Easy Pass ใช้เส้นไหนได้บ้าง

ทั่วไป

22 เม.ย. 2565 เวลา 12:42 น.2.7k

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม แจ้งผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass สามารถใช้บัตร Easy Pass ผ่านทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ได้ตั้งแต่เวลา 00.01 น.พรุ่งนี้

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม แจ้งผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass สามารถใช้บัตร Easy Pass ผ่านทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ได้ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 23 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

โดยสามารถใช้ได้ทุกด่านฯ ประกอบด้วย

  • ด่านฯ ดินแดง 1
  • ด่านฯ ดินแดง 2
  • ด่านฯ สุทธิสาร
  • ด่านฯลาดพร้าวขาเข้า
  • ด่านฯ ลาดพร้าวขาออก
  • ด่านฯ รัชดาภิเษก 1 (ด่านบน)
  • ด่านฯ รัชดาภิเษก
  • ด่านฯ บางเขน
  • ด่านฯ แจ้งวัฒนะ 1 (ด่านไกล)
  • ด่านฯ แจ้งวัฒนะ 2 (ด่านใกล้)
  • ด่านฯ หลักสี่ขาเข้า
  • ด่านฯ หลักสี่ขาออก
  • ด่านฯ ดอนเมือง 1 (ด่านไกล)
  • ด่านฯ ดอนเมือง 2 (ด่านใกล้)
  • ด่านฯ อนุสรณ์สถาน 1 (ด่านไกล)
  • ด่านฯ อนุสรณ์สถาน 2 (ด่านใกล้)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Tollway Call Center โทร.1233 และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ EXAT Call Center โทร.1543 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Easy Pass ใช้เส้นไหนได้บ้าง

กระทรวงคมนาคม ลงนามเชื่อมต่อระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ ร่วมกันระหว่างบัตร Easy Pass และบัตร M-Pass โดยพร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้หลังเที่ยงคืนของวันนี้ (31 ต.ค.)

กระทรวงคมนาคม ลงนามเชื่อมต่อระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ ร่วมกันระหว่างบัตร Easy Pass และบัตร M-Pass โดยพร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้หลังเที่ยงคืนของวันนี้ (31 ต.ค.)

การลงนามความร่วมมือเชื่อมต่อระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ หรือ ETCs (อีทีซี) ร่วมกันระหว่างบัตร Easy Pass ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบัตร M-Pass ของกรมทางหลวง  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าผ่านทาง และอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการทางพิเศษ ทั้ง 7 เส้นทาง 

ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร , ทางพิเศษฉลองรัช หรือทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ , ทางพิเศษศรีรัช , ทางพิเศษกาญจนาภิเษก สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ , ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือทางด่วนบางนา-ชลบุรี , ทางพิเศษอุดรรัถยา หรือทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด และทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 

รวมทั้งมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง ได้แก่ หมายเลข 7 กรุงเทพฯ-ชลบุรี และหมายเลข 9 บางปะอิน-บางพลี โดยผู้ใช้บริการ จะสามารถชำระค่าบริการได้โดยใช้บัตรเพียงบัตรเดียวผ่านทั้งช่องเก็บเงินบนระบบ Easy Pass และ M-Pass

นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ การลงนามเชื่อมต่อระบบทางด่วนครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยงทุกระบบการเดินทางตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าจำนวนลูกค้าจะเพิ่มขึ้นจากเดิม ระบบ Easy Pass  มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน และ M-Pass หลักแสนคน ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางได้  พร้อมเปิดใช้งานเป็นทางการหลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ตุลาคมนี้(59) 

ส่วนผู้ที่มีบัตร Easy Pass  และ M-Pass อยู่เดิม สามารถใช้งานบัตรที่มีอยู่ได้ทันที หากมีทั้ง 2 บัตร แนะนำให้ใช้งานเพียงบัตรเดียว  

สำหรับความคืบหน้าการใช้ E-ticket หรือตั๋วร่วมเพื่อเดินทางเชื่อมต่อในระบบขนส่งสาธารณะ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พีพีพี (PPP) ในการจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบริษัทเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ไม่เกินกลางปีหน้า(60) จะทำให้ประชาชนเดินทางเชื่อมต่อในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส ก่อนจะพัฒนาระบบไปสู่ระบบรถเมล์และท่าเรือ ต่อไป 

Easy Pass ใช้เส้นไหนได้บ้าง

เผยแพร่: 1 พ.ย. 2559 04:18   ปรับปรุง: 1 พ.ย. 2559 11:50   โดย: MGR Online


กิตตินันท์ นาคทอง ... รายงาน

หลังกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง เชื่อมต่อระบบบัตร Easy Pass และบัตร M-Pass ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป

โดยผู้ใช้บัตรทางด่วน Easy Pass ที่มีจำนวนกว่า 1 ล้านราย เมื่อใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพฯ - ชลบุรี และสายกาญจนาภิเษกตะวันออก สามารถเข้าช่อง M - PASS เฉพาะรถ 4 ล้อ ได้ทันที

ส่วนผู้ใช้บัตรทางด่วน M-Pass ที่มีจำนวนราว 1 แสนราย เมื่อใช้ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทุกเส้นทาง สามารถเข้าช่องอัตโนมัติ EASY PASS เฉพาะรถ 4 ล้อได้ทันทีเช่นกัน

ทำให้การใช้งานร่วมบัตร 2 ระบบเข้าด้วยกัน คาดว่า จะทำให้มีผู้ใช้งานบัตรอัตโนมัติมากขึ้น และจะทำให้การจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง มีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้น

- Easy Pass และ M-Pass ราคาเท่ากัน หาซื้อไม่เหมือนกัน

บัตรทั้งสองแบบมีลักษณะเหมือนกัน ประกอบด้วย TAG สำหรับติดหน้ากระจกเพื่อใช้ในการผ่านทาง และ บัตรพลาสติกแข็ง ใช้สำหรับเติมเงิน

แตกต่างกันตรงที่ บัตร M-Pass จะมีบัตรเงินสด KTB E-Money ของธนาคารกรุงไทย สามารถเติมเงินลงในบัตร E-Money ซึ่งเป็นกระเป๋าเงินแยกต่างหาก เพื่อใช้รูดซื้อสินค้าและบริการที่มีเครื่องหมาย VISA ได้ทั่วประเทศ

แม้ในขณะนี้ทั้งบัตร Easy Pass และบัตร M-Pass จะมีราคาเท่ากัน คือ ฟรีเมื่อเติมเงินสำรองค่าผ่านทางล่วงหน้าขั้นต่ำ 1,000 บาท แต่ก็ต้องเลือกซื้อบัตรทางด่วน และเลือกใช้ รวมทั้งเลือกเติมเงินอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ดี

ปัจจุบันผู้ใช้รถสามารถเป็นเจ้าของบัตรทางด่วนทั้งสองแบบได้ฟรี โดยบัตร Easy Pass ยกเลิกค่าประกันความเสียหายตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา แต่ต้องเปิดบัญชีและเติมเงินขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป

โดยสามารถเปิดบัญชีบัตร Easy Pass ได้ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร ฉลองรัช บูรพาวิถี ได้ทุกด่าน ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางพิเศษศรีรัชบางด่าน

รวมทั้งสำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถนนพหลโยธิน, จุดพักรถ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. บางนา (ขาออก), ศูนย์บริการลูกค้า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ถนนอโศก-ดินแดง

ส่วนบัตร M-Pass สามารถสมัครและรับบัตรได้ทันที โดยเติมเงินครั้งแรก 1,000 บาทต่อบัตร ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย 120 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง และนครนายก

นอกจากนี้ ยังสามารถสมัครใช้บริการได้ทุกสาขา หรือผ่านแอปพลิเคชัน KTB Netbank โดยธนาคารจะจัดส่งกล่องอุปกรณ์ชุดบัตร M-Pass และซองรหัสผ่าน (Pin Mailer) ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ระบุแจ้งไว้กับธนาคาร

Easy Pass ใช้เส้นไหนได้บ้าง

- ช่องทางเติมเงิน กับค่าธรรมเนียมแฝง

สำหรับการเติมเงินบัตรทางด่วนครั้งต่อไป ทั้งสองบัตรกำหนดไว้คล้ายกัน คือ ขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดครั้งละ 5,000 บาท แต่ยอดเงินคงเหลือในบัตรสูงสุดไม่เกิน 9,999 บาทสำหรับบัตร Easy Pass และ 10,000 บาท สำหรับบัตร M-Pass

หากจะกล่าวถึงช่องทางการเติมเงิน ดูเหมือนว่าบัตร Easy Pass จะสะดวกมากที่สุด เพราะมีให้เลือกหลายธนาคาร และหลายช่องทาง ทั้งตู้ ATM, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, แอปพลิเคชันบนมือถือ

โดยมีธนาคารที่ให้บริการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารยูโอบี

รวมทั้งเคาน์เตอร์ชำระเงิน ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา, จุดให้บริการ เทสโก้ โลตัส รวมทั้งแอปพลิเคชัน Wallet by True Money

นอกจากนี้ ยังมีบริการเติมเงินสำรองอัตโนมัติ โดยตัดเงินผ่านวงเงินในบัตรเครดิต VISA เมื่อมียอดเงินคงเหลือในบัตร Easy Pass ต่ำกว่า 300 บาท โดยสมัครผ่านเว็บไซต์ www.easytopup.co.th แต่คิดค่าธรรมเนียมการเติมเงิน 20 บาทต่อครั้ง ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม พบว่า ในแต่ละช่องทางการเติมเงินของบัตร Easy Pass ทุกธนาคาร จะมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 5 บาทต่อรายการ สูงสุด 10 บาทต่อรายการ ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ เทสโก้ โลตัส (ฟรีเฉพาะช่วงโปรโมชั่น)

หากจะเติมเงินบัตร Easy Pass โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ต้องไปเติมเงินที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ หรือสำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, จุดพักรถ ปตท.บางนา และ และศูนย์บริการลูกค้า BEM

ยกเว้น กรณีที่มีบัญชีพิเศษที่ชำระบิลฟรีบางธนาคาร เช่น บัญชีทีเอ็มบี ออล ฟรี ของธนาคารทหารไทย สามารถเติมเงินบัตร Easy Pass ผ่านช่องทาง ATM, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง และแอปพลิเคชัน TMB Touch ได้ฟรี

ส่วนธนาคารยูโอบี ฟรีค่าธรรมเนียมเติมเงิน Easy Pass ผ่าน UOB Personal Internet Banking และ UOB Mobile ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มี.ค. 2560 โดยสามารถทำรายการได้ทุกวัน ตั้งแค่เวลา 00.15-22.00 น.

ส่วนบัตร M-Pass ส่วนใหญ่จะเน้นเติมเงินผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยเป็นหลัก ได้แก่ สาขาธนาคาร, ตู้ ATM กรุงไทย, KTB Netbank, KTB Corporate Online โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

แม้ผู้สมัครบัตร M-Pass จะไม่จำกัดว่าจะต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย แต่ด้วยช่องทางการเติมเงิน ใช้ธนาคารกรุงไทยเป็นหลัก ถ้าไม่อยากต่อคิวหน้าเคาน์เตอร์ ก็ต้องนำเงินไปใส่เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยอยู่ดี

นอกจากนี้ หากไม่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยจริง ๆ ก็ยังได้เพิ่มช่องทางการเติมเงินผ่านตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้หน้าเซเว่นอีเลฟเว่น เทสโก้ โลตัส และ บีทีเอส) โดยมีให้เลือก 500 หรือ 1,000 บาทต่อครั้ง แต่มีค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อครั้ง

หากใช้บัญชีธนาคารกรุงไทย ยังมีบริการเติมเงินอัตโนมัติ (Auto Top-up) เมื่อเงินคงเหลือในบัตร M-Pass ต่ำกว่า 200 บาท จะหักจากบัญชีธนาคารกรุงไทยที่สมัครไว้โดยอัตโนมัติ

สามารถสมัครใช้บริการผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย ตู้ ATM และ KTB Netbank โดยสามารถเลือกกำหนดขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้ง

- ตรวจสอบรายงานการใช้ทาง

ทั้ง Easy Pass และ M-Pass มีระบบตรวจสอบรายงานการใช้ทางทั้งคู่ แม้หน้าตาเหมือนกัน แต่ก็ยังแยกคนละระบบ โดยผู้ใช้ Easy pass สามารถลงทะเบียนเพื่อใช้งานได้ที่ www.thaieasypass.com

หากต้องการสรุปรายงานการใช้ทางประจำเดือน สามารถสมัครได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งสรุปรายงานประจำเดือนทางไปรษณีย์ 240 บาทต่อปี

ส่วนผู้ใช้ M-Pass สามารถตรวจสอบรายงานการใช้ทางได้ที่เว็บไซต์ www.thaim-pass.com แตกต่างกันตรงที่ผู้ถือบัตรจะได้รับรายงานสรุปการผ่านทางรายเดือน ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ได้ฟรี

ในกรณีเลือกที่จะไม่ใช้บัตรทางด่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง กรณีไม่เลือกใช้บัตร Easy Pass สามารถส่งคืนบัตร Easy Pass และบัตรเติมเงิน (Smart Card) ได้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อขอเงินที่เหลือคืน

โดยอุปกรณ์จะต้องมีสภาพสมบูรณ์ ในกรณีที่ชำรุดหรือสูญหาย จะต้องชดใช้เงินค่าเสียหายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่ บัตร Easy Pass ที่ติดหน้ากระจก 1,000 บาท และบัตรเติมเงิน 100 บาท

ส่วนบัตร M-Pass ให้นำบัตรและอุปกรณ์ TAG มาคืน พร้อมสำเนาบัญชีธนาคาร เพื่อขอคืนเงินที่มีอยู่ในบัตรได้ที่ธนาคารกรุงไทย เฉพาะสาขาที่เปิดให้สมัครบัตร M-Pass

ระยะเวลาโอนเงินคืน ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจะต้องมีการตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์ TAG ก่อน หากเป็นบัญชีธนาคารอื่นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนด้วย

โดยสรุปแล้ว การเลือกซื้อและใช้บัตรทางด่วน Easy Pass หรือบัตร M-Pass จึงควรพิจารณาทั้งช่องทางการเติมเงินที่สะดวก รวมทั้งพิจารณาค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียไปในการเติมเงินแต่ละครั้งว่าคุ้มค่าหรือไม่