การปกครองแบบจตุสดมภ์มาจากที่ใด

 กรมคลัง      -   มี   ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล  มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร

           อยุธยาเป็นเมืองหลวง   เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง    ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วยทิศเหนือ  เมืองลพบุรี    ทิศตะวันออก  เมือง นครนายก   ทิศใต้ เมืองนครเขื่อนขันธ์   และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี

           ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่   สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ชลบุรีและเพชรบุรี   และเมืองประเทศราช เช่น เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง

1991-2231

              การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาโดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ

          1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง

          2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน

การปกครองส่วนกลาง 

          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหารนอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ

            กรมมหาดไทยมีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายกมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ

            กรมกลาโหมมีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหมมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดีมีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ

           นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ

  กรมเมือง(เวียง                                 มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี

  กรมวัง                                                                มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี

  กรมคลัง                                             มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี

  กรมนา                                                                มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

  การปกครองส่วนภูมิภาค

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมดแล้วจัดระบบใหม่ดังนี้

 1. หัวเมืองชั้นในยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวาผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้งพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมืองต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง

  2.หัวเมืองชั้นนอก(เมืองพระยามหานคร)เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอกตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นในคือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น

  3. หัวเมืองประเทศราชยังให้มีการปกครองเหมือนเดิมมีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้นส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย


  
การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อยโดยแบ่งเป็น

  1. บ้านหรือหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน

  2. ตำบลเกิดจากหลายๆหมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 

  3. แขวงเกิดจากหลายๆตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง

  4. เมืองเกิดจากหลายๆ แขวงรวมกันมีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง

  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่


 
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี)เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด

  2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส

  3. การทำพิธีทุกหัวเมืองซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล(คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน

 

รูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มาจากชนชาติใด

การปกครองแบบจตุสดมภ์เป็นการปกครองที่เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่าง ของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่าย คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเป็น ...

อยุธยาได้แบบอย่างการปกครองแบบจตุสดมภ์มาจากไหน *

จตุสดมภ์ (เกิดจากคำบาลี "จตุ" หมายถึง สี่ และสันสกฤต สฺตมฺภ หมายถึง หลัก รวมหมายถึง "หลักสี่") เป็นคำที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพใช้เรียกระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น โดยมีระบุว่าเป็นแนวคิดที่รับเอามาจากขอม ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ...

จตุสดมภ์อยู่ภายใต้การดูแลของใคร

การปกครองแบบจตุสดมภ์เป็นการปกครองที่เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่าย คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา

ตำแหน่งใดดูแลจตุสดมภ์ในสมัยกรุงธนบุรี

องค์ประกอบของ “จตุสดมภ์จตุสดมภ์ หมายถึง “หลักทั้งสี่” มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ กรมเวียง – มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร กรมวัง – มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี กรมคลัง – มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร