งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

การประเมินหลังการดำเนินงาน  เป็นการประเมินความสำเร็จของการวางแผนการทำงานหรือผลงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพียงใด  เป็นการประเมินผลตามสภาพจริง  ตั้งแต่การวางแผน  การทำงาน กระบวนการกลุ่ม ผลงาน ความสำเร็จ ความประทับใจในผลงาน   นอกจากนี้ยังต้องประเมินคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการทำงานช่างได้แก่

อาชีพช่างยนต์ คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์กลไก เช่น ระบบการทำงานเครื่องยนต์ การซ่อมบำรุง การเปลี่ยนอุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องยนต์ เป็นต้น

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

  1. งานซ่อมบำรุงเครื่องยนต์
  2. งานเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องยนต์
  3. การตรวจเช็คเครื่องยนต์
  4. อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

  1. มีร่างกายแข็งแรง
  2. มีความระเอียดรอบครอบ
  3. มีความอดทน
  4. มีความสามารถทางด้านการคำนวณ
  5. มีความซื่อสัตย์
  6. อื่นๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ

  1. ช่างยนต์ประจำหน่วยงานของรัฐ
  2. ช่างยนต์ปะจำหน่วยงานของเอกชน
  3. ช่างยนต์ประจำศูนย์
  4. เจ้าของกิจการซ่อมบำรุงรถยนต์
  5. อื่น ๆ

บทความงาน > บทความผู้หางาน > เทคนิคหางาน > เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์

เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์

  • 22 January 2022

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด
งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

           ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนทำงานบริษัทส่วนใหญ่มักจะซื้อรถไว้เป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางไปทำงานหรือไปที่อื่น ๆ ดังนั้นหนึ่งในอาชีพที่มีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วยก็คืออาชีพช่างยนต์ เพราะเป็นอาชีพที่จะมาช่วยในการดูแลรถยนต์ รวมไปถึงยานพาหนะอื่น ๆ 

           ในปัจจุบันอาชีพช่างยนต์มีเส้นทางให้เลือกหลากหลายขึ้น เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ของเครื่องยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกับยานพาหนะ ไปจนถึงอุปกรณ์แต่งรถต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนช่วยให้เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์แตกสาขาออกไปได้มากขึ้น ลองมาดูกันดีกว่าว่าเส้นทางอาชีพนี้จะสามารถแยกเป็นสายไหนได้บ้าง

           ช่างยนต์ทำหน้าที่อะไรบ้าง

           หน้าที่หลักของช่างยนต์คือการวินิจฉัย ซ่อมแซมและบำรุงเครื่องยนต์ ถึงแม้ว่าในสมัยก่อนช่างยนต์จะดูเรื่องเครื่องยนต์ในยานพาหนะเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ช่างยนต์เองก็ต้องคอยติดตามเทคโนโลยีเหล่านี้และคอยเรียนรู้เพิ่มเติมอีกด้วย

           หากคุณสนใจที่จะทำงานในสายอาชีพนี้ ก็สามารถลองดูได้ว่าหน้าที่หลัก ๆ ที่ต้องทำมีอะไรบ้าง 

  • การดูแลเครื่องยนต์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเครื่องยนต์ การเปลี่ยนน้ำมัน การเปลี่ยนล้อรถยนต์ การตั้งศูนย์ ไปจนถึงการเปลี่ยนไส้กรองเป็นต้น 
  • การซ่อมแซมเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยอาจจะต้องทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์ ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติของเครื่องยนต์ รวมไปถึงเปลี่ยนอะไหล่และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ 
  • ตรวจสอบความสามารถในการให้บริการของเครื่องยนต์ พร้อมปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ เช่น การทดสอบขับรถยนต์แล้วจึงปรับแต่งเครื่องยนต์ และระบบต่าง ๆ ให้เข้าที่
  • ปฏิบัติตามกฏจราจรในด้านการทดสอบเครื่องยนต์ ความปลอดภัยของยานยนต์ และ ตรวจสอบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
  • ดูแลทำความสะอาด และทาสียานยนต์ 
  • เก็บข้อมูลการดูแลซ่อมแซมเครื่องยนต์ของพาหนะแต่ละชนิด 
  • ประเมินการซ่อมแซมในแต่ละครั้ง รวมไปถึงประเมินราคาการซ่อมและราคาอะไหล่ว่ายังอยู่ในงบประกันหรือไม่ 
  • ตรวจสอบคลังสินค้า คอยสั่งอะไหล่ที่ขาดและตรวจสอบใบเสร็จต่าง ๆ 
  • เรียนรู้ทักษะ และเทคนิคใหม่ ๆ โดยอาจจะเรียนผ่านออนไลน์ หรือมองหาชั้นเรียนเพิ่มเติม 

           อัตราเงินเดือน

           ช่างยนต์ส่วนใหญ่จะทำงานแบบเต็มเวลา ดังนั้นอัตราเงินเดือนก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน หรือขนาดขององค์กร ทั้งนี้อัตราเงินเดือนมักจะขึ้นอยู่กับทักษะเป็นส่วนใหญ่ และในปัจจุบัน หากมีความรู้และมีทักษะด้านเครื่องยนต์ไฮบริดและระบบไฟฟ้าก็มีสิทธิที่จะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น

  • ฐานเงินเดือน: 15,000-30,000 บาท ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ และทักษะที่หลากหลาย

           เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์ เป็นอย่างไรบ้าง

           ระดับเจ้าหน้าที่ (ประสบการณ์ 1-3 ปี)

  • ช่างยนต์ระดับเจ้าหน้าที่ 

           ระดับหัวหน้างาน (ประสบการณ์ 4-8 ปี) 

  • หัวหน้าช่างยนต์ 

  • ผู้ฝึกสอนช่างยนต์ 

           ระดับผู้จัดการ (ประสบการณ์ 8 ขึ้นไป)

  • ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน
  • ผู้จัดการร้าน 
  • เจ้าของกิจการ 

           ทักษะที่ช่างยนต์ควรมี 

           ทักษะที่ต้องการ 

  • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องยนต์ และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ 

           พื้นฐานของการเป็นช่างยนต์คือมีความรอบรู้เรื่องเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่าง ๆ แต่หากต้องการเป็นช่างเฉพาะทางก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับยานพาหนะอื่น ๆ เช่น รถยนต์ระบบผสมผสาน รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถไฟฟ้า

  • มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า และระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานยนต์อย่างละเอียด

           ช่างยนต์ควรมีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ใหม่ ๆ ในด้านเครื่องยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ และเครื่องมือใหม่ ๆ ที่อาจจะช่วยให้การทำงานราบรื่นขึ้น 

  • มีร่างกายที่แข็งแรงและมีทักษะด้านการพัฒนากล้ามเนื้อ

           การเป็นช่างยนต์ต้องใช้งานร่างกายค่อนข้างหนัก นอกจากจะต้องแข็งแรงแล้วจะต้องมีความคล่องแคล่วด้วย เพราะในบางครั้งคุณอาจจะต้องยกเครื่องยนต์หนัก ๆ ในระหว่างการทำงาน

           ทักษะอื่น ๆ 

  • ทักษะการวินิจฉัย

           หน้าที่หลักในการเป็นช่างยนต์คือการตรวจสอบและวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เครื่องยนต์ หากคุณมีความสามารถในการวินิจฉัยอาการของเครื่องยนต์ได้ตรงจุด ก็จะสามารถแก้ปัญหาเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยรักษาค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและลูกค้าไว้ได้อีกด้วย 

  • ความสามารถในการดัดแปลง

           เครื่องยนต์มักจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นช่างยนต์ก็ควรจะมีทักษะด้านการดัดแปลง และต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันตลอดเวลา ดังนั้นช่างยนต์จึงต้องพร้อมที่จะดัดแปลงเครื่องยนต์ และโปรแกรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา

  • ทักษะเกี่ยวกับผู้คน

           ช่างยนต์ต้องสามารถสื่อสารกับผู้คนได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการทราบรายละเอียดปัญหาเครื่องยนต์ และต้องการทราบความคืบหน้า ดังนั้นการมีทักษะการสื่อสารกับผู้คนจะช่วยให้ลูกค้าประทับใจมากขึ้น 

           การศึกษา 
           ถึงแม้ว่าช่างยนต์ไม่จำเป็นต้องเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแต่ก็ควรจะมีการเข้ารับการเรียนและฝึกฝนเกี่ยวกับเครื่องยนต์เพื่อให้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ โดยประกาศงานตำแหน่งช่างยนต์ที่มีใน JobsDB มักจะต้องการคุณสมบัติ คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานเครื่องยนต์ การซ่อมบำรุง การเปลี่ยนอุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องยนต์ 

           ประกาศนียบัตรและการฝึกอบรมที่ควรมี

           นอกจากการฝึกขั้นพื้นฐานแล้ว ก็ควรมีขับขี่ไว้ด้วย เพราะหนึ่งในหน้าที่ของช่างยนต์คือการทดลองขับยานพาหนะ 

           โอกาสในการเรียนต่อ 

           การเป็นช่างยนต์ต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเสมอ ในปัจจุบันมีการสอนออนไลน์มากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และพร้อมที่จะอัปเดตเทรนด์เครื่องยนต์ใหม่ ๆ หรือตามข่าวเกี่ยวกับเครื่องยนต์ได้ คุณอาจจะลองเรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ หรือการใช้แบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

           การเขียนเรซูเม่ของช่างยนต์

ชื่อ – นามสกุล

ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล

รายละเอียด

ส่วนแรกควรอธิบายเกี่ยวกับ ทักษะและประสบการณ์การทำงานด้านเครื่องยนต์ของคุณ โดยเฉพาะความรู้ด้านโปรแกรมหรือระบบต่าง ๆ หากคุณมีผลงานโดเด่นก็สามารถสรุปใว่ไว้ในส่วนนี้ได้เช่นกัน 

ประวัติการทำงาน

[ชื่อบริษัท], ที่อยู่

ตำแหน่ง, เดือนและปีที่เริ่มทำงาน (ตัวอย่าง มีนาคม 2560 – กรกฎาคม 2564)

  • หน้าที่ที่ทำ เช่น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยปัญหาเครื่องยนต์ ทำให้ใช้เวลาในการวินิจฉัยและการแก้ปัญหาเร็วขึ้น 
  • ดูแลและซ่อมแซมเครื่องยนต์ไฮบริด 
  • แจ้งความคืบหน้าให้ลูกค้าทราบ 

ประวัติการศึกษา

อนุปริญญาด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 

[ชื่อสถานศึกษา], ปีที่เรียน 

  • ได้คะแนนะสูงสุดอันดับ 3 ของชั้นเรียนเครื่องยนต์ไฮบริด
  • ได้รับตำแหน่งนักศึกษาดีเด่นระดับชั้น

ใบประกาศนียบัตรเทคโนโลยีด้านยานยนต์ (การดูแลรักษายานยนต์) 

[ชื่อสถานศึกษา], ปีที่เรียน

  • ผ่านการศึกษาด้านการซ่อมแซมยานยนต์
  • เป็นอาสาสมัครด้านการจัดกิจกรรมงานอีเวนต์ วันการศึกษาด้านอาชีพ

ประวัติการฝึกงาน [ชื่อสถานประกอบการ], ปีที่ฝึกงาน

  • เป็นผู้ช่วยในการเปลี่ยนยาง ตั้งศูนย์เครื่องยนต์ และทำความสะอาดเครื่องยนต์
  • จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในร้าน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

ดาวน์โหลดตัวอย่างเรซูเม่ได้ ที่นี่

ที่ JobsDB เรามีตำแหน่งงานช่างยนต์จากบริษัทชั้นนำมากมาย ผู้หางานที่สนใจสามารถคลิกดูได้ ที่นี่

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

คำถามสู่ความสำเร็จในอนาคต: เด็กรุ่นใหม่ เรียนสายอาชีพดีไหม ?
หางานยังไงให้ได้งาน: จัดระเบียบการหางาน ฉบับปี 2021

 

 

การเขียน Resume  การเรียนสายอาชีพ  ความก้าวหน้าในการทำงาน  งานสายอาชีพ  ช่างยนต์

บทความยอดนิยม

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

ตำแหน่ง Data Engineer คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง

ยุคที่สายงานด้าน Tech เติบโตอย่างรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่ามีชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิด...

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล จากการทำแบบสำรวจความคิดเห็นของท่านที่มีต่อแบรนด์ JobsDB

ผู้ได้รับรางวัล Starbucks Card มูลค่า 400 บาท อันดับที่ 1-100     ลำดับที่ 1-50 ชื่อ-สกุล ลำดับที่......

งานช่างยนต์เป็นงานประเภทใด

ทำไมบริษัทเทคต้องสนใจเรื่อง Sustainability

ช่วงหลังมานี้หลายคนคงได้ยิน หรือเริ่มตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องความยั่งยืน หรือ Sustainability กันมากขึ้น ด้วยความที่สิ่ง...

งานช่าง 7 ประเภทมีอะไรบ้าง

งานช่างไม้ งานช่างไฟฟ้า งานช่างโลหะ งานช่างปูนและสุขภัณฑ์ งานอ่านแบบเบื้องต้น งานสี ลักษณะของงานช่างพื้นฐาน

งานช่างยนต์คืออะไร

ช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ การเกษตร และอื่น ๆ การเรียนสาขาช่างยนต์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติกับทฤษฎีควบคู่กันและมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและฝึกปฏิบัติตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์

งานช่างยนต์มีอะไรบ้าง

ซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์.
เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์.
เคาะพ่นสี.
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่าง ๆ.
เช็คระบบวงจรรถ.
ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ.
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับเครื่องยนต์.
อื่น ๆ.

งานช่างแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

1. งานบำรุงรักษา ... .
2. งานซ่อมแซม ... .
3. งานติดตั้ง ... .
4. งานผลิต.