ห้องสมุดประเภทใดที่จัดขึ้นในหน่วยงานราชการหรือเอกชน

 ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
           ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources)  หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เป็นแก่น หรือเนื้อหาสำคัญที่ได้จำแนก ชี้แจง แสดงออกมาให้ปรากฏ โดยการกลั่นกรองเรียบเรียงและประมวลไว้โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส และอื่นๆ รวมทั้งบันทึกลงบนวัสดุหลายชนิด เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา

ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ

  1. ให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
  2. เป็นหลักฐานอ้างอิงประกอบการค้นคว้า
  3. เสริมสร้างสติปัญญาทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทันโลก ทันเหตุการณ์ และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้จากทรัพยากรสารสนเทศ  มาพัฒนาตนเอง  ในด้านต่าง ๆ ทำให้ ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทและลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
1. วัสดุตีพิมพ์  (Print  Materials)
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์  (Non-Print  Materials)
3. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Materials)

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์
             วัสดุตีพิมพ์  (Print  Materials) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกเรื่องราว ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาสาระเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า  อ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิง ด้วยวิธีการพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปเล่มหนังสือหรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ให้คุณค่าและสาระความบันเทิงทุกสาขา เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร และกฤตภาค  วัสดุตีพิมพ์ที่สำคัญ ได้แก่
1. หนังสือ (Books)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการเข้าเล่มและเย็บเล่มอย่างถาวร มีส่วนประกอบที่สมบูรณ์ แบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ประเภท คือ
1.1  หนังสือสารคดี (Non-Fiction Books) หมายถึง  หนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นจริง มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ  ได้แก่
1.1.1  แบบเรียนและตำราวิชาการ (Text Books) หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นเนื้อหาและขอบเขตที่เขียนไว้ตามหลักสูตรในสถาบันการศึกษา ระดับต่าง ๆ ใช้ประกอบการเรียนการสอน  เช่น  แบบเรียนวิชาต่าง ๆ
1.1.2  หนังสืออ่านประกอบ (External Reading)  หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้น  เพื่อใช้อ่านประกอบ ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้ได้ความรู้ละเอียดลึกซึ้ง  เช่น  หนังสืออ่านประกอบระดับมัธยมศึกษาที่จัดพิมพ์ และเผยแพร่โดยกรมวิชาการ  เป็นต้น
1.1.3  หนังสือความรู้ทั่วไป  (General Books) หมายถึง  หนังสือที่ผู้เขียนต่าง ๆ เรียบเรียงขึ้นตาม ความสนใจของผู้เขียนไม่เฉพาะเจาะจงสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับผู้อ่านทั่วไป  เช่น  ความรู้รอบตัว เป็นต้น
1.1.4  หนังสืออ้างอิง (Reference Books) หมายถึง หนังสือที่มีลักษณะรวบรวมความรู้ไว้หลากหลาย เพื่อใช้ ค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม เรียบเรียงตามลำดับอักษรของเรื่อง หรือเนื้อหาที่ต้องการค้น เช่น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน และพจนานุกรมไทย-อังกฤษ สารานุกรมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
1.1.5  ปริญญานิพนธ์  หรือวิทยานิพนธ์ หมายถึง  บทนิพนธ์ที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อประกอบการศึกษาระดับบัณฑิต
1.1.6  สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง หนังสือที่ผลิตโดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เช่น หนังสือรายงานประจำปี  ราชกิจจานุเบกษา  และหนังสือรายปี  เป็นต้น
                    1.2  หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Books)  หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์และจินตนาการของผู้เขียน  มุ่งให้ความบันเทิงเป็นสำคัญ เช่น หนังสือนวนิยาย  หนังสือรวมเรื่องสั้น  หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น

2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) หมายถึง  สิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล โดยมีกำหนดออกต่อเนื่องกันตามเวลาที่กำหนดไว้  ได้แก่
         2.1  หนังสือพิมพ์รายวัน  (Newspapers) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม  ข่าวการศึกษา  ข่าวกีฬา  ข่าวธุรกิจ  ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการ และ สาระน่ารู้   เป็นต้น
                                2.2  วารสารและนิตยสาร (Periodical and Magazine) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกตามเวลาที่กำหนด  ได้แก่
1) วารสารรายสัปดาห์  มีกำหนดออกสัปดาห์ละ  1  ฉบับ
2) วารสารรายปักษ์  มีกำหนดออก  2  สัปดาห์  1  ฉบับ
3) วารสารรายเดือน  มีกำหนดออกเดือนละ  1  ฉบับ
4) วารสารราย 3  เดือน มีกำหนดออก 3  เดือน  1  ฉบับ เนื้อหาในวารสารจะ เน้นหนักทางวิชาการ ส่วนเนื้อหาในนิตยสารจะเน้นบันเทิง
2.3  จุลสาร (Pamphlet) หมายถึง สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก  อาจเป็นกระดาษแผ่นเดียวพับไปพับมา หรือ เป็นเล่มบาง ๆ มีความหนาไม่เกิน 60  หน้า  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น  โรคต่าง ๆ วิธีดูแลรักษา  และการปลูกพืชต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่ทันสมัย  เขียนง่าย ๆ จัดพิมพ์ หรือออกโดยหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน เพื่อเผยแพร่ความรู้โดยการแจกจ่ายให้กับประชาชน ห้องสมุด  และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
     2.4   กฤตภาค (Clippings) หมายถึง  ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นโดยตัดบทความ ข่าว  และสาระน่ารู้ จากวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลาที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ  บอกแหล่งที่มาบนกระดาษ ให้หัวเรื่อง และนำไปจัดเรียงเข้าแฟ้มตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง เพื่อใช้ ค้นคว้าต่อไป

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์  (Nonprint  Materials)  หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอื่น ๆ ที่ให้ความรู้ความคิดผ่านทางตา ทางหู  ทำให้เกิด ความเข้าใจในการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น แบ่งออกเป็นประเภทได้  ดังนี้
1.  โสตทัศนวัสดุ  (Audio  Visual  Materials)  เป็นสื่อที่ให้ข้อมูล  ความรู้  ข่าวสาร  แก่ผู้ใช้ โดยผ่าน ประสาทสัมผัสทางหู  ทางตา  ได้แก่
1.1  แผ่นเสียง  (Phonodiscs)
1.2  ภาพยนตร์  (Motion  pictures  or  Films)
1.3  เทปวีดิทัศน์และแผ่นวีดิทัศน์ (Videotapes  and  Videodiscs)
1.4  รูปภาพ  (Pictures)
1.5  แผนที่และลูกโลก  (Maps  and  Globes)
1.6  ภาพเลื่อน  และภาพนิ่ง  (Filmstrips  and  Slides)
1.7  แผนภูมิ  (Charts)
1.8  แผ่นโปร่งใส  (Transparencies)
1.9  หุ่นจำลอง  (Models)
1.10  ของจริงและของตัวอย่าง  (Reals and Specimens)

  1. วัสดุย่อส่วน (Microforms)   เป็นวัสดุที่จัดเก็บข้อมูล โดยถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับย่อส่วนให้มีขนาดเล็กเพราะจะทำให้ จัดเก็บได้มาก  แต่เมื่อจะใช้ข้อมูลจะต้องใช้เครื่องอ่านประกอบ  วัสดุย่อส่วนแบ่งออกได้   ดังนี้           2.1  ไมโครฟิล์ม  (Microfilms)
    2.2  ไมโครฟิช  (Microfiches

3. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Materials)  เป็นวัสดุที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ต้องมีเครื่องแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง  วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  แบ่งออกได้  ดังนี้
3.1 ซีดีรอม  (CD-ROM = Compact  Dise  Read  Only  Memory)
3.2  แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล  (DVD = Digital  Versatile  Dise)
3.3  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  books  หรือ  E-books)
3.4  วารสารอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  journals  หรือ  E-Journals)
3.5  หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  newspapers หรือ E-newspapers)
3.6  ฐานข้อมูล (Database)
3.7  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ  E-Mail )
3.8  เคเบิลทีวี  (Cable  Television  )

หนังสืออ้างอิง

ความหมายของหนังสืออ้างอิง
            หนังสืออ้างอิง (Reference Books) หมายถึง หนังสือที่ใช้ค้นหาเรื่องราวและข้อเท็จจริง เพื่อใช้ค้นคว้าอ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น ไม่ใช่หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่มเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดาและไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด

ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญที่ให้ความรู้อันเป็นพื้นฐานครอบคลุมศาสตร์ทุกแขนงวิชา จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือสารพัดประโยชน์ ผู้ใช้สามารถหาคำตอบได้ทุกเรื่อง (All about anything) จากหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งสารสนเทศเบื้องต้นที่มีประโยชน์สรุปได้ดังนี้
1. เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแน่นอนได้ในทุกสาขา
2. เป็นแหล่งส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยทุกระดับ
3. เป็นแหล่งที่สามารถค้นหาคำตอบได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

หนังสืออ้างอิงจะมีลักษณะทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. เป็นหนังสือที่มุ่งให้ข้อเท็จจริงและความรู้เป็นสำคัญ
2. รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มีขอบเขตกว้างขวางเพื่อใช้ตอบปัญหาทั่ว ๆ ไป
3. เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหลาย ๆ ท่าน แต่ละท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ อย่างแท้จริง
4. จัดเรียบเรียงเนื้อเรื่องไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ใช้ได ้สะดวกและรวดเร็ว
5. มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือธรรมดา เช่น ขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมาก
6. ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
7. ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด เพราะ
7.1   เป็นหนังสือที่ใช้อ่านชั่วคราวไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม
7.2  ราคาค่อนข้างแพง
7.3  มักมีขนาดใหญ่
7.4  บางทีเป็นชุดมีหลายเล่มจบ ถ้าเล่มใดเล่มหนึ่งหายไป จะทำให้ประโยชน์ของหนังสือชุดนั้นขาดความสมบูรณ์ไป
7.5  หนังสืออ้างอิงมีผู้ใช้มาห้องสมุดจำเป็นต้องจัดหนังสือเหล่านี้ไว้ให้พร้อมสำหรับผู้ใช้อยู่เสมอหนังสืออ้างอิง  ภาษาไทยจะมีอักษร อ (อ้างอิง) และหนังสืออ้างอิง ภาษาอังกฤษ จะมี R หรือ Ref (Reference) อยู่เหนือเลขเรียก หนังสือทุกเล่ม       

การแบ่งประเภทของหนังอ้างอิง ตามลักษณะของเนื้อหา ของหนังสืออ้างอิง การแบ่งประเภทของหนังสืออ้างอิง ในลักษณะนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท คือ

  1. พจนานุกรม (Dictionaries) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมคำและวลี  เรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร                  ให้ตัวสะกดที่ถูกต้อง  การอ่านออกเสียง  ชนิดของคำ  ความหมาย  หรือคำจำกัดความของคำ  ประวัติของคำ  วิธีใช้คำ  ตัวย่อ  คำเหมือน  คำพ้อง  คำที่มีความหมายตรงข้าม  นอกจากนี้คำบางคำอาจมีแผนภูมิ  ตาราง  หรือภาพประกอบ  เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของคำได้ดียิ่งขึ้น
    ลักษณะของพจนานุกรม
                พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ  “คำ”  รวบรวมคำต่างๆ เรียงตามลำดับอักษร  แต่ละคำจะอธิบายให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. ตัวสะกดที่ถูกต้อง
    2. การอ่านออกเสียง
    3. ความหมายของคำ  คำจำกัดความ
    4. ชนิดของคำ  เช่น  คำนาม  คำสรรพนาม  ฯลฯ
    5. ประวัติที่มาของคำ  รากศัพท์  มาจากภาษาใด
    6. การใช้คำ  ตัวอย่างการแต่งประโยค
    7. คำพ้อง  คำตรงข้าม
    8. ตัวย่อต่างๆ
    9. บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญ
    10. มีภาพประกอบตามความจำเป็น

วิธีใช้พจนานุกรม
          1. พิจารณาดูว่าคำที่ต้องการค้นนั้น  ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา  ทางด้านเฉพาะวิชาหรือทางด้านอื่น ๆ
2. เลือกใช้พจนานุกรมให้ถูกกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ
2.1  ต้องการข้อเท็จจริงอย่างละเอียดหรือโดยสังเขป  ถ้าต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริงอย่างละเอียดเกี่ยวกับคำทั้งคำเก่าและคำใหม่ในภาษาอังกฤษ  เลือกใช้พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์  แต่ถ้าต้องการหาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  เลือกใช้พจนานุกรมฉบับย่อ
2.2  ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา  ให้เลือกใช้พจนานุกรมทางภาษา  ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เลือกใช้ประเภทให้ตรงกับวัตถุประสงค์
2.3  ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านเฉพาะวิชา  เลือกใช้พจนานุกรมเฉพาะวิชา  ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ  ให้ตรงกับวัตถุประสงค์
2.4  ต้องการข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำศัพท์ในลักษณะอื่น ๆ  เลือกใช้พจนานุกรมอื่น ๆ  เช่น  พจนานุกรมอภิธานศัพท์และพจนานุกรมสแลง  เป็นต้น
3. เมื่อเลือกพจนานุกรมที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริงได้แล้ว  ให้อ่านข้อแนะนำการใช้แล้ว จึงลงมือค้นหาคำตอบ  ซึ่งอาจใช้เครื่องช่วยในการค้นหาดังนี้
3.1  หาอักษรแนะเพื่อดูคำที่ต้องการอยู่ที่เล่มใด
3.2  หาคำที่ต้องการโดยใช้ดรรชนีนิ้วมือช่วย
3.3  หาคำที่ต้องการในแต่ละหน้า  โดยอาศัยคำแนะนำที่หัวกระดาษ

พจนานุกรมแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
     1. พจนานุกรมทางภาษาทั่วไป  (General  Language  Dictionaries)  หมายถึง พจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้คำในภาษาด้านต่างๆ  แบ่งเป็น  พจนานุกรมภาษาเดียว  พจนานุกรมสองภาษา  และพจนานุกรมหลายภาษา  นอกจากนี้ยังแบ่งตามขนาดและรูปเล่มออกเป็น  พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์และพจนานุกรมฉบับย่อ
     2. พจนานุกรมเฉพาะวิชา  (Subject  Dictionaries)  หมายถึง  พจนานุกรมที่ใช้สำหรับค้นคว้าความหมายของคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง  อาชีพใดอาชีพหนึ่ง  หรือวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ  เช่น  พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ  พจนานุกรมศัพท์ธุรกิจ  ฯลฯ

พจนานุกรมที่ควรรู้จัก
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  โดยราชบัณฑิตยสถาน
2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2542  โดยราชบัณฑิตยสถาน
3. พจนะ – สารานุกรมฉบับทันสมัย  โดยเปลื้อง  ณ  นคร
4. New  Model  Thai – English  Dictionary  โดย  So  Sethaputra
5. New  Model  English – Thai  Dictionary  โดย  So  Sethaputra

 วิธีใช้พจนานุกรม
1. การเรียงลำดับพยัญชนะ
1.1  เรียงพยัญชนะจาก  ก –ฮ โดยเรียง  ฤ  ฤา
1.2  พยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบและอักษรนำ  ถ้าจะค้นหาคำให้ดูที่พยัญชนะตัวแรกของคำเป็นหลัก
1.3  คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตามด้วยสระ จะอยู่หลังคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะแล้วตามด้วยพยัญชนะ
1.4.  คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับจะอยู่ก่อนคำที่มีรูปวรรณยุกต์
1.5   คำที่อยู่ในหมวดอักษรเดียวกันให้พิจารณาพยัญชนะตัวถัดไป

  1. การเรียงลำดับสระ
    2.1  คำที่ไม่มีรูปสระกำกับจะอยู่ก่อนคำที่มีรูปสระ
    2.2  รูปสระต่างๆจะเรียงลำดับ
  1. บัญชีอักษรย่อ
    3.1  อักษรย่อในวงเล็บจะบอกที่มาของคำ
    3.2  อักษรย่อหน้าบทนิยามจะบอกชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์  เช่น
    ก.      =  คำกิริยา
    ฝ.       = คำบุพบท
    3.3  อักษรย่อในวงเล็บหน้าบทนิยามจะบอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะแห่ง
  1. การเรียงลำดับคำที่เป็นนามย่อย จะจัดเรียงไว้ตามหมวดอักษร  เช่น
    ดุก  เป็นนามย่อยของปลา  จัดเรียงไว้ในหมวดอักษร  ด
  1. ประวัติของคำ จะบอกไว้ท้ายคำนั้นๆโดยเขียนอักษรย่อไว้ในวงเล็บ  เช่น
    กรีฑา  (ส)  มาจากภาษาสันสกฤต
  1. การอ่านออกเสียงของคำ ในพจนานุกรมจะบอกคำอ่านไว้ในวงเล็บเหลี่ยมท้ายคำนั้นๆ  เช่น
    เกษตร [ กะเสด]  น. ที่ดิน  ทุ่งนา  ไร่

 2. สารานุกรม (Encyclopedias)  เป็นหนังสืออ้างอิงที่มีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นแหล่งสรรพวิยาความรู้อันเป็นพื้นฐานโดยทั่วๆ ไป โดยรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา แล้วนำมาเรียบเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษร หรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา สารานุกรมมีทั้งเล่มเดียวจบและเป็นชุดหลายเล่มจบ

ลักษณะเฉพาะของสารานุกรม
1. สารานุกรมมีทั้งชนิดเล่มเดียวจบ  และชนิดเป็นชุดหลายเล่มจบ
2. สารานุกรมสามารถอ่านได้หลายระดับ  ทั้งขั้นง่ายสำหรับเยาวชนหรือผู้มีความรู้ในระดับปานกลาง  และขั้นยากสำหรับผู้มีความรู้สูง
3. สารานุกรมประกอบด้วยบทความทางวิชาการด้านต่างๆ  โดยสังเขป  เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  จัดเรียงตามลำดับอักษร
4. มีชื่อเต็มหรืออักษรย่อของผู้เขียนบทความกำกับไว้ที่ท้ายเรื่องทุกเรื่อง
5. มีภาพประกอบบทความบางเรื่อง
6. สารานุกรมของต่างประเทศส่วนมากจะมีบรรณานุกรมโดยจัดไว้ท้ายบทความแต่ละเรื่อง
7. มีดรรชนีค้นคว้าเรื่องย่อย ๆ  ในเล่ม  สารานุกรมบางชนิดแยกเล่มไว้ต่างหาก

ประโยชน์ของสารานุกรม
         สารานุกรมจะให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ  ในทุกแขนงวิชา  ให้คำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดทั้งในเชิงประวัติความเป็นมา  วิวัฒนาการตลอดจนความรู้ทั่วไป  เหมาะที่จะทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และเป็นคู่มือบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามเป็นอย่างดี  ประโยชน์ของสารานุกรมกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลค้นหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ทุก  ๆ แขนงวิชา
2. ข้อเท็จจริงในหนังสือสารานุกรมเชื่อถือได้  เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
3. ใช้เป็นแหล่งศึกษาพื้นฐานความรู้ในเชิงประวัติความเป็นมา  และวิวัฒนาการของศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ  อย่างทั่วถึง
4. ได้ความรู้ที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุก  ๆ  ปี
5. ผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบได้สะดวกและรวดเร็ว  เพราะมีเครื่องมือช่วยค้น  คือดรรชนี (Index)
6. ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เพราะมีการจัดเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างมีระเบียบ
7. ใช้เป็นคู่มือของบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามได้เป็นอย่างดี

สารานุกรมสามารถจำแนกได้  2  ประเภท  คือ
1. สารานุกรมทั่วไป (General  Encyclopedias)  เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงวิชา  มีทั้งให้ข้อมูลอย่างละเอียดและอย่างสังเขปอธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทุกสาขาวิชา  เช่น  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ  World  Book  Encyclopedia  ฯลฯ
2. สารานุกรมเฉพาะวิชา  (Subject  Encyclopedias)  เป็นสารานุกรมที่รวบรวมความรู้สาขาใดสาขาหนึ่ง  หรือรวบรวมเรื่องราวแขนงวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ  จะอธิบายเรื่องราวละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป  เช่น  สารานุกรมวิทยาศาสตร์  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้  ฯลฯ

สารานุกรมที่ควรรู้จัก
1. สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน  โดยราชบัณฑิตยสถาน
2. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. The  New  Encyclopedia  Britannica
4. World  Book  Encyclopedia

วิธีใช้สารานุกรม
1. พิจารณาดูว่าเรื่องที่ต้องการเป็นความรู้พื้นฐาน  หรือความรู้เป็นเรื่องเฉพาะวิชา
2. เลือกใช้สารานุกรมให้ถูกกับเรื่องที่ต้องการ  เช่น
2.1   ความรู้พื้นฐานง่าย ๆ  สั้น ๆ  ใช้สารานุกรมทั่วไปสำหรับเยาวชน
2.2   ความรู้พื้นฐานอย่างละเอียดใช้สารานุกรมทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่
2.3   ความรู้เฉพาะวิชา  ให้เลือกใช้สารานุกรมเฉพาะวิชา  ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ
3. เปิดดูดรรชนีเพื่อดูเรื่องที่ต้องการค้นหาว่าอยู่ในเล่มใด หน้าเท่าไร  โดยพิจารณาให้ถูกกับลักษณะของสารานุกรม  เช่น
3.1   เปิดดูดรรชนีท้ายเล่ม  (สารานุกรมสำหรับเยาวชนและสารานุกรมบางชุดดรรชนีอยู่ด้านหน้า)
3.2   เปิดดูดรรชนีที่เล่มสุดท้ายของชุด  (สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมบางชุดอยู่ท้ายเล่ม)
4. ดูอักษรนำเล่ม  หรือคำแนะที่สันหนังสือ  เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการอยู่เล่มใด
5. ก่อนใช้สารานุกรมแต่ละชุดควรอ่านวิธีใช้เป็นลำดับแรก  แล้วจึงค้นหาเรื่องที่ต้องการ

3. หนังสือรายปี หรือหนังสือคู่มือ (Almanacs, Yearbook) หมายถึง หนังสือที่รวมรวบเหตุการณ์สำคัญ ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมารวมทั้งสถิติต่าง ๆ จะออกเป็นประจำทุก ๆ ปี มีทั้งของรัฐบาลและเอกชนมี 3 ประเภท
3.1  รายงานประจำปีเป็นหนังสือที่ออกโดย  หน่วยงานราชการและเอกชนเพื่อแถลงผลงาน การดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา
3.2  บันทึกความก้าวหน้าเฉพาะสาขาวิชา  รายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือบันทึกกิจกรรมของหน่วยงานนั้น ๆ จัดทำขึ้น
3.3  หนังสือสถิติ  จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อความบันเทิง เพื่อเก็บสถิติเกี่ยวกับ สิ่งแรก สิ่งที่ดีที่สุด
–   สยามจดหมายเหตุ
–   สมพัตสร
–   รายงานประจำปี

4. อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries) ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญเรียงตามลำดับอักษร บอกชื่อ ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนาพื้นฐานการศึกษา ผลงานที่สำคัญ อาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียด เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ มีลักษณะดังนี้
4.1  รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญ
4.2  เรียงตามลำดับอักษรของชื่อสกุล ของเจ้าของประวัติ
4.3  ให้รายละเอียด เช่น ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา ผลงาน อาชีพ

  1. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Dictionaries) เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ บอกลักษณะทางภูมิศาสตร์มี 3 ประเภท คือ
    5.1  หนังสือแผนที่ แผนที่ แสดงที่ตั้ง อาณาเขต ประเทศ เมือง ทะเล
    5.2  อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ ให้ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ชื่อเฉพาะทางภูมิศาสตร์
    5.3  หนังสือนำเที่ยว (Guidebooks) เป็นคู่มือ ในการนำเที่ยว แนะนำสถานที่เที่ยวประวัติ นั้น ๆการเดินทาง ที่พัก ค่าใช้จ่าย
    –  ภูมิลักษณ์ไทย
    –  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
    –  Geographical Dictionary

 6. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications) ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาลหรือความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ หน่วยราชการเป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ เผยแพร่ผลการปฏิบัติงานให้ประชาชนมี 3 ประเภท
6.1  บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ
6.2  รายงานเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งสถิติ และข้อมูลต่าง ๆ
6.3  ให้ความรู้และเรื่องราวทั่วไปทุกแขนงวิชา
–  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
–  ราชกิจจานุเบกษา 2417 – ปัจจุบัน
–  สยามจดหมายเหตุ

7. บรรณานุกรม (Bibliographies) ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อหนังสือหรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา เช่น
–  หนังสือดีสำหรับห้องสมุด
–  บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์รัฐบาล
–  บรรณานุกรมแห่งชาติ
–  รายชื่อหนังสือสำหรับเยาวชน

8. ดรรชนีวารสาร (Periodical Indexes) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ให้รายละเอียดของ แต่ละรายชื่อตามลำดับดังนี้ ชื่อ นามสกุล ผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ ฉบับที่ (เดือน ปี พ.ศ.) หน้าที่ปรากฏบทความ เช่น
–    ดรรชนีวารสารไทย

9. นามานุกรมไทย (Directories) ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อต่าง ๆ เช่น ชื่อบุคคล องค์กร บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคม หรือหน่วยราชการต่าง ๆ โดยเรียบเรียงตามตัวอักษรเพื่อความสะดวกในการ ค้นหารายชื่อ เช่น
–  สมุดโทรศัพท์
–  สมุดหน้าเหลือง
–  นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

เครื่องมือช่วยค้นในหนังสืออ้างอิง
              หนังสืออ้างอิงนอกจากจะเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบแล้ว  ยังจัดทำเครื่องมือช่วยค้นคว้าเพื่อให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้รวดเร็ว  ได้แก่
1. สารบัญ  (Content)  ทำหน้าที่ชี้บอกหัวข้อเรื่อง ในเล่มว่าอยู่หน้าใดอีกทั้งช่วยให้ ผู้ค้นคว้าเห็นขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง สารบัญที่บ่งบอกหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องรองและหัวเรื่องย่อยอย่างละเอียดจะช่วยให้ผู้ค้นคว้าเข้าถึงเนื้อหาในเล่มได้ดีกว่าสารบัญที่มีแต่เฉพาะหัวเรื่องใหญ่
2. คำนำทาง (Guide words)  จะปรากฏอยู่ที่มุมด้านบนของหน้ากระดาษ เพื่อบอกให้ทราบว่าเนื้อหาที่หน้านั้นขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตั้งแต่ตัวใดถึงตัวใด
3. ดัชนีริมหน้ากระดาษ หรือดัชนีหัวแม่มือ (Thumb indexs) จะปรากฏอยู่ที่ขอบหนังสือ  ซึ่งอาจจะใช้ตัวอักษรแถบสีเป็นสัญลักษณ์เพื่อบอกช่วงของเนื้อหาแต่ละตอนช่วยให้ผู้ค้นคว้าเปิดหาคำได้ทันที  หนังสืออ้างอิงที่ทำดัชนีริมหน้ากระดาษมักเป็นหนังสือรวมเรื่องหรือ มีเนื้อหาสั้น ๆ หลายเรื่อง เช่น  สารานุกรม  พจนานุกรม
4. อักษรนำเล่ม (Volume guide) จะปรากฏอยู่ที่สันของหนังสือเพื่อให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้น มีเนื้อหาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอักษรใด  มักจะทำกับหนังสือที่มีหลายเล่มจบ หรือที่เรียกว่าหนังสือ
5. ส่วนโยง (Cross Reference) คือส่วนที่แนะนำให้ไปอ่านเรื่องที่ต้องการจากหัวข้ออื่นในหนังสือเล่มนั้น การโยงในหนังสืออ้างอิงมี 2 ลักษณะ คือ โยงดูที่ (see) และโยงดูเพิ่มเติมที่ (see also)
6. ดัชนีคำสำคัญ (Index) มักจัดทำไว้ท้ายเล่มของหนังสือหรือถ้าเป็นหนังสือชุดจะทำดัชนีไว้เป็นเล่มสุดท้ายดัชนีทำหน้าที่ชี้บอกตำแหน่งคำสำคัญในเล่มว่าอยู่ที่หน้าใด โดยนำคำสำคัญจากเนื้อหามาเรียงตามลำดับตัวอักษรพร้อมบอกเลขหน้าที่อยู่ในเล่ม  ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นเนื้อหาได้ละเอียดกว่าการใช้หน้าสารบัญ    หนังสืออ้างอิงส่วนใหญ่จะทำดัชนีเป็นเครื่องมือช่วยค้น

วิธีการใช้หนังสืออ้างอิง
        การใช้หนังสืออ้างอิงผู้ใช้ควรต้องมีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. พิจารณาเรื่องที่ต้องการสืบค้นให้แน่ชัดว่าต้องการเรื่องอะไร แล้วจึงเลือกประเภทหนังสืออ้างอิงที่คาดว่าจะให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการนั้น
2. อ่านคำชี้แจงหรือวิธีใช้ก่อนการใช้งาน คำอธิบายวิธีใช้ มักจะปรากฏอยู่ในส่วนนำเรื่องหรือเล่มแรกของหนังสือชุด
3. พิจารณาการเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงจะจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร ตามลำดับหัวเรื่อง หรือตามลำดับเหตุการณ์
4. ศึกษาเครื่องหมาย  และอักษรย่อที่ใช้ในเล่ม หนังสืออ้างอิง มักใช้สัญลักษณ์พิเศษหรืออักษรย่อ เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการออกเสียงคำ  อักษรย่อ สำหรับบอกลักษณะ และหน้าที่ของคำในหนังสืออ้างอิง ประเภทพจนานุกรม เป็นต้น
5. ใช้เครื่องมือช่วยค้นที่มีในหนังสืออ้างอิง

ส่วนประกอบของหนังสือ
             ส่วนประกอบตอนต้น ซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ใบหุ้มปก (Book Jacket)  เป็นแผ่นกระดาษที่หุ้มปกหนังสือไว้อีกชั้นหนึ่ง อาจมีสีสวยงาม หรือมีภาพประกอบบางภาพซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเล่ม รวมถึงอาจมีข้อมูล ที่สำคัญบางประการของหนังสือด้วย เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน ประวัติโดย ย่อของผู้เขียน  ตลอดจน  บทวิจารณ์หนังสือเล่มนั้น ๆ
2. ปกนอก (Cover)  เป็นส่วนที่ยึดให้หนังสือคงรูปทรงแข็งแรงทนทานหยิบใช้ได้สะดวกซึ่งอาจทำด้วยกระดาษอ่อน หรือ กระดาษแข็ง บางเล่มปกมีลวดลายสวยงาม ข้อมูล ที่มักปรากฏอยู่ ในส่วนของปกนอกนี้ได้แก่ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน ชื่อสำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์  เป็นต้น
3. ใบยึดปก (End Papers)  เป็นกระดาษที่มีความเหนียวทนทาน ด้านหนึ่งผนึกติดกับ ปกนอกเพื่อทำให้หนังสือแน่นหนาขึ้น อีกด้านหนึ่งผนึกติดเป็นแผ่นเดียวกับใบรองปก ในหนังสือบางเล่มส่วนนี้อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือตารางต่าง ๆ
4. ใบรองปก (Fly Leaves)  อยู่ต่อจากใบยึดปก มีทั้งใบรองปกหน้าและปกหลัง ซึ่งส่วน ใหญ่มักเป็นกระดาษสีพื้นซึ่งไม่มีข้อความใด ๆหนังสือปกอ่อนมักจะไม่มีใบรองปก
5. หน้าชื่อเรื่อง (Half Title Page)  อยู่ต่อจากใบรองปกใน หน้านี้จะมีชื่อหนังสือ ปรากฏอยู่ในกรณีที่เป็นหนังสือชุดจะพบชื่อชุดหนังสือปรากฏอยู่ในหน้านี้ด้วย
6. หน้าปกใน (Title Page)  เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะให้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือเช่น ชื่อหนังสือ ชื่อเรื่องย่อย ชื่อผู้เขียน ผู้แปล ผู้รวบรวม บรรณาธิการ ผู้เขียนภาพประกอบ ครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ซึ่งเป็น รายละเอียดที่ใช้ในการจัดทำรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือเล่มนั้น
7. หน้าลิขสิทธิ์  (Copyright Page) อยู่ด้านหลังของหน้าปกใน แสดงข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ของหนังสือเล่มนั้น เช่น ผู้ถือลิขสิทธิ์ ครั้งที่จดลิขสิทธิ์ ปีที่จดลิขสิทธิ์ เป็นต้น ในหนังสือบางเล่ม จะปรากฏเลข มาตรฐานสากลประจำหนังสือสากล (ISBN = International Standard Book Number) และเลขหมู่หนังสือไว้ด้วย
8. หน้าคำอุทิศ (Dedication Page)  อยู่ต่อจากหน้าลิขสิทธิ์ เป็นข้อเขียนของผู้เขียน เพื่ออุทิศความดีหรือคุณค่าของหนังสือเล่มนั้นให้แก่  บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น บุพการี อาจารย์ สามี ภรรยา บุตร ธิดา เป็นต้น
9. หน้าคำนำ (Preface)  ในหน้านี้เป็นข้อความที่แจ้งให้ทราบถึงขอบเขต ของหนังสือ วิธีรวบรวมและเรียบเรียง เหตุผลในการเขียนหนังสือเล่มนั้น ๆ ตลอดจนบอกถึงลักษณะพิเศษของหนังสือวิธีใช้ รวมถึงการกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ในการเขียนหรือจัดทำหนังสือนั้น สำหรับหนังสือภาษาไทยอาจใช้ “อารัมภบท” “คำชี้แจง” หรือ “คำปรารภ” แทนคำนำ ซึ่งผู้เขียนอาจเขียนเองหรือให้ผู้อื่นเขียนก็ได้ ก่อนที่ผู้อ่านจะอ่านเนื้อหาภายในหนังสือควรอ่านคำนำด้วยเพื่อช่วยให้ ทราบถึงวัตถุประสงค์และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ และได้รับ ประโยชน์จากหนังสืออย่างเต็มที่
10. หน้าประกาศคุณูปการ (Acknowledgement)   ในหน้านี้จะกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียบเรียงหนังสือเล่มนั้น หนังสือบางเล่ม  อาจเรียกว่า “กิตติกรรมประกาศ” หรือบางเล่มอาจ ไม่ปรากฏหน้าดังกล่าวนี้เนื่องจากได้กล่าวไว้แล้วในหน้าคำนำ การกล่าวขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือนี้อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เพราะทำให้ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการกล่าวถึง
11. หน้าสารบัญ (Table of Content)  ในหน้านี้จะเป็นการลำดับหัวข้อเรื่องที่สำคัญของหนังสือ ซึ่งอาจแบ่งเป็นภาค ตอน หรือบท พร้อมทั้งระบุหน้าที่เริ่มเรื่องนั้น ๆ ผู้อ่านจะได้เรื่องราวโดยสังเขปการเรียงลำดับเรื่อง และสามารถอ่านเรื่องราว ที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็ว
12. หน้าสารบัญภาพประกอบและสารบัญตาราง (Lisf of Illustration, List of Tables) หนังสือบางเล่มมีภาพประกอบหรือตารางเป็นจำนวนมากและเป็นส่วนที่มีความสำคัญในเนื้อเรื่องจึงได้จัดทำรายการภาพประกอบหรือตารางพร้อมระบุเลขหน้าที่ปรากฏไว้ เพื่อความสะดวกใน  การค้นหา

ส่วนประกอบของวารสาร
           รูปแบบของวารสารนั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทของวารสาร โดยทั่วไปส่วนประกอบที่สำคัญของวารสารมีดังต่อไปนี้
1. ปก ปกของวารสารส่วนมากนั้นเป็นปกอ่อน ข้อมูลสำคัญที่บันทึกไว้ในส่วนของปกวารสารได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน/เดือน/ปี ที่ออกเผยแพร่
2. หน้าสารบัญ หน้าสารบัญของวารสารอาจจะปรากฏในส่วนต่าง ๆ ได้ เช่น ปกหน้าปกหลัง ด้านในปกหน้าหรือท้ายเล่ม แต่ส่วนมากมักจะพิมพ์ไว้ในหน้า ต่อจากปกเพื่อแจ้งให้ผู้อ่าน ทราบว่าภายในวารสารฉบับนั้น ๆประกอบด้วยบทความ ใดบ้าง พร้อมทั้งระบุเลขหน้าที่ บทความปรากฏอยู่ วารสารบางเล่มจะระบุชื่อผู้เขียนบทความนั้น ๆ ไว้ใน หน้าสารบัญด้วย ในหน้าสารบัญของวารสารนี้ส่วนมาก จะมีข้อมูลเกี่ยวกับวารสารนั้น ๆ ด้วย เช่น ชื่อวารสารปีที่ฉบับที่ วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่เลขมาตรฐานสากล ประจำวารสาร (International Standard Serials Number : ISSN) ราคาหรืออัตราค่าสมาชิก กำหนดเผยแพร่ เจ้าของ ผู้ผลิต หรือคณะผู้จัดทำ พร้อมทั้งสถานที่สำหรับติดต่อ
3. บทบรรณาธิการ เป็นบทความสั้น ๆ ที่ผู้รับผิดชอบในการผลิตวารสารนั้น ๆ เขียนขึ้น เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจ กับผู้อ่าน อาจเกี่ยวกับการดำเนินจัดทำวารสารฉบับนั้น เรื่องราวที่ลงตีพิมพ์หรือข้อคิดเห็น ของบรรณาธิการเกี่ยวกับเรื่องราวหรือสถานการณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ทำให้ทราบถึงแนวทางของเรื่องในวารสารหรือได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
4. เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องในวารสารจะมีลักษณะเป็นบทความ หรือบทประพันธ์ซึ่งอาจจบในฉบับหรือต่อเนื่องหลายฉบับก็ได้ ส่วนเนื้อหาของ งานเขียนที่ตีพิมพ์นั้นจะสอดคล้องกับประเภทและ วัตถุประสงค์ ในการผลิตวารสาร นั้น ๆ เช่น วารสารวิชาการงานเขียนที่ลงตีพิมพ์ จะเป็นบทความทางวิชาการ วารสารทั่วไปหรือนิตยสาร งานเขียน ที่ลงตีพิมพ์จะได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องเบ็ดเตล็ด เป็นต้น บางเรื่องอาจมีภาพประกอบด้วย
5. โฆษณา สำหรับวารสารที่ผลิตเพื่อการค้านั้นจะมีโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทั้งนี้เพราะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของผู้ผลิตวารสาร ซึ่งโฆษณานั้นอาจกระจายอยู่ในส่วนต่าง ๆ  ตลอดเล่มวารสาร วารสารบางชื่ออาจรวบไว้ตอนท้ายเล่ม ในกรณีที่เป็นวารสารวิชาการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันต่าง ๆ ส่วนมากไม่มีการโฆษณาเพราะได้รับงบประมาณอุดหนุนการผลิตวารสารจากหน่วยงาน

ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์
            โดยทั่วไปส่วนประกอบ ที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ มีดังต่อไปนี้
1. พาดหัวข่าว (Headline) เป็นการคัดเลือกข่าวที่สำคัญ และน่าสนใจที่สุดมาเรียบเรียงสรุปเป็นสาระสำคัญสั้น ๆ พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ สะดุดตา เพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้อ่าน และเพื่อประหยัดเวลาให้ผู้อ่าน สามารถเลือกอ่านข่าวได้ทุกข่าวโดยไม่เสียเวลามาก หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะพาดหัวข่าวเพียงหนึ่งหรือสองข่าว และมักไม่เกินสามข่าวโดยจัดพิมพ์ตัวอักษรให้มีขนาดลดหลั่นกันลงมาตามระดับความสำคัญของข่าว
2. บทบรรณาธิการ หรือบทนำ  เขียนโดยบรรณาธิการ จะเป็นบทความ หรือบทวิจารณ์ ที่แสดงความคิดเห็นต่อการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ แต่ละฉบับ จึงเปรียบเหมือนนโยบาย หรือทิศทาง ของการเสนอข่าว ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ
3. เนื้อข่าว (News)  เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่รายงานเหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งข่าว มี 2 ประเภท คือ ข่าวแข็ง (Hard  news) ได้แก่ ข่าว ที่มีสารประโยชน์ เช่นข่าวการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม การบริหารประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น และข่าวอ่อน(Soft  news) ได้แก่ ข่าวกีฬา อุบัติเหตุ อาชญากรรม  บันเทิง และข่าวสังคม เป็นต้น
4. สารคดี  จะเป็นเรื่องที่ให้ความรู้ เรื่องที่ให้สาระหรือเป็นวิชาการ
5. บทความ  เป็นบทวิเคราะห์ วิจารณ์ข่าว ให้ความรู้และสาระในเรื่องราวต่าง ๆ
6. คอลัมน์ประจำ  ผู้เขียนที่เรียกว่า คอลัมน์นิส เขียนแสดงความคิดเห็น หรือวิเคราะห์วิจารณ์ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และตีพิมพ์เป็นประจำในหนังสือพิมพ์ของแต่ละฉบับ
7. ภาพประกอบ  เป็นสิ่งสำคัญสำหรับหนังสือพิมพ์รายวันมากเพราะภาพประกอบจะทำให้ข่าวเกิดความน่าสนใจและ ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้น
8. โฆษณา  หนังสือพิมพ์รายวันจะได้รับค่าลงโฆษณาของบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ และโฆษณาก็เป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งด้วย

การจัดหมู่หนังสือ

ความหมายของการจัดหมู่หนังสือ
      การจัดหมู่หนังสือ (Book Classification) หมายถึง การจัดจำแนกประเภทหนังสือออกตามเนื้อหาโดยหนังสือ ที่มีเนื้อหาเดียวกันจัดไว้ด้วยกัน และหนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน หรือสัมพันธ์กัน จัดไว้ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดสัญลักษณ์ใช้แทนเนื้อหานั้นทั้งนี้เพื่อความสะดวก ในการจัดเก็บและค้นหาหนังสือ

ความสำคัญของการจัดหมู่หนังสือ
      ห้องสมุดแต่ละแห่งจะจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศไว้เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้ระบบและ วิธีการต่าง ๆ ในการจัดเก็บและนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นและเข้าถึง สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ
1. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะอยู่รวมกัน
2. หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กัน จะอยู่ใกล้กัน
3. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือในห้องสมุดได้สะดวกและรวดเร็ว
4. ทำให้จัดเก็บหนังสือเข้าที่ได้ถูกต้องและรวดเร็ว
5. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุดว่าแต่ละหมวดหมู่มีจำนวนมากน้อยเท่าใด

ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่ควรทราบ
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่สำคัญ  การจัดหมวดหมู่หนังสือในปัจจุบันมีการจัดในระบบต่างๆ  ดังนี้
4.1  ระบบเอ็กซ์แพนซีพ (Expansive Classification) ของ ชาร์ลส์  แอมมิ คัดเตอร์ (Chartes  Ammi  Cutter)
4.2  ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey  Decimal  Classification) หรือ DC หรือ DDC ของ เมลวิล  ดิวอี้ (Melvil  Dewey)
4.3  ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library  of  Congress  Classification ) หรือ LC  ของ เฮอร์เบิร์ท พุทนัม  (Derbert  Putnam)  และคณะบรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
4.4  ระบบทศนิยมสากล (Universal  Decimal  Classification) หรือ UDC ของ พอล อ๊อตเล็ต
(Paul  Otlet) และอองรี ลา ฟอนแตน (Henri  La  Fontaine)
4.5 ระบบซับเจค (Subject  Classification) หรือ SC ของ เจมส์  ดัฟฟ์  บราวน์ (James  Duff
Brown)
4.6  ระบบโคลอน (Colon  Classification) หรือ CC  ของ เอส.  อาร์.  แรงกานาธาน (S.R. Ranganathan)
4.7  ระบบบรรณานุกรม (Bibliographic Classification) หรือ BC ของ เฮนรี่  เอฟเวลิน
บลิสส์ (Henry  Evelyn  Bliss)
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือทั้ง  7  ระบบ  บางระบบมีการนำมาใช้น้อยมาก  แต่บางระบบมีการนำมาใช้แพร่หลายในประเทศต่างๆ  รวมทั้งประเทศไทยด้วย  ได้แก่  ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  และระบบทศนิยมของดิวอี้  ทั้งสองระบบนี้ห้องสมุดได้นำมาใช้แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของห้องสมุด  ซึ่งนับว่าเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ที่สำคัญ   และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุด

การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
           การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้  (Dewey  Decimal  Classification) เรียกย่อ ๆ ว่าระบบ  D.C. หรือ D.D.C. ระบบนี้ตั้งชื่อตามผู้คิดค้น คือ นายเมลวิล  ดิวอี้  ( Melvil  Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ดิวอี้มีความสนจานห้องสมุดเป็นพิเศษ ในขณะที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในวิทยาลัยแอมเฮิร์สต์ ในรัฐแมสซาซูเสตต์  ได้สมัครเข้าทำงานห้องสมุดของวิทยาลัยนั้นในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณารักษ์  ดิวอี้ได้ไปดูงานด้านการจัดหนังสือให้สะดวกแก่การใช้ในห้องสมุดต่างๆ  ถึง 50  แห่ง แล้วจึงได้เริ่มคิดระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมขึ้นในเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.  2416  (ค.ศ. 1873)  ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการห้องสมุดของวิทยาลัยนั้น  จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มครั้งแรกเมื่อปี  ค.ศ.  1876 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเลขหมู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ  และจัดพิมพ์ใหม่ครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. 2534  เป็นการพิมพ์ครั้งที่  20  ระบบนี้ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนชนิดของหนังสือ  โดยใช้ตัวเลขสามหลัก  และยังสามารถใช้จุดทศนิยมหลังเลขหลักร้อย  ช่วยในการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาได้อีกด้วย  ระบบนี้ใช้ง่าย  เข้าใจและจำได้ง่าย  จึงเป็นระบบการจัดหมู่ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดประชาชน  ในทุก ๆ ประเทศทั่วโลก  รวมทั้ง  ประเทศไทยเราด้วย  ระบบทศนิยมของดิวอี้  แบ่งหนังสือเป็นหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดย่อย ๆ  ดังนี้
ระบบทศนิยมของดิวอี้  (Dewey  Decimal  Classification)  เรียกย่อ ๆ ว่าระบบ  ดิวอี้ หรือระบบD.C หรือ D.D.C  ระบบนี้ตั้งชื่อตามผู้คิดค้นระบบขึ้นมาคือนายเมลวิล  ดิวอี้  (Melvil  Dewey)
1. หมวดใหญ่ ดิวอี้ หรือการแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ ๆ ดังนี้
000         เบ็ดเตล็ด  (General  Work)
100         ปรัชญาและจิตวิทยา  (Philosophy  and  Psychology)
200         ศาสนา  (Religion)
300         สังคมศาสตร์  (Social  Science)
400         ภาษาศาสตร์ (Language)
500         วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์  (Pure  Science)
600         วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี (Apply  Science  or  Technology)
700         ศิลปะและการบันเทิง  (Art  and  Creation)
800         วรรณกรรมหรือวรรณคดี  (Literature)
900        ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์  (Geography  and  History)

หมู่ หรือการแบ่งครั้งที่ 2  คือ การแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น 10 หมู่ (รวมเป็น 100 หมู่)  โดยใช้เลขหลัก 10 แทนหมู่วิชา เช่น ในหมวด 000 (หมวดเบ็ดเตล็ด)
000         เบ็ดเตล็ด                            050      วารสารทั่วไป
010         บรรณานุกรม                       060       สมาคมและพิพิธภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป
020         บรรณารักษ์                         070      วารสารศาสตร์
030         สารานุกรมทั่วไป                  080      ชุมนุมนิพนธ์
040         รวมความเรียงทั่ว ๆ ไป          090      หนังสือหายาก

หมู่ย่อย หรือการแบ่งครั้งที่ 3  คือการแบ่งแต่ละหมู่ออกเป็น 10 หมู่ย่อย  (รวมเป็น 1,000 หมู่ย่อย)  โดยใช้เลขหลักหน่วยแทนหมู่ย่อย เช่น
370         การศึกษา                       375 หลักสูตร
371         การสอน                         376 การศึกษาของสตรี
372         ประถมศึกษา                   377   การศึกษาทางศาสนา
373         มัธยมศึกษา                    378 วิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย
374    การศึกษาผู้ใหญ่                   379    การศึกษาและรัฐ

นอกจากการแบ่งหมู่ย่อยแล้ว  ยังสามารถแบ่งให้ละเอียดหรือเฉพาะเจาะจงมากขึ้นโดยการใส่จุดทศนิยมดังตัวอย่าง
621.3         วิศวกรรมไฟฟ้าแสงสว่าง วิศวกรรมแม่เหล็ก
วิศวกรรมการสื่อสารวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
621.38       วิศวกรรมไฟฟ้า  วิศวกรรมเพื่อการสื่อสาร
621.381     อิเล็กทรอนิกส์

ระบบทศนิยมของดิวอี้  จะแบ่งหมวดหมู่หนังสือตามลักษณะเนื้อหาของหนังสือ  ยกเว้น ในหมวด  800 แบ่งตามลักษณะการประพันธ์  โดยจะเริ่มจากเรื่องที่กว้าง ๆ ไปหาเรื่องที่ย่อยหรือเฉพาะเรื่อง  ดังตัวอย่าง
800         วรรณคดี
890         วรรณคดีภาษาอื่น ๆ
895         วรรณคดีเอเชียตะวันออก  และตะวันออกเฉียงใต้
895.9      วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
895.91    วรรณคดีไทย

จากการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้ได้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย  เพราะเป็นระบบที่ใช้ง่าย  เหมาะสมกับห้องสมุดขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง  หรือมีหนังสือยังไม่มากนักแต่สำหรับห้องสมุดขนาดใหญ่  ที่มีหนังสือมากจะทำให้เลขหมู่หนังสือ  มีทศนิยมหลายตำแหน่ง  จะทำให้ไม่สะดวกต่อการดำเนินงาน  และการค้นหาหนังสือ

การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
              ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน(Library  of Congress  Classification) เรียกย่อ ๆ ว่าระบบ  L.C  ผู้ที่คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาคือ  ดร.เฮอร์เบิร์ต  พุทนัม (Dr.  Herbert  Putnum)  บรรณารักษ์ประจำหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  โดยได้แบ่งหมวดหมู่หนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่  ใช้ตัวอักษรโรมันเป็นสัญลักษณ์  ตั้งแต่ A-Z ตัวอักษรที่ยังไม่ได้ นำมาใช้ในปัจจุบันมี 5 ตัว คือ I O W X Y นอกจากใช้ตัวอักษรโรมันแทนเนื้อหาของหนังสือแล้ว  เพื่อให้การแบ่งประเภทหนังสือมีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้นำตัวเลขอารบิคตั้งแต่ 1 – 9999  มาใช้ประกอบกับตัวอักษร A – Z  ด้วย จากระบบที่ใหญ่และยืดหยุ่นได้มากนี้ ระบบ  L.C  จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในห้องสมุด ขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก  ส่วนใหญ่เป็นห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย
1. หมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งออกเป็น 20 หมวด โดยใช้ตัวอักษร A – Z เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ
หมวด               ประเภทเนื้อหาหนังสือ
A                   ความรู้ทั่วไป (General  Work)
B                   ปรัชญา  จิตวิทยา  ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)
C                   ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences History)
D                   ประวัติศาสตร์ทั่วไปประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : General Old Word)
E-F                ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America)
G                   ภูมิศาสตร์ทั่วไป โบราณคดี นันทนาการ (Geography,
Antropology,Recreation)
H                    สังคมศาสตร์ (Social Sciences)
J                     รัฐศาสตร์ (Political Science)
K                    กฎหมาย  (Law)
L                     การศึกษา (Education)
M                    ดนตรี (Music and Books on Music)
N                    ศิลปกรรม (Fine Arts)
P                    ภาษาและวรรณคดี (Philology and Literatures)
Q                    วิทยาศาสตร์ (Science)
R                    แพทยศาสตร์ (Medicine)
S                    เกษตรศาสตร์ (Agriculture)
T                    เทคโนโลยี (Technology)
U                    ยุทธศาสตร์ (Military Science)
V                    นาวิกศาสตร์ (Naval Science)
Z                    บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (Bibliography, Library
Science)

  1. หมวดย่อย (Division) หรือการแบ่งครั้งที่ 2โดยใช้ตัวอักษรโรมันสองตัวเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหนังสือ ยกเว้น  หมวด  E-F  และหมวด  Z  จะใช้อักษรตัวเดียวผสมกับตัวเลข  ส่วนหมวด  K  และ  D  จะใช้อักษร  3  ตัว  ซึ่งแต่ละหมวดจะแบ่งได้มากน้อยต่างกัน ดังตัวอย่างการแบ่งหนังสือในหมวด  T  จะแบ่งได้  16  หมวดย่อย  ดังนี้
    หมวด                     ประเภทหนังสือ
    TA                          วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป  วิศวกรรมโยธา
    TC                          วิศวกรรมศาสตร์
    TD                          เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  วิศวกรรมสุขาภิบาล
    TE                          วิศวกรรมทางหลวง  ถนน  และผิวการจราจร
    TF                          วิศวกรรมรถไฟ  และการปฏิบัติการ
    TG                          วิศวกรรมสะพาน
    TH                          การก่อสร้างอาอาคาร
    TJ                           วิศวกรรมเครื่องกลและเครื่องจักร
    TK                          วิศวกรรมไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมนิวเคลียร์
    TL                          ยานพาหนะ  การบิน  ยานอวกาศ
    TN                          วิศวกรรมเหมืองแร่  โลหะการ
    TP                          เคมีเทคนิค
    TR                          การถ่ายภาพ
    TS                          การผลิต  โรงงาน
    TT                          หัตถกรรม
    TX                          คหกรรมศาสตร์
  1. หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 โดยการใช้ตัวเลขอารบิคตั้งแต่ 1 – 9999  และเติมจุดทศนิยม โดยไม่จำกัดตำแหน่ง  ดังตัวอย่าง
    TA                          วิศวกรรมศาสตร์
    TA170                    วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    TX                          คหกรรมศาสตร์
    TX361                    อาหารและโภชนาการเฉพาะกลุ่มคน
    TX361.A3              อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอาย

การจัดหมวดหมู่หนังสือ  เป็นการแบ่งกลุ่มประเภทเนื้อหาของหนังสือให้หนังสือประเภทที่มีเนื้อหาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาอยู่รวมกันแล้วใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข  หรือตัวอักษรตามที่กำหนดไว้ในระบบ  เขียนไว้ที่สันหนังสือ ทุกเล่ม  ทั้งนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการแยกจัดเก็บไว้ในชั้นสะดวกต่อการค้นหาของผู้ใช้ บริการสัญลักษณ์ที่เขียนกำกับไว้บนสันหนังสือนี้เรียกว่า เลขเรียกหนังสือ  (Call  Number)  ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังนี้

  1. เลขหมู่หนังสือ (Clssifcation  Number)  หมายถึง  สัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือตามที่ระบบนั้น ๆ  กำหนดไว้  ยกตัวอย่างในระบบดิวอี้  (D.C.)  จะกำหนดไว้เป็นตัวเลข เช่น
    370       หมายถึง  หนังสือเกี่ยวกับการศึกษา
    621.3    หมายถึง  หนังสือเกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า
  1. อักษรตัวแรกของผู้แต่ง หรืออักษรย่อจากชื่อผู้แต่ง  (สำหรับคนไทย)  แต่ถ้าเป็น ชาวต่างประเทศจะใช้ชื่อสกุล เป็นอักษร ตัวแรก  โดยจะเขียนอักษรตัวแรกไว้บรรทัดที่สองบน สันหนังสือ ถัดจากเลขหมู่หนังสือลงมา  ดังตัวอย่าง
    ชื่อผู้แต่ง                                                                อักษรตัวแรกหรืออักษรย่อผู้แต่ง
    ม.ร.ว.  คึกฤทธ์ ปราโมช                                                                      ค
    ดร. วิษณุ  เครืองาม                                                                              ว
    อาจารย์เกษม ประพฤติธรรม                                                                   ก
  1. เลขประจำตัวผู้แต่ง เป็นเลขที่กำหนดขึ้นมาจากชื่อของผู้แต่งแต่ละคน  เพื่อให้มี ความแตกต่างกัน  โดยเฉพาะผู้แต่งที่มีอักษรย่อตัวเดียวกัน  เลขผู้แต่งจะเขียนไว้บนสันหนังสือ    ต่อจากอักษรย่อผู้แต่งดังตัวอย่าง
    ชื่อผู้แต่ง                                                อักษรย่อผู้แต่ง                            เลขประจำผู้แต่ง
    นิภาพร                                                          น                                                 624
    นิภาพรรณ                                                      น                                                 625
    นิภาภรณ์                                                        น                                                 626
    ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ไม่ใช้เลขประจำผู้แต่ง แต่จะใช้อักษรแรกของผู้แต่ง-อักษรแรกของชื่อเรื่อง เช่น
    629.45
    ส-ก
    ล.23
  1. อักษรย่อของชื่อเรื่องหรืออักษรย่อชื่อหนังสือ เพื่อให้เลขเรียกหนังสือมีความละเอียดและเฉพาะยิ่งขึ้น  จึงได้กำหนดให้ใช้อักษรตัวแรกของชื่อหนังสือประกอบกับเลขหมู่หนังสือ  โดยจะเขียนอักษร ชื่อหนังสือ ต่อจากเลขผู้แต่ง  ซึ่งเมื่อรวมทุกส่วนไว้ด้วยกันจะเรียกว่า  เลขเรียกหนังสือ   (Call Number)  เลขเรียกหนังสือนอกจากจะมีส่วนประกอบ  4 ส่วนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังอาจมี ส่วนอื่น ๆ  เพิ่มเข้ามาอีก  ดังนี้
    1. ล. 1  หมายถึง  เล่มที่  1  ในกรณีที่หนังสือนั้นมีหลายเล่มจบ  จะต้องใส่ไว้บรรทัดที่ 3 ของสันหนังสือว่าเป็นเล่มที่เท่าไหร่  เช่น  ล.1, ล.2, ล.3 เป็นต้น ถ้าเป็นหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ V.1, V.2 , V.3  (Volume)
    2. ฉ. 1 หมายถึง ฉบับที่   1  ในกรณีที่หนังสือนั้นซื้อมาหลายฉบับจะต้องใส่ด้วยว่าเป็นฉบับที่เท่าไหร่  เช่น    ฉ.1, ฉ.2, ฉ.3 เป็นต้น  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้  C.1, C.2 ,  C.3 (Copy)
    3. การใช้ตัวอักษรประกอบเลขหมู่หนังสือ  สำหรับหนังสือบางประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และสะดวกสำหรับผู้ใช้  ได้มีการนำตัวอักษรมาประกอบกับเลขหมู่หนังสือ  โดยจะให้ตัวอักษรอยู่เหนือเลขหมู่หนังสือ  ตัวอักษรที่นำมาประกอบเลขหมู่หนังสือได้แก่  “  อ ”  หมายถึง  หนังสืออ้างอิง  ถ้าเป็นหนังอ้างอิงภาษาอังกฤษจะใช้  “  R”  หรือ  “ Ref “  มาจากคำว่า  Reference
    4. การใช้ตัวอักษรแทนเลขหมู่หนังสือ  หนังสือบางประเภท  การจัดหมวดหมู่จะพิจารณาจากลักษณะการ ประพันธ์  เช่น ในหมวด  800  ของระบบดิวอี้  หมายถึง   หนังสือเกี่ยวกับวรรณคดีและวรรณกรรมดังนั้นถ้าหากเป็นนวนิยาย  ซึ่งมีกลวิธีในการนำเสนอเรื่องคล้ายกัน  ก็จัดเป็นประเภทเดียวกัน  ไม่ได้พิจารณาจากเนื้อเรื่องนวนิยาย  สำหรับตัวอักษรที่ใช้แทนเลขหมู่หนังสือ  ได้แก่
    น  หรือ  นว                               หมายถึง  นวนิยายไทย
    F     หรือ Fic          หมายถึง  นวนิยายอังกฤษ  มาจากคำว่า  Fiction
    ร.ส.                         หมายถึง  เรื่องสั้น
    S.C                         หมายถึง  เรื่องสั้นภาษาอังกฤษ  มาจากคำว่า  Short  Story  Collection

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น
                การจัดเรียงหนังสือบนชั้นของห้องสมุดจะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนสันหนังสือโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก
2. เรียงจากซ้ายไปขวา
3. เรียงจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง
4. หนังสือที่มีเลขหมู่ซ้ำกันให้เรียงตามลำดับอักษรย่อผู้แต่ง เลขผู้แต่งและอักษรย่อชื่อเรื่องตามลำดับ
5. หนังสือที่มีหลายเล่มจบหรือหลายฉบับ  ให้จัดเรียงตามลำดับเลขน้อยไปเลขมาก  เช่น  ล.1, ล.2, ล.3 หรือ ฉ.1, ฉ.2, ฉ.3
6. หนังสือนวนิยายและเรื่องสั้นจะเรียงตามอักษรชื่อผู้แต่ง
7. หนังสือภาษาไทยให้เรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ
ซ้าย                 ขวา        ซ้าย                     ขวา

หลักการเรียงหนังสือขึ้นชั้น  ในระบบทศนิยมของดิวอี้
1. การเรียงหนังสือสารคดี
           1.1  เรียงหนังสือจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่างตามลำดับเลขเรียกหนังสือ โดยเรียงจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก 1 เช่น
001.4          001.9          001.94          001.942          001.944
ย-พ             ช-จ             ภ-บ               ส-จ                ม-ค

004             004.03        004.16          004.6              004.68
ค-ม             ท-ศ             จ-ค               น-ส                อ-ร

ถ้าเลขหมู่ซ้ำกัน จัดเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เช่น
200          200
จ-ศ          ธ-ศ
1.2  ถ้าเลขหมู่หนังสือซ้ำกัน ชื่อผู้แต่งซ้ำกัน จัดเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง เช่น
158          158
ว-จ          ว-ส
1.3  ถ้าเลขหมู่หนังสือซ้ำกัน  ชื่อผู้แต่งคนเดียวกัน  ชื่อเรื่องเดียวกัน  มีหลายเล่มจบ (ล.) และมีหลายฉบับ (ฉ.) จัดเรียงตามลำดับเล่มที่และฉบับที่  เช่น
796.325               796.325              796.325                796.325
อ-ว                      อ-ว                        อ-ว                         อ-ว
ล.1 ฉ.1                ล.1 ฉ.2                  ล.2 ฉ.1                  ล.2  ฉ.2

  1. การเรียงหนังสือประเภทอื่น ๆ
    2.1  หนังสืออ้างอิง  จัดเรียงตามลำดับเลขเรียกหนังสือ  เช่น
    อ                       อ                       อ
    574.03                584.15               584.15
    ช-พ                   อ-ก                    อ-ค
    2.2  หนังสือแบบเรียน  จัดเรียงตามชื่อวิชาและเลขเรียกหนังสือ เช่น วิชาภาษาไทย
    บ                 บ                         บ
    495.91          495.915              495.918
    บ-ภ              ว-ท                   ส-บ
    2.3  นวนิยาย  จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง เช่น
    น                  น                         น                         น                        น
    ก-ต              ก-บ                     ท-ค                      ท-ท                    ส-ท
    2.4  หนังสือสำหรับเยาวชน  จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง เช่น
    ย                  ย                            ย                             ย                             ย
    ก-ช              น-ส                         บ-ม                         บ-ส                          ส-ด
    2.5  รวมเรื่องสั้น  จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง  เช่น
    รส.            รส.                        รส.                        รส.                        รส.
    ก-ผ            ป-ส                       ร-ช                        ส-บ                       ส-ล

การระวังรักษาหนังสือ
          การระวังรักษาหนังสือ  หมายถึง การระมัดระวังให้พ้นจากภัยต่าง ๆ เช่น ปลวก แมลง แสงแดด ความชื้นตลอดจนการใช้ของมนุษย์ที่เป็น สาเหตุให้หนังสือชำรุด การดูแลรักษา และการทำให้หนังสืออยู่ในสภาพเรียบร้อย แน่นหนา แข็งแรง ทนทาน   สามารถใช้งานได้นานและไม่ชำรุดก่อนถึงเวลาอันควร เพื่อให้ใช้หนังสือได้อย่างคุ้มค่าได้ประโยชน์สูงสุด ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. การระวังรักษาหนังสือไม่ให้สูญหาย หนังสือของห้องสมุดจะสูญหายเพราะมีผู้นำหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ยืม หรือจงใจขโมยหนังสืออกไป ดังนั้นบรรณารักษ์จึงควรหาทางป้องกันโดย
1.1  จัดทางเข้าออกทางเดียว เพราะถ้ามีทางเข้าออกหลายทางทำให้ไม่สะดวกในการควบคุมดูแล
1.2  ถ้าห้องสมุดอยู่ชั้นล่าง มีหน้าต่างหลายบาน ควรทำเหล็กดัดชนิดตาถี่ หรือตาข่ายเหล็ก
1.3  ควบคุมระบบการยืมให้รัดกุม  และจัดที่ควบคุมทางเข้า-ออก เพื่อตรวจดูว่าหนังสือทุกเล่มได้มีการยืมเรียบร้อยแล้ว
2. การระวังรักษาหนังสือไม่ให้ชำรุดเสียหาย มีวิธีระวังรักษาหนังสือตั้งแต่เริ่มได้รับหนังสือใหม่ และระวังรักษาเรื่อยๆ ไป ตลอดการใช้งานของหนังสือเล่มนั้น  โดยเมื่อได้รับหนังสือใหม่  ควรมีวิธีเปิดให้ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานของหนังสือ ดังนี้
วางหนังสือให้สันทาบกับโต๊ะ
เปิดปกหน้าและปกหลังออก ให้ปกแนบกับพื้น
เปิดหนังสือด้านหน้าครั้งละ 5 – 6 แผ่น ใช้หัวแม่มือที่สะอาดรีดตอนที่ติดกับสัน ให้เรียบ
เปิดหนังสือทางด้านหน้าประมาณ 5 -10 แผ่น ใช้นิ้วหัวแม่มือกดและรีดไป-มา ในส่วนที่ติดกับ สันด้านในให้เรียบ
เปิดทางด้านหลังโดยวิธีเดียวกับด้านหน้า
เปิดสลับกันไปจนกว่าจะหมดเล่ม

วิธีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จะทำให้หนังสือใหม่เปิดอ่านได้ง่ายตลอดทั้งเล่ม ไม่พลิกกลับไปกลับมา เนื่องจากหน้าหนังสือจะเปิดตามรอยพับที่ถูกสร้างขึ้น และเพื่อให้หนังสือเล่มนั้นๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงทน การอ่านหนังสือในคราวต่อไปควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนี้
1. ไม่ควรกางหนังสือเกิน 180 องศา เพราะจะทำให้สันหนังสือหักหรือหลวม
2. การคั่นหนังสือที่อ่านค้างอยู่ควรใช้ริบบิ้นหรือกระดาษบาง ๆ คั่นแทนการใช้ดินสอหนา
3. ไม่ควรพับมุมหนังสือ หรือกางหนังสือคว่ำหน้ากับพื้นโต๊ะ เพราะจะทำให้หนังสือชำรุดหรือเสียหายได้
4. ไม่ควรฉีกหรือตัดรูปภาพตลอดจนข้อความใด ๆ ในหนังสือ ควรใช้วิธีถ่ายเอกสารซึ่ง สามารถทำได้ไม่ควรวางหนังสือซ้อนกันเป็นตั้งสูง เพราะ เล่มที่อยู่ตอนล่างจะถูกน้ำหนักของหนังสือตอนบนกดทับ
5. ไม่ควรเก็บหนังสือในที่อับชื้น ระวังปลวกหรือแมลงต่าง ๆ จะทำลายหนังสือ
6. ไม่ควรเก็บหนังสือไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงได้โดยตรง เพราะแสงแดดจะทำให้ หนังสือแห้งกรอบและหมึกพิมพ์ซีดจางลง
7. ระวังอย่าให้หนังสือถูกฝนหรือเปียกชื้น จะทำให้กระดาษพองตัวและเกิดราทำให้หนังสือติดกันเปิดไม่ออก
8. ไม่ควรใช้หนังสือบังแดดหรือกันฝนเพราะจะทำให้หนังสือชำรุด

“หากผู้ใช้ใจปรานี”

             กรรมใดหนอเจาะจงส่งให้ข้า                                 ต้องเกิดมาเป็นหนังสือมีชื่อเสียง
บรรณารักษ์ซื้อหามาวางรียง                                 ไม่แท้เที่ยงชีวิตอนิจจัง
มือใครลากกระชากข้ามาจากชั้น                           ใจคอสั่นพลิกข้าทั้งหน้าหลัง
ไม่ระวังพลั้งตกปกแทบพัง                                   แทนยับยั้งกลับกระแทกแปลกคนจริง
ขึ้นรถเมล์ยัดเยียดเบียดข้าป่น                               หน้ายับย่นสั่นท้าวท้าวราวผีสิง
มาถึงบ้านคล้ายจะแกล้งมาแย่งชิง                         ฉวยข้าวิ่งขออ่านก่อน เฮ้อ! อ่อนใจ
เปิดออกอ่านไม่นานก็ฟุบหลับ                               ก้มหน้าทับข้าหนักแทบตักษัย
เมื่อยหนักหนาน้ำตาต้องตกใน                              คร่ำครวญไปช่างไม่ฟังน่าชังจริง
ได้กลับมาห้องสมุดสุดแสนปลื้ม                            พักเพื่อลืมเรื่องยุ่งเคยสุงสิง
ใครใคร่ยืมข้าไปใช่จักติง                                      แต่ขอวิงวอนว่าจงปราณี
อย่าทำหมึกรดข้าหน้าเสียสวย                              ไม่ต้องช่วยอาบน้ำข้าจะเสียศรี
อ่านค้างไว้กระดาษคั่นนั่นแหละดี                          ขอเสียทีเรื่องพับมุมข้ากลุ้มใจ
อย่าขีดเขียนข้าจนลายคล้ายตุ๊กแก                        กับคงแย่หากฟาดข้าไม่ปราศรัย
ท่านไม่เจ็บแต่ข้าช้ำระกำใจ                                  ขุ่นเคืองใครมือท่านมีเชิญตีเอา
อันตัวข้าเวลานี้ไม่มีสุข                                         สิ้นสนุกอยู่โรงซ่อมย่อมหงอยเหงา
รอปกใหม่สันใหม่ใจซบเซา                                  ทุกข์คงเบาหากผู้ใช้ใจปรานี
ลมุล  รัตตากร

ดาวโหลดไฟล์งาน

หน่วยที่ 4 .docx

หน่วยที่ 4 .pdf

ห้องสมุดโรงเรียนเป็นห้องสมุดประเภทใด

ห้องสมุดโรงเรียน หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนหรือ สถานที่การศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์ สำคัญเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนของนักเรียน และการสอนของครู ห้องสมุดโรงเรียนจะจัดหาวัสดุตามหลักสูตรเพื่อให้บริการ แก่นักเรียน และครู ความสำคัญอีกอย่างคือ เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของนักเรียน

ห้องสมุดจัดเก็บข้อมูลประเภทใด

ห้องสมุด คือแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความ สนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ด าเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ ความส าคัญของห้องสมุด

ห้องสมุดใดเป็นห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดสาธารณะ (อังกฤษ: Public library) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ให้บริการสำหรับประชาชนทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอายุ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนต่าง ๆ ในลักษณะและกิจกรรมของห้องสมุด โดย ...

ห้องสมุดใดดำเนินการโดยรัฐ

๑. ห้องสมุดแห่งชาติ นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนินการโดยรัฐบาล ทำหน้าที่หลักคือ รวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์ และสื่อความรู้ทุกอย่าง ที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศ ไม่ว่าจะจัดพิมพ์ในประเทศใด ภาษาใด ทั้งนี้เป็นการอนุรักษ์สื่อความรู้