ขั้น ตอน ใดของการจัด ทำ อั ลก อริ ทึม ที่ต้องมีการเขียน ผังงาน โปรแกรม

Algorithm คือ ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์เราสามารถแบ่งการทำงานเป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เมื่อทราบขั้นตอน (algorithm) แล้วจะแปลงเป็น Flow Chartจากนั้นก็แปลง Flow Chart มาเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ โดยจะต้องเข้าใจการทำงานใน  Flow Chart ก่อนจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ดังนั้น Algorithm ก็จะหมายถึงการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนโดยแบ่งขั้นตอนออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ได้

Flow Chart เป็นเครื่องมือที่โปรแกรมเมอร์ใช้แปลง Algorithm หรือขั้นตอนกระบวนการทำงาน ตามลักษณะของแผนภาพเพื่อให้คนอื่น ๆ เข้ามาศึกษาต่อจะได้เข้าใจง่ายโดยไม่มีรูปแบบตายตัว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมนั้น ๆ

ทำไมการเขียน Algorithm จึงสำคัญ

  •  เป็นการจัดลำดับความคิดเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ปัญหาในขั้นตอนกระบวนการเขียนโปรแกรม
  •  เป็นการแสดงลำดับการทำงานตามคุณสมบัติด้านการประมวลผลต่าง ๆ ที่พร้อมจะไปแปลงเป็นคำสั่งให้ทำงานได้
  •  ช่วยตรวจสอบความถูกหรือตรวจหา Bug ของโปรแกรมได้

รูปแบบการเขียน Algorithm

การอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ คือการเขียนขั้นตอนการทำงานทั้งหมดโดยไม่ต้องละเอียดมากแสดงการทำงานเป็นข้อๆ ซึ่งข้อแรกจะใช้คำว่า "เริ่มต้น" และข้อสุดท้ายใช้ "จบการทำงาน"

ตัวอย่าง การหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

  1. เริ่มต้น
  2. รับข้อมูลมี 2 ค่า คือรับค่าความกว้าง กับรับค่าความยาว
  3. กำหนดสูตรในการคำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
  4. หาผลลัพธ์จากสูตรการคำนวณ
  5. แสดงผลลัพธ์ของการคำนวณพื้นที่
  6. จบการทำงาน

และเราต้องทำความเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการเขียนอัลกอริทึมได้อย่างถูกต้อง 

ซึ่งจะมีคุณสมบัติพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ 5 อย่างได้แก่

  • คุณสมบัติด้านหน่วยความจำ
  • คุณสมบัติด้านการคำนวณ
  • คุณสมบัติด้านการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ
  • คุณสมบัติด้านการแสดงผลค่าข้อมูล
  • คุณสมบัติการจัดลำดับการทำงาน

คุณสมบัติด้านหน่วยความจำ

คุณสมบัติด้านหน่วยความจำ คือ การเขียนโปรแกรมต้องใช้งานพื้นที่ในหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดสัญลักษณ์แทนพื้นที่หน่วยความจำโดยการใช้ตัวแปร เพื่ออ้างอิงถึงข้อมูลในหน่วยความจำนั้น ๆ

คุณสมบัติด้านการคำนวณ

คุณสมบัติด้านการคำนวณ คือ การคำนวณในระบบคอมพิวเตอร์ จะพิจารณาเลือกประมวลผลตามลำดับความสำคัญของสัญลักษณ์เครื่องหมายการคำนวณที่ปรากฏในนิพจน์เป็นสำคัญ

คุณสมบัติด้านการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ

ใช้หลักการทำงานของพีชคณิตพิจารณาเงื่อนไขที่ใช้นิพจน์แบบบูลลีนประกอบการเขียนคำสั่งเพื่อหาข้อสรุปของเงื่อนไขที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องประมวลผลว่าหากเงื่อนไขเป็นจริงให้ดำเนินการคำสั่งใด หรือเงื่อนไขเป็นเท็จให้ดำเนินการคำสั่งใด

คุณสมบัติด้านการแสดงผลค่าข้อมูล

เป็นการอ่านค่าข้อมูลจากพื้นที่หน่วยความจำที่เขียนคำสั่งนำไปเก็บไว้หรือจากการคำนวณที่ต้องมีการนำค่าไปเก็บไว้ เพื่อนำมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบและในตำแหน่งที่ต้องการ

คุณสมบัติการจัดลำดับการทำงาน

คอมพิวเตอร์จะทำงานทีละคำสั่ง ตามลำดับจากบนลงล่าง หากเปรียบเทียบใน 1 บรรทัด คือ 1 คำสั่งแล้ว คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่อยู่บรรทัดบนสุดก่อน แล้วจึงทำงานตามคำสั่งที่อยู่ในลำดับต่อมา จนถึงคำสั่งในบรรทัดสุดท้ายนั้นเอง

ขั้น ตอน ใดของการจัด ทำ อั ลก อริ ทึม ที่ต้องมีการเขียน ผังงาน โปรแกรม
ตัวอย่างสัญลักษณ์ผังงาน

 หลักการจัดภาพและทิศทางของ Flow Chart

  1. ทิศทางของผังงาน จะเริ่มจากบนลงล่าง และ ทางซ้ายไปขวา และควรเขียนเครื่องหมายลูกศรกำกับ ทิศทางไว้ด้วย
  2. การใช้สัญลักษณ์หรือภาพ มีขนาดต่างๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปแบบมาตรฐานตามความหมายที่กำหนด
  3. หลีกเลียงการขีดโยงไปมาในทิศทางตัดกัน ถ้าจำเป็นต้องโยงถึงกันควรใช้เครื่องหมายจุดต่อเนื่องแทน
  4. มีคำอธิบายในภาพ เขียนเพียงสั้น ๆ เข้าใจง่าย
  5. ควรจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด และควรจะมีชื่อผังงาน ผู้เขียน วันที่ที่เขียนด้วย

ตัวอย่าง Algorithm and Flow Chart ของคำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

  1. เริ่มต้น
  2. รับข้อมูลมี 2 ค่า คือรับค่าความกว้าง กับรับค่าความยาว
  3. กำหนดสูตรในการคำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
  4. หาผลลัพธ์จากสูตรการคำนวณ
  5. แสดงผลลัพธ์ของการคำนวณพื้นที่
  6. จบการทำงาน
ขั้น ตอน ใดของการจัด ทำ อั ลก อริ ทึม ที่ต้องมีการเขียน ผังงาน โปรแกรม
ตัวอย่าง flow char

ดังนั้น Algorithm ก็คือวิธีคิดแบบมีหลักการ มีขั้นตอน มีกระบวนการ ที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนให้บรรลุผลสำเร็จ และการใช้ Algorithm เข้ามาแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลออกมาถูกต้อง โดยมีมาตรฐานเดียวกัน แม้จะมีความซับซ้อนและมีข้อมูลในปริมาณมาก Algorithm ก็สามารถจัดการแก้ปัญหาแบบมีหลักการได้ไม่ยาก ทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้นและตรงตามที่ต้องการ

อ้างอิง : 

Wiki Marketing - Algorithm ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.seolnwza.com/wikimarketing/wiki/algorithm

อัลกอริทึม (Algorithm) คืออะไร? ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.enablerspace.com/th/digitalmarketingtips/what-is-an-algorithm/

ผังงานคืออะไร ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://docs.google.com/document/preview?hgd=1&id=1y1A7AiDIDkSDW6fKxK8ZeNeIxqfwPKxA32ZnSONrGqQ