ข้อใดไม่ใช่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน sustainable utilization

11. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลสำคัญในการไม่ทิ้งเศษเหล็กเหลือใช้

1. เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่

3. เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4. นำไปสร้างปะการังเทียม

ตอบ 4 หน้า 464, (คำบรรยาย) การ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้อย่างประหยัดและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดคือการมีทรัพยากรไว้ใช้นานๆ ดังนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาเอาไว้เฉยๆ หรือการไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ (ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

12. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดไฟน้อยที่สุด

1. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังน้อย

2. ลดความร้อนในห้องโดยการติดตั้งม่าน มู่ลี่

3. ตั้งอุณหภูมิห้องปกติที่ 25º C

4. ไม่ควรนำเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องปรับอากาศ

ตอบ 1 หน้า 470 – 471, (คำบรรยาย) วิธีปฏิบัติเพื่อประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนมีดังนี้

1. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังวัตต์ต่ำและมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้า

2. ปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณบ้านเพื่อบังแสงแดด

3. ใช้แสงธรรมชาติช่วยในตัวอาคารเพื่อให้มีแสงสว่าง

4. ลดความร้อนในห้องด้วยการติดตั้งม่านหรือมู่ลี่

5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25º C

6. ไม่ควรนำอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ตู้เย็น ฯลฯ มาไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

7. หมั่นดูแลทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าไม่ให้มีฝุ่นเกาะ

8. ไม่ควรเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้และให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

9. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

10. ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก หรือใช้ถุงพลาสติกซ้ำเพื่อลดปริมาณขยะ

11. ลดการใช้รถยนต์ด้วยการใช้วิธี Car Pool คือ นั่งรถไปด้วยกัน หรือใช้วิธีเดิน ขี่จักรยาน ขึ้นรถประจำทาง ฯลฯ

13. การปฏิบัติในข้อใดช่วยลดภาวะโลกร้อนได้น้อยที่สุด

1. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าไม่ให้มีฝุ่นเกาะ

2. ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อเลิกใช้งาน

3. ใช้แสงธรรมชาติช่วยในตัวอาคารเพื่อให้มีแสงสว่าง

4. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดน้ำมันน้อยที่สุด

1. ไม่ควรบรรทุกของในรถมากเกินไป

2. ไม่ควรติดฟิล์มกรองแสงป้องกันความร้อน

3. ควรตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

4. ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกับสตาร์ทเครื่อง

ตอบ 2 หน้า 471-472, 478-479, (คำบรรยาย) ข้อปฏิบัติในการประหยัดน้ำมันมีดังนี้

1. ขับรถไม่เกิน 90 กม./ชม.

2. เติมลมยางให้พอดีและตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. ตรวจสอบทำความสะอาดไส้กรองอากาศเป็นประจำทุก 2,500 กม.

4. ติดตั้งฟิล์มกรองแสงเพื่อป้องกันความร้อน

5. ไม่บรรทุกของหนักเกินไป

6. ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ควรปิดเครื่องปรับอากาศและไฟหน้าเพราะจะทำให้ประหยัดน้ำมัน

7. อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ไว้เฉยๆ ขณะจอดคอย เพราะจนทำให้รถหนักและสิ้นเปลืองน้ำมัน

8. ใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ จะช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ ฯลฯ

15. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดน้ำมันมากที่สุด

1. ควรตรวจสอบทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุก 2,500 กม.

2. เมื่อติดเครื่องยนต์ ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกตัวทุกครั้ง

3. ควรขับรถยนต์แบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แทนขับเคลื่อน 2 ล้อ

4. ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 120 กม./ชั่วโมง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. ข้อใดตรงกับความหมายของสัมมาอาชีวะมากที่สุด

1. การทำมาหาเลี้ยงชีพโดยฉ้อโกง

2. การทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต

3. การประกอบอาชีพด้วยความเมตตา

4. การประกอบอาชีพอย่างขาดสติ

ตอบ 2 หน้า 351, 409, 675, (คำบรรยาย) สัมมา อาชีวะ (เลียงชีพชอบ) หมายถึง เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพที่ผิด) หรือการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง เลี้ยงชีพโดยสุจริต หรือสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบด้วยกฎหมายและธรรมะ คือ ไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดศีลธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ชีวิตอื่น สังคม หรือที่จะทำให้ชีวิต จิตใจ และสังคมเสื่อมโทรม ตกต่ำ ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า “ธมฺเมน วิตฺตเมเสยฺย” (บุคคลพึงหาเลี้ยงชีพโดยทางชอบธรรม)

17. การเก็บสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนส่งคืนเจ้าของ จัดเป็นคุณธรรมข้อใด

1. อโลภะ

2. อโทสะ

3. อโมหะ

4. มิจฉาทิฐิ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) กุสลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลมูล มี 3 ประการดังนี้

1. อโล ภะ (ความไม่ยากได้) คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ไม่อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน เป็นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ ก็มีแต่ความยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น

2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) คือ ความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท ใช้ปัญญาในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ

3. อโมหะ (ความไม่หลง) คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่มัวเมาในอบายมุข ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคง ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล

18. การปฏิบัติในข้อใดช่วยลดภาวะโลกร้อนได้น้อยที่สุด

1. ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณบ้าน

2. ควรใช้วิธี Car Pool (นั่งไปทำงานด้วยกัน)

3. ควรทิ้งถุงพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ควรใช้ซ้ำ

4. ควรถอดปลั๊กที่ชาร์ทแบตมือถือเมื่อมีไฟเต็มแล้ว

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

19. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์แบบยั่งยืน

1. ไม่นำทรัพยากรมาใช้ควรเก็บไว้

2. การใช้ทรัพยากรให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด

3. การใช้ทรัพยากรกอย่างเหมาะสมให้ได้ประโยชน์สูงสุด

4. การนำของเสียมาใช้ประโยชน์ (Recycle) เพื่อให้มลพิษน้อยลง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน (Sustainable Utilization) หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อใช้แล้วเกิดมลพิษน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย หรือเมื่อเกิดของเสียและมลพิษในสิ่งแวดล้อมแล้วก็ต้องหาวิธีบำบัดกำจัด ให้ฟื้นคืนสภาพและนำของเสียมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิล (Recycle) เพื่อให้มลพิษในสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้อย่างยั่งยืนและอย่างมีประสิทธิภาพ

20. การสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลจากยางรถยนต์ จัดเป็นการอนุรักษ์ในลักษณะใด

1. ฟื้นฟู

2. ป้องกัน

3. ซ่อมแซม

4. กักเก็บ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบการฟื้นฟู (Rehabilitation) หมายถึงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมเพื่อให้อยู่ในสภาพปกติ ซึ่งอาจใช้เวลามากหรือน้อยแล้วแต่สภาพที่เสื่อมโทรม เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อีกและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเสริมสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลด้วยการสร้างแนวปะการังเทียม จากแท่งคอนกรีตหรือยางรถยนต์ และการปลูกป่า เป็นต้น