ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน

เล่ม 2 อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย from Choengchai Rattanachai

เจ้าชายสิงหนวัติกุมารมาสร้างเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน ต่อมาคือ เชียงแสน ต่อมาพวกขอมยึดอาณาจักรได้   ต่อมาพระเจ้าพรหมกุมาร กู้เอกราช แล้วสร้างเมืองใหม่ที่เมืองเวียงไชยปราการ   

การสถาปนา:  พญาสิงหนวัติได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย ในพ.ศ. 1117โดยทำการแย่งชิงดินแดนมาจากพวกที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนคือ พวกขอมดำหรือกล๋อม ที่พากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้บริเวณถ้ำอุโมงเสลานคร พญาสิงหนวัติ ทรงรวบรวมพวกมิลักขุหรือคนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยนกนาคนคร มีอาณาเขตทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศใต้จดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำดำในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสาละวิน มีเมืองสำคัญ คือเมืองเวียงไชยปราการอยู่บริเวณแม่น้ำฝางและแม่น้ำกก ดินแดนทางใต้สุดคือที่เมืองกำแพงเพชร อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่นพระเจ้าพีคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 1552อาณาจักรโยนก


มีความเจริญรุ่งเรือง: พุทธศตวรรษ 12-19


ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสนสมัยเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 17 - 24)

เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏรากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตามความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าวเพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก

( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราวพ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.16001800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วยซึ่งศิลปกรรมลักษณะนี้ปรากฏแพร่หลายอยู่ในจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือของประเทศไทยตำราทางศิลปะส่วนใหญ่จะเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "เชียงแสน"เท่านั้นแต่เนื่องด้วยศิลปกรรมที่สร้างนสมัยโยนกมีการบูรณะซ่อมกันมาตลอดในสมัยเชียงแสน ลัทธิศษสนาสมัยต้นที่ไทยเข้ามาครอบครองแคว้นนี้
ได้แก่พระพุทธศาสนามหายานนิกายต่าง ๆ ระยะ พ.ศ. 1300-1600 พุทธศษสนามหายานรุ่งเรืองมากทั่วอินเดีย และแพร่ไปยังธิเบตเนปาล จีน ญี่ปุ่น ขอม และชวา ศิลปะแบบอินเดียใต้ก็เข้ามาด้วย ทำให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลคลุกเคล้าจนปรากฏแบบอย่างขึ้นมากมายซึ่งอาจจำแนกอย่างหยาบ ๆ ตามอิทธิพลที่ได้รับเป็น 5 แบบ คือ
1. แบบโยนก เชียงแสน อิทธิพลสกุลศิลปปาละวะ ดีในลานนา
2. แบบโยนก-เชียงแสน อิทธพลสกุลศิลปปาละ-เสนา
3. แบบโยนก-เชียงแสน สกุลอินเดียใต้
4. แบบโยนกเชียงแสนอิทธิพลศิลปแบบทวาราวดี
5. แบบเชียงแสนแท้


พระพุทธรูป


ศิลปะเชียงแสน คือศิลปะสกุลช่างภาคเหนือในปัจจุบัน  ได้เกิดมีทฤษฎีใหม่
โต้แย้งทฤษฎีเดิมที่แบ่งศิลปะเชียงแสนเป็น รุ่น คือรุ่นแรกประมาณพุทธศตวรรษที่
17 -21 และยุคหลังประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 - 24 ทฤษฎีใหม่ถือว่าศิลปะเชียงแสน
คือ ศิลปของอาณาจักรล้านนาไทยและเชื่อว่าก่อนสร้างนครเชียงใหม่ ปฏิมากร
เชียงแสนแบ่งได้เป็น 2 รุ่น คือ   รุ่นแรกพระพุทธรูปมีลักษณะทรวดทรงงามสง่า
พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนาสิกงุ้มนิยม ทำนั่งขัดสมาธิเพชรพระศกกระหมวดเป็น
ก้นหอยพระเมาลีเป็นรูปดอกบัวตูมสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


รุ่นหลัง พระพุทธรูปมีลักษณะของ ศิลปะสุโขทัยผสมหลังจากพุทธศตวรรษที่
 20 ไปแล้ว ลักษณะของพระพุทธรูปนั่งขัด สมาธิราบ สังฆาฏิยาว พระพักตร์ยาวรี
ยอดพระเมาลีเป็นเปลว พระวรกายไม่อวบอ้วน


เครื่องปั้นดินเผาในยุคเชียงแสน  

การเสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 ไม่ได้หมายถึงการทำลายกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
ตามหัวเมืองต่าง     ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยเช่นกัน  จึงเป็นผลทำให้
อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัยสลายตัวไปด้วยในราวปีพ.ศ.2143ได้มีการ
สร้างเตาเผาผลิตภัณฑ์ที่สิงห์บุรีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพต่ำกว่าสุโขทัยเนื้อดิน
หยาบมีทั้งเคลือบและไม่เคลือบผลิตภัณฑ์เตาสิงห์บุรีผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์
ใช้สอยบางอย่างเท่านั้นส่วนในราชสำนักอยุธยาได้สั่งซื้อเครื่องปั้น ดินเผาจากจีน
และญี่ปุ่นเข้ามาใช้แทน เซอร์ จอห์น บาวริง(Sir John Bowring) ได้บันทึกไว้ว่าหลังจากการ
เสียกรุงครั้งที่ 2 การทำเครื่องปั้นแบบนี้ยังคงปรากฎอยู่และทำติดต่อกันมานานจนกระทั่ง
ปัจจุบันเริ่มหมดไป


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน


ความเจริญ ความเสื่อมอำนาจ: เกิดแผ่นดินไหว อาราจักรถล่มจมลงในกลายเป็นหนองน้ำ เป็นการสิ้นสุดอาณาจักร จนกระทั่ง พุทธศตวรรษที่ 19 ถูกผนวกเข้ากับล้านนา


ตำนานเวียงล่ม

อาณาจักรโยนกเชียงแสน มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนสมัยพระองค์มหาไชยชนะ อาณาจักรจึงได้ถึงกาลล่มจม ดังปรากฏในตำนานสิงหนวัติที่กล่าวว่า ได้มีชาวเมืองไปได้ปลาไหลเผือก มหากษัตริย์ พระองค์จึงให้ตัดเป็นท่อนแจกกันกินทั่วทั้งเวียง และในคืนนั้นก็ได้เกิดมีเหตุเสียงดังสนั่นเหมือนกับแผ่นดินไหว ถึงสามครั้ง จนเป็นเหตุให้เมืองโยนกถล่มกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นน่าอัศจรรย์ที่ยังคงเหลือบ้านของหญิงหม้ายคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลานั้นจากชาวเมืองไปบริโภค ในปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวจึงได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ กัน บ้างก็สันนิษฐานว่าคือทะเลสาบเชียงแสน (หนองบงกาย) ในเขตอำเภอเชียงแสน บ้างก็ว่าคือเวียงหนองล่ม (เวียงหนองหรือเมืองหนองก็ว่า) ในเขตอำเภอแม่จัน เนื่องจากมีชื่อสถานที่ต่าง ๆ ได้ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น เช่น บ้านแม่ลาก ก็หมายถึงตอนที่ชาวเมืองได้ช่วยกันลากปลาไหลตัวนั้น บ้านแม่ลัว (คงเลือนมาจากคำว่าคัว) ก็หมายถึงตอนที่ได้ชำแหละปลาไหลนั้นเพื่อแจกจ่ายกัน แม่น้ำกก หมายถึงตัดเป็นชิ้น ๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้ปัจจุบันมีอยู่ในท้องที่ของอำเภอท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และยังมีผู้สันนิษฐานว่าคือหนองหลวง ในเขตอำเภอเวียงชัยอีกด้วย

ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน



ทะเลสาบเชียงแสนในปัจจุบัน


ข้อใดคือศูนย์กลางของอาณาจักรโยนกเชียงแสน



เกาะกลางน้ำของรูปนี้ สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณบ้านของแม่ม่ายที่ไม่ถูกน้ำท่วมและจ่มลง ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่ เป็นความมหัศจรรย์ที่เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมากว่า       1