ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ   เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรเศรษฐกิจมีจำกัด  เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด  ทำให้ทุกสังคมประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  ซึ่งจำแนกออกได้เป็น  3  ปัญหา  คือ

          จะเลือกผลิตอะไร  (What to produce)

           ผลิตอย่างไร  (How to produce)

          ผลิตเพื่อใด  (For Whom to produce)

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
1.  ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What)   เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ  ดังนั้นจึงต้องมีการตัดสินใจว่าควรจะเลือกทรัพยากรที่มีอยู่  นำไปผลิตสินค้าและบริการอะไรได้บ้างที่จำเป็น  และเป็นจำนวนเท่าใด  จึงจะสามารถสนองความต้องการและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  ตัวอย่างเช่น  ประเทศชาติมีทรัพยากรจำกัดก็ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นไปในการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของพลเมืองอย่างทั่วถึง  หรือควรจะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
2.  ปัญหาว่าควรผลิตอย่างไร (How)   หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไรเป็นจำนวนสักเท่าใดแล้ว  ปัญหาที่เราจะต้องตัดสินใจขั้นต่อไปก็คือ  เราจะใช้เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการใด  และจะใช้ปัจจัยการผลิตมากน้อยในสัดส่วนเท่าใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด  หรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด  เนื่องจากผู้ผลิตมีเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าได้หลายวิธีที่สามารถให้ผลผลิตเท่าเทียมกัน  จึงต้องเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เกษตรกรต้องการปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก 1,000เกวียน  อาจเลือกใช้ที่นาจำนวนมากโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การเกษตรจำนวนน้อย  หรืออาจเลือกใช้ที่นาจำนวนน้อยโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรจำนวนมาก  ไม่ว่าเราใช้การผลิตวิธีใดก็สามารถได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียนเท่ากัน  เป็นต้น

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
3.  ปัญหาวาจะผลิตเพื่อใคร (For Whom)   ปัญหาว่าจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อใคร  คำตอบก็คือผลิตเพื่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค  หลังจากผลิตสินค้าและบริการได้แล้วก็จะมีการจำหน่ายจ่ายแจกไปยงผู้บริโภค  เงินที่ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจะตกไปอยู่กับใคร  จำนวนเท่าใด  เป็นการศึกษาถึงการผลิต  การบริโภค  และการแบ่งสรรทรรัพยากรการผลิตโดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  การที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้สินค้าและบริการมากินมาใช้มากน้อยแค่ไหน  หรือรัฐบาลของบางประเทศอาจเป็นผู้กำหนด  ตามนโยบายของรัฐบาลว่าจะจัดสรรให้แก่กลุ่มบุคคลใด  ด้วยวิธีการอย่าง

      การตัดสินใจว่า  เราควรจะผลิตอะไร  ผลิตอย่างไร  และผลิตเพื่อใครดังกล่าวนี้  เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัด  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด  ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  เศรษฐกิจ  ส่วนการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไป  แล้วแต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ

 เศรษฐกิจภาครัฐ

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นทางด้านทุนนิยม  รัฐบาลมีหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยความยุติธรรม  เสรีภาพ  สวัสดิการ  บริการสาธารณะ  ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมือง  กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลก็ทำนองเดียวกับภาคเอกชน  รัฐบาลจำเป็นต้องแสวงหารายได้ให้เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายบริหารประเทศให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม

           การศึกษาเศรษฐกิจภาครัฐบาลนั้นอาจแตกต่างจากการศึกษาเศรษฐกิจภาคเอกชนไปบ้างในแง่ของวิธีการ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแสวงหารายได้  และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมุ่งใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหากำไร  ซึ่งในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐกิจภาครัฐบาลต่อไป

ความหมายและวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจภาครัฐ

        เศรษฐกิจภาครัฐ (public economy)  เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐทางด้านรายได้  หนี้สาธารณะ  และรายจ่ายของรัฐนโยบายที่รัฐกำหนดระดับและโครงสร้างของรายได้ ผลกระทบจากการจัดเก็บรายได้  และการใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐ  และผลของการใช้จ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม

        วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ  หมายความรวมถึงการมีงานทำและการมีรายได้  การรรักษาเสถียรภาพของระดั้บราคา การรักษาเสถียรภาพของดุลการชำระเงิน การผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐกิจภาครัฐ

        การจัดเก็บรายได้  การก่อหนี้  หรือการใช้จ่ายเงินจำนวนมากจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน  ย่อมก่อผลกระทบต่อการผลิต  การบริโภค  และการจ้างงานอย่างมาก  โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาด้วยแล้ว  เศรษฐกิจภาครัฐยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เช่น  งานสาธารณูปโภครัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

            การที่เศรษฐกิจภาครัฐมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้  เราพอสรุปได้ว่ามาจากสาเหตุสำคัญ  2   ประการ คือ

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
1. รัฐบาลของประเทศต่างๆ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านการบริหารงานของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบสุข  และรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมเท่านั้น  แต่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลายประเภทซึ่งเอกชนดำเนินการอยู่ เช่น การค้าขาย  การอุตสาหกรรม  การมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นนี้  ทำให้รัฐบาลต้องการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย  เช่น  การเก็บภาษีอากรการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจภาครัฐบาลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผูกพันอยู่กับงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
 2. การเก็บภาษีอากร  การใช้จ่าย  และการกู้เงินของรัฐบาลมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิต  การบริโภค  การแลกเปลี่ยน  และการกระจายรายได้  ซึ่งเรียกว่า การคลังรัฐบาล

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ
 การคลังรัฐบาล (public finance)  หมายถึง  การใช้จ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล  วิธีการแสวงหารายได้และการบริหารรายได้ของรัฐบาล  การก่อหนี้สาธารณะ (หนี้ของภาครัฐ ซึ่งเกิดจาการยืมโดยตรงของรัฐบาล หรือการกู้ยืมของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน  โดยประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ)ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล  สิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ การกู้ยืม และการใช้จ่ายตามโครงการต่างๆ  ของรัฐบาลในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณประจำปี  เพื่อแสดงให้ประชาชนทราบว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง  แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด  และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้นๆ

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

          การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการกำหนดแผนงานล่วงหน้าในการวางโครงการ  แผนงานวิธีปฏิบัติ และการจัดหาทรัพยากรหรือเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนดแบ่งเป็น  3  ระดับ คือ

            1. การวางแผนระดับชาติ    เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจรวมของประเทศโดยอาจแบ่งเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำปี  และมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆ ไว้  เช่น  อัตราเพิ่มของรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

            2. การวางแผนระดับภาคเศรษฐกิจ   เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามภาคเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาอุตสาหกรรม  แผนพัฒนาเกษตรกรรม   แผนพัฒนาการค้าต่างประเทศ เป็นต้น

            3.  การวางแผนระดับโครงการ   เป็นการวางแผนเป็นรายโครงการ  มีรายละเอียดมากกว่าแผนระดับชาติและแผนระดับภาคเศรษฐกิจ  โดยกำหนดแผนการดำเนินงาน  วิธีการดำเนินงาน  และกำหนดหน่วยปฏิบัติไว้เป็นระเบียบแบบแผน

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ

https://sites.google.com/site/sujinthorn4444/payha-phun-than-thang-sersthkic

ปัญหา ข้อใดไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ผลิตใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไร้ประสิทธิภาพ