ข้อใดไม่ใช่สหกรณ์นอกภาคการเกษตร

ข้อใดไม่ใช่สหกรณ์นอกภาคการเกษตร

ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

          2. สหกรณ์ประมง           3. สหกรณ์นิคม           4. สหกรณ์ร้านค้า           5. สหกรณ์บริการ           6. สหกรณ์ออมทรัพย์           7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ประเภทสหกรณ์ คือ กลุ่มสหกรณ์ที่มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หลักอย่างเดียวกัน เช่น กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสหกรณ์ประมง กลุ่มสหกรณ์นิคม กลุ่มสหกรณ์ร้านค้า ฯลฯ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์           ความคาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการที่มีนัยสำคัญในการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์ เช่น วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ การให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก การรวมกันซื้อวัสดุอุปกรณ์การผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภค การรวมกันขายและหรือแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อขายหรือการตลาด ซึ่งรวมทั้งการคัดขนาดหรือคุณภาพผลผลิต การเก็บรักษาการขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวข้างต้น  เช่น บริการน้ำเพื่อการเกษตร บริการใช้เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ร่วมกัน บริการส่งเสริมแนะนำทางวิชาการ เป็นต้น วัตถุประสงค์รองของสหกรณ์           การจัดให้มีสวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิก การส่งเสริมการศึกษาฝึกอบรมและวัฒนธรรม การดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ฯลฯ วัตถุประสงค์รองของสหกรณ์นี้มุ่งไปในด้านกิจกรรมทางสังคม หรือมิติทางสังคมของสหกรณ์ ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักมุ่งไปในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือมิติทางเศรษฐกิจ           สหกรณ์ทุกประเภทสามารถกำหนดวัตถุประสงค์รองเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรก็ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภทของสหกรณ์ เฉพาะวัตถุประสงค์หลักเท่านั้นที่เป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งแยกประเภทสหกรณ์ ทั้งนี้เพราะว่าสหกรณ์เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการอันดีเป็น (need) อย่างเดียวกันหรือเหมือนกัน เพื่อร่วมกันดำเนินธุรกิจหรือวิสาหกิจบนพื้นฐานของการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นกฎเกณฑ์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์จึงแตกต่างกัน การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจรูปอื่น เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ห้างหุ้นส่วนบริษัท สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ได้อย่างกว้างขวาง ดังคำกล่าวที่ว่า "จากไม้จิ้มฟันยันเรือรบ" ส่วนรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หรือตามนโยบายของรัฐบาล มี 2 วิธี คือ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์ และโดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ (ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายสหกรณ์)           1. การจัดประเภทสหกรณ์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ           (1) ลักษณะที่ 1 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภท เช่น กฎหมายสหกรณ์การเกษตรสำหรับประเภทสหกรณ์การเกษตร กฎหมายสหกรณ์ประมงสำหรับประเภทสหกรณ์ประมง กฎหมายสหกรณ์ปศุสัตว์สำหรับสหกรณ์ปศุสัตว์ กฎหมายสหกรณ์ป่าไม้สำหรับสหกรณ์ป่าไม้  กฎหมายสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ฯลฯ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ซึ่งใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับก็มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภทในทำนองเดียวกัน           (2) ลักษณะที่ 2 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียว เช่น ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวใช้บังคับแก่สหกรณ์ทุกประเภท พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2511 และ พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 ของไทย มาตรา 33 วรรคสุดท้าย บัญญัติไว้เหมือนกันว่า "ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง" ในปัจจุบันเราจึงมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2548) ออกตามความใน พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับอยู่ โดยกำหนดให้มีสหกรณ์ 7 ประเภท  คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ ประมวลกฎหมายสหกรณ์สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1990 มาตรา 23 ได้แบ่งประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท คือ              -   สหกรณ์สินเชื่อ              -   สหกรณ์ผู้บริโภค              -   สหกรณ์ผู้ผลิต              -   สหกรณ์การตลาด              -   สหกรณ์บริการ              -   สหกรณ์เอนกประสงค์           2. การจัดประเภทสหกรณ์โดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์           ประเทศส่วนมากที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยประเภทสหกรณ์ไว้โดยเฉพาะเจาะจง แต่ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนสหกรณ์ที่จะกำหนดว่าสหกรณ์ที่เสนอขอจดทะเบียนนั้น ควรจัดให้อยู่ในประเภทใดโดยพิจารณา จากวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ตามที่ปรากฏในร่างข้อบังคับของสหกรณ์นั้นเอง ในทางปฏิบัติจึงมีระเบียบหรือคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดประเภทของสหกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของรัฐให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์และช่วยเหลือในการยกร่างข้อบังคับสหกรณ์ การกำหนดประเภท สหกรณ์ในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีลักษณะยืดหยุ่น  และสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความต้องการของประชาชนซึ่ง รวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์ได้เสมอ สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้กำหนดประเภทของ สหกรณ์ไว้ในกฎหมาย

ข้อใดเป็นสหกรณ์นอกภาคเกษตร

2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรมี 4 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์บริการ สหกรณ์ ร้านค้า และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

สหกรณ์การเกษตร มีที่ไหนบ้าง

รหัสสหกรณ์
ชื่อสหกรณ์
สถานะ
12234
สหกรณ์การเกษตร สกท.ดงขวาง จำกัด
ชำระบัญชี
10467
สหกรณ์การเกษตร สกอ.โนนนาจาน จำกัด
ดำเนินธุรกิจ
1516
สหกรณ์การเกษตรกมลาไสย จำกัด
ดำเนินธุรกิจ
3729
สหกรณ์การเกษตรกุฉินารายณ์ จำกัด
ดำเนินธุรกิจ
รายชื่อสหกรณ์ประเภทสหกรณ์การเกษตรkalasin.cad.go.th › ...null

สหกรณ์มีอะไรบ้าง

ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

ข้อใดคือสาเหตุสําคัญในการจัดตั้งสหกรณ์

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยงตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็ ...