ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ

    Ecotourism เป็นคำที่เกิดใหม่ในวงการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยนำคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ Eco และ Tourism คำว่า Eco แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัย ส่วน Tourism แปลว่า การท่องเที่ยว Ecotourism จึงแปลว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หมายความถึง การท่องเที่ยวที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์
    

    ส่วนคำว่า นิเวศ ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทยก็แปลว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัยเช่นกัน (ดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ฉะนั้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม

ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ

    นอกจากคำว่า Ecotourism แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกันอีกหลายคำ ได้แก่ Green tourism แปลว่า การท่องเที่ยวสีเขียว หมายถึง การท่องเที่ยวสถานที่ทางธรรมชาติโดยสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ Biotourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ ซึ่งหมายถึง การท่องเที่ยวที่เน้นการศึกษาสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ และ Agrotourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านเกษตรกรรม เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของพืชผลไร่นา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร

    คำว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นศัพท์บัญญัติที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2541 โดยให้มีความหมายตรงกับคำว่า Ecotourism ในภาษาอังกฤษ ศัพท์บัญญัตินี้ได้รับความเห็นชอบจากราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์แล้วเพื่อขยายความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอกล่าวถึงคำนิยามที่นักวิชาการได้ให้ไว้ในที่ต่างๆ ดังนี้

  • องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP) สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism Society) และองค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organi- zation) ให้คำนิยามว่า ”การท่องเที่ยวที่ไม่เป็นการรบกวนลักษณะทางธรรมชาติ มุ่งหวังในด้านการศึกษา มีความพอใจต่อทัศนียภาพ พืชพรรณ 
  • และสัตว์ตามธรรมชาติ มีความเข้าใจต่อวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยไม่เป็นการรบกวนต่อระบบนิเวศ ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ที่จะทำ ให้เกิดการอนุรักษ์ต่อทรัพยากรของประชากร ในท้องถิ่น”
  • ดร. ราลฟ์ บักลีย์ (Dr. Ralph Buckley) ศาสตราจารย์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยกริฟฟิท ประเทศออสเตรเลีย ให้คำนิยามสั้นๆว่า ”การท่องเที่ยวที่อาศัยผลิตผลทางธรรมชาติ การ
    จัดการที่ยั่งยืน และองค์ประกอบทางการศึกษาซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดการอนุรักษ์”
  • บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา  ให้ความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยมีการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และให้ชุมชนท้องถิ่น และสร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบต่อระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้คำนิยามว่า “การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ชื่นชม และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม และชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้และความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศ”
    สรุปความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ มีการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยมีการควบคุมผลกระทบ และสร้างบรรยากาศของการศึกษาเรียนรู้ ธรรมชาติแวดล้อม พร้อมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และ ได้รับประโยชน์เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตแหล่งธรรมชาติ รวมทั้งแหล่งวัฒนธรรมอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และมีวัถตุประสงค์อย่างมุ่งมั่นเพื่อชื่นชม ศึกษา เรียนรู้ และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ และสัตว์ป่า ตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาตินั้น อีกทั้งช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นด้วยแนวคิดพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
          สถานการณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยรวมในอนาคต เป็นการคาดหวังเป้าหมายสูงสุดหรือผลการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งระบบ เพื่อให้สามารถตอบสนองกระแสความต้องการด้านอนุรักษ์ กระแสความต้องการของตลาด และกระแสของการพัฒนาคน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

          การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย ขั้นตอน และวิธีการจัดการอย่างเป็นระบบ สามารถกำหนดผลสำเร็จของการจัดการและโครงข่ายความเชื่อมโยงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการปรับสภาพความสมดุลย์ของกระแสความต้องการของแต่ละด้าานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรักษาระบบนิเวศ

          การจัดการในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถควบคุมขนาดของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยเฉพาะองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ตลาดการท่องเที่ยว และองค์กรการบริหารการจัดการ ซึ่งจะมีประสิทธิผลให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถอำนวยประโยชน์ ดำรงสถานภาพ บทบาทหน้าที่ และฟื้นตัวได้ตามสภาพธรรมชาติ นักท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการอนุรักษ์ ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม และมีขีดความสามารถในการจัดการ เกิดความภูมิใจ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน



          กล่าวโดยสรุป เป้าหมายของแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้น คือการสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน คนในท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงประกอบไปด้วย

ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ


          1. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะต้องมีการควบคุมดูแลรักษา และจัดการทรัพยากรให้คงสภาพเดิมแท้ไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่อนไหว ง่ายต่อการถูกกระทบ และฟื้นตัวยาก
          2. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ มีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และการปรับให้เกิดความสมดุลกับรูปแบบและกิจกรรมเดิมที่มีอยู่ พึงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นๆ หากเน้นในการแปรประโยชน์จากการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การจัดการการท่องเที่ยวโดยรวม
          3. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต้องคำนึงถึงการพัฒนาด้านการให้การศึกษา สร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาระบบนิเวศร่วมกัน มากกว่าการมุ่งเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจ และการมีรายได้เพียงอย่างเดียว
          4. การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้องให้ความสำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร การบริการ การแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมชุมชนในกระบวนการท่องเที่ยว รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา หรือให้ประชาชนมีตัวแทนเป็นคณะกรรมการร่วมในทุกระดับ
          5. ให้ความสำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นความจำเป็นอันดับต้นในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งนี้ให้องค์กรต่างๆ กำหนดบทบาทที่ชัดเจนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และกำหนดวิธีที่เหมาะสม 
          6. นำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เข้าสู่แผนพัฒนาระดับต่างๆ อย่างมีความสำคัญ ได้แก่ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาภาค พร้อมทั้งให้มีการจัดสรรและกระจายงบประมาณอย่างทั่วถึงและพอเพียง
          7. สนับสนุนการศึกษา วิจัย และประเมินผลการพัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการ การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแผนอย่างเป็นขั้นตอน
          8. มีการใช้กฎหมายในการควบคุม ดูแล รักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด โดยการแนะนำ ตักเตือน และสร้างวินัยการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย
          9. จัดทำแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือการจัดการ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างถูกต้อง
          10. จัดให้มีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยให้มีการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารและการจัดการร่วมกันทุกระดับ

แนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
กลยุทธ์ที่ 1 : ให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมและพัฒนา การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

          1. การส่งเสริมและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของการอนุรักษ์ และต้องมีแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป มีการกำหนดทิศทางและมาตรการส่งเสริมและการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งป้องกันและควบคุมปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนที่จะเกิดจากกิจกรรมการ ท่องเที่ยว
          2. ให้มีการวางแผนการจัดการที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อคุ้มครอง ดูแล รักษาพื้นที่ที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์หรือมีคุณค่าทางธรรมชาติ
          3. หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแหล่งท่องเที่ยว ต้องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการท่องเที่ยวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง


กลยุทธ์ที่ 2 : การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจะต้องคำนึงถึงศักยภาพความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

          1. จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงสมรรถนะและระบบนิเวศของแหล่ง ท่องเที่ยวที่จะรองรับได้ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวของระบบนิเวศ เช่น การกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยว การกำหนดระยะเวลา และการจัดให้มีทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยว ได้รับการฟื้นฟู
          2. แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี มีการบริหารการจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งควบคุมภาพอากาศและเสียง
          3. ให้มีการจัดทำแผนและผังการใช้ที่ดิน รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบังคับในการจัดระเบียบของธุรกิจและกิจกรรมบริการนักท่องเที่ยวให้เป็นไปตามแผน และผังที่กำหนด โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดทำ
          4. ให้มีการกำหนดสัดส่วนรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวมาใช้ในการดูแลรักษา ฟื้นฟู บูรณะ จัดการสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว โดยแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
          5. หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแหล่งท่องเที่ยวจะต้องดูแลรักษาเอกลักษณ์และ คุณค่าดั้งเดิมของแหล่งท่องเที่ยวไว้ โดยกำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้มีการดัดแปลงสภาพแวดล้อม รวมทั้งควบคุมการก่อสร้างบริการพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กลมกลืน ไม่ลดคุณค่าความสำคัญและเอกลักษณ์ของแหล่ง
          6. หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแหล่งท่องเที่ยวประสานกับหน่วยงานที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย ให้มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดเพื่อปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและโบราณสถาน

 
ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
กลยุทธ์ที่ 3 : สร้างศักยภาพการบริหารและจัดการด้านการท่องเที่ยวให้ท้องถิ่นและประชาคม มีการจัดการที่มีมาตรฐาน

          1. ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นมีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
          2. จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และท้องถิ่นในระดับชุมชน ให้เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม 
          3. สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับประชาชนในท้องถิ่นประกอบอาชีพที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้อย่างพอเพียงและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

กลยุทธ์ที่ 4 : ปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมตามหลักการอนุรักษ์

          1. นำนโยบายด้านการอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดีแปลงให้เป็นแผนปฏิบัติการโดยเน้นให้มีผลในทางปฏิบัติและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนการดำเนินงานปกป้องคุ้มครอง และฟื้นฟู โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาจังหวัดและท้องถิ่น
          2. นำกฎหมายของหน่วยงานต่างๆมาใช้เป็นมาตรการในการปกป้องและฟื้นฟูแหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี และใช้มาตรการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเป็นมาตรการเสริมในการอนุรักษ์ 
          3. ให้หน่วยงานของรัฐจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งให้มีการจัดสรรรายได้อันเกิดจากการใช้หรือได้ประโยชน์จากแหล่งศิลปกรรมมาดูแล รักษา ฟื้นฟู และบูรณะแหล่งศิลปกรรมและสภาพแวดล้อม 
          4. ให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี 
          5. ให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดทำกรอบสิ่งแวดล้อมทาง วัฒนธรรมเพื่อสภาวัฒนธรรมรายงานสถานการณ์ต่อรัฐสภาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง


กลยุทธ์ที่ 5 : สร้างองค์ความรู้ โอกาส และกระบวนการสืบทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และโบราณคดี อย่างถูกต้องเป็นระบบ

          1. ให้ความรู้ ปลูกฝังรากฐานความรู้ความเข้าใจ สร้างและสนับสนุนกิจกรรม ที่ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และโบราณคดี โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา จนถึงการดำรงภูมิปัญญา
          2. เสาะหาผู้รู้ ปราชญ์ท้องถิ่น ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และโบราณคดี เพื่อให้มี บทบาทในการเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านั้นให้เข้มแข็ง แพร่หลาย และดำรงอยู่ต่อไป โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นให้มากที่สุด โดยองค์กรของรัฐเป็นผู้สนับสนุน

ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
          3. ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ใช้หลักบูรณาการวัฒนธรรมกับวิชาสาขาต่าง ๆ ทั้งระบบ ใช้แหล่งศิลปกรรมและโบราณคดีเป็นพื้นที่ศึกษานอกสถานที่ 
          4. ให้มีกองทุนท้องถิ่น โดยระดมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเพื่อใช้ ในการดูแล รักษา และฟื้นฟูบูรณะแหล่งศิลปกรรมและโบราณคดีของท้องถิ่น
          5. ให้มีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารทุกชนิด มาใช้ในการเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวกับ แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี