ประเพณีการแข่งเรือยาวเป็นของภาคใด

การแข่งขันเรือยาวประเพณี เป็นมรดกวัฒนธรรมทางสายน้ำที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ เรือและผู้คน บนพื้นฐานความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่มักจัดคู่ไปกับการเข้าวัดทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลออกพรรษา ทอดกฐินผ้าป่าสามัคคี โดยกิจกรรมดังกล่าวนั้นจัดเป็นประจำทุกปี

ช่วงเวลา

หลังออกพรรษา ภายในเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลไหว้พระ และแข่งขันเรือยาวกัน

ความสำคัญ

การแข่งเรือในจังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะที่วัดเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีเรือที่มีชื่อเสียงจากต่างจังหวัดมาร่วมแข่งขันมากมาย ปัจจุบันจังหวัดเป็นผู้จัดการแข่งขันกันบริเวณสะพานเดชาติวงศ์

พิธีกรรม

การแข่งขันเรือยาวจะจัดให้มีในงานเทศกาลปิดทองไหว้พระ ประจำปีของวัด และจะแข่งขันเรือยาวกันในวันพระ และกำหนดการแข่งขันเรือยาวของแต่ละวัดจะไม่ซ้ำกัน ประเภทของเรือที่แข่งขันจะเป็นเรือขนาดกลางฝีพาย ๒๐ - ๕๐ คน ความยาวประมาณ ๑๕ วา ที่หัวเรือจะผูกผ้าแพรสีต่าง ๆ มีพวงมาลัยคล้อง มีบายศรี และธงประจำเรือ ก่อนจะนำเรือลงแข่งขันจะมีพิธีไหว้แม่ย่านางเรือก่อน เพื่อเป็นศิริมงคล และขอพรให้ได้รับชัยชนะ การแข่งขันจะมีผู้ใหญ่ในจังหวัดเป็นกรรมการตัดสิน โดยก่อนแข่งขันจะจับสลากเลือกทุ่น และพายตามกระแสน้ำไปตามทุ่น เรือลำไหนถึงทุ่นก่อน เรือลำนั้นเป็นผู้ชนะ จากนั้นมีการมอบถ้วย และเงินรางวัลเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

สาระ

สร้างความสนุกสนาน ฝึกความเป็นระเบียบ สร้างความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกันระหว่างชุมชนในท้องถิ่นเดียวกัน และสมานสามัคคีกับคนต่างถิ่น

ประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีนี้ เป็นเกมกีฬาเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยากรุงเก่า เป็นที่นิยมเล่นกันทั้งภายในพระราชวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด  ดังที่มีปรากฏในกฏมณเทียรบาลเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้กล่าวถึงพระราชพิธีเดือน ๑๑ จะมีการแข่งเรือยาวขึ้น เพื่อเป็นการฝึกปรือกำลังพลทหารประจำกองเรือ

ส่วนการแข่งขันเรือยาวประเพณีของชาวบ้านทั่วไป จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นในช่วงเทศกาลทอดกฐินด ทอดผ้าป่า ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๑ – ๑๒ ซึ่งจะตรงกับฤดูน้ำหลากพอดี ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำซึ่งใช้เรือเป็นพาหนะอยู่แล้ว เมื่อถึงหน้ากฐิน ผ้าป่าสามัคคีก็มักจะนิยมนำเรือมาร่วมขบวนแห่ผ้ากฐิน องค์ผ้าป่าไปยังวัดอยู่แล้ว หลังพิธีการทางศาสนาจบลง จะมีการแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน

ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาวพัฒนาจากการละเล่น กีฬาเชื่อมความสามัคคีของคนในชุมชนกลายเป็นเกมกีฬาระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯวันนี้ กลายเป็นกีฬาทางน้ำที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในหลายๆ สนามแข่งขัน ตามลุ่มน้ำสำคัญในประเทศ  เช่น ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิต การแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่าน การแข่งขันเรือยาวจังหวัดชุมพร  และจังหวัดอื่นๆ ที่เป็นลุ่มน้ำสำคัญในประเทศไทย

การแบ่งประเภทการแข่งขันเรือยาว จะแบ่งตามขนาดของเรือ  เรือยาวใหญ่  ๔๑ – ไม่เกิน ๕๕ ฝีพาย  เรือยาวกลาง ฝีพาย ๓๑ – ไม่เกิน ๔๐ ฝีพาย  และเรือยาวเล็กที่มีฝีพายไม่เกิน ๓๐ ฝีพาย โดยเรือจะขุดขึ้นจากต้นตะเคียนทั้งต้นโดยช่างขุดเรือที่มีฝีมือในการขุดเรือ   ส่วนระยะทางที่ใช้แข่งขัน จะมีระยะทางประมาณ ๖๐๐ – ๖๕๐ เมตร โดยจะมีทุ่นบอกระยะทุกๆ ๑๐๐ เมตร

กติกาการแข่งขันเรือยาวประเพณี ใช้ระบบแพ้คัดออก โดยจับคู่แข่งขันกัน หากเรือฝ่ายใดแข่งชนะ ๒ ครั้ง ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ฝ่ายละเที่ยวก็จะต้องมาตัดสินในการแข่งเที่ยวที่ ๓

จุดประสงค์สำคัญของการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณี ไม่ว่าจะเป็นสนามใดก็ตาม คือ สร้างความสามัคคีของฝีพายในเรือลำเดียวกัน  ความเสียสละของฝีพายที่จะต้องขยันหมั่นซ้อมพาย ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเสน่ห์ของเกมกีฬาประเภทนี้อีกอย่างก็คือ จังหวะ ความพร้อมเพรียงในการพาย การจ้วงพายให้เร็วขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นชัย กระชับ รวดเร็วแต่พร้อมเพรียงกัน การแข่งขันที่ให้คนดูได้ลุ้นอยู่ตลอดเวลา และการพากย์เสียงของพิธีกรประจำสนามที่ต้องยอมรับว่าสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับการแข่งขันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

          ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัล เงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือ แม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได ้ยกเลิก เดิมพันกันไป
          ในอดีตแต่ละคุ้มบ้าน คุ้มวัด ในทุกลุ่มน้ำ นิยมหาไม้ตะเคียนมาขุด เป็นเรือยาวส่งเข้าร่วมแข่งขัน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ร่วมสืบสานประเพณีนี้ไว้ ปัจจุบันการแข่งเรือยาว ได้วิวัฒนาการเป็นกีฬาระดับชาติ และนานาชาติ เป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นและประเทศ

เรือยาวอยู่ภาคใด

ภาคเหนือตอนล่าง มีการแข่งขันเรือยาวประเพณีเกิดขึ้นในทุกจังหวัด ตามแม่นํ้าสายหลัก ปิง วัง ยม น่าน จนมาถึงลุ่มนํ้า เจ้าพระยา ตลอดจนแม่นํ้าท่าจีน แต่ที่โดดเด่นและเป็นสนามแข่งขันเรือยาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ งานแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานจังหวัดพิจิตร ณ ลำนํ้าน่าน หน้าวัดท่าหลวง ซึ่งจัดขึ้นทุกปีมา ...

แข่งพายเรือ ภาคไหน

การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล

ทำไมภาคกลางจึงมีประเพณีแข่งเรือยาว

จุดประสงค์การแข่งขันเรือยาว ฉลองเทศการออกพรรษาของชาวไทยพุทธเพราะจะจัดขึ้นหลังจากออกพรรษาแล้ว เป็นการสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ในอดีตนั้นจะใช้เรือยาวในการแห่กฐินหรือผ้าป่าไปวัด และเพื่อความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน จึงได้จัดแข่งขันเรือยาวขึ้นด้วย

ประเพณีแข่งเรือยาวสะท้อนคุณธรรมด้านใด

ประเพณีการแข่งขันเรือเป็นประเพณีที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยที่มีความผูกพันกับสายน้ำ และยังเป็นประเพณีที่ช่วยเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในกลุ่ม ความพร้อมเพรียงที่จะช่วยให้ไปถึงจุดหมาย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานได้เป็นอย่างดี