ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาคือชาติใด

* โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยในปี ค.ศ. 1511 ซึ่งทำให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์กันทั้งในด้านเศรษฐกิจ

การค้า สังคม การเมือง และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันมาตลอด

* ในด้านความสัมพันธ์ทางการเมือง ไทยกับโปรตุเกสไม่มีปัญหาใดๆ ระหว่างกัน ในเวทีระหว่างประเทศก็มองปัญหาในทิศทางเดียวกันและให้ความสนับสนุนซึ่งกัน และกันมาโดยตลอด

การค้าไทย – โปรตุเกส (ม.ค. – ธ.ค. 2010) จากข้อมูล / สถิติของ พณ.

1. มูลค่าการค้ารวม อยู่ที่ 203.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไทยส่งออก 168.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.17) ไทยนำเข้า 34.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.94) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 133.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การค้ารวมไทย-โปรตุเกส คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.05 ของการค้ารวม ไทย – โลก

2 . สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) รถยนต์ อะไหล่ และส่วนประกอบ (2) เครื่องบันทึกวิดีโอ และส่วนประกอบ (3) สารประกอบของ ethylene และ propylene - เคมีภัณฑ์ (4) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (5) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์

3. สินค้านำเข้าสำคัญจากโปรตุเกส 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (2) ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ (3) เครื่องนุ่งหุ่ม (4) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (5) เคมีภัณฑ์

4.สินค้าและบริการที่ไทยควรส่งเสริมและสนับสนุน ได้แก่ หมวดอาหารทุกประเภท ธุรกิจร้านอาหารไทย และศูนย์สปาและนวดแผนไทย อย่างไรก็ดี ด้วยสภาวะ ศก. ในปัจจุบันนี้ แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยไปโปรตุเกสจะยังไม่ดีนัก ปัญหาในการเจาะตลาดโปรตุเกสคือ (1) ความสนใจจากผู้ส่งออกไทยยังมีน้อย (2) ตลาดค่อนข้างเล็กและมีกำลังซื้อไม่มาก (3) อุปสรรคด้านภาษา

แรงงานไทยในโปรตุเกส

ในอดีตนั้นไม่มีแรงงาน ไทยเข้ามาทำงานในโปรตุเกส แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีคนงานไทยเข้ามามากขึ้น โดยในขณะนี้มีประมาณ 550 คน (คนไทยทั้งประเทศมีประมาณ 650 คน) ซึ่งเป็นแรงงานไร้ฝีมือ (unskilled worker) โดยทำงานในภาคเกษตร ปลูกผัก ผลไม้ และดอกไม้ให้กับบริษัทของโปรตุเกส หรือบริษัทร่วมลงทุนระหว่างโปรตุเกสกับประเทศยุโรปอื่นๆ คนงานเหล่านี้มีบริษัทจัดหางานเป็นนายหน้านำเข้ามา ซึ่งคนงานต้องเสียค่าหัวค่อนข้างสูง ประมาณ 300,000 - 350,000 บาท นอกเหนือจากนี้ ก็เป็นคนไทยที่ทำงานให้กับร้านอาหารไทย (ปัจจุบันมีประมาณ 10 ร้าน) และร้านนวดแผนไทยหรือสปา (ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น)

ความตกลงที่ไทยและโปรตุเกสมีระหว่างกัน

ความตกลงที่ลงนามแล้ว

* ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม

* สนธิสัญญาแลกเปลี่ยนนักโทษ

* ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

* ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบิน

* ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 500 ปี

ความ สัมพันธ์ระหว่างไทยได้ครบรอบ 500 ปี ในปี 2011 นี้ ฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะจัดการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในเมืองหลวงของทั้งสอง ฝ่าย โดยฝ่ายไทยได้มีการตั้งคณะกรรมการจัดงานฉลองครบรอบความสัมพันธ์ไทย - โปรตุเกส โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นฝ่ายเลขานุการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวอย่างกิจกรรมที่วางแผนจะจัดขึ้น ได้แก่

  • การก่อสร้างศาลาไทยเพื่อมอบแก่รัฐบาลโปรตุเกส
  • การจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ 500 ปี ระหว่างไทย-โปรตุเกส
  • การจัดทำโลโก้ฉลองโอกาสครบรอบความสัมพันธ์
  • การจัดทำแสตมป์ร่วมที่ระลึกครบรอบความสัมพันธ์
  • การจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศไทยและความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกสที่พิพิธภัณฑ์ตะวันออก ณ กรุงลิสบอน
  • การแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทยที่โปรตุเกส
  • การจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนนัดกระชับมิตรที่กรุงเทพฯ
  • การจัดสัมมนาวิชาการเรื่องประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ฯ ที่กรุงเทพฯ

แนวทางความสัมพันธ์ในอนาคต

เนื่อง จากไทยและโปรตุเกสมีพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ดังนั้น ไทยอาจใช้โปรตุเกสเป็นสะพาน หรือจุดเชื่อมโยงสำหรับสินค้าและการลงทุนของไทยไปยังประเทศอดีตอาณานิคมของ โปรตุเกสได้ในอนาคต

        ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ของตัวเมือง ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อปีพ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัยและมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ

          ในส่วนของสุสาน พบโครงกระดูกจำนวนมากมายถึง 254 โครง ฝังเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและทับซ้อนกันหนาแน่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร จากแนวโครงกระดูกที่พบแบ่งขอบเขตสุสานออกเป็น 3 ส่วน ส่วนในสุดกลางตัวอาคารที่เป็นฐานโบสถ์ อาจเป็นโครงกระดูกของบาทหลวงหรือนักบวช  ถัดมาส่วนที่สอง ส่วนนี้อาจเป็นผู้มีฐานะทางสังคมในค่ายโปรตุเกสสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป ส่วนที่สามนอกแนวฐานโบสถ์มีการฝังซ้อนกันมากถึง 3-4 โครง  โครงกระดูกเหล่านี้มีทั้งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และบางส่วนชำรุด จากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์ กล่าวถึงการเกิดโรคระบาดร้ายแรงในปลายแผ่นดินพระเพทราชาเมื่อปีพ.ศ. 2239 มีผู้คนล้มตายมาก และในปีพ.ศ. 2255 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระก็เกิดโรคระบาดอีกครั้งมีผู้คนล้มตายมาก อาจเป็นเหตุให้มีการขยายสุสานออกมาจากเดิม