ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เดิมเคยเป็นอะไรมาก่อน

      เสน่ห์อีกอย่างของกรุงเทพฯ ก็คือ ตลาดนัดกลางคืน ตลาดน้ำ ต่างๆ ที่มีชีวิตชีวามากๆ อย่าง ตลาดนัดรถไฟ ตลาดน้ำขวัญเรียม ตลาดนัดจตุจักร ตลาดน้ำตลิ่งชัน ที่จะเต็มไปด้วยวิถีชีวิตพื้นบ้าน และของกินของอร่อย ที่พลาดไม่ได้

กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลกติดต่อกัน 4 ปีซ้อนจากการจัดอันดับเมืองที่คนทั่วโลกนิยมท่องเที่ยวมากที่สุด โดย Mastercard Global Destination Cities Index ในปี 2018 ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมไป คือ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่มีคนเดินทางมาเยือนตลอด ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และอังกฤษ หลงใหลกรุงเทพฯ มาก

ตอกย้ำถึงความสำคัญของ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กรุงเทพมหานคร” เมืองหลวงของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงสถาปนาพระนครแห่งใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 3 วัน 3 คืน ต่อเนื่องจากงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษกพร้อมกับงานสมโภชวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง งานครั้งนั้นจัดทั้งในกรุงและนอกกรุง มีมหรสพต่างๆ เป็นงานที่สนุกสนานเอิกเกริก

ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เดิมเคยเป็นอะไรมาก่อน

ย้อนประวัติศาสตร์ไทยได้มีการจัดงานสมโภชพระนครหรือเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ครั้งนั้นมีมหรสพทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร   7 วัน 7 คืน ครั้งที่ 3 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานฉลองพระนครเป็นเพียงงานรื่นเริงชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิริมงคลแก่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

และครั้งที่ 4 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การฉลองพระนครทุกครั้ง พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพสกนิกร ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ครั้งนี้ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวัดพระแก้ว คู่กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วยังมีพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช  พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และเป็นครั้งแรกที่มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพเทวดาสององค์พนมมือไหว้ หันหน้าเข้าหากัน สื่อความหมายว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งชาวเทวดา ที่ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เหนือภาพเทวดา เป็นภาพซุ้มวิมาน สื่อสิ่งก่อสร้างงดงามของกรุงเทพฯ ขณะที่ท้องสนามหลวงครึกครื้นด้วยมหกรรมดนตรีไทย ดนตรีสากล มหรสพพื้นเมือง ประกวดรถบุปผชาติ นอกจากนี้ ชุมชนใต้ร่มพระบารมี จัดงานทั่วบริเวณ

ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เดิมเคยเป็นอะไรมาก่อน

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นอีกครั้ง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทุกพระองค์ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุก กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองศูนย์กลางที่ผสมผสานด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงศิลปวัฒนธรรมที่ลงตัว ทั้งนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชา  สามารถ และพระวิสัยทัศน์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ   นานัปการ ส่งผลให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงและราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขจนถึงทุกวันนี้ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาปัตยกรรม แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารอร่อย และอัธยาศัยไมตรี ทำให้ผู้คนทั่วโลก จะต้องมาเยือนกรุงเทพฯ ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระ -
ยามหากษัตริย์ศึกภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล
เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไข
วิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย
สืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์
จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการ
สถาปนาราชวงศ์จักรี)

     ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษก
เป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่
ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระ-
นารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเมื่อได้ทรงชดเชย
ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทน
กำแพงขึ้นและสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์
ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยม
เรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง
วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6
เมษายน พ.ศ.2325 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ
ในปี พ.ศ.2328 ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา
มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุ
กรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมร
รัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่และเมื่อสร้าง
พระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้
ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่

ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เดิมเคยเป็นอะไรมาก่อน