่าชายเลน (mangrove forest) เป็นระบบนิเวศในแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับน้ำทะเลในเขตร้อน (tropical) และกึ่งร้อน (subtropical) ประกอบด้วยสังคมพืชและสัตว์หลากชนิดดำรงชีวิตร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมเงื่อนไขที่ต้องเป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ป่าชายเลนจึงพบได้ในบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ และรอบเกาะแก่งต่าง ๆ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ป่าชายเลนอาจเรียกว่า “ป่าโกงกาง” ได้อีกชื่อหนึ่ง ตามพันธุ์ไม้โกงกางที่พบเป็นจำนวนมากนั่นเอง

          ในระบบนิเวศป่าชายเลน สิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างซับซ้อน ทั้งในแง่การหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน แต่สามารถอธิบายง่ายๆ ได้ว่าเมื่อผู้ผลิต คือ พืช เติบโตขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง จะมีส่วนของใบไม้ กิ่งไม้และเศษไม้ ที่ร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน จะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลาย ได้แก่ รา แบคทีเรีย โปรโตซัวชนิดต่าง ๆ  กลายเป็นอินทรียวัตถุ และในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุกลับคืนสู่ระบบนิเวศ บางส่วนถูกบริโภคโดยกลุ่มกินอินทรียสาร เช่น แพลงก์ตอนพืช ที่ต่อไปจะกลายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์น้ำเล็กๆ ที่จะถูกบริโภคต่อไปอีก เป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลา ขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ หรือบางส่วนก็จะตายและถูกย่อยสลายกลับเป็นธาตุอาหารสะสมอยู่ในป่านั่นเอง ธาตุอาหารและอินทรียสารบางส่วนถูกพัดพาออกไปสู่ท้องน้ำ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเลภายนอก ป่าชายเลนจึงเป็นระบบนิเวศที่มีความเฉพาะตัวและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของชายฝั่งทะเล นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ดังนี้

1) ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงานและแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยในครัวเรือน
          ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางสามารถนำมาเผาถ่านซึ่งให้ถ่านที่มีคุณภาพดีเพราะให้ความร้อนสูงและไม่แตกสะเก็ด นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ไม้ป่าชายเลนในรูปของไม้ฟืนเพื่อการหุงต้มในชีวิตประจำวันของประชาชนที่อาศัยบริเวณป่าชายเลนและใกล้เคียง อีกทั้งไม้จากป่าชายเลนหลายชนิดสามารถใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างและใช้สอยด้วย เช่น ทำเสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์การประมง เปลือกของไม้ป่าชายเลนบางชนิดสามารถนำมาสกัดสารแทนนิน ใช้ในการย้อมแหอวน ทำน้ำหมึก ทำสี ทำกาว และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น

2) ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร
          พืชป่าชายเลน ในที่นี้หมายถึงพืชหรือพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้นที่อยู่ในป่าชายเลนและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ในแต่ละฤดูกาลชาวบ้านในท้องถิ่นบริเวณชายฝั่งต่างก็มีประสบการณ์และเรียนรู้ในการนำพืชป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ทั้งเป็นอาหารและพืชสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบ ดอก ผล หน่อ หัว เหง้าราก และเปลือกลำต้น ซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจของพืชป่าชายเลนคือเป็นทรัพยากรในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายขึ้นเองตามธรรมชาติและให้ผลผลิตได้ทุกฤดูกาล พืชในป่าชายเลนที่สามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านได้นั้นมีอยู่หลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผักเบี้ยทะเล ถั่วขาว จาก ถอบแถบน้ำปรงหนู ลำพู ลำแพน สาหร่ายสาย เป็นต้น

          พืชในป่าชายเลนหลายชนิดมีสรรพคุณทางยา ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วง รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน ขลู่ใช้ต้มดื่มบรรเทาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและแก้อาการปวดเมื่อย เป็นต้น

3) ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัย หลบภัย และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนานาชนิด
          ที่ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะตัวอ่อนของปู กุ้ง หอยซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหาร  ทั้งนี้ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะปลาหลายชนิดที่เป็นที่นิยมในการบริโภค ปลาทะเลหลายชนิดวางไข่ในป่าชายเลนและอาศัยเจริญเติบโตในระยะแรก เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วจึงออกสู่ทะเล และหลายชนิดที่แม้จะวางไข่ในทะเลแต่ตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายสู่ป่าชายเลนเพื่ออาศัยหลบซ่อนศัตรูและหาอาหาร สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลาเก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง ปูแสม ปูม้า และปูทะเล ล้วนแล้วแต่มีวงจรชีวิตบางส่วนที่ต้องเข้ามาอาศัยในป่าชายเลนทั้งสิ้น

4) ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียง
          โดยเฉพาะระบบนิเวศหญ้าทะเลและปะการัง โดยมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่ง ซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ป่าชายเลนยังช่วยกักเก็บตะกอนดิน มิให้ลงไปทับถมและเกิดความเสียหายในแนวปะการัง

5) ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินชายฝั่งพังทลาย
          รากของต้นไม้ในป่าชายเลนซึ่งสานกันแน่นหนาจะช่วยบรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการพังทะลายและกัดเซาะของดินชายฝั่ง ยังทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานานก็จะขยายออกไปในทะเล เกิดเป็นหาดเลนอันเหมาะสมแก่การเกิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป

6) ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
          รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาอยู่เหนือพื้นดินทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ ที่คอยดักกรองสิ่งปฏิกูลและสารพิษต่าง ๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิดเมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลนนอกจากนั้นขยะและคราบน้ำมันต่าง ๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนด้วยเช่นกัน

7) ป่าชายเลนเป็นฉากกำบังภัยธรรมชาติที่ช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่ง
          โดยทำหน้าที่เหมือนปราการช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลดน้อยลงก่อนจะขึ้นฝั่ง มิให้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงป่าชายเลนยังถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำเพราะมีอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของซากพืช (กิ่ง ก้าน ดอกและผล) หรือเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นซึ่งอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายมีปริมาณโปรตีนสูง เช่น กรดอะมิโน ก็จะเป็นอาหารคืนสู่ระบบนิเวศป่าชายเลนต่อไป

8) ป่าชายเลนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ
          ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดที่มีใบดอกและผลสวยงามแปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก โดยเฉพาะนกชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันหลากหลายชนิดทำให้ป่าชายเลนเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาหาความรู้ และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่อไป

9) ป่าชายเลนช่วยลดภาวะโลกร้อน
          ป่าชายเลนถือว่าเป็นแหล่งที่มีการสะสมของคาร์บอนสูงมาก และต้นไม้ป่าชายเลนหลายชนิดมีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงกว่าป่าประเภทอื่น อีกทั้งยังเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศเป็นปริมาณที่มากอีกด้วย

สถานภาพทรัพยากรป่าชายเลน (State)
          จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. จำนวน 101,158.78 ไร่ เนื้อที่ป่าชายเลนคงสภาพ จำนวน 42,951.40 ไร่ โดยอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ 13 ตำบล ได้แก่ อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอปากพนัง และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

พื้นที่ป่าชายเลนรายตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการสำรวจความหลากหลายของสังคมพืช และสัตว์ในป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช ท้องที่ตำบลปากนคร ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา ตำบลแหลมตะลุมพุก และตำบลปากพนังตะวันออก อำเภอปากพนัง พบว่าพื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความหลากหลาย ดังนี้

ความหลากหลายของสังคมพืชในป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช
          
พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งสิ้น 8 วงศ์ (Families) 12 สกุล (Genus) 20 ชนิด (Species) ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ตาตุ่มทะเล ถั่วขาว ปรงทะเล ปอทะเล เป้งทะเล โปรงขาว โปรงแดง ฝาดดอกขาว ฝาดดอกแดง พังกาหัวสุมดอกขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โพทะเล ลำพู ลำแพน แสมขาว แสมดำ แสมทะเล หงอนไก่ทะเล มีความหนาแน่นรวมของต้นไม้เท่ากับ 198 ต้นต่อไร่ พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Acanthaceae ชนิดที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ แสมทะเล (Avicennia marina) มีความหนาแน่นประมาณ 39 ต้นต่อไร่ รองลงมา คือ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) และโกงกางใบเล็ก (R. apiculata) มีความหนาแน่นเท่ากับ 37 และ 28 ต้นต่อไร่ ตามลำดับ ความโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับอกเฉลี่ย (DBH) เท่ากับ 9.56 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย (H) เท่ากับ 7.68 เมตร โดยค่าดัชนีความสำคัญ (Important Value Index ; IVI) สูงที่สุด คือ โกงกางใบเล็ก มีค่าเท่ากับ 66.29 รองลงมา คือ แสมขาวและแสมทะเล มีค่าเท่ากับ 44.42 และ 44.07 ตามลำดับ ค่าดัชนีความความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Shannon-Wiener diversity index ; H’) เท่ากับ 2.101 ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ของมาร์กาเรฟ (Margalef’s index ; d) เท่ากับ 1.686 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (Pielou’sevenness ; J’) เท่ากับ 0.727

ผลผลิตมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช
          
จากการประเมินพบว่า มีมวลชีวภาพทั้งหมดเท่ากับ 29.923 ตันต่อไร่ โดยแบ่งเป็น มวลชีวภาพเหนือดิน 15.890 ตันต่อไร่ และมวลชีวภาพใต้ดิน 14.033 ตันต่อไร่ มวลชีวภาพเหนือดินทั้งหมด พบว่า มีมวลชีวภาพลำต้นมากที่สุด 8.814 ตันต่อไร่ รองลงมาคือ มวลชีวภาพกิ่ง 4.485 ตันต่อไร่ มวลชีวภาพรากเหนือพื้นดิน 1.800 ตันต่อไร่ และมวลชีวภาพใบ 0.792 ตันต่อไร่ ตามลำดับ โดยโกงกางใบเล็ก เป็นชนิดพันธุ์ที่มีมวลชีวภาพมากที่สุดเท่ากับ 6.604 ตันต่อไร่ รองลงมาคือ แสมขาวและโกงกางใบใหญ่ มีมวลชีวภาพเท่ากับ 3.617 และ 1.651 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับมวลชีวภาพใต้ดินพบว่า มีการกระจายอยู่ในชั้นดินที่ความลึกต่างๆ โดยสะสมอยู่ในชั้นดินที่มีความลึก 0-10 เซนติเมตร มากที่สุดเท่ากับ 3.268 ตันต่อไร่ รองลงมาอยู่ที่ชั้นความลึก 10-20, 20-30 และ 30-40 เซนติเมตร มีมวลชีวภาพเท่ากับ 2.257, 1.831 และ 1.521 นต่อไร่ ตามลำดับ และเมื่อแบ่งตามขนาดรากพบว่า รากขนาดมากกว่า 10 มิลลิเมตร มีมวลชีวภาพมากที่สุดเท่ากับ 5.534 ตันต่อไร่ รองลงมาคือ รากขนาด 0-5 และ 5-10 มิลลิเมตร มีมวลชีวภาพเท่ากับ 4.565 และ 3.934 ตันต่อไร่ ตามลำดับ

          การสะสมคาร์บอนในป่าชายเลน พบว่า คาร์บอนที่สะสมอยู่ในมวลชีวภาพ (ในรูปสารประกอบคาร์บอน) รวมเฉลี่ยเท่ากับ 14.065 ตันต่อไร่ โดยแบ่งเป็น คาร์บอนที่สะสมอยู่ในมวลชีวภาพเหนือดินเท่ากับ 7.469 ตันต่อไร่ และคาร์บอนที่สะสมอยู่ในมวลชีวภาพใต้ดินเท่ากับ 6.596 ตันต่อไร่ คาร์บอนที่สะสมอยู่ในมวลชีวภาพเหนือดินสะสมอยู่ในลำต้นมากที่สุด 4.143 ตันต่อไร่ รองลงมาคือ สะสมอยู่ในกิ่ง 2.108 ตันต่อไร่ สะสมอยูในรากเหนือพื้นดิน 0.846 ตันต่อไร่ และสะสมอยู่ในใบ 0.372 ตันต่อไร่ ตามลำดับ และเมื่อนำมาประเมินร่วมกับพื้นที่ป่าชายเลน พบว่า ป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 1.138 ล้านตันคาร์บอน

ความหลากหลายของแมลงและนกในป่าชายเลน
          
ในพื้นที่ป่าชายเลนตำบลท่าซักและตำบลท่าไร่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบแมลงจำนวน 7 อันดับ 34 วงศ์ 50 ชนิด ได้แก่ 1) แมลงที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) เช่น มวนดอกไม้ (Anthocoridae sp.) เพลี้ยจักจั่นแดง (Cicadellidae sp.) และเพลี้ยกระโดด (Delphacidae sp.)  เป็นต้น 2) แมลงกินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivor)  เช่น แมลงปอบ้านใหม่เฉียง (Neurothemis  fluctuans) แมลงปอบ้านเสือเขียว  (Orthetrum sabina) และแมลงปอบ้านใต้ผู้ม่วง (Trithemis  aurora) เป็นต้น  3) แมลงที่ช่วยผสมเกสร (Pollinator) เช่น ผีเสื้อฟ้าหิ่งห้อยสีจาง (Euchrysops cnejus) ผีเสื้อลายเสือขีดขาว (Danaus melanippus) และผีเสื้อหนอนมะนาว (Papilio demoleus) เป็นต้น จากการสำรวจครั้งนี้พบแมลงที่อยู่ในสถานภาพการอนุรักษ์ตาม IUCN Red List (2016) แต่อยู่ในระดับ Least concern (LC) คือ ระดับกังวลน้อย ได้แก่ แมลงปอเข็มก้นแต้มธรรมดา (Ischnura senegalensis) แมลงปอบ้านบ่อ (Crocothemis servilia) แมลงปอบ้านฟ้าเขียว (Diplacodes trivialis) แมลงปอบ้านปีกกว้าง (Pantala flavescens) แมลงปอบ้านใหม่เฉียง แมลงปอบ้านเสือเขียว และแมลงปอบ้านใต้ผู้ม่วง พันธุ์ไม้และลักษณะโครงสร้างป่าชายเลน

          นกที่พบมี 12 อันดับ 22 วงศ์ 37 ชนิด ที่พบมากที่สุดได้แก่ นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกยางเปีย (Egertta garzetta) นกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) ตามลำดับ พบนกที่อยู่ในกลุ่มใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) ตาม IUCN Red list ได้แก่ นางนวลแกลบเล็ก (Sternula albifrons)

ความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ในป่าชายเลน
          
สำรวจบริเวณพื้นที่ตำบลขนอม ท้องเนียน และควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช พบจำนวนทั้งสิ้น 6 วงศ์ 15 สกุล 20 ชนิด  ได้แก่ เห็ดขอนแดงรูเล็ก/เห็ดหิ้งสีส้ม (Pycnoporus sanguineus), (Marasmius sp.), (Hymenochaete sp.), (Inonotus sp.), (Phellinus sp.), (Ganoderma sp.), (Coriolopsis sp.), (Fomes sp.), (Hexagonia sp.), (Polyporus sp.), (Trametes sp.), และ (Stereum sp.) เป็นต้น

ความหลากหลายของสัตว์น้ำเศรษฐกิจในป่าชายเลน
          
ตำบลขนอม อำเภอขนอม และตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบสัตว์น้ำเศรษฐกิจทั้งหมด 17 วงศ์ 22 ชนิด จำแนกเป็นกลุ่มปลา (Chordata) 14 วงศ์ 16 ชนิด กลุ่มกุ้ง/ปู (Crustacean) 3 วงศ์ 6 ชนิด โดยวงศ์ที่พบจำนวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Portunidae (วงศ์ปู) พบ 3 ชนิด ได้แก่ ปูทะเล ปูม้า และปูหิน รองลงมาคือ วงศ์ Carangidae (วงศ์ปลาหางแข็ง) พบ 2 ชนิด ได้แก่ ปลากะมงพร้าวและปลาหางกิ่ว วงศ์ Sciaenidae ได้แก่ ปลาจวด ปลาม้า วงศ์ Penaeidae ได้แก่ กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย ส่วนวงศ์ที่เหลือ พบอย่างละ 1 ชนิด เช่น วงศ์ Mugilidae (วงศ์ปลากระบอก) ได้แก่ ปลากระบอก วงศ์ Serranidae (วงศ์ปลาเก๋า) ได้แก่ ปลาเก๋า และวงศ์ Tetraodontidae (วงศ์ปลาปักเป้า) ได้แก่ ปลาปักเป้า เป็นต้น

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่พื้นป่าชายเลน
          
ในบริเวณอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา และอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบทั้งหมด 12 วงศ์ 14 สกุล 18 ชนิด มีความหนาแน่นรวมเท่ากับ 117.75 ตัวต่อตารางเมตร ชนิดที่พบมากที่สุด หอยถั่วแดง มีความหนาแน่นเท่ากับ 65.30 ตัวต่อตารางเมตร รองลงมาคือ หอยขี้นก มีความหนาแน่นเท่ากับ 33.40 ตัวต่อตารางเมตร นอกจากนี้ยังพบชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ปูแสมก้ามยาว หอยหูปากม่วง หอยหูแมว หอยก้นแหลม(2) หอยกะทิ หอยมีดโกน ปูแสมก้ามส้ม หอยจุ๊บแจง(1) หอยจุ๊บแจง(2) ปูแสมก้ามแดง หอยหูปากเหลือง กุ้งดีดขัน กั้งตั๊กแตนเขียว ทากเปลือย หอยเพอริวิงเคิล และหอยกัน เมื่อพิจารณาความหลากหลายของประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลนบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) เท่ากับ 1.26 ค่าดัชนีความชุกชุมของชนิดพันธุ์ (d) เท่ากับ 1.97 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (J’) เท่ากับ 0.44

การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน
          
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ เช่น การเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ เป็นต้น โดยการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 - 2557

พื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2557

ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการโครงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน พ.ศ. 2557 เพื่อจำแนกเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนออกเป็นพื้นที่ต่างๆ  พบว่า ในปี 2557 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ป่ามีพื้นที่ป่าชายเลนในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 108,212.31 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ จำนวน 42,951.40 ไร่ นอกนั้นเป็นพื้นที่อื่น ๆ ได้แก่พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรรม เมืองและสิ่งก่อสร้าง ป่าชายหาด เลนงอก พื้นที่เปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง พื้นที่ทิ้งร้าง และป่าบก รวมจำนวน 65,260.91 ไร่

รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2557

ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          การดำเนินการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการด้านป่าชายเลนหลายโครงการ ประกอบด้วยการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน พ.ศ. 2557 การอนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลน ป่าชุมชน การปลูกป่าตามนโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการปลูกป่าประชารัฐ การปลูกป่าในเมือง การปลูกป่าชายเลนเสริม การจัดทำเขตพิทักษ์ การจัดทำแนวคูแพรก นอกจากนี้ในส่วนของการเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนยังมีการดำเนินการจับกุมและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกในแต่ละพื้นที่มากน้อยต่างกันไป 

แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน ปี พ.ศ. 2557 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

สาเหตุของปัญหา การดำเนินงาน มาตรการ และการแก้ไขปัญหาเสื่อมโทรมต่อป่าชายเลน

ลักษณะดินหรือกลุ่มดินชนิดใดที่พบมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ข้อมูล : สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน
วันที่ : 11 ธันวาคม 2561