สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

เมื่อ “เก้าทัพ” ต้องยับย่อย จุดเริ่มต้นแห่งเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี สู่ความเป็นเอกราชชาติไทย ณ ดินแดนประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ศึกครั้งนั้นใหญ่หลวงนัก ทัพไทยมีกำลังพลไม่กี่หมื่น แต่สามารถเอาชนะทัพตองอูพม่า ซึ่งมีรี้พลมากกว่าถึงเกือบ 3 เท่าตัว ต่อแต่นั้นมาที่ราบกว้างใหญ่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่กับลำน้ำตะเพิน จึงถือเป็นสมรภูมิสำคัญ ที่ชี้ขาดความเป็นความตายให้กับชาวสยามในสงครามเก้าทัพ

หลังเวลาล่วงเลยผ่านมาที่ กาญจนบุรี ได้สร้างอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ อันเป็นสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ซึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เพื่อป้องกันการรุกรานของพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในปี พ. ศ. 2328 ให้ชนรุ่นหลังได้เข้ามาซึมซับภาคภูมิในเอกราชชาติไทย

“..ถ้าหากพ่ายแพ้ในวันนั้น สยามจะสิ้นแผ่นดิน และตกอยู่ในสภาพเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในวันนี้ …”

เพราะชัยชนะในสงครามครั้งนี้ โดยเฉพาะในสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราช และดำรงความเป็นชาติมาถึงปัจจุบัน

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

กองทัพบกพาท่านซึมซับความเป็นไทย

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งครั้งหนึ่งสถานที่นี้เคยเป็นสมรภูมิการรบระหว่างกองทัพของไทยในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และกองทัพพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 โดยกองทัพไทยซึ่งมีเพียง 4 กองทัพ ได้ต้านทานการบุก และตัดการลำเลียงเสบียงอาหาร รวมถึงกระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายทัพพม่า โดยใช้เวลาทั้งสื้น 10 เดือน กว่าสงครามจะยุติลง โดยทัพไทยเป็นฝ่ายชนะ และรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ สงครามครั้งนี้มีชื่อเรียกว่า “สงคราม 9 ทัพ

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เป็นความริเริ่มของกองทัพบก โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบในขณะนั้น ได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 1 ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป จัดสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเฉลิมพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ทั้งนี้เนื่องจากในขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของกองทัพบก ได้นำคณะทำงานฯ สำรวจพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรี และพบว่าพื้นที่ที่เคยเป็นสมรภูมิสงคราม 9 ทัพ ยังคงสภาพเดิม

เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาหลักการใช้ภูมิประเทศ และเส้นทางเดินทัพ ตลอดจนการดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ผู้ทรงเป็นแม่ทัพ สามารถรบชนะข้าศึกซึ่งมีกำลังมากกว่าได้อย่างราบคาบ

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ย้อนรอยสงคราม 9 ทัพ

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ มีอาคารจัดนิทรรศการบอกเล่าประวัติของสงครามเก้าทัพ ตัวอาคารเมื่อดูจากภายนอกจะมีลักษณะเหมือนหมวกนักรบโบราณ ด้านหน้าของอุทยานฯ มีอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ผู้ทรงเป็นแม่ทัพ สามารถรบชนะข้าศึกซึ่งมีกำลังมากกว่าได้อย่างราบคาบ

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ป้ายอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ถือเป็นอนุสรณ์ที่มีความหมาย โดยมีเสาธงชาติไทย 4 เสา ซึ่งหมายถึงกองทัพไทยทั้ง 4 กองทัพ ตั้งอยู่เหนือตอไม้ 9 ตอ ซึ่งหมายถึงทัพพม่าทั้ง 9 ทัพ นั่นหมายถึงว่าทัพไทยมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่า

ภายในอาคารมีรูปปั้นของ “ปู่มั่น” และ “ปู่คง” ซึ่งเป็นทหารและชาวบ้านอาสามาสู้รบกับพม่า เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน มีตู้จำลองขนาดย่อ และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศจำลองเส้นทางการเดินทัพของข้าศึก และการตั้งรับของกองทัพไทยพร้อมคำอธิบายอยู่บริเวณโดยรอบอาคาร

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ตรงกลางอาคารเป็นแผนที่นูนต่ำ บอกตำบลต่างๆ ของการรบ การจัดทัพของไทยและพม่า มีทีวีซึ่งจัดฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับสงครามเก้าทัพ

นอกจากนี้ยังมี หอสังเกตการณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาลาดกระทิง ภายในอุทยานฯ เป็นป้อมที่สร้างขึ้นเลียนแบบป้อมพระกาฬ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์เดินขึ้นไปสังเกตุภูมิประเทศต่างๆ หลังฟังคำบรรยาย เพื่อจะได้เข้าใจการเลือกใช้ภูมิประเทศในการเดินทัพ และจุดสกัดกั้นทัพพม่า ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และมีความเช้าใจมากขึ้น

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

ใครที่ยังไม่เคยมา ก็เดินทาง พาลูกพาหลาน มาชมอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพนี้ได้ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลเท่าไรนัก แผ่นดินนี้ บรรพบุรุษของเราได้เอาเลือดเนื้อชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้กว่าจะได้เป็นไทยจนถึงทุกวันนี้ แล้วเราชนรุ่นหลังอย่างเราๆ ท่านๆ ผู้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย จะลืมไปง่ายๆ ได้ลงคอเชียวหรือ…

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

บทความน่าอ่านจาก http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ สงคราม 9 ทัพ

สงคราม ๙ ทัพ เกิดขึ้นในสมัยใด

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2328-2329 โดยเรียกชื่อสงครามตามจำนวนกองทัพของพม่าที่แบ่งกองทัพมาเป็นเก้ากองเพื่อโจมตีสยามจากหลายทิศทาง ซึ่งนับเป็นสงครามครั้งแรกที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้ ...

สงครามท่าดินแดงเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

สงครามท่าดินแดง เป็นสงครามระหว่างสยามอาณาจักรรัตนโกสินทร์และอาณาจักรพม่าราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรุกรานของพม่าครั้งที่สองในสมัยรัตนโกสินทร์และเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ เกิดขึ้นหลังจากสงครามเก้าทัพหนึ่งปีในพ.ศ. 2329 หลังจากที่ฝ่ายพม่าซึ่งนำโดยพระเจ้าปดุงปราชัยไปในสงครามเก้าทัพและถอยทัพกลับ ในปีต่อมาฝ่ายพม่า ...

ใครทำสงคราม 9 ทัพ

หนึ่งในสงครามที่สำคัญแห่งสยามประเทศก็คือ “สงครามเก้าทัพในปี พ.ศ. 2328 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)