ข้อใด ต่อ ไป นี้ คือ ความ หมาย ของการกำหนด Transition ที่ ถูก ต้อง

Transition Words คือ คำเชื่อมประโยค ที่จำเป็นในประโยคในภาษาอังกฤษ เราใช้คำเชื่อมประโยคให้เหมาะสมกับความหมาย เพื่อการสื่อสารเนื้อหาที่มีความซับซ้อนให้ง่ายขึ้น กล่าวคือ มีเนื้อหาที่ชัดเจน เรียงตามลำดับอย่างถูกต้อง และมีเนื้อความที่สอดคล้องซึ่งกันและกัน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ออกนอกประเด็น 

Show

ในภาษาไทยมีคำเชื่อม เช่น ที่จริงแล้ว นอกจากนี้ ในทางกลับกัน  ซึ่งในภาษาอังกฤษมีคำเชื่อมเหล่านี้เช่นเดียวกันค่ะ คำเชื่อมมีหลายตัวมากๆ และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป  ดังนั้น เราลองมาดูประเภทต่างๆ ของคำเชื่อมกันก่อนดีกว่าค่ะ 

  • conjunction คำเชื่อม 
  • adverb คำวิเศษณ์ที่สามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของเนื้อความในประโยคได้ 
  • adverbial ส่วนขยายที่เป็นวลี ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งมีโครงสร้างเช่น 

Adverb+ as+ subject + verb, ประโยคหลัก

เราลองมาดูประโยคตัวอย่างที่ใช้ส่วนขยายที่เป็นวลีกันค่ะ 

  • Sadly as she was, she attended her ex-boyfriend’s wedding.

หลังจากที่เราได้ดูคำเชื่อมประเภทต่างๆกันไปแล้วเราลองมาดู หน้าที่ของคำเชื่อมกันค่ะ

Transition Words ในประโยค 

ใช้เพื่อบอกว่าเนื้อความใน 2 ประโยคนั้น มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร เพื่อให้การเขียนของเรามีความสอดคล้องกันหรือที่เราเรียกว่า cohesion

ลองไปดูกลุ่มของคำเชื่อมแต่ละประเภทตามความหมายกันค่ะ 

เดือนที่แล้ว เราเคยพูดถึงเรื่องศิลปะของการตัดต่อ หรือลำดับภาพไปแล้วในหัวข้อ “Creative Cutting สำหรับงาน VDO/Film Editing” ครั้งนี้ เราจะมาขอต่อยอดองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตัดต่อไปอีกขั้นเพื่อเป็น Check List ให้กับผู้ที่สนใจในงานตัดต่อได้ยกระดับฝีมือการอีดิทฟุตเทจ หรือชิ้นงานที่อยู่ในมือให้ดูสนุก น่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบทความที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ แม้จะยังคงอยู่ในซีรีส์ The Art of Editing แต่ชุดความรู้นั้น เรียกว่าเป็นคนละเรื่องกันแต่เข้มข้น และเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจการตัดต่อได้ไม่แพ้กัน

สำหรับหัวข้อที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก็คือเรื่อง Transition ในงานตัดต่อวิดีโอ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคสำคัญที่ Editor ทุกคนจำเป็นต้องรู้อย่างลึกซึ้งทั้งในเชิงไวยกรณ์ทางภาพยนตร์ (Film Grammar) เพื่อช่วยในการเล่าเรื่อง และในเชิงเทคนิคด้านภาพที่จะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับผลงาน 

วันนี้ BEAR จะพามาทำความเข้าใจหลักการในการใช้ Transition แบบต่างๆ โดยเน้นการประยุกต์กับผลงานภาพเคลื่อนไหวที่ไม่ได้เจาะจงเฉพาะแค่ภาพยนตร์ แต่ยังรวมถึงไปถึงมิวสิควิดีโอ โฆษณา หรือวิดีโอในรูปแบบใหม่ๆ บนมีเดียที่หลากหลาย จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรมาลองติดตามไปพร้อมๆ กันครับ

ข้อใด ต่อ ไป นี้ คือ ความ หมาย ของการกำหนด Transition ที่ ถูก ต้อง

What is Transitions in VDO Editing?

สำหรับมือใหม่ หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้าง เข้าใจบ้าง ไม่ค่อยเข้าใจบ้าง ซึ่งไม่เป็นไร เราจะมาเริ่มต้นทำความเข้าใจกับเจ้าคำๆ นี้ไปพร้อมๆ กัน

การเปลี่ยนจากภาพ (Shot) หนึ่งไปยังภาพ (Shot) หนึ่ง สิ่งที่จะปรากฏระหว่างกระบวนการ Overlapping ของภาพเหล่านั้นก็คือ Transition ซึ่งจะทำหน้าที่หลักๆ คือการขับเคลื่อนเรื่องราวไปสู่สถานการณ์ต่อๆ ไปรวมไปถึงกระตุ้นความรู้สึก และดึงดูดความสนใจให้ผู้ชมติดตามอยู่กับผลงานตั้งแต่ภาพที่ปรากฏขึ้นในวินาทีแรกไปจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายได้ ไม่ว่าภาพเหล่านั้นจะสื่อนัยยะ หรือความหมายใดต่อผู้ชมหรือไม่ก็ตาม

โดยส่วนใหญ่แล้ว Transition แต่ละประเภทมักจะอ้างอิงเทคนิคมาจากการตัดต่อในยุคเก่าที่ยังต้องทำผ่านแผ่นฟิล์มโดยตรง รวมทั้งการตัดต่อผ่านระบบ Linear ที่ต้องใช้ Hardware เป็นตัวสร้าง Effect ขึ้นมา ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบัน การตัดต่อโดยส่วนมากจะเป็นระบบ Non Linear ที่ทำงานผ่าน Software ด้วยระบบ Digital ไปแล้ว แต่ลักษณะของภาพที่เกิดจากเทคนิค Transition ในหลายๆ แบบก็ยังคงอ้างอิงลักษณะมาจากพื้นฐานของการตัดต่อแบบเก่าอยู่เช่นเดิมอยู่นั่นเอง

และด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ Transition ในบางรูปแบบอาจจะมีลักษณะที่ดูเก่าๆ อยู่บ้าง นั่นก็เป็นเพราะมีที่มาที่ไปตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่ก็ยังคงมี Transition อีกหลากหลายรูปแบบที่นักตัดต่อมืออาชีพยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

Types of Transitions

Transition แต่ละประเภทจะสื่อความหมายของภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งการเข้าใจความหมายเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการตัดต่อ เพราะจะช่วยทำให้ตัวชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้ายดูสนุก และลื่นไหลมากขึ้น ซึ่ง Transition ที่น่าสนใจในแต่ละประเภทจะมีลักษณะ และหลักการใช้ดังต่อไปนี้

Cut

Cut คือการเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งแบบทันทีทันใด โดยไม่ใช้เทคนิคใดๆ ในการเชื่อมต่อภาพ ลักษณะที่ปรากฏออกมาจึงเป็นภาพที่ต่อด้วยภาพ โดยธรรมชาติทั่วไปของการใช้เทคนิค Cut ชน Cut นี้นั้น มักจะไม่ต้องการให้ผู้ชมตีความใดๆ เป็นพิเศษ หากแต่จะหวังให้เกิดความรู้สึกต่อเนื่องของเหตุการณ์ และขับเคลื่อนเรื่องราวต่างๆ ไปข้างหน้า

Cut จะถ่ายทอดความรู้สึกฉับไว นอกจากนี้เรายังรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา เพราะนั่นคือวิธีที่สมองของเราประมวลผลข้อมูลเข้ามาจากสายตาของเราแบบตรงๆ อย่างไรก็ตามการ Cut เหล่านี้อาจทำให้คนดูเกิดการความรู้สึกสับสนได้ หากไม่มีการเรียงลำดับเหตุการณ์เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนเพียงพอ

แต่หากต้องการสื่อความหมายที่มากขึ้นเป็นพิเศษ เราจำเป็นต้องประยุกต์เทคนิคการ Cut ในรูปแบบต่างๆ เช่น Cross Cut, Jump Cut, Cut Away หรือ Match Cut เข้าด้วยกัน ซึ่งการใช้ Cut เหล่านี้ นอกจากจะทำให้งานดูมีจังหวะที่สนุกขึ้นแล้ว ยังสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับงานได้เป็นอย่างดีด้วย เราได้อธิบายแนวคิดในเรื่องนี้ไว้แล้วในบทความ The Art of Editing #1 เมื่อนักตัดต่อประยุกต์องค์ความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน จะสามารถช่วยให้สร้างสรรค์งานที่มีเสน่ห์ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้มากขึ้น

Fade

Fade คือการเปลี่ยนภาพ โดยภาพจะถูกแทนที่ด้วยฉาก หรือพื้นหลังสีดำสนิท โดยการ Fade นี้ สามารถแบ่งออกเป็น Fade In และ Fade Out ซึ่งทั้งสองแบบจะทำหน้าที่แตกต่างกัน

Fade In ก็คือการที่ภาพจะเริ่มจากสีดำแล้วค่อยๆ จางลงจนกลายเป็นภาพหลัก ส่วนมากแล้ว เทคนิคนี้มักจะใช้สำหรับการเริ่มต้นของเรื่องราว หรือเหตุการณ์

ส่วน Fade Out จะมีลักษณะตรงกันข้าม กล่าวคือภาพหลักจะค่อยๆ จางลงกลายเป็นภาพสีดำ เทคนิคนี้มักจะถูกใช้เพื่อสรุปเหตุการณ์ นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อให้ผู้ชมได้มีจังหวะผ่อนหลังจากเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นรุนแรงได้ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสงบ และเตรียมเริ่มต้นใหม่

สำหรับผลงานภาพยนตร์ที่เน้นการเล่าเรื่อง เทคนิค Fade นี้จะใช้เท่าที่จำเป็น เพราะทุกครั้งของการใช้จะหมายถึงการเริ่มต้น และสิ้นสุดของส่วนเรื่องที่สำคัญ หากแต่บางครั้ง การใช้เทคนิค Fade ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะด้วย เช่น การตัดต่อ Teaser หรือ Trailer เทคนิค Fade ก็จะถูกใช้เพื่อแยกระยะเวลา และเหตุการณ์จากภาพที่เรียงต่อเนื่องกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับเรื่องราวได้อีกด้วย เพราะลักษณะของการ Fade In/Out จะคล้ายกับการลืมตา และการปิดตา การลืมตาขึ้นมาก็เหมือนการเริ่มต้นเช่นไร และการหลับตาก็เหมือนการสิ้นสุดเช่นนั้น นอกจากนี้แล้ว ทุกครั้งที่หลับตา เราก็จะได้ผ่อน แต่ในทางกลับกัน ถ้าหลับตา และลืมตาอย่างรวดเร็ว เราก็จะอยู่ในสภาวะที่มีความรู้สึกตื่นเต้น กล่าวคือหลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาในเรื่องนี้ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการตัดต่อให้สนุก และน่าสนใจขึ้นนั่นเอง

Dissolve

Dissolve คือการเปลี่ยนภาพ โดยที่ภาพแรกจะค่อยๆ จางไปสู่อีกภาพ และในเวลาเดียวกันนั้น อีกภาพจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้นมาแทนที่ภาพเดิมโดยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเหมือนการ Cut

เทคนิค Dissolve ภาพที่ได้จะค่อยๆ จางจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพโดยอาจจะใช้ระยะเวลา 1-2 วินาที ซึ่งระยะเวลามาก หรือน้อยขึ้นกับผู้ตัดต่อเป็นคนกำหนด

Dissolve ทำให้การเปลี่ยนภาพเป็นไปอย่างราบรื่น ในระหว่างการเปลี่ยนภาพทั้งสองดูเหมือนจะทับซ้อนกัน จึงมักเกี่ยวข้องกับกาลเวลา หรือการเปลี่ยนตำแหน่ง (หรือทั้งสองอย่าง) แต่ช่วงการเปลี่ยนภาพเหล่านี้อาจไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในระหว่างฉากการสนทนา หรือรายการสัมภาษณ์ ซึ่งต้องใช้การ Cut เพื่อรักษาความรู้สึก กระชับ และฉับพลัน

การ Dissolve จะช่วยสร้างความรู้สึกที่ราบรื่น และนุ่มนวล โดยจะใช้เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว เหตุการณ์ หรือช่วงเวลาทั้งที่ต่างกันให้มีความรู้สึกสัมพันธ์กัน

หรือในกรณีที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือช่วงเวลาเดียวกัน แต่มีการ Dissolve ภาพหลัก (เช่น ตัวละคร) ไปมา ก็ช่วยสร้างการเน้นเหตุการณ์นั้นๆ หรือขยายช่วงเวลา เพื่อให้ผู้ชมซึมซับความรู้สึกให้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น ก่อนจะไปสู่เหตุการณ์อื่นๆ ซึ่งบางครั้งอาจมีดนตรีประกอบเข้ามาเพื่อขับเน้นความรู้สึกให้ออกมาได้ดียิ่งขึ้น

Wipe

Wipe หรือการปาด เป็นเทคนิคแบบดั้งเดิมที่ทุกคนคงเคยผ่านตากันอย่างแน่นอน นั่นก็คือหน้าจอจะมีลักษณะของการปาดภาพที่ต้องการจะเปลี่ยน ทับลงบนภาพที่ปรากฎอยู่ 

Wipe มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การ Wipe แบบนาฬิกา แบบเส้นตรงไปจนถึงรูปร่างที่ซับซ้อน ข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ Wipe มักจะมีเส้นขอบภาพที่ชัดเจนเพื่อช่วยแยกแยะภาพระหว่างทั้งสองที่มีการเปลี่ยนภาพ

การใช้ Wipe อาจสร้างความรู้สึกไม่สมจริงของเรื่องราว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อแบ่ง Act หรือ Sequence ของเรื่องราวทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ George Lucas จงใจใช้มาตลอดใน Star Wars เพื่อต้องการแบ่งแยกโครงสร้างของเรื่องออกเป็นส่วนๆ

Digital Effect

เป็นเทคนิค Transition สมัยใหม่ ที่นำมาใช้กับงานที่เน้นความน่าสนใจของภาพ เช่น งานโฆษณา MV หรือ Motion Graphics ที่มี Effect มากมาย เช่น การเปลี่ยนค่าของสี/แสง หรือการแปลงค่า Pixel เป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนโฟกัส รวมไปถึงเทคนิคสมัยใหม่อย่าง Glitch Transitions 

เทคนิค Transition แบบนี้จะสร้างความหวือหวาให้กับผลงาน หากเป็นงานประเภทที่ต้องการดึงดูดความสนใจสูง เทคนิคแบบนี้จะสามารถช่วยตอบโจทย์ได้

Creative Transitions

เทคนิค Transition ในแต่ละรูปแบบที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น นอกจากจะเป็นเทคนิคของการตัดต่อขั้นพื้นฐานแบบยาสามัญประจำบ้านสำหรับนักตัดต่อที่ต้องมีติดตัวกันทุกคนแล้ว นักตัดต่อที่มีชั่วโมงบินสูงขึ้นยังสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคของ Transition เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ดูมีลูกเล่นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปได้อีก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาจจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการการวางแผนในขั้น Production แล้วนำมา Compositing ในขั้น Post Production ที่ต้องใช้การซ้อนภาพขั้นสูงเพื่อเปลี่ยน Shot ที่มีความซับซ้อนขึ้น

ถึงจุดนี้ อาจจะทำให้เราเข้าใจหลักการใช้ Transition แต่ละแบบ ในการถ่ายทอดเรื่องราว สื่อความหมาย รวมถึงการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ Editor ที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่ระดับมืออาชีพ ทั้งในสายเล่าเรื่อง และสายเทคนิคด้านภาพ

และ BEAR ก็ยังคงจะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ และน่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจในศาสตร์ของ Editing ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนได้ทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบได้อย่างมีความสุข พอใจ ภูมิใจในฝีมือ และความพยายามของตนเอง โดยซีรีส์ The Art of Editing เรื่องต่อไปนั้น จะนำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อที่ถือเป็นหัวใจของการตัดต่อ นั่นก็คือการสร้างจังหวะให้กับงานตัดต่อ หรือ Pace & Rhythm ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

-Contributor : Akkharaphon Dantonglang