พระประจําวันพุธกลางวัน ปางอะไร

พระพุทธรูปปางวันพุธ (กลางวัน)(ปางอุ้มบาตร) เป็นผู้ช่วยเหลือโลก สอนให้เป็นผู้รู้จักเสียสละ คือผู้รู้ ผู้ช่วยผู้อื่น (ช่วยโลก)

วันพุธ (กลางวัน) (ธาตุนํ้า) ปางอุ้มบาตร พุทธะ คือจิตผู้รู้แจ้งโลกต้องโปรดสัตว์ ช่วยเหลือผู้อื่น อุ้มบาตร คืออุ้มโลก ช่วยโลก คือการเสียสละเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น วันพุธ ธาตุนํ้า ธรรมชาติของนํ้าต้องไหลไปทางตํ่า เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังตํ่ากว่า ถ้าได้รับแสงสว่าง คือความร้อนก็ขึ้นที่สูงได้เป็น
พุธกลางวันจึงเป็นผู้รู้

ที่มา : ครั้งหนึ่ง หลักจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่น โสมมนัสจน ลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระราชวัง ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จออกรับบิณฑบาตร
จาก ประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสด์ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวกรุงกบิลพัสด์ได้เฝ้าชมพระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดสัตว์ เพิ่มพูน ความปิติยินดียิ่งจึงเรียกว่า “ปางอุ้มบาตร”

พระประจําวันพุธกลางวัน ปางอะไร

พระพุทธรูปวันพุธ (กลางคืน)  (ปางป่าเลไลยก์) จิตคือพระพุทธ สอนกายคือ(ช้าง) สอนใจคือ(ลิง)

พระประจําวันพุธกลางวัน ปางอะไร
พระประจําวันพุธกลางวัน ปางอะไร

วันพุธ (กลางคืน) (ธาตุลม) คือผู้รู้ที่มีทิฐิมานะไม่เชื่อฟัง เพราะมีความมืดอวิชชาเป็นเครื่องกําบังติดอัตตาตัวตน สอนผู้อื่นไม่ได้ จึงต้องเข้าป่าไปสอนตัวเองดีกว่าเพราะตัวเองมีใจเป็นบริวาร คือลิง เป็นผู้รับใช้มี ช้างเป็นพาหนะไว้ขี่คอยรับใช้ มีจิตเป็นพุทธะคอยสั่งสอน ช้าง+ลิง ยังสอนได้ฝึกได้
ถ้าหากฝึกคนไม่ได้เข้าป่าดีกว่า เมื่อสอนตนเองได้แล้ว จึงค่อยสอนผู้อื่นต่อไป

ที่มา : ในสมัยพุทธกาล เมืองโกสัมพี มีพระภิกษุ 2 รูปคือ พระวินัยธร และพระธรรมธร (หรือพระธรรมกถึก) แต่ละรูปมีพระภิกษุเป็นบริวารรูปละ 500 องค์ ได้อาศัยอยู่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี เกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ พระพุทธเจ้าทรงทราบ และตรัสห้ามถึง 3 ครั้ง แต่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าจังเสด็จหนีออกไปจํา พรรษาที่ป่ารักชิตวัน ซึ่งมีพญาช้างชื่อ “ป่าลิไลยกะ” และพญาลิง ถวายปรนนิบัติด้วย อาหาร ผลไม้ และป้องกันอันตรายต่างๆ มิให้มายํากราย ต่อพระพุทธเจ้า เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้วพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้มากราบทูลเชิญเสด็จไปเมือง โกสัมพี จึงเรียกว่า “ปางป่าเลไลยก์

องค์ความรู้ทางวิชาการเผยแพร่โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เรื่อง สวัสดีตามวัน : พระประจำวันเกิด

การบูชาพระประจำวันเกิด มาจากการผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธศาสนากับความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ตามคติที่ว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงมีตำแหน่งของตัวเอง และยังได้รับอิทธิพลจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เชื่อกันว่าการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวนพเคราะห์มีอิทธิพลต่อชีวิต เคราะห์หรือโชคขึ้นอยู่กับจุดที่ดาวเสวยฤกษ์นั้นสถิตอยู่ ณ เวลานั้น

การบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิดจึงเสมือนการน้อมนำพุทธคุณมาเป็นเครื่องปกป้องภยันตรายแก่ชีวิต โดยมีศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์มีอานุภาพปกป้องคุ้มครอง ทั้งเป็นการเสริมเคราะห์หรือเกื้อหนุนดวงชะตาให้ดำเนินไปในทางแคล้วคลาดปลอดภัย

พระพุทธรูปประจำวันเกิดตามความนับถือในปัจจุบัน

วันจันทร์ ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร

วันอังคาร ปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน

วันพุธ กลางวัน ปางอุ้มบาตร

วันพุธ กลางคืน ปางป่าเลไลยก์

1) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. พระพุทธรูปปางต่างๆ พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977), 2558.

2) พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทย: พระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ๊นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551.

Sanook Horoscope ว่าด้วยเรื่องของพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนทั้ง 7 วัน คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ (กลางวัน) พุธ (กลางคืน) พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีความเชื่อว่าหากเราได้บูชาพระประจำวันเกิดก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลในชีวิต มาดูกันว่าปางของพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนทั้ง 7 วัน คือปางใดบ้าง

พระประจำวันอาทิตย์

ได้แก่ ปางถวายเนตร มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้ง 2 ข้าง พระหัตถ์ประสานไว้อยู่หน้าตัก พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถซ้าย

พระประจำวันจันทร์

ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร มีลักษณะแตกต่างกันอยู่คือ ปางห้ามญาติ จะยกยกพระหัตถ์ข้างขวาข้างเดียว ขณะที่ปางห้ามสมุทรจะยกพระหัตถ์ขึ้นทั้ง 2 ข้าง แต่ทั้ง 2 ปางนั้นจะอยู่ในอิริยาบถยืน และพระหัตถ์ที่ยกขึ้นจะอยู่เสมออก

พระประจำวันอังคาร

ได้แก่ ปางไสยาสน์ มีลักษณะบรรทมตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนหมอน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย ส่วนพระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างหมอน

พระประจำวันพุธ

พระประจำวันพุธกลางวัน ได้แก่ ปางอุ้มบาตร มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างถือบาตรไว้ ส่วน พระประจำวันพุธกลางคืน ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์ มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถนั่งประทับบนก้อนหิน พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำเข่า พระหัตถ์ขวาวางหงายบนเข่า

พระประจำวันพฤหัสบดี

ได้แก่ ปางสมาธิ มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถนั่งสมาธิ พระบาทขวาทับอยู่พระบาทซ้าย ส่วนพระหัตถ์ซ้อนกันอยู่บนตัก

พระประจำวันศุกร์

ได้แก่ ปางรำพึง มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง 2 ยกประสานขึ้นที่อก โดยเป็นพระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย

พระประจำวันเสาร์

ได้แก่ ปางนาคปรก มีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถนั่งสมาธิ คล้ายกับปางสมาธิ จุดเด่นที่สำคัญคือจะมีญานาคแผ่ขึ้นจากไหล่ปรกพระเศียรอยู่

พระวันพุธปางอะไร

วันพุธ กลางวัน ปางอุ้มบาตร วันพุธ กลางคืน ปางป่าเลไลยก์

พระประจําวันเกิด ปางอะไร

ความเป็นมา ปางพระพุทธรูปประจำวันเกิด ของคนทั้ง 7 วัน.
พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร ... .
พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร ... .
พระประจำวันอังคาร ได้แก่ ปางไสยาสน์ ... .
พระประจำวันพุธ ได้แก่ ปางอุ้มบาตร ... .
พระประจำวันพุธกลางคืน ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์ ... .
พระประจำวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ.

พระประจําวันอาทิตย์คือปางอะไร

ลักษณะ : พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไหว้บูชาเพื่อเสริมดวง เพื่อความรุ่งเรือง และความสุขสวัสดีตลอดกาล

พระประจําวันอังคาร ปางอะไร

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ไหว้บูชาเพื่อเสริมดวง จะเกิดผลดี