ประเทศไทยอยู่ในเขตภาคเวลามาตรฐานใด *

เลยมีการกำหนดเขตเวลา (Time Zone) มาตรฐานขึ้นมา เพื่อให้คนทั่วโลก ระบบต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าใจตรงกันว่า ถ้าพูดถึงวัน/เวลาเท่านี้ในประเทศนึง จะมีค่าเท่ากับเท่าไหร่ในประเทศอื่น ๆ

ประเทศไทยอยู่ในเขตภาคเวลามาตรฐานใด *

Image from https://cdn.britannica.com/06/64906-050-675D6688/meridians-Facts-Lines-of-Longitude-angles-halves.jpg

การกำหนดเขตเวลาจะใช้เส้นลองจิจูด หรือเส้นแนวตั้ง ช่วยกำหนดเป็นหลัก

ทั่วโลกเรามีเส้นลองจิจูด 360 เส้น (360 องศา)

ถ้าผ่าตรงกลางโลก

  • จะอยู่ซีกซ้าย 180 เส้น (-180 องศา)
  • และซีกขวาอีก 180 เส้น (+180 องศา)

โดยเราถือว่าตรงกลางของโลก หรือลองจิจูดที่ 0 ผ่ากลาง กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ)

กลับมาที่เขตเวลา

พอเราเข้าใจเรื่องลองจิจูดแล้ว
ทีนี้เค้าก็ใช้ประโยชน์จากลองจิจูด ในการช่วยกำหนดเรื่องเขตเวลา คือ

เค้ากำหนดให้ กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร คือเวลาที่ 0
ซึ่ง เราอาจจะคุ้น ๆ กันกับคำว่า UTC (Universal Time Coordinated) หรือ UTC 0

จากนั้น เค้าก็กำหนดอีกว่า
ให้ทุก ๆ ลองจิจูดที่เพิ่มขึ้น 15 องศา หรือ 15 เส้น (ทั้งซ้าย และขวา) จากลองจิจูดที่ 0
จะถูกบวกหรือลบเวลาเพิ่มเข้าไปครั้งละ 1 ชั่วโมง

วิธีคิด

ทุก ๆ 15 องศาเวลาจะเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง เพราะ
โลกเราเป็นทรงกลม
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน คือ 24 ชั่วโมง
การที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ มีค่าเท่ากับ 360 องศา 

เลยเป็นที่มาว่า

360 องศา / 24 ชั่วโมง = 15 องศา/ชั่วโมง นั่นเอง

ทำให้ในโลกนี้มีเขตเวลาเป็น

  • UTC (กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร)
  • UTC-1 ไปจนถึง UTC-12 และ
  • UTC+1 ไปจนถึง UTC+14

โดยเขตเวลาประเทศไทยจะเท่ากับ UTC+7
เพราะลองจิจูดของไทยตั้งอยู่ที่ประมาณ +100 องศา
พอเราลองเอา 100/15 ~= 6.66667 หรือ +7 ชั่วโมงนั่นเอง

สมมติว่า

เวลาที่ กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร หรือ เวลา UTC คือ 12:00 น. (คิดแบบ 24 ชั่วโมง)

เวลาในประเทศไทยซึ่งเป็น UTC+7 (ณ เวลาเดียวกัน) จะเท่ากับ 12:00 น. บวกไปอีก 7 ชั่วโมง ซึ่งก็คือ 19:00 น. นั่นเอง

แต่เค้าก็มีข้อยกเว้นนิดนึง ว่า
ไม่ใช่ว่าจะต้องใช้ลองจิจูดกำหนดเขตเวลาตายตัวขนาดนั้น
เพราะแต่ละประเทศในโลกมันมีรูปร่างไม่เหมือนกัน
บางประเทศอาจจะควบเวลาไป 2 - 3 เขตเวลา

ก็เลยเป็นดังรูปด้านล่าง (ที่เส้นเขตเวลาสีแดงมันไม่ตรง) ที่เราจะเห็นว่าบางประเทศเค้าก็ยุบรวมหรือใช้เขตเวลาเดียว แทนการใช้หลายเขตเวลา

หรือบางประเทศเค้าก็มีการกำหนดไปเลยว่ารัฐนี้ เมืองนี้ใช้เขตเวลานี้น่ะ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะไม่ได้อยู่ในลองจิจูดที่กำหนด เพื่อที่คนในประเทศจะได้ไม่สับสนกัน

ประเทศไทยอยู่ในเขตภาคเวลามาตรฐานใด *

Image from https://www.wikiwand.com/th/เขตเวลา

ทีนี้การที่จะให้คนจำเขตเวลาเป็น UTC-1, UTC+1, UTC+2, UTC+3, .... มันจำยาก

เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น เค้าได้มีการตั้งชื่อเขตเวลาขึ้นมา สำหรับแต่ละประเทศแต่ละเมือง เพื่อให้คนจำได้ง่ายขึ้น

เช่น ประเทศไทย แทนที่เราจะต้องจำเป็น UTC+7 เราก็สามารถจำเป็น Asia/Bangkok แทนได้ ซึ่งก็มีค่าเท่ากับ UTC+7 นั่นเอง

รายชื่อเขตเวลา (Time Zone) ทั้งหมดในโลก

สามารถดูได้จาก

เพราะเรื่องเขตเวลา (Time Zone) เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม และการ Setup ระบบอย่างนึง

ถ้าเราเขียนโปรแกรมถูก แต่ดัน Set เขตเวลา (Time Zone) ไม่ถูก ก็อาจจะทำให้ระบบแสดงผล ประมวลผลเรื่องวัน/เวลาไม่ถูกต้องก็เป็นได้ ซึ่งมันจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่ดูจะปวดหัวมาก เมื่อต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัฐกาลที่ 6 ได้มีพระราชโองการกำหนดเวลามาตรฐานสำหรับประเทศไทยโดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 36 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2462 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2463 (วันขึ้นปีใหม่ในขณะนั้น) ให้ “เวลาอัตราสำหรับกรุงสยามทั่วพระราชอาณาจักรเป็น 7 ชั่วโมงก่อนเวลากรีนีชในเมืองอังกฤษ”

     เส้นวันที่สากล เป็นเขตกำหนดการเปลี่ยนวัน โดยจะใช้เส้นเมริเดียนแรกเริ่มวัดไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกข้างละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันตกและ 180 องศาตะวันออกจะทับกันพอดี ถ้าเอาลูกโลกมาดูจะเห็นว่าเส้นเมริเดียนที่ 180 องศานี้อยู่ตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนเริ่มแรกพอดี เช่น ตำบลกรีนิชตั้งอยู่เส้นเมริเดียนแรกเป็นเวลา 12.00 น.หรือ เที่ยงวันของวันอาทิตย์ เวลาของตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นนี้จะช้ากว่าตำบลกรีนิช เช่น ที่ลองจิจูด 90 องศาตะวันออกเป็นเวลา 6.00 น. ของวันอาทิตย์และเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันตก จะเป็นเวลา 24.00 น. วันเสาร์หรือ 0.00 น. ของวันอาทิตย์ กล่าวคือสิ้นสุดวันเสาร์และเริ่มขึ้นวันอาทิตย์ ขณะเดียวกันตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก จะมีเวลามาตรฐานตรงกับ 18.00 น. ของวันอาทิตย์และตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ตะวันออก จะเป็นเวลา 24.00 น. ของวันอาทิตย์หรือ 0.00 น. ของวันจันทร์ กล่าวคือ สิ้นสุดวันอาทิตย์และเริ่มขึ้นวันจันทร์

3.  เวลาท้องถิ่น (Local time)เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านบริเวณนั้นจริงๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 7 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออกจึงมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 6 ชั่วโมง 40 นาที เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านจริงนี้ เรียกว่า เวลาท้องถิ่นเส้นที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่สำคัญเส้นแบ่งเขตวันสากล ( International Date Time) โดยกำหนดประมาณที่เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากลแต่มีการเลี่ยงให้เส้นเขตวันนี้ผ่านเฉพาะพื้นน้ำ เพื่อขจัดปัญหาการมี 2 วันบนเกาะเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตวันนี้จึงไม่เป็นเส้นตรงตามเส้นเมอริเดียน 180 ตลอดทั้งเส้น อีกอย่างถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันตกต้องนับวันลดลง 1 วัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันออกจะต้องนับวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน