จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

ใครที่เตรียมตัวจะเปลี่ยนสถานะจาก”โสด” เป็น “สมรส” ก็ต้องหาสถานที่จดสัญญารัก ณ สำนักงานเขตถูกใจเอาฤกษ์เอาชัย ให้ชีวิตคู่ดี๊ดีกันหน่อย วันนี้ผมรวบรวม 3 อันดับมาแรงสุดที่คนไปจดทะเบียนสมรสมารีวิวกัน
จากข้อมูลการจดทะเบียนสมรส กรุงเทพมหานคร ปี 2561 กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ กรุงเทพมหานคร พบว่า 3 อันดับที่คนมาจดทะเบียนสมรสมากที่สุดคือ บางรัก หลักสี่ และบางขุนเทียนตามลำดับ

จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

บางรัก
มาเริ่มกันที่เขตสุดฮอต บางรัก แค่ชื่อก็บอกได้ทันทีว่า รักมั่นยั่งยืน ถือเป็นเขตที่ครองแชมป์ทุกปี ไม่เพียงแค่ชื่อมงคล แต่ด้วยความที่มีคนมาจดทะเบียนกันเยอะทุกปี ทำให้เจ้าหน้ามีประสบการณ์ในการจัดการเอกสารต่างๆ อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วมากๆ โดยในปี 2561 มีคู่รักมาจดทะเบียนสมรสถึง 4,926 คู่

นอกจากชื่อจะเป็นมงคล เจ้าหน้ามีประสบการณ์สูงแล้ว ทำเลนี้ยังถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต ครอบคลุมถนนพระราม 4 ถนนเจริญกรุง ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ ถนนสี่พระยา และถนนสาทร ด้วยพื้นที่มีศักยภาพเชิงทำเลสูงมาก เป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีทั้งแหล่งงาน และสถานศึกษาชื่อดัง เช่น โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเซนต์โยแซฟคอนแวนต์ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ รวมถึงโรงพยาบาลชื่อดัง ได้แก่ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เป็นต้น อีกทั้งการเดินทางก็สะดวกหลากหลายเส้นทางทั้งรถไฟฟ้า BTS, MRT , เรือด่วนเจ้าพระยา และมีทางด่วน ทำให้คอนโดเขตบางรักมีความโดดเด่น จากข้อมูลของ Baania เมื่อเดือนมกราคม 2563 พบว่าคอนโดในย่านนี้มีราคากลางสูงอยู่ที่ 10,969,144 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 172,289 บาท/ตร.ม. ขณะเดียวกันก็พบว่าบ้านหรือทาวน์โฮมที่เป็นโครงการจัดสรรไม่มีเลย ทั้งนี้คาดว่ามาจากที่ดินมีราคาสูง และพื้นที่ในการสร้างไม่เพียงพอที่จะสร้างเป็นโครงการจัดสรรได้

หลักสี่
เขตยอดนิยมรองลงมาคือ เขตหลักสี่ ด้วยชื่อความหมายดีที่เปรียบเสมือน 4 เสาหลักของครอบครัว หลักแรกต้องอดทน หลักสองรู้หน้าที่ หลักสามคุณธรรมสร้างความดี และหลักสี่รวมเป็นครอบครัว โดยในปี 2561 มีคู่รักมาจดทะเบียนสมรสถึง 3,739 คู่

นอกจากชื่อความหมายดีแล้ว สาเหตุหนึ่งที่คนมาจดทะเบียนสมรสจำนวนมาก ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตอนเหนือ ครอบคลุมถนนประชาชื่น ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนวิภาวดีรังสิต มีแหล่งงานสำคัญทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เดินทางสะดวกไม่ใกล้และตัวเมือง ขณะเดียวกันก็ออกไปต่างจังหวัดอย่างอยุธยาได้ง่ายๆ และอีกไม่นานรถไฟฟ้าสายสีชมพู “แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี” ที่พาดผ่านเขตนี้ก็ใกล้จะสร้างเสร็จและคาดว่าเปิดให้บริการในปลายปี พ.ศ.2564 ที่สำคัญราคาที่อยู่อาศัยถือว่าถูกใจคนกำลังสร้างครอบครัว จากข้อมูลของ Baania เมื่อเดือนมกราคม 2563 พบว่าคอนโดในย่านนี้มีราคาจัดต้องได้ง่าย มีราคากลางอยู่ที่ 2,241,907บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 48,338 บาท/ตร.ม. ขณะที่โครงการจัดสรรบ้านและทาวน์โฮมมีราคากลางอยู่ที่ 6,648,336 บาท โดยที่ราคากลางของคอนโดไม่สูงมาก เนื่องมาจากมีบ้านจัดสรรเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วย ฉะนั้นถ้าอยากอยู่ในย่านนี้ถือว่ามีทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมองถึงไลฟ์สไตล์คุณและคู่รักด้วยนะครับว่าแบบไหนที่ตอบโจทย์มากที่สุด

จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

บางขุนเทียน
เขตมาแรงแซงทางโค้งพุ่งมาเป็นอันดับ 3 ในปี 2561 ก็คือเขตบางขุนเทียน หลายคนอาจสงสัยทำไมคนถึงมาจดทะเบียนเยอะเป็นอันดับต้นๆ ถึง 1,732 คู่ ซึ่งเมื่อมาดูที่จำนวนประชากรในเขตนี้จะพบว่าในปี 2660 สำนักงานเขตพื้นที่บางขุนเทียนได้ระบุไว้ว่ามีจำนวนมากถึง 181,594 คน และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 120.687 ตร.กม. มากกว่าเขตบางรักหรือหลักสี่เยอะมากๆ เลยครับ จึงทำให้เป็นไปได้ว่าเมื่อประชากรในพื้นที่มีจำนวนมาก โอกาสที่คนจะมาจดทะเบียนในเขตก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วยเป็นธรรมดา

สำหรับที่อยู่อาศัยในย่านนี้ถือว่ามีโครงการบ้านหรือคอนโดจัดสรรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ Baania เมื่อเดือนมกราคม 2563 พบว่าคอนโดในย่านนี้มีราคาไม่สูงเลยครับ มีราคากลางอยู่ที่ 1,112,035 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 35,525 บาท/ตร.ม. เท่านั้น ส่วนโครงการบ้านและทาวน์โฮมจัดสรรมีราคากลางอยู่ที่ 5,327,750 บาท ย่านนี้เรียกว่าเป็นอีกทำเลชานเมืองที่อยู่อาศัยได้สบายและราคาไม่แรงมาก อีกทั้งยังมีถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก และถนนพระราม 2 ที่เชื่อมโยงเข้าสู่ศูนย์กลางย่าน CBD ของกรุงเทพมหานครด้วย 

จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

แม้ว่าชื่อทำเลกับการจดทะเบียนสมรส จะเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญารักทางกฎหมาย แต่สัญญารักทางใจอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับคนสองคน หากวันนี้เราพร้อมแล้วที่จะสร้างสัญญารักทางกฎหมายก็เตรียมทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของทั้งคู่ แล้วเดินเข้าเขตที่ถูกใจจะเน้นชื่อมงคลหรือเดินทางสะดวกก็ดีทั้งนั้นครับ แต่ถ้าใครที่อยากลงหลักปักฐานอยู่กับคนรู้ใจล่ะก็ต้องค้นหาบ้านหรือคอนโดที่ Baania.com

ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานเขตบางขุนเทียน
กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ กรุงเทพมหานคร

การจดทะเบียนสมรส

  • จดทะเบียนสมรสที่ไหนดี 2565

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนทั่วไป

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
    - ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ 
    - ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    - ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
    - ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
    - ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    - หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
              * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
              * สมรสกับคู่สมรสเดิม
              * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
              * ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
              * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
    - ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
    - บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมาย
    - สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
    - หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
    - สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
    - การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส
    - คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
    - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
    - พยานบุคคลจำนวน 2 คน
    - คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล  จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม
    การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท  พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

การจดทะเบียนสมรส
    1.รับเรื่อง
    - ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้
              * กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2478 ข้อ 3 *ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 6,8

    2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    2.1 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการอกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
    2.3 หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย
    2.4 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผุ้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง
    2.5 ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
    2.6 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
    2.7 พยานอย่างน้อย 2 คน
              * ป.พ.พ. ม.1436,1448,1453,1454,1455,1456
              * พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม.4, 11,12
              * ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 8,13 (1)

    3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย ดังนี้
    3.1 ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
    3.2 ชายหญิงไม่เป็นคนวิกลจริตฯ
    3.3 ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต
    3.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
    3.5 ชายหรือหญิงจะสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสกันไม่ได้
    3.6 หญิงหม้าย (ที่เข้าเงื่อนไข)
    3.7 ชายหญิงยินยอมป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย
              * ป.พ.พ. ม.1448 - 1458 ดังนี้
              * ระเบียน มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 13 (2)

    4.ผู้มีอำนาจในการจะทะเบียน
    - นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/อำนวยการเขต/หรือผู้รักษาราชการแทน)
              * พ.ร.บ.จดทะเบียนครองครัว พ.ศ.2478 ม.3
              * กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ข้อ 2
              * นส.ด่วนมากที่ มท.ช 0402/ว 1411 ลว.3 ธ.ค.30

    5.ลงรายการในทะเบียนด้วยวิธีการ ดังนี้
    5.1 พิมพ์ข้อความ ลงในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นให้นายทเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
    5.2 เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที่ก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและ ได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีกจะเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ
    5.3 เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)เพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส (คร.2) และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส (คร.3)
    5.4 มอบใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ
              * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13 (3)

    6.เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้ว ให้นายทะเบียนเก็บรักษา
    ทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขที่ทะเบียนโดยมิให้ทำลาย เพราะ เป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ซึ่งใช้ รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
              * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 43,44

    7. การขอแก้ไขเพิ่มเติมในทะเบียน (คร.2) ให้นายทะเบียนบันทึกใน
    ช่องบันทึกทะเบียน โดยมีรายละเอียดให้ทราบว่าใครเป็นผู้ร้องขอให้บันทึกเรื่องใด และให้ผู้ร้องและนายทะเบียน ลงชื่อไว้โดยไม่ต้อง แก้ไขรายการในทะเบียนเดิมให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือการบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียน ด้วยมือในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนสมรส (คร.2) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวไว้ด้วยระบบ คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนี่งในภายหลัง
              * กฎกระทรวง พ.ศ.2478 ข้อ 9 ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38

    8. การใช้นามสกุลของคู่สมรส
    ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร.2

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง 2565

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส - บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ - สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ - หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส) - สำเนาทะเบียนบ้าน

จดทะเบียนสมรสที่เขตไหน

- การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส - คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

กทม จดทะเบียนสมรสที่ไหน

ติดต่อฝ่ายทะเบียน อาคาร3ชั้น ชั้น1 เบอร์โทร. 0-2236-3154, 0-2235-7637, 0-2236-1513. ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. *** เอกสารการจดทะเบียนสมรส ณ สำนักงานเขตบางรักแก้ไขล่าสุด *** เอกสารดาวน์โหลด

การ จดทะเบียน สมรส ต้อง ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

เอกสารจดทะเบียนสมรส.
บัตรประชาชนตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้.
ทะเบียนบ้านตัวจริง.
พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์.
ถ้าเคยหย่ามาก่อน ต้องพกหลักฐานการหย่าไปด้วยนะคะ.
กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการตาย เช่น ใบมรณบัตร ประกอบด้วยค่ะ.