ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

รู้ยังตัว ฦ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์

โพสเมื่อ 11/09/2021 11:24 น.


advertisement

        ตัวอักษร สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยนั้น มีอยู่หลายตัว มีทั้งตัวอักษรที่เราใช้ประจำ และจะคุ้นเคยกันดี เมื่อนำมาประสมเป็นคำอ่าน คำเขียน ได้มากมาย แต่ก็มีบางตัวที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย และใช้น้อยมากๆ ทั้งตัว ฅ ฃ ฤ ฌ แต่ที่น้อยคนจะรู้นั่นก็คือตัว ฦ ซึ่งตัวนี้เป็น รูปสระ ที่ออกเสียงว่า ลึ ฦา ลือ (ปัจจุบันนี้เลิกใช้แล้ว)


advertisement

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

       เป็นสระที่เราไม่คุ้นเคย ทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ นิด ดฯ ได้ออกมาโพสต์ถามว่า สระตัวนี้มันอยู่ส่วนไหนของคีย์บอร์ด 

เฉลย…มันอยู่ตรงนี้

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

"คีย์บอร์ดแม่นๆไม่มีครับต้องไปคีย์บอร์ดอื่น"


advertisement

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

"ผมว่าคุณอาจต้องการแว่นตานะครับ"

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว 


advertisement

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

ในคีย์บอร์ดมือถือจะอยู่มุมขวา คีย์บอร์ดคอมฯจะอยู่กับ ฝ.ฝา

ฝ อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์โทรศัพท์

      โดย การใช้ ฦ (ลึ) มีใช้ในภาษาไทยโบราณ เช่น น้ำฦก ฦ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ส่วน การใช้ ฦา (ลือ) มีใช้ในภาษาไทยโบราณ เช่น เลื่องฦา เล่าฦา ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ขอขอบคุณที่มาจาก : นิด ดฯ 

 อักษรภาษาไทย ฃ กับ ฅ
เหตุใดจึงเลิกใช้

                อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เขียนไว้ในหนังสือ "ภาษาไทยของเราดี เป็นศักดิ์ศรีของชาติ" สันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้ว่า คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรกๆ ที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง

พร้อมอธิบายว่า ฃ พยัญชนะตัวที่ 3 ในพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรสูง เรียกชื่อว่า "ขอเขตต์" หรือ "ขอขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากคอ) ใช้เป็นตัวสะกดในมาตรากักได้

บางท่านกล่าวว่า ตั้งขึ้นแทนตัว กษ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งอ่านควบเป็นเสียงตัวเดียวกันจากอักษร กษ ซึ่งเขียนหวัดติดกัน สำหรับใช้เขียนคำตัว กษ สันสกฤต เช่น เกษตร กษัตริย์ แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

ส่วน ฅ พยัญชนะตัวที่ 5 ในพวกพยัญชนะไทย เป็นพวกอักษรต่ำ อ่านว่า "คอ" เรียกชื่อว่า "คอกัณฐา" หรือ "คอคน" ออกเสียงอย่างเดียวกับ คอ (คอคิด)

เดิมมีที่ใช้อยู่คำหนึ่ง คือ "ฅอ" ที่หมายความว่า คอคน หรือคอสัตว์ (ไม่ใช่คนเฉยๆ ) มาบัดนี้ใช้ ค (คอคิด) หมดแล้ว เพราะฉะนั้นนับว่าไม่มีที่ใช้เลย และตัว ฅ นี้ ตั้งขึ้นในภาษาไทย ไม่มีในภาษาบาลีสันสกฤต

บางท่านกล่าวว่าความประสงค์ตั้งขึ้นสำหรับใช้คำไทยที่ออกเสียง คอ ทั่วไป เช่น คำ คน ควบ เป็นต้น เพราะตัวคอคิดนั้นตั้งขึ้นแทนตัว ค บาลี ซึ่งมีเสียงเหมือน G ในคำ God ไม่ตรงกับเสียง ค ไทย แต่ไทยออกเสียง ค บาลีไม่ชัด กลายเป็นเสียง ค ไทยไปหมด เลยใช้ตัว คอคิด ทั้งในเสียงบาลีและเสียงไทย ตัว ฅ กัญฐานี้จึงไม่มีที่ใช้

ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 ได้ให้คำอธิบายคำว่า ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้ว่า

ฃ พยัญชนะตัวที่สามนับเป็นพวกอักษรสูง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

ฅ พยัญชนะตัวที่ห้านับเป็นพวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

ประโยคที่ว่า "เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว" จึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าได้มีการประกาศเลิกใช้เป็นทางการแล้ว แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ก็บอกไว้เช่นเดียวกับพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.2493 ทุกประการ

เรื่องจึงเป็นด้วยประการฉะนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด