พื้นที่ ข้อ ใด มัก ประสบ พายุ ทอร์นาโด บ่อย ครั้ง

ทำไมพายุทอร์นาโดจึงมักเกิดที่สหรัฐอเมริกา

ทำไมพายุทอร์นาโดจึงมักเกิดที่สหรัฐอเมริกา

  • By : Admin
  • February 20, 2020
  • Category : NEWS

พื้นที่ ข้อ ใด มัก ประสบ พายุ ทอร์นาโด บ่อย ครั้ง

เมื่อพูดถึง ‘พายุทอร์นาโด’ คุณผู้อ่านหลายๆ คน คงจะนึกถึงลมพายุขนาดใหญ่ มีความน่ากลัว โดยพร้อมทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าและหนึ่งในประเทศที่ได้รับความเสียหายแบบมหาศาลมากที่สุด คุณผู้อ่านคงทราบกันดีว่าประเทศนั้น คือ ‘สหรัฐอเมริกา’ เพราะมีข่าวอันน่าเศร้าสลดออกมาอยู่บ่ายครั้ง แล้วเหตุใดเล่าพายุทอร์นาโดจึงเกิดในประเทศนี้บ่อยมาก เราจะพาคุณผู้อ่านไปหาคำตอบกัน

พายุทอร์นาโดคืออะไร?

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ ‘พายุทอร์นาโด’ กันก่อน โดยพายุประเภทนี้เป็นพายุ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยขนาดใหญ่ เมื่อมองจากระยะไกลจะคล้ายงวงช้าง มีความเร็วลมสูงสุด 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งพายุประเภทนี้จะเคลื่อนที่ ด้วยความเร็ว 20-40 ไมล์/ชั่วโมง ซึ่งทอร์นาโดเป็นพายุที่ถือว่าเต็มไปด้วยความอันตรายระดับสูงและในสหรัฐอเมริกาจะเกิดพายุประเภทนี้ทุกๆ ปี ทำให้ทางการต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเตือนประชาชนอยู่เสมอ

พายุทอร์นาโดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

พายุประเภทนี้ เกิดจากการที่กระแสลม มีระดับความเร็วและทิศทางแตกต่างกันมาปะทะกัน จนกระทั่งก่อให้เกิดการหมุนวนของอากาศ อากาศก็จะม้วนตัวรวมกันจนกระทั่งเกิดการขยายขนาด ก่อเกิดเป็นลมหมุนแรง ในลักษณะเป็นทรงกระบอกแนวนอน ต่อมาเมื่ออากาศที่อยู่บริเวณผิวหน้าดินบริเวณนั้น ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ แน่นอนว่าอากาศก็จะเกิดความอุ่นขึ้น จนกระทั่งเกิดการขยายตัวพร้อมลอยตัวสูง พร้อมผลักดันให้ลมหมุนทรงกระบอกในแนวนอนนั้น แปรเปลี่ยนกลายเป็นการหมุนวนในแนวตั้ง จนกระทั่งเกิดเป็นทอร์นาโดเคลื่อนไหว จากความเร็วที่เพิ่มขึ้นไปในแนวทางเดียวกันกับพายุ

พื้นที่ ข้อ ใด มัก ประสบ พายุ ทอร์นาโด บ่อย ครั้ง

เหตุใดพายุทอร์นาโดจึงเกิดที่สหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

ในธรรมชาติแล้ว ‘พายุทอร์นาโด’ เกิดขึ้นได้ในหลากหลายประเทศและในหลายพื้นที่ betflik คาสิโน หากแต่สิ่งหนึ่งที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน คือ คำว่า ‘ทอร์นาโด’ เป็นชื่อเรียกเฉพาะของพายุที่ใช้เรียกในแต่ละพื้นที่เท่านั้น และในประเทศไทยเองก็มีพายุในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน หากแต่จะมีความรุนแรงไม่เท่าพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยจะเรียกว่า ‘พายุงวงช้าง’ ถ้าเกิดบนบกจะเรียกว่า ‘ลมบ้าหมู’

ระดับความรุนแรงของ พายุทอร์นาโด

ด้วยสภาพภูมิประเทศของสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้เกิดพายุชนิดนี้ได้บ่อยครั้งและในแต่ล่ะครั้งก็มีความรุนแรงมาก เพราะมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างลมร้อนและลมเย็นในบริเวณพื้นที่ราบ โดยพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา เกิดจากลมหนาวซึ่งมาจากประเทศแคนาดา ส่วนความร้อนมาจากทางด้านอ่าวเม็กซิโก ต่อมาลมทั้ง 2 นี้มักมาเจอกัน บริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกว่า ‘Tornado Alley’

โดยอยู่บริเวณสหรัฐอเมริกาตอนกลางพอดี อีกทั้งยังครอบคลุมลามไปถึงรัฐทางด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐ Dakota, รัฐ Kansas, รัฐ Oklahoma และอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณผู้อ่านจึงมักได้ยินข่าวความสูญเสียจากรัฐเหล่านี้บ่อยครั้ง

ส่วนอีกปัจจัยที่ทำให้พายุทอร์นาโด เกิดขึ้นดินแดนอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ เป็นเพราะว่า สหรัฐอเมริกาเป็นพื้นที่ราบ จึงไม่มีเทือกเขาขนาดใหญ่ทอดตัวขวางกั้นทางลม หากแต่ทางยุโรปหรือทวีปเอเชียกลับมีเทือกเขาเหล่านี้ ซึ่งช่วยกั้นขวางทางลมได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดพายุจึงไม่หนักเท่ากับสหรัฐอเมริกา

สรุปแล้ว ความเย็นมาจากทางเหนือและความร้อนมาจากทางใต้ที่มาปะทะกัน บวกกับไม่มีเทือกขนาดใหญ่คอยบดบังอากาศเหล่านี้ จึงทำให้พายุที่เกิดขึ้นในอเมริกามีความรุนแรงในระดับสูงพรากทั้งชีวิตสรรพสัตว์ มนุษย์ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนอย่างมหาศาล หากแต่ทางรัฐก็พยายามหาทางป้องกันในทุกๆ ปีด้วยการออกเตือนประชาชนก่อนพายุมา พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ช่วยคอยช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง

Post navigation

ตอนที่ 1

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยจะมุ่งเน้นไปที่พายุหมุนทอร์นาโด เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าพายุหมุนทอร์นาโดจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันจะหอบลมกระโชกที่รุนแรงกว่าพายุไต้ฝุ่นและเปลี่ยนเกือบทุกอย่างให้กลายเป็นอาวุธที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง ที่ญี่ปุ่นนั้น พายุหมุนทอร์นาโดเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้และเรื่องที่ว่าเราควรรับมืออย่างไร

โดยเฉลี่ยแล้ว ญี่ปุ่นเผชิญพายุหมุนทอร์นาโด 55 ลูกต่อปี ราวร้อยละ 40 ของพายุหมุนทอร์นาโดเหล่านี้เกิดในเดือนกันยายนและตุลาคม ซึ่งมี 2 เหตุผลดังต่อไปนี้ เหตุผลแรก สภาพอากาศที่ทำให้เกิดพายุหมุนทอร์นาโดนั้นมักจะถูกกระตุ้นโดยพายุไต้ฝุ่น เหตุผลที่ 2 คือมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนลงมาจากไซบีเรียในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมทำให้สภาพอากาศแปรปรวน

กระแสอากาศที่ลอยขึ้นคือส่วนประกอบสำคัญยิ่งสำหรับการเกิดพายุหมุนทอร์นาโด แต่มีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเช่นกันนั่นคือลมในแนวราบที่พัดเข้ามาใกล้พื้นดิน ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ราบของภูมิภาคคันโต ซึ่งเกิดพายุหมุนทอร์นาโดอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากลมทะเลที่มีความชื้นซึ่งพัดมาจากนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของจังหวัดชิบะและอิบารากิหรือจากอ่าวโตเกียว มาปะทะกับลมเย็นแห้งที่เคลื่อนจากภูเขามายังฝั่งตะวันตกของพื้นที่ราบภูมิภาคคันโต การปะทะทำให้เกิดกระแสลมที่หมุนวนที่ส่งผลให้เกิดพายุหมุนทอร์นาโด

พายุหมุนทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 60 ปีระหว่างปี 2504 ถึง 2562 นั้น ราวร้อยละ 60 เกิดขึ้นใกล้กับแนวชายฝั่ง ซึ่งมักเป็นบริเวณตัวเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ด้วยเหตุนี้พายุหมุนทอร์นาโดจึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อชีวิตของเรา

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2565)


ตอนที่ 2

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าพายุหมุนทอร์นาโดจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใด เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้และพิจารณาว่าควรปฏิบัติเช่นไรเมื่อเกิดพายุหมุนทอร์นาโด โดยครั้งนี้จะมุ่งเน้นเรื่องสัญญาณเตือนว่าพายุหมุนทอร์นาโดอาจก่อตัวขึ้น

พายุหมุนทอร์นาโดก่อตัวจากเมฆคิวมูโลนิมบัส ดังนั้นเราจึงสามารถลดความเสี่ยงจากภัยพายุหมุนทอร์นาโดได้ด้วยการเฝ้าจับตาความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของเมฆอย่างใกล้ชิด

มีหลายสัญญาณเตือนว่าพายุหมุนทอร์นาโดกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา สัญญาณดังกล่าวได้แก่ เสียงฟ้าร้อง, ฟ้ามืด, เมฆคิวมูโลนิมบัสที่ไม่ได้พบเห็นบ่อย ๆ, ลมเย็น และลูกเห็บ กลิ่นของดินหรือหญ้าก็เป็นสัญญาณเตือนได้เช่นกันเนื่องจากลมจะพัดสิ่งของต่าง ๆ ใกล้พื้นดินในขณะที่พายุหมุนทอร์นาโดกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา

นอกจากนี้ คุณอาจมีอาการหูอื้อเนื่องจากกระแสลมวนทำให้ความกดอากาศต่ำ และเมื่อพบเห็นลมหมุนหรือวัตถุต่าง ๆ ลอยขึ้น คุณต้องเฝ้าระวังตื่นตัวต่อภัยอันตรายที่จวนจะเกิดขึ้นด้วย

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2565)


ตอนที่ 3

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าพายุหมุนทอร์นาโดจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใด ที่ญี่ปุ่นนั้น พายุหมุนทอร์นาโดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม เราจะนำเสนอวิธีที่จะปกป้องตนเองเมื่อเกิดพายุหมุนทอร์นาโด

สิ่งสำคัญที่สุดคือการอพยพหลบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัย เช่น อาคารที่มั่นคง ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โปรดระวังไว้ว่าคุณมีเวลาแค่ไม่กี่นาทีหรือในบางกรณีแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้นเมื่อพายุหมุนทอร์นาโดอยู่ใกล้คุณ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะระลึกไว้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อปกป้องตนเอง เนื่องจากจะไม่มีเวลาให้คุณคิดพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ โดยสามารถดำเนินการได้ดังต่อไปนี้

หากอยู่ที่บ้าน ให้ปิดม่านและประตูกันพายุ สิ่งนี้จะช่วยปกป้องกระจกหน้าต่างและป้องกันลมไม่ให้พัดเข้ามา ควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและปกป้องศีรษะของคุณเอาไว้

พายุหมุนทอร์นาโดอาจพัดพาหลังคาไป ด้วยเหตุนี้จึงควรเลี่ยงการไปอยู่ชั้นบน ๆ การอยู่ชั้นหนึ่งนั้นปลอดภัยกว่าชั้นสองและหากว่าคุณมีชั้นใต้ดิน นั่นคือที่ที่ปลอดภัยที่สุดในบ้าน แต่หากว่าไม่มีชั้นใต้ดิน ให้ไปยังห้องสุขาหรือห้องน้ำที่แทบไม่มีช่องเปิด เพื่อที่ลมจะได้ไม่พัดเข้ามา

หากอยู่ที่สำนักงาน โรงเรียน สถานที่สาธารณะหรือร้านค้า สถานที่เหล่านี้ควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันศีรษะเอาไว้เสมอ หากคุณอยู่ในอาคารที่พายุหมุนทอร์นาโดพัดถล่ม ให้อพยพไปยังชั้นใต้ดินหรือบันไดฉุกเฉินหรือชานบันไดภายในอาคารซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีลมเข้ามา

หากกำลังขับรถอยู่ ให้หยุดรถตรงที่จอดที่ไม่ขวางการจราจรและไปยังอาคารที่มั่นคงแข็งแรงโดยทันที เช่น อาคารที่สร้างจากคอนกรีตเสริมเหล็ก

หากอยู่ภายนอกอาคาร คุณไม่สามารถหนีพายุหมุนทอร์นาโดได้ด้วยการเดินเนื่องจากพายุหมุนทอร์นาโดเคลื่อนเร็วเท่ากับรถยนต์วิ่ง ดังนั้นจึงควรอยู่ให้ห่างเสาไฟฟ้าหรือต้นไม้ที่อาจล้มลงเพราะลมแรง และให้เข้าไปในอาคารที่แข็งแรงที่สุดซึ่งสามารถหาได้ใกล้ ๆ

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565)


ตอนที่ 4

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ เราจะนำเสนอสิ่งที่ควรระวังในกรณีที่เกิดพายุหมุนทอร์นาโด โดยจะมุ่งเน้นเรื่องฟ้าผ่าซึ่งพบเห็นได้บ่อยในฐานะสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุหมุนทอร์นาโด

พายุหมุนทอร์นาโดก่อตัวภายในเมฆคิวมูโลนิมบัสหรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง ควรเตรียมตัวไว้ให้พร้อมเพื่อรับมือฝนตกหนัก ลมกระโชก หรือฟ้าผ่า หลังจากเห็นกลุ่มเมฆที่ว่านี้ ญี่ปุ่นเผชิญฟ้าผ่ามากถึง 1,000,000 ครั้งต่อเดือนในช่วงฤดูร้อน แม้ในปีที่เกิดฟ้าผ่าน้อยครั้ง ก็ยังพบเห็นฟ้าผ่าประมาณ 100,000 ครั้งต่อเดือน

หากคุณพบเห็นฟ้าผ่าตอนที่อยู่นอกอาคาร คุณควรเข้าไปในอาคารที่อยู่ใกล้เคียง การอยู่ในรถยนต์ รถบัส ตู้รถไฟหรือเครื่องบินนั้น โดยหลักการแล้วถือว่าปลอดภัย ตราบใดที่คุณปิดหน้าต่างและอยู่ห่างจากชิ้นส่วนที่เป็นโลหะภายใน

เมื่อคุณไม่รู้ว่าจะวิ่งไปไหน ให้ยืนเอาเท้าชิดกันโดยยืนแบบเขย่งเพื่อลดการสัมผัสกับพื้นให้เหลือน้อยที่สุด นั่งยอง ๆ บนส้นเท้าและทำให้ตัวเองอยู่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้มือปิดหูเอาไว้เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้แก้วหูแตก

ห้ามไปยืนใต้ต้นไม้เนื่องจากคุณอาจเผชิญกับกระแสไฟฟ้าแลบด้านข้างเมื่อฟ้าผ่าลงมาที่ต้นไม้ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าบางส่วนกระโดดจากต้นไม้และปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังคนที่อยู่ใกล้เคียง พึงระลึกไว้ว่าร่างกายของมนุษย์นั้นเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม การหลบไปอยู่ใต้สายไฟฟ้าถือเป็นแนวคิดที่ดี เพราะมีความเสี่ยงต่ำกว่าที่จะถูกฟ้าผ่า เนื่องจากสายไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า

เมื่อคุณไม่ได้ยินเสียงฟ้าผ่ามาประมาณครึ่งชั่วโมง ก็สามารถอนุมานได้ว่าอาจปลอดภัยแล้วที่จะออกไปข้างนอกหลังการหลบภัย ควรทำให้มั่นใจว่าได้ตรวจสอบซ้ำแล้วว่าไม่มีเมฆพายุฝนฟ้าคะนองอยู่รอบ ๆ ด้วยการเข้าไปยังเว็บไซต์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาหรือแอปพลิเคชัน NHK News’ Bosai

ถ้ามีคนที่อยู่ใกล้คุณถูกฟ้าผ่า ให้ใช้ AED หรือเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ในกรณีที่มีเครื่องนั้นอยู่ใกล้ ๆ แต่หากไม่มี ให้ใช้วิธีกดนวดหัวใจแก่ผู้ที่บาดเจ็บและโทรศัพท์หมายเลข 119 เพื่อเรียกรถพยาบาล

เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยายังขอให้เฝ้าติดตามการออกประกาศระวังภัยรวมถึงพยากรณ์อากาศและข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับฟ้าคะนองและพายุหมุนทอร์นาโดของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นด้วย

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2565)