ข้อใดใช้ภาษาระดับปากมากที่สุด

แบบทดสอบรายวิชาภาษาไทย  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ท 4.1   ม.4-6/3ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
           ม.4-6/5วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น

ขอให้นักเรียนกรอกข้อมูลของตนเองให้ถูกต้อง
คลิ๊กเลือกในช่องวงกลมหน้าข้อที่เห็นว่าคำตอบถูกต้องที่สุด

กรอกชั้น/ห้อง/เลขที่ *

ตัวอย่าง  ม.6/1/1

ข้อที่ 1 คำราชาศัพท์  เป็นคำที่ใช้ในระดับภาษาใด *

ข้อที่ 2 ข้อใดใช้ระดับภาษากึ่งทางการ *

ข้อที่ 3  ข้อใดเป็นวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทย *

มีคำให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลายทุกสถานการณ์

ควรคำนึงถึงฐานะของบุคคลและโอกาสที่สื่อสาร

คำที่ใช้มีสัมผัสคล้องจองทำให้จดจำได้ง่าย

เพศและฐานะทางสังคมเป็นสิ่งที่กำหนดการใช้ภาษา

ข้อที่ 4 การใช้ภาษาเพื่อใช้ในการเปิดประชุมรัฐสภา ควรใช้ ระดับภาษาใด *

ข้อที่ 5 ภาษาที่ใช้ในนิตยสารหรือวารสารทั่วๆ ไปมีลักษณะ ตรงกับข้อใด *

เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาเป็นสำคัญ

ใช้ภาษาที่สร้างสัมพันธภาพใกล้ชิดกับผู้รับสาร

ควรเน้นภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่มเป็นหลัก

โครงสร้างประโยคต้องสมบูรณ์ สื่อความชัดเจน

ข้อที่ 6 ปัจจัยในข้อใดไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ระดับภาษา *

ข้อที่ 7 คำใดไม่ใช่คำยืมภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย *

ข้อที่ 8 เหตุใดภาษาไทยจึงต้องยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ใน ภาษาไทย *

เพราะใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เพราะให้เห็นถึงความเจริญทางภาษา

เพราะต้องใช้ในการทำนุบำรุงศาสนา

เพราะต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาติอื่นๆ

ข้อที่ 9 ข้อใดเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยที่ไม่ เกี่ยวข้องกับศาสนา *

ข้อที่ 10 คำในข้อใดเป็นคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยที่มีลักษณะ เป็นคำแผลง *

ข้อที่ 11 คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยในข้อใด มีลักษณะ ต่างจากข้ออื่น *

ข้อที่ 12 ประโยคในข้อใดที่ใช้ภาษาต่างระดับกัน *

มวลน้ำจะเดินทางมาเยือนและท่วมพระนครเร็วๆ นี้

นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทยฝึกซ้อมอย่างหนัก

นักเรียนชอบปั่นจักรยานมาโรงเรียน

กระแสเคป๊อบ(K-pop) ยังอยู่ในหมู่วัยรุ่นไทย

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

ข้อใดใช้ภาษาระดับปากมากที่สุด

เรื่อง ระดับภาษา
สาระสำคัญ
ความรู้เกี่ยวกับระดับภาษาช่วยให้สามารถพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสมกับสัมพันธ์ภาพของบุคคล โอกาส กาลเทศะ และประชุมชม เพื่อให้การสื่อสารเป็นที่เข้าใจและพอใจทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสารและบังเกิดสัมฤทธิ์ผลสามความมุ่งหมาย
การแบ่งระดับภาษา
ภาษานอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติแล้ว ยังใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาส กาลเทศะ และประชุมชน ภาษาจึงมีลักษณะแตกต่างกันเป็นหลายระดับ เพื่อใช้ให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย
ภาษาอาจแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น
ก. แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน )
ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแผน )
ข. แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับพิธีการ ( แบบแผน )
ระดับกึ่งพิธีการ ( กึ่งแบบแผน )
ระดับไม่เป็นพิธีการ ( ไม่เป็นแบบแผนหรือภาษาปาก )
ค. แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
ระดับพิธีการ
ระดับทางการ
ระดับกึ่งทางการ
ระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับภาษา
ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน ) ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแบบแผน )
ระดับพิธีการ
( แบบแผน ) ระดับกึ่งพิธีการ
( กึ่งแบบแผน ) ระดับไม่เป็นพิธีการ
( ไม่เป็นแบบแผน )
ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ ระดับกันเอง
1. ภาษาระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารในที่ประชุม ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวอวยพร การกล่าวคำปราศรัย
การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม ฯลฯ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารส่วนมากเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นชนกลุ่มใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารกล่าวฝ่ายเดียว ถ้ามีการกล่าวตอบก็กระทำอย่างเป็นทางการ สารทุกตอนมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง ใช้ถ้อยคำที่ไพเราะกลั่นกรองมาล่วงหน้าแล้ว
2. ภาษาระดับทางการ
ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในการประชุมซึ่งต่อช่วงจากตอนที่เป็นพิธีการ
หรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในหนังสือที่ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักจะเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่และภารกิจโดยตรงในแต่ละด้าน ในวงการหรือวงอาชีพเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปในด้านธุรกิจและการงาน
การใช้ภาษาระดับนี้มุ่งให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยเร็ว โดยประหยัดการใช้ถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุด อาจใช้ศัพท์เฉพาะมากหรือน้อยแล้วแต่ลักษณะการประชุมและผู้รับสาร ในกรณีจำเป็น ผู้ส่งสารอาจต้องใช้คำอธิบายให้มากขึ้นก็ได้
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับนี้คล้ายกับระดับที่ 2 แต่ลดความเป็นการเป็นงานเป็นการลงบ้าง มักใช้ในการประชุม
กลุ่มที่เล็กกว่าการประชุมที่ต้องใช้ภาษาระดับทางการ เช่น ในการประชุมกลุ่มย่อย การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ มักใช้ภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าภาษาในระดับที่ 2 และใช้ศัพท์เฉพาะเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 4 – 5 คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการ
ส่วนตัว เช่น ในการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะวิชาการ ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่ม
5. ภาษาระดับกันเอง
ใช้ในวงจำกัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว เพื่อนสนิท ที่บ้านหรือห้องที่เป็นสัดส่วนโดยเอกเทศ
เนื้อหาของสารเช่นเดียวกับระดับที่ 4 ภาษาที่ใช้มักเป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากใช้ในนวนิยาย บทละคร หรือเรื่องสั้น อาจใช้คำสแลงหรือคำภาษาถิ่นปะปนบ้างก็ได้
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งระดับภาษา
1. การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง เช่น ระดับ 2 กับ 3 ระดับ 3 กับ 4 หรือ ระดับ 4 กับ 5
2. ภาษาทั้ง 5 ระดับ ไม่มีโอกาสใช้พร้อมกัน ระดับที่ใช้มาก คือ ระดับ 3 กับ 4 ส่วนระดับ 1 มีโอกาสใช้น้อย ส่วนระดับที่ 5 บางคนก็ไม่นิยมใช้
3. ภาษาบางระดับใช้แทนที่กันไม่ได้ เช่น ระดับที่ 1,2 หรือระดับที่ 2,3 จะใช้แทนระดับที่ 4, 5 ไม่ได้
4. การใช้ภาษาผิดระดับจะเป็นผลเสียแก่การสื่อสาร
ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดระดับของภาษา ได้แก่
1. โอกาสและสถานที่ เช่น การสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุม ที่สาธารณะ ตลาดร้านค้า หรือที่บ้าน ย่อมใช้ระดับภาษาต่างกัน
2. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การเป็นเพื่อนสนิท ผู้เพิ่งรู้จัก ผู้ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนย่อมใช้ระดับภาษาต่างกัน แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยนี้ต้องขึ้นปัจจัยข้อที่ 1 เช่น บุคคลที่เป็นเพื่อนสนิทเมื่อพูดกันในที่ประชุมย่อมไม่อาจใช้ภาษาระดับเดียวกับที่เคยใช้เมื่อสนทนากันตามลำพัง
3. ลักษณะของเนื้อหา เนื้อหาของสารส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการสื่อสารระดับภาษา ในบางกรณีเนื้อหาอย่างเดียวกันอาจใช้ภาษาต่าง ๆ กัน ได้ทั้ง 5 ระดับ
4. สื่อที่ใช้ส่งสาร เช่น จดหมายส่วนตัวผนึกซอง ไปรษณียบัตร การบอกต่อ ๆ กันไปด้วยปาก การพูดทางเครื่องขยายเสียง การพูดทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ย่อมใช้ภาษาต่างระดับกัน
ลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ
ลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ แตกต่างกันดังนี้
1. การเรียบเรียง ภาษาระดับกันจำเป็นต้องใช้ความพิถีพิถันในการเรียบเรียงเกี่ยวกับลำดับหรือระเบียบของใจความแตกต่างกันไป เช่น ภาษาระดับพิธีการ และระดับทางการจะต้องใช้ข้อความที่ต่อเนื่องกลมกลืนกันมากกว่าภาษาระดับกึ่งทางการ ในการใช้ภาษาเขียนไม่ว่าในระดับใดจะต้องระมัดระวังในเรื่องลำดับข้อความมากกว่าภาษาพูด เพราะผู้อ่านไม่อาจถามได้
2. กลวิธีนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการนำเสนออย่างกลาง ๆ เป็นการส่งสารไปยังกลุ่มบุคคล และส่งในฐานะที่เป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลหรือในนามของตำแหน่ง ไม่เจาะจงบุคคลผู้รับหรือผู้ส่งสาร อย่างภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
3. ถ้อยคำที่ใช้ การใช้ถ้อยคำในภาษาจะเป็นต้องแตกต่างกันไปตามระดับต่าง ๆ กัน เช่น
3.1 คำสรรพนาม ภาษาระดับพิธีการ ระดับทางการและระดับกึ่งทางการ ย่อมใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 ต่างกับภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
3.2 คำนาม คำสามานยนามหลายคำใช้คำแตกต่างกันระหว่างระดับทางการขึ้นไปและระดับต่ำกว่าทางการ เช่น โรงหนัง – โรงภาพยนตร์ ใบขับขี่ – ใบอนุญาตขับรถยนต์ ใบรับรอง – หนังสือรับรอง
บัสเลน – ช่องเดินรถประจำทาง รถเมล์ – รถประจำทาง แสตมป์ – ดวงตราไปรษณียากร
งานแต่งงาน – งานมงคลสมรส
คำวิสามานยนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปต้องใช้ชื่อเต็ม คำลักษณะนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามแบบแผนพิเศษ
3.3 คำกริยา ใช้ต่างกันในระดับต่าง ๆ เช่นกริยา ตาย ใช้ต่าง ๆ กันตามฐานะของบุคคลและโอกาส คือ เสีย สิ้น ถึงแก่กรรม ถึงแก่อนิจกรรม ถึงแก่อสัญกรรม สิ้นชีพตักษัย สิ้นพระชนม์ สวรรคต มรณภาพ กริยาบางคำใช้ต่างกันระหว่างระดับทางการขึ้นไปกับระดับต่ำกว่าทางการ เช่น
ทิ้งจดหมาย - ส่งจดหมายทางไปรษณีย์
ตีตรา - ประทับตรา
เผาศพ - ฌาปนกิจศพ
ออกลูก - คลอดบุตร
รดน้ำแต่งงาน - หลั่งน้ำพระพุทธมนต์
แทงเรื่อง - ผ่านหนังสือไปตามลำดับขั้นโดยเขียนข้อความและชื่อกำกับไว้
3.4 คำวิเศษณ์ ภาษาระดับทางการขึ้นไปไม่นิยมใช้คำวิเศษณ์บอกลักษณะและวิเศษณ์บอกปริมาณ เช่น เปรี้ยวจี๊ด ขมปี๋ อ้วนฉุ ยุ่งจัง ยิ้มแฉ่ง จะมีใช้บ้างบางคำ เช่น มาก หรือ จัด
3.5 คำชนิดอื่น ๆ เช่น คำบุพบท คำสันธาน และคำสรรพนามที่เชื่อมความใช้ร่วมกันทุกระดับภาษา คำลงท้ายประโยค คะ ครับ ซิ นะ เถอะ ใช้เฉพาะในระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง
คำที่ใช้แตกต่างกันระหว่างระดับกึ่งทางการลงมากับระดับอื่น เช่น
ระดับกึ่งทางการลงมา ระดับอื่น
ยังงั้น อย่างนั้น
ยังงี้ อย่างนี้
ยังไง อย่างไร

การใช้ภาษาถูกระดับสื่อสารกระชับประทับใจ
ภาษา เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ฯลฯ
ระดับภาษา เป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาสและกาลเทศะ เพื่อให้
สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย
ภาษาแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
ภาษาระดับพิธีการ
การใช้ภาษาในระดับพิธีการมีข้อน่าสังเกต ดังนี้ :-
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวคำปราศรัย การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าว
สดุดี การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร เป็นต้น
2. ผู้ส่งสาร ต้องเป็นบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งสูงในวงการ ส่วนผู้รับสารมักจะเป็นกลุ่มชน ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าว
ฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ
3. ลักษณะสารจะเลือกเฟ้นถ้อยคำที่ไพเราะเป็นคำศัพท์ เป็นสารที่เป็นทางการ
4. เป็นสารที่ต้องเตรียมล่วงหน้าและมีการส่งสารด้วยการอ่าน ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ
ผู้เรียนสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กหรือวัน
สำคัญอื่น ๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์จะนำมาตีพิมพ์ในช่วงเวลาของวันสำคัญนั้น ๆ
ภาษาระดับทางการ มีข้อสังเกต คือ
1. เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่ การรายงานทางวิชาการ, หนังสือราชการ
(จดหมายราชการ) หรือจดหมายที่ติดต่อในวงการธุรกิจ คำนำหนังสือ, ประกาศของทางราชการ ฯลฯ
2. การใช้ภาษา จะใช้อย่างเป็นทางการ มุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ ที่ต้องการความรวดเร็ว สารชนิดนี้มีลักษณะตรงไปตรงมา
ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เน้นความไพเราะของถ้อยคำ
ภาษาระดับกึ่งทางการ ข้อสังเกตคือ
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารที่คล้ายกับระดับที่ 2 แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง การใช้ภาษาระดับนี้ มักใช้ในการประชุม
กลุ่มเล็ก การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีถ้อยคำ สำนวน ที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่า
ในระดับที่ 2
2. เนื้อของสาร มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนิน
ชีวิต หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้
1. เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกัน อยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว
2. ภาษาที่ใช้ อาจจะเป็นคำสแลงหรือเป็นคำที่เข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น
3. ต้องไม่เป็นคำหยาบ หรือคำไม่สุภาพ
ภาษาระดับกันเอง
1. เป็นภาษาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก
2. ภาษาที่ใช้อาจเป็นคำหยาบคาย หรือภาษาถิ่น คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม
คำราชาศัพท์
ตามธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทยนั้น จะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่ฐานะของบุคคล ซึ่งจะแบ่งออกเป็น
5 ประเภท ผู้ใช้ภาษาจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลทั้ง 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระราชวงศ์ชั้นสูง
3. พระภิกษุ
4. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
5. สุภาพชนทั่วไป
จึงสรุปได้ว่า คำราชาศัพท์ หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำที่บุคคลทั่วไปใช้กับบุคคลที่ควรเคารพ คือ พระมหากษัตริย์
พระราชวงศ์ชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ และสุภาพชนทั่วไป