ใดคือการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้องของคำว่า “Social Media”

น่าสนใจจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับการเขียนทับศัพท์ e-mail ดังนี้

e-mail ทับศัพท์ว่า “อีเมล” โดยไม่มี ล์ เนื่องจากเป็นการถอดทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ในภาษาอังกฤษมีตัวแอลตัวเดียว ภาษาไทยจึงมี ล เพียงตัวเดียว คำนี้มักเขียนผิดเป็น อีเมล์ อาจเป็นเพราะในภาษาไทยมีคำว่า “เมล์” ซึ่งใช้กันมานานแล้วในความหมายของถุงเมล์ หรือถุงไปรษณีย์ และรถเมล์ ซึ่งพจนานุกรมจึงได้เก็บคำ “เมล์” ไว้โดยถือเป็นคำไทยที่มาจากภาษาอื่นคำหนึ่ง คำ “รถเมล์” มีเครื่องหมายทัณฑฆาตตรง ล เนื่องจากอ่านว่า เม ส่วนอีเมล อ่านออกเสียงแบบคำอื่น ๆ ที่มี ล เป็นตัวสะกด

แต่ในพจนานุกรมฉบับใหม่ บัญญัติให้เขียนว่า อีเมล์

มีคำชี้แจงจากราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้

คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศที่เก็บในพจนานุกรมคำใหม่ คณะกรรมการผู้จัดทำได้ชี้แจงในหนังสือว่าเขียนตามเสียงที่คนไทยส่วนใหญ่ออก จึงเก็บคำนี้ว่า อีเมล์

อย่างไรก็ตาม นายกราชบัณฑิตยสถานได้สั่งการเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ ให้แก้ไขการเขียนคำยืมในพจนานุกรมคำใหม่โดยเขียนตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งและสับสน ดังนั้น การเขียนคำทับศัพท์จึงควรเขียนตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ ซึ่งมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศให้ใช้ทางราชการ

ใดคือการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้องของคำว่า Social Media”

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด

ที่มา: เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน http://royin.go.th

Number of View :294548

การพัฒนาเว็บบริการสารสนเทศเพื่อตอบรับเทคโนโลยีอุบัติใหม่ทำได้ไม่ยาก โดยคงจะต้องเริ่มจากวิสัยทัศน์ของ “การพัฒนาเว็บ” ว่าหน่วยงานหรือห้องสมุดท่าน ต้องการให้เว็บมีเป้าหมายเพื่ออะไร สอดรับการเป้าหมายองค์กรหรือไม่ ไม่ใช่พัฒนาเว็บเพราะหากแค่ให้มี หรือเห็นคนอื่นมี ทั้งนี้เว็บห้องสมุด หรือเว็บบริการสารสนเทศ จำเป็นต้องมีฟังก์ชันมากกว่านำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด โดยต้องเริ่มจากการกำหนดกลุ่มผู้ใช้ที่ชัดเจน โดยการวิเคราะห์ผู้ใช้ทั้งมิติบุคคล และมิติพฤติกรรมที่เกี่ยวกับไอซีที เช่น พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ไอซีที รูปแบบการเข้าใช้งาน เพื่อให้สามารถพัฒนาเว็บให้รองรับการเข้าถึงที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ควรศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีอุบัติใหม่ แล้วพิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาปรับให้เข้ากับเว็บไซต์ สำคัญที่สุดเนื้อหาที่นำเสนอต้องทันสมัย ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

การวิเคราะห์ผู้ใช้ ทำได้ไม่ยากในยุคนี้ โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์จากข้อมูลเดิมก่อน จากนั้นจึงพัฒนาเว็บที่ติดตั้งเครื่องมือ Web Analytics เช่น Google Analytics, Truehits.net แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ประเมินเพื่อปรับปรุงเว็บอย่างสม่ำเสมอ

ปัญหาสำคัญของเว็บบริการสารสนเทศคือ ต้องพิจารณาผู้ใช้ให้ครอบคลุมเพราะผู้ใช้อาจจะเป็นไปได้ทั้งนักเรียน นักศึกษาที่สนใจไอซีที และยังอาจจะเป็นนักวิจัย นักวิชาการที่ไม่ถนัดไอซีที และมีความต้องการเฉพาะแตกต่างจากนักเรียนนักศึกษาก็ได้

การพัฒนาเว็บยังต้องใส่ใจถึง “การสื่อถึงภาพลักษณ์องค์กร” ในหลายมมิติ เพราะปัจจุบันเว็บมักจะเป็นด่านแรกของการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้ ดังนั้นหากข้อความต่างๆ ที่เขียนในเว็บมีความผิดพลาดย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ หน่วยงานจึงควรใส่ใจการเขียนคำ โดยเฉพาะคำที่มักเขียนผิดบ่อย คำทับศัพท์ นอกจากนี้การใช้สี การใช้โลโก้ ก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์อีกทางหนึ่ง

เทคโนโลยีอุบัติใหม่หลายรายการ ก็จำเป็นต้องให้ความสนใจ โดยควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสม เช่น Web Meta Tag, OpenSearch, OpenURL, FriendlyURL เป็นต้น

แนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

  • ความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาเว็บ
  • เว็บการศึกษาที่น่าศึกษาเป็นตัวอย่าง
  • มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ประเทศไทย
  • ตัวอย่างการออกแบบเว็บไซต์ระดับองค์กร
  • แนวปฏิบัติการพัฒนาเว็บไซต์ภาครัฐของออสเตรเลีย
  • แนวปฏิบัติการพัฒนาเว็บของ FAO

Number of View :2003

ภาพลักษณ์องค์กรเป็นกระแสหนึ่งที่หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาท ตลอดทั้งแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม อันส่งผลให้ “คำ” เป็นหนึ่งบริบทของภาพลักษณ์องค์กร การร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานของบุคลากรในองค์กร โดยไม่ตระหนักถึงแนวปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับการใช้คำ การเขียน ย่อมส่งผลให้องค์กรเสียหายได้ง่าย

องค์กรควรหันมาให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติการเขียนคำ โดยเฉพาะคำที่มักเขียนผิด คำทับศัพท์ ตลอดทั้งคำจากภาษาอังกฤษที่ยังมีการใช้ที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ดังนั้นเว็บไซต์ Thumbsup ซึ่งเป็นเว็บในกลุ่ม Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงมากเว็บหนึ่งของเมืองไทย ประกาศปรับปรุงการเขียคำทับศัพท์อย่างเป็นทางการ ดังรายละเอียด http://thumbsup.in.th/2013/12/thumbsup-vocabulary-annoucement/

ใดคือการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้องของคำว่า Social Media”
สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ จึงควรหันมาใส่ใจประเด็นนี้กันด้วย ตัวอย่างคำที่มักมีปัญหาได้แก่ e-Learning พบว่ามีการใช้หลากหลายมาก ทั้ง eLearning e-Learning E-Learning E-learning elearning กรณีนี้หน่วยงานควรกำหนดเป็นแนวปฏิบัติของหน่วยงานเอง และระบุให้ทราบโดยทั่วกันว่าใช้รูปแบบใด อันจะส่งผลให้คำอื่นๆ ลักษณะเดียวกันใช้ในลักษณะดังกล่าวด้วย

แหล่งข้อมูลน่าสนใจ

  • ราชบัณฑิตยสถาน
  • วิกิพีเดียประเทศไทย – คำทับศัพท์
  • วิกิพีเดียประเทศไทย – คำที่มักเขียนผิด

Number of View :5218

เอกสารงานพิมพ์ที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ เช่น Microsoft Word, OpenOffice.org Writer รวมถึงซอฟต์แวร์จัดการงานพิมพ์ (DTP: Desktop Publishing) นับเป็นสื่อดิจิทัลแต่กำเนิด (Born Digital Media) ซึ่งมีคุณภาพในตัวสูงมาก หากมีการสร้าง จัดเก็บ บริหารจัดการที่มีคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนแรก ย่อมทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และการใช้งานต่อในรูปแบบต่างๆ เช่น การแปลงเป็นเอกสาร PDF การนำเข้าระบบห้องสมุดดิจิทัลย่อมทำให้ลดขั้นตอนต่างๆ ได้ ในการสร้างเอกสารงานพิมพ์ให้มีคุณภาพควรพิจารณาข้อกำหนดการสร้างเอกสารงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ดังนี้

ใดคือการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้องของคำว่า Social Media”

Continue reading

Number of View :5305

หลายๆ ห้องสมุดได้เริ่มให้บริการการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแก่ชาวต่างชาติ เช่น การสืบค้นผ่านบริการของ WorldCat ของ OCLC โดยใช้หลักการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน (Romanization) ดังตัวอย่าง

ใดคือการเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้องของคำว่า Social Media”

แต่เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน จึงมีความจำเป็นที่จะศึกษาแนวทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือการสื่อสารในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น นับว่าการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทยแก่ต่างประเทศ

Continue reading

Number of View :12044