ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

วิชาภาษี 101 เปิดร้านอาหารต้องมีภาษีอะไรบ้าง? ทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด ร้านไหนๆ ก็เข้าใจได้!

เรื่องของ "ภาษี" ง่ายกว่าที่คิด! สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร เรื่องภาษีนั้นถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้ เพราะหากทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา Wongnai for Business ขอสรุปข้อมูลเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำร้านอาหารต้องรู้! ตอบคำถามที่พบบ่อยในแวดวงคนทำร้านอาหาร มาติดตามหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ

คนทำร้านอาหารทุกคนต้องเสียภาษีหรือเปล่า?

ต้องทำความเข้าใจว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน โดยเราอาจจะเสียภาษีตั้งแต่ในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เข่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น

ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เขยิบขึ้นมาอีกนิดสำหรับคนที่มีรายได้ในทุกๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกณฑ์ของกรมสรรพากรคือถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม ที่บอกว่ามีโอกาสต้องเสียเพิ่มเพราะว่า เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย จนบางครั้งก็อาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเองครับ

‍ช่วงเวลายื่นตรวจสอบภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ‍

ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน

‍สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม)

ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

‍สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์  (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

กรณีที่รายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบ คือ ยื่นครับ โดยกรรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเลยสักบาทเดียวครับ

เป็นร้านเล็กๆ ต้องยื่นไหม? ถ้าไม่ยื่นมีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีรายได้มากหรือน้อย ก็ควรต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีครับนะครับ แต่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และสำหรับร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี นั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วยครับ 

ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นไหม หรือปล่อยเลยตามเลย

‍สำหรับร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลังไปตามระเบียบ และการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยิ่งนานไป หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบก็อาจโดนเรียกเก็บค่าปรับแถมมาด้วย
สรุป : เจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน จ่ายเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่คน หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีครับ

การเข้าร่วมเดลิเวอรีต้องเสียภาษีด้วยไหม?

สำหรับร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรีนั้น เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ช่องทางมารวมกันด้วยนะครับ โดยกรมสรรพากรนั้นจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีต้องยื่นเสียภาษีในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วย หรือขายผ่านแอปเดลิเวอรีอย่างเดียวก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีเช่นกันครับ 

​​​​เชื่อว่าปัจจุบันการทำธุรกิจร้านอาหารเริ่มเป็นที่นิยมมาก อาจจะเกิดจากช่วง COVID-19 ที่หลายคนได้ประลองฝีมือตัวเอง หันมาทำอาหาร ทำขนมกันมากขึ้น หรือ กับบางคนที่เป็นสายกิน มี Passion เรื่องอาหาร และ ไม่อยากที่จะเริ่มต้นจากศูนย์ก็จะเริ่มเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ ต่อยอดความชอบของตัวเอง จนทำให้ในปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นแฟรนไชส์เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่


การทำแฟรนไชส์ขนาดเล็กอาจจะใช้เงินทุนเริ่มต้นน้อย อยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท ซึ่งโดยมากอาจเป็นรูปแบบร้านอาหารขนาดเล็ก หรือ สามารถ Grab and Go (สั่งกลับไปทานที่บ้าน) ได้เลย ส่วนแฟรนไชส์ขนาดกลาง เงินทุนก็จะมากขึ้นมาอีกนิด โดยมากอาจเป็นแบรนด์ที่เริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว รูปแบบร้านอาจต้องการพื้นที่นั่งทานได้ มีพนักงานสัก 2 - 3 คน ก็จะใช้เงินทุนอยู่ที่ประมาณ 500,000 – 2,000,000 บาท ส่วนสุดท้ายคนที่คิดใหญ่ ทำใหญ่ มีเงินทุนหนาหน่อย ก็อาจจะนำความชอบในด้านอาหาร การกิน ของตัวเองมาลงทุนในแบรนด์ฮิต ติดตลาด โดยอาจมีรูปแบบร้านที่ ต้องการมีสถานที่ให้ลูกค้านั่งทาน พร้อมพนักงานดูแลอีก 5 - 10 คน แต่ตัวนักลงทุนเองจะต้องรักในการบริหารคน ซึ่งเงินทุนในการทำแฟรนไชส์ขนาดใหญ่นี้ โดยประมาณอยู่ที่ 5,000,000 บาทขึ้นไป แต่เชื่อได้ว่าถ้าบริหารดี ๆ รับรองว่ากำไรมาเยอะแน่นอน เนื่องจากชื่อเสียงของแบรนด์ที่การันตีการเชิญชวนคนเข้ามาใช้บริการในร้านได้อย่างไม่ยาก

หากแม่ค้าร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) ยังไม่เคยจดบัญชีรายได้ หรือยังทำไม่เป็นระบบ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีร้านอาหารอะไรบ้าง

ร้านอาหารเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ของก็อยากขาย ลูกค้าก็อยากมี แต่ไม่ค่อยอยากเสียภาษีทำยังไงดีล่ะ

ครั้นจะปิดแอป “ถุงเงิน” ไม่ขายของก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเปิดแอปไป รัฐบาลจะมาตามเก็บภาษีจากเราไหมนะ

สารพันคำถามและข้อสงสัยที่ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเป็นกังวล เพราะว่าร่วมโครงการคนละครึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะโดนภาษีตามมาทีหลังอีกหรือไม่

ถ้าใครกำลังตกอยู่ในภาวะกังวลใจแบบนี้ หาทางออกยังไม่ได้ และไม่มั่นใจว่าควรเริ่มต้นจัดการภาษีตัวเองยังไงดี ลองมาทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นไปพร้อมๆ กันนะคะ

 

เลือกอ่านได้เลย!

โครงการคนละครึ่งคืออะไร

 

โครงการคนละครึ่ง คือ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ โดยช่วยจ่ายค่าอาหาร ค่าบริการ ให้กับประชาชน (คนซื้อ) ให้แก่ร้านที่เข้าร่วมโครงการครึ่งหนึ่ง 

นั่นแปลว่า ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะได้รับเงินค่าอาหารเต็มๆ เลย แต่เงินจะมาจาก 2 ส่วนตามภาพตัวอย่างนี้ 



ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

 

รัฐรู้รายได้ของร้านอาหารได้อย่างไร

 

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เมื่อทุกอย่างทำผ่านแอปพลิเคชั่นของรัฐบาล ภาครัฐเองก็จะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารว่าเป็นจำนวนเท่าใด โดยที่ไม่ต้องให้ใครมานั่งสำรวจให้ยาก 

ฉะนั้น ในการประเมินภาษี รัฐเองก็สามารถทำได้จากข้อมูลที่มีอยู่ แต่ต้องย้ำไว้ตรงนี้ว่า รัฐจะรู้เฉพาะ “รายได้” ของเราเท่านั้น ส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือ “ค่าใช้จ่าย” รัฐยังไม่น่าจะมีข้อมูลตรงนี้

 

จัดการภาษีร้านอาหารอย่างไร

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดว่า ถ้าร้านอาหารเข้าโครงการคนละครึ่ง รัฐบาลจะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารโดยปริยาย มาถึงตอนนี้ต้องถามเจ้าของร้านอาหารว่า แล้วเราเองได้จดบัญชีรายได้ของร้านไว้บ้างไหม

ถ้ายังไม่จดบัญชีรายได้ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีอะไรบ้างยังไงล่ะ

โดยปกติแล้วร้านอาหารจะต้องเจอกับภาษี 2 ประเภทนี้ 

 

 

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

 

เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลที่มีเงินได้ โดยคำนวณจาก



ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

 

ข้อสังเกตจากวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สำคัญ คือ ภาษีจะเสียจากเงินได้สุทธิ ซึ่งไม่ใช่รายได้ แต่เป็นรายได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

กรณีที่ขายอาหาร ถือเป็นรายได้ประเภท 40(8) ที่เราสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ 

  1. หักแบบเหมา 60% 
  2. หักแบบตามจริง 

นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ได้จดรายจ่ายไว้ ตัวเลือกในการเสียภาษีก็จะมีแค่การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เท่านั้น แต่ถ้าโชคร้ายรายจ่ายของร้านอาหารเรามีเยอะเกินกว่า 60% ที่ว่าเราก็จะเสียเปรียบทันที เพราะว่าต้องจ่ายภาษีสูงกว่าที่ควรจะเป็น

 

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของลูกค้า ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่า ถ้ากิจการมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเข้าระบบ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ภายใน 30 วัน

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ร้านอาหารมีภารกิจที่จะต้องทำตามนี้

  1. เรียกเก็บ Vat 7% จากลูกค้า ซึ่งเท่ากับว่า ข้าวกะเพรา 100 บาท จานนี้ จะต้องเก็บเพิ่มเป็น 107 บาท 
  2. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ในส่วนภาษีขาย 7 บาท ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้า และหักกลบกับภาษีซื้อที่เราถูกเก็บไปตอนซื้อของเข้าร้าน ร้านค้าจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ แล้วนำส่งสรรพากรทุกๆ เดือน
  3. จัดทำรายงาน แบ่งเป็น 3 รายงาน ได้แก่ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าคงเหลือ

 

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราเข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเปล่า ก็ต้องย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เรารู้หรือเปล่าว่ามี “รายได้” เท่าไร ถ้าไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ก็ยังไม่ต้องจด Vat 

แต่ถ้ารายได้ถึง 1.8 ล้านบาท เข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ อยากรู้ว่าต้องนำภาษีสรรพากรอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องไปสู่จุดเริ่มต้นที่ว่าแล้วเรามี “รายจ่าย” เท่าไร เก็บเอกสารดีไหม ภาษีซื้อจะเอามาใช้หักกลบกับภาษีขายได้ทั้งหมดหรือไม่

 

ถ้าวันนี้ เราเปิดร้านขายข้าวกะเพรา การเข้าโครงการคนละครึ่งอาจจะไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้ “รายได้” และ “ค่าใช้จ่าย” เพราะสุดท้ายเราจะสามารถบริหาร “ภาษี” เองได้ดีกว่าการไม่มีข้อมูลอะไรเลย 

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงอยาก “ทำบัญชี” ขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ… ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้กันเลยค่ะ

 

เริ่มต้นใช้งาน FlowAccount ฟรี 30 วันฟรี เพื่อออกบิล เก็บเงิน บันทึกบัญชี ได้ในระบบเดียว ที่เว็บไซต์ https://flowaccount.com



About Author

ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

Zero to Profit

เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”